-.ความหมายในภาษาไทย
คำว่า “ศาสนา” แปลมาจากคำว่า สาสนํ ในภาษาบาลี, ศาสนํ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง “คำสั่งสอน” คำสั่งสอนที่นับว่าเป็นศาสนานั้น เป็นประดิษฐกรรมทางความคิดอันสูงสุดของคนเท่านั้น ของสัตว์ไม่มี ดังนั้น ศาสนาจึงเป็นสมบัติของคนถ้าคนไม่มีศาสนาก็เท่ากับไม่มีสมบัติของคน
-.ความหมายในภาษาอังกฤษ
คำว่า “ศาสนา” ในภาษาไทย ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “religion” คำอังกฤษคำนี้มีผู้สันนิษฐานว่า มาจากภาษาลาติน “religio” และคำนี้ในภาษาลาติน ก็สันนิษฐานอีกว่ามาจาก 2 คำ คือ “relegere” ซึ่งแปลว่า “การปฏิบัติต่อ หรือการเกี่ยวข้องกับความระมัดระวัง” อย่างหนึ่ง, จากคำว่า “religare” ซึ่งแปลว่า “ผูกพัน”
นอกจากนี้ยังมีการให้ความหมายหรือคำจำกัดความตามเนื้อหาที่นักปราชญ์ทางศาสนาได้ให้ไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไป ดังนี้
- ดร.โรเบิต เออร์เนสต์ ฮุม เสนอไว้ 8 ข้อ 1.เน้นความหมายทางพุทธิปัญญา (Intelectual Emphasis)
2.เน้นความหมายทางศีลธรรม (Moral Emphasis)
3.เป็นความหมายทางสะเทือน (Emotional Emphasis)
4.เน้นความหมายทางการบูชา (Emphasis worship)
5.เน้นความหมายทางประโยชน์ส่วนตน Emphasis on self-advantage)
6.เน้นความหมายทางสังคม (Social Emphasis)
7.เน้นความหมายเรื่องส่วนตนของแต่ละคน (Indivividual Emphasis)
8.เน้นความหมายทางกระบวนการแห่งอุดมคติอันสูงสุด
(Emphasis on the Supeme Idealizing process) - Max Miller เน้นพุทธิปัญญา (Intellect) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความสามารถหรืออำนาจทางจิตซึ่งไม่ขึ้นแก่ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสหรือเหตุผล สามารถนำบุคคลให้เข้าถึงพระเจ้าภายใต้พระนามต่างๆ
- Immanuel Kant เน้นศีลธรรม (Moral) กล่าวว่า ศาสนา คือ การยอมรับรู้ถึงหน้าที่ทั้งปวง ตามเทวโองการ
- Allen Menses เน้นการบูชา (Worship) กล่าวว่า ศาสนา คือ การบูชาพลังที่สูงกว่า
- Edward Scribner Ams เน้นสังคม (Society) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความรู้สึกถึงคุณค่าทางสังคมอันสูงสุด
- G.W. Stratton เน้นอุดมคติอันสูงส่ง (Supreme Ideal) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความนิยมชมชอบถึงโลก
- Adams Brown เน้นชีวิต (Life) กล่าวว่า ศาสนา หมายถึงชีวิตของบุคคลในส่วนที่สัมพันธ์กับท่านผู้เหนือมนุษย์ธรรมดาของเขา
- หลวงวิจิตรวาทการ เน้นองค์ประกอบของศาสนา กล่าวว่า คำสอนที่จัดเป็นศาสนานั้นต้องเป็นเรื่องที่ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ มีคำสอนทางจรรยา มีศาสดา มีคณะบุคคลที่รักษาความศักดิ์สิทธิ์และคำสอนไว้ เช่น พระหรือนักบวช และมีการกวดขันเรื่องความจงรักภักดี
- ศ. เสถียร พันธรังสี เน้นลักษณะของศาสนา กล่าวว่า ลักษณะที่เรียกว่าศาสนาได้ มีหลักดังนี้คือ ต้องเป็นเรื่องความเชื่อถือได้โดยมีความศักดิ์สิทธิ์ มีคำสอนทางธรรมจรรยา มีศาสดา และมีผู้สืบต่อคำสอนที่เรียกว่าพระหรือนักบวช
- อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เน้นลักษณะคำสอน กล่าวว่า คำสอนที่นับว่าเป็นศาสนานั้นว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ คือ ความเชื่อในอำนาจที่มองเห็นไม่ได้ด้วยตาบางอย่าง เช่น อำนาจของธรรม หรือ อำนาจของพระเจ้า มีหลักศีลธรรม มีคำสอนว่าด้วยจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิต และมีพิธีกรรม
- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของศาสนาไว้ว่า ศาสนา คือ ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลักแสดงกำเนิดและสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในง่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในง่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้นๆ
ศาสนาคืออะไร
- คำสั่ง(บังคับให้ทำ)
- คำสอน (แนะนำชักชวนให้ทำ)
- คำสั่งสอน
- ความเชื่อในอำนาจที่มองไม่เห็นด้วยตาบางอย่าง
- หลักศีลธรรม
- จุดหมายสูงสุดแห่งชีวิต
- พิธีกรรมทางศาสนา
มนุษย์ในสมัยดึกดำบรรพ์ได้ประสบกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ ซึ่งมีทั้งความน่ากลัว แปลกประหลาด และมหัศจรรย์สำหรับตัวมนุษย์ เช่น ความมืด ความสว่าง พายุพัด ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ไฟป่า เป็นต้น และด้วยความที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์เหล่านั้น มนุษย์จึงเกรงกลัวปรากฏธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้น มนุษย์จึงแสวงหาสิ่งที่จะมาคุ้มครองป้องกันตนจากภัยอันตรายที่คิดว่าจะได้รับจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ รวมทั้งแสวงหาสิ่งซึ่งเชื่อว่าสามารถคุ้มครองให้อยู่อย่างเป็นสุข ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดวัฒนธรรม ตลอดจนประเพณียอมรับนับถือพลังลึกลับทางธรรมชาติว่าเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือมนุษย์ และได้สร้างขนบธรรมเนียมที่คิดว่าเป็นสิ่งจำเป็น และควรประพฤติต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ยอมรับนับถือ จากความเชื่อของกลุ่มคน และขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ จึงค่อยๆ วิวัฒนาการเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นลัทธิ และศาสนาต่างๆ นั่นเอง
เหตุให้เกิดศาสนาในโลกสรุปได้ดังนี้
- เกิดจากความไม่รู้ ( อวิชชา ) ความไม่รู้ ได้แก่ ความไม่รู้เหตุรู้ผล เริ่มแต่ความไม่รู้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ ทางดาราศาสตร์ ไม่รู้ชีววิทยา และไม่รู้จักธรรมชาติอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เมื่อมีความไม่รู้เหตุผลก็เกิดความกลัวในพลังทางธรรมชาติ ต้องการความช่วยเหลือจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งมีอำนาจเหนือตน จึงมีการส ร้ างขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อบูชาเอาใจสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น เพื่อที่จะสามารถช่วยให้มนุษย์มีความอยู่รอดไม่มีภัยต่อๆ ไป
- เกิดจากความกลัว มนุษย์จะอยู่ในโลกได้ต้องมีหน้าที่ คือ การต่อสู้กับธรรมชาติ และสู้สัตว์ร้ายนานาชนิด และโดยเฉพาะกับมนุษย์ด้วยกันเอง ยามใดที่เราสามารถเอาชนะธรรมชาติหรือคนได้ ความเกรงกลัวธรรมชาติ สัตว์ร้าย หรือมนุษย์ย่อมไม่มี แต่ถ้าไม่สามารถต่อสู้ได้ มนุษย์จะเกิดความก ลั วต่อสิ่งเหล่านั้น และในยามนั้นเอง ที่มนุษย์ต้องพากันกราบไหว้บูชา และแสดงความจงรักภักดี ทำพิธีสังเวยเซ่นไหว้ต่อธรรมชาติดังกล่าว ด้วยความหวังหรืออ้อนวอนขอให้สำเร็จตามความปรารถนาอันเป็นผลตอบแทนขึ้นมาเป็นความสุข ความปลอดภัย และอยู่ได้ในโลก
- เกิดจากความจงรักภักดี ความจงรักภักดีเป็นศรัทธาครั้งแรกที่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยยอมเชื่อว่า เป็นกำลังก่อให้เกิดความสำเร็จได้ทุกเมื่อ ในกลุ่มศาสนาที่นับถือพระเจ้า ( ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ) มุ่งเอาความภักดีต่อพระเจ้าเป็นหลักใหญ่ในศาสนา ในกลุ่มชาวอารยันมี ศ าสนาพราหมณ์ ( ฮินดู ) มีคำสอนถึงภักติมรรค คือ ทางแห่งความภักดี อันจะยังบุคคลให้ถึงโมกษะ คือหลุดพ้นได้ แม้ในทางพระพุทธศาสนาก็ยอมรับว่าศรัทธา หรือความเชื่อ ความเลื่อมใสเท่านั้นที่จะพาข้ามโอฆสงสารได้ เมื่อเป็นดังนี้แสดงว่ามนุษย์ยอมตนให้อยู่ใต้อำนาจของธรรมชาติเหนือตน อันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเองซึ่งเรียกว่าเทพเจ้า หรือพระเจ้า อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดตามมาคือมนุษย์ยอมให้เครื่องเ ซ่น สังเวยแก่ธรรมชาตินั้นๆ ด้วย ลักษณะนี้จึงเท่ากับมนุษย์เสียความเป็นใหญ่ในตน ยอมอยู่ใต้อำนาจของสิ่งที่ตนคิดว่ามีอำนาจเหนือตน
- เกิดจากความอยากรู้เหตุผล ( ปัญญา ) ศรัทธาอันเกิดจากปัญญาคือมูลเหตุให้เกิดศาสนาอีกทางหนึ่ง แต่ศาสนาประเภทนี้มักเป็นฝ่ายอเทวนิยม คือไม่สอนเรื่องเทพเจ้าสร้างโลก ไม่ถือเทพเจ้าเป็นศูนย์กลางแห่งศาสนา หากแต่ถือความรู้ประจักษ์จริงเป็ น สำคัญ เช่น พระพุทธศาสนา ความเน้นหนักของพระพุทธศาสนา คือ ญาณ หรือปัญ ญ าชั้นสูงสุดที่ทำให้รู้แจ้งประจักษ์ความจริง และหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
- เกิดจากอิทธิพลของคนสำคัญ ศาสนาหรือลัทธิที่เกิดจากความสำคัญของบุคคลเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกแห่งหน ที่มีเรื่องราว หรือความสำคัญของบุคคลที่อยู่ ณ ที่นั้น ความสำคัญของบุคคลที่เป็นเหตุเริ่มต้นของศาสนา หรือลัทธิ โดยมากมักมีเหตุเริ่มต้นโดยความบริสุทธิ์จากจิตใจของมนุษย์ ไม่มีใครบังคับ ไม่มีใครวางหลัก อีกทั้งเมื่อใครนับถือความสำคัญของบุคคลผู้ใดก็จะพากันกราบไหว้ และเคารพบูชา
- เกิดจากลัทธิการเมือง ลัทธิการเมืองอันเป็นมูลเหตุของศาสนาเป็นเรื่องสมัยใหม่ อันสืบเนื่องจากการที่ลัทธิการเมืองเฟื่องฟูขึ้นมา และลัทธิการเมืองนั้นได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อคน บ างกลุ่ม เป็นต้นว่า กลุ่มคนยากจน ซึ่งคนเหล่านั้นก็ได้ละทิ้งศาสนาเดิมที่ตนเองนับถืออยู่ แ ล้ วหันมานับถือลัทธิการเมืองดังกล่าวเป็นศาสนาประจำสังคม หรือชาตินิยมลัทธิการเมือง เป็นต้นว่า ลัทธินาซี ลัทธิฟาสซิสม์ และลัทธิคอมมิวนิสต์
องค์ประกอบของศาสนา
การพิจารณาว่าสิ่งใดจัดเป็นศาสนาหรือไม่นั้น โดยปกติจะพิจารณาจากองค์ประกอบของศาสนา คือ ระบบความเชื่อถือ หรือหลักคำสอนใดก็ตามที่มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ กับนับได้ว่าเป็นศาสนา
- ศาสดา คือผู้ตั้งศาสนา หรือผู้สอนดั้งเดิม
- คัมภีร์ศาสนา คือ ข้อความที่ท่องจำกันไว้ได้แล้ว ได้จดจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หลักคำสอน หรือ หลักธรรม รวมอยู่ในข้อนี้
- นักบวช คือผู้สืบต่อศาสนา หรือผู้แทนเป็นทางการของศาสนานั้นๆ ซึ่งมีข้อกำหนดคุณสมบัติไว้ต่างๆ กันตามคติของแต่ละศาสนา
- วัด หรือ ศาสนสถาน คือที่ตั้งทางศาสนา หรือ ปูชนียสถาน คือสถานที่เคารพทางศาสนา
- เครื่องหมาย หรือสิ่งแทน , พิธีกรรม รวมทั้ง ปูชนียวัตถุ คือสิ่งที่พึงเคารพบูชา
ความสำคัญของศาสนา
1. ศาสนาทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เพราะทุกศาสนาล้วนมุ่งหวังให้ศาสนิกชนของตนเป็นคนดี และเมื่อศาสนิกชนเป็นคนดีแล้วสังคมก็ย่อมจะปราศจากความเดือดร้อน 2. ศาสนาเป็นบ่อเกิดแห่งธรรมจรรยา และขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม และหากบุคคลในสังคม 3. ศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพราะศาสนิกชนสามารถดำเนินวิถีชีวิตตามแบบอย่างของพระศาสดา หรือปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา 4. ศาสนาจะช่วยให้มนุษย์ทราบว่าสิ่งใดดีชั่ว ถูกผิด ตามมาตรฐานของศาสนานั้น ๆ และทราบถึงผลแห่งการกระทำนั้น ๆ เช่น คำสอนเรื่องหลักกรมในพระพุทธศาสนา ว่าทำดีได้ดี หรือทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น 5. ศาสนาเป็นแหล่งรวมศิลปวิทยาการ และถ่ายทอดวิทยาการ เนื่องจากจะเป็นแหล่งความรู้ของศาสตร์แขนงต่างๆ และถ่ายทอดศาสตร์เหล่านั้นไปสู่มนุษย์ในสังคม ความรู้ทางการแพทย์ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม การช่าง การดนตรี และหัตถกรรม เป็นต้น 6. ศาสนาเป็นเครื่องส่งเสริมความมั่นคงในการปกครองประเทศ เช่น พระมหากษัตริย์ไทยทรงยึดมั่นและดำเนินนโยบายในการปกครองประเทศด้วยหลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ 7. ศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ เมื่อปุถุชนเกิดความทุกข์ร้อนใจ กล่าวคือ เมื่อคนเราเกิดความทุกข์กายและใจก็ย่อมจะหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น และรูปแบบหนึ่งของการแก้ไขปัญหาคือการนำหลักธรรมทางศาสนาที่คนเคารพนับถือมาเป็นที่พึ่งทางใจ และนำหลักธรรมมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น