วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ท่องเที่ยว
ความหมายของการท่องเที่ยว
คำว่า ท่องเที่ยว คือการเดินทางท่องเที่ยวตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เป็นสากล ๓ ประการดังนี้
๑.เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
๒. เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
๓. เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่ไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพหรือหารายได้
นักท่องเที่ยว จะนำเงินไปใช้จ่ายเป็น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทางเพื่อชมสถานที่ต่างๆ ค่าซื้อของฝากของที่ระลึก และอื่นๆ อีกจำนวนมาก เงินของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ และนักท่องเที่ยวชาวไทย จะกระจายไปสู่กลุ่มอาชีพต่างๆ ทุกอาชีพ
การเดินทางท่องเที่ยวเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด ได้รับความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ได้พบเห็นภูมิประเทศที่แปลกตา และได้สร้างสัมพันธ์กับคนต่างถิ่นด้วย การคมนาคมสะดวก ธุรกิจต่างๆ เกิดขึ้นเพื่อรองรับการเดินทางมากมายธุรกิจต่างๆ ก่อให้เกิดงานอาชีพใหม่ การกระจายเงินตรา ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ความสำคัญของการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจของประเทศ
๑.ก่อให้เกิดรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก
๒. รายได้จากการท่องเที่ยวจะมีผลทบทวีคูณ ในการสร้างรายได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
๓. การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการหมุนเวียนและการกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค
๔.การท่องเที่ยวกระตุ้นให้เกิดผลดีในรูปการผลิตสินค้าพื้นเมือง สินค้าของที่ระลึก ตลอดจนบริการในท้องถิ่น
๕.การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สิ้นเปลื้องวัตถุดิบ ผลผลิตขายได้ทุกเวลา
๖. การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพทั้งทางตรงและทางอ้อม ลดการว่างงาน ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยว
ปัจจัยภายใน
๑. ทรัพยากรการท่องเที่ยว
ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรการท่องเที่ยวซึ่งหมายถึงสถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรม และวัฒนธรรม ประเพณี ที่สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรมท้องถิ่นที่มีลักษณะเด่น ๓ ประการ คือ
๑.๑ประ เภทธรรมชาติ มีความสวยงามตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา น้ำตก ถ้ำ เขตรักษาพันธุ์สัตว์อุทยานแห่งชาติ
๑.๒ ประเภทประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุสถาน และศาสนา ได้แก่ โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ศาสนสถาน
๑.๓ ประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรม รูปแบบในลักษณะพิธี งานประเพณี ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต
๒.ความปลอดภัย นักท่องเที่ยวจะคำนึงถึงความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นสำคัญ
๓. โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกหลัก เช่น ถนน สะพาน สนามบิน สถานีรถโดยสาร ไฟฟ้า ประปา ระบบสื่อสารที่ทันสมัย
๔.สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น การคมนาคม พิธีการ เข้าเมืองและบริการข่าวสาร ที่พัก ร้านอาหาร บริการนำเที่ยว
๕.สินค้าของที่ระลึก ต้องมีการควบคุมคุณภาพ กำหนดราคา ส่งเสริมการใช้วัสดุพื้นบ้าน การออกแบบที่มีเอกลักษณ์ การบรรจุหีบห่อที่สวยงาม
๖. การโฆษณา การเผยแพร่และการประชาสัมพันธ์
๗. ภาพลักษณ์ของประเทศ ประเทศไทยอุดมด้วยมรดกทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
ปัจจัยภายนอก
๑. สภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของโลก สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การเดินทางท่องเที่ยวจะอ่อนตัวลง
๒.ความนิยมในการท่องเที่ยว
๓.การขยายเส้นทางคมนาคม เช่น ท่าอากาศยานเครื่องบิน ส่งผลให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและประหยัด
๔.การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมือง การท่องเที่ยวจึงมีบทบาทมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนอย่างยิ่ง
คำจำกัดความของนักท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยว หรือ บุคคลที่มิได้มีที่พำนักอาศัยถาวรในราชอาณาจักรไทย เดินทางเข้ามาเพื่อพักผ่อน เยี่ยมญาติมิตร ศึกษาหาความรู้ การกีฬา การศาสนา ติดต่อธุรกิจหรือประกอบภารกิจใดๆ ทั้งนี้ต้องมิได้รับค่าจ้างในการประกอบภารกิจนั้นจากผู้ใดในราชอาณาจักรไทย และเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยแค่ครั้งละอย่างน้อย ๑ คืน แต่ไม่เกิน ๖๐ วัน
คำจำกัดความนี้เป็นคำจำกัดความที่ใช้กันทั่วโลก โดยยึดตามข้อกำหนดขององค์การท่องเที่ยวโลก (WTO) ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคำจำกัดความนี้ จะถูกคัดออกไม่นับว่าเป็นนักท่องเที่ยว จะถือเป็นผู้โดยสารเท่านั้น
การนับจำนวนนักท่องเที่ยว จะนับจดจากบัตรเข้าเมือง ซึ่งควบคุมโดยกองตรวจคนเข้าเมือง จะทำการนับจดทุกบัตร จากทุกด่านที่เป็นจุดเข้าเมืองของประเทศไทย นับตั้งแต่ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่และชายแดนทุกจุด ข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลผลและสุดท้ายได้นำผลเข้าที่ประชุมในคณะอนุกรรมการสถิติและวิจัยทางการท่องเที่ยว ก่อนที่จะนำออกเผยแพร่ทั่วไปเล็กๆ น้อยๆ
การคำนวณทางรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีวิธีคิดคำนวณ จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในแต่ละปี และคูณด้วยจำนวนวันพักเฉลี่ย และคูณด้วยค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อคนต่อวันของนักท่องเที่ยว ซึ่งในส่วนของค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยนั้น พบว่านักท่องเที่ยวให้ความสนใจใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ ตามลำดับความสำคัญดังนี้
๑. ค่าใช้สอยเกี่ยวกับสินค้าของที่ระลึกเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๒๗-๓๐
๒. ค่าที่พักเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๒๖
๓.ค่าอาหารและเครื่องดื่มเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑๗
๔. ค่าบริการขนส่งเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑๕
๕. ค่าบริการบันเทิงต่างๆ เฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑๐
๖. อืนๆ เฉลี่ยประมาณร้อยละ ๓
จากข้อมูลตัวเลขดังกล่าว จึงเป็นข้อยืนยันถึงรายได้ที่เจ้าบ้าน เจ้าของท้องถิ่นจะได้รับ
มารยาทการเป็นเจ้าของบ้าน
การเยี่ยมเป็นการแสดงอัธยาศัยไมตรีของคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม ส่วนมากจะไปเมื่อผู้ที่เราจะเยี่ยมได้รับความทุกข์ มีความสุข ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติด้วยความสัมพันธ์เป็นส่วนตัวหรือธุรกิจการงาน เช่น ไปเยี่ยมเมื่อมีกรณีเจ็บป่วย ไฟไหม้ ตาย ขึ้นบ้านใหม่ คลอดบุตร ครบรอบวันเกิด ได้เลื่อนยศตำแหน่ง ฯลฯมารยาทและวิธีปฏิบัติ
๑. ในบางโอกาสอาจมีของไปเยี่ยมด้วย เป็นการแสดงน้ำใจไมตรี
๒. ควรมีการนัดหมายล่วงหน้าทางโทรศัพท์หรือจดหมาย เพื่อความสะดวกของเจ้าบ้านและต้องไปถึงให้ตรงเวลา
๓. ถ้าบ้านที่ไปเยี่ยมนั้นมีประตูรั้วรอบขอบชิด ก่อนเข้าบ้านควรเคาะประตูหรือกดกริ่งเสียก่อน ถ้าเป็นการพบครั้งแรกควรส่งนามบัตรหรือแจ้งความประสงค์แก่ผู้มาเปิดรับเพื่อแจ้งเจ้าของบ้าน
๔. เมื่อพบเจ้าของบ้านหรือผู้ที่เราไปเยี่ยม ควรทำความเคารพหรือทักทายตามความเหมาะสม ถ้ามีผู้ใหญ่ในครอบครัวควรทำความเคารพท่านด้วย
๕. ถ้าคุ้นเคยกันมาก่อน ควรไต่ถามทุกข์สุขของบุคคลในครอบครัวตามสมควร
๖.ไม่ควรอยู่นานเกินไป เมื่อหมดธุระหรือใกล้จะถึงเวลารับประทานอาหารของเจ้าของบ้าน ควรลากลับ
๗. ไม่ควรไปเยี่ยมพร่ำเพรื่อนัก เพราะอาจรบกวนเจ้าของบ้านจนเกินความจำเป็น
๘. ไม่ควรพาเพื่อนฝูงหรือบุตรหลานไปด้วย เพราะอาจจะก่อความรำคาญให้แก่เจ้าของบ้านได้
ข้อเสนอแนะ
๑. ควรถอดรองเท้าก่อนขึ้นบ้าน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้สวมได้
๒. ถ้าเจ้าของบ้านนำน้ำหรือเครื่องดื่ม หรือของว่างมารับรองก็ดื่มและรับประทานพอสมควร
๓. ถ้าในที่รับรองมีพระพุทธรูปและผู้ไปเยี่ยมเป็นพุทธศาสนิกชน ควรแสดงความเคารพด้วยการกราบหรือไหว้
๔. ถ้าในที่รับรองมีสัญลักษณ์ของศาสนาที่ต่างไปจากผู้ที่ไปเยี่ยมควรให้ความเคารพด้วยอาการสำรวม
๕. ผู้ไปเยี่ยมควรพิจารณาว่า เมื่อได้จังหวะอันสมควรจึงควรเอ่ยถึงจุดประสงค์ของการเยี่ยมเยียน หลังจากได้ทักทายปราศรัยกันแล้ว
๖. ไม่ควรติเตียนสภาพของบ้านหรือพูดถึงเรื่องที่ทำให้เจ้าของบ้านไม่สบายใจ
๗. ไม่ควรขอสิ่งที่เจ้าของบ้านพาไปชมหรือนำมาให้ชมด้วยความภาคภูมิใจ
๘. ในกรณีที่ไปต่างถิ่นผู้ไปเยี่ยมควรศึกษาประเพณีของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วยเพื่อจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
๙. ในกรณีที่ผู้ไปเยี่ยมมีหลายคนและใกล้จะถึงเวลารับประทานอาหารควรหาที่รับประทานให้เสร็จเรียบร้อยก่อน เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนเจ้าของบ้าน
๑๐. ในกรณีที่มีผู้เยี่ยมรายอื่นมาในขณะที่กำลังสนทนากันอยู่ ผู้มาเยี่ยมควรรีบพูดธุระให้เสร็จแล้วลากลับ
คิลปการพูดและการประชาสมพันธ์
การพูด เป็นศิลปพูด อย่างไรให้ เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางฝึกฝนอบรมได้ พัฒนาได้
การพูดต่อที่ชุมชน
๑.มีความรับผิดชอบต่อผู้ฟัง
๒.มความรับผิดชอบต่อตนเอง
๓.มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวม
ทำอย่างไรจึงจะพูดได้ดี
๑.รู้จักเลือกพูดในสิ่งที่มีประโยชน์ และบังเกิดผล
๒.พูดสั้น ได้เนื้อหา ใช้เวลาน้อย
๓.พูดแล้วไม่เกิดผลเสียต่อผู้พูดเอง
ก่อนจะพูดจะต้องศึกษาอะไรบ้าง
๑.ผู้ฟังเป็นใคร
๒.อายุของผู้ฟัง
๓.เพศของผู้ฟัง
๔.กลุ่มผู้ฟัง
๕.พื้นฐานการศึกษา
๖.อาชีพ
๗.เรื่องที่จะพูด
๘.ความคิดเห็นของผู้ฟัง
๙.สรรพนาม/คำพูดที่ใช้
๑๐.คำควบกล้ำ
๑๑.ภาษาต่างประเทศ ใช้กับใคร เหมาะสมไหม
๑๒.ท่าที น้ำเสียง
๑๓.จังหวะจะโคน
๑๔.ระดับเสียงต่างกัน
๑๕.ความรู้สึกเป็นมิตรเป็นธรรมชาติ
การพูดอ่านหน้าที่ชุมชนมีความสำคัญต่อผู้พูดอย่างยิ่ง เพราะ
๑.มีคนฟัง
๒.ต้องมีเนื้อหาสาระ
๓.มีประโยชน์ต่อผู้พูด-ต่อผู้ฟัง
๔.เกิดประโยชน์นำไปใช้ได้
การพูดต่อที่ชุมชน เกิดจาก
๑. มนุษย์รวมตัวกันเป็นหมู่เหล่า
๒.มนุษย์มีภาษาเป็นสื่อถ่ายทอดความหมาย
๓.มีผู้นำมาและผู้ตาม
๔.การชักชวน การออกคำสั่ง
๕.มีการชี้แจงต่อบุคคลหมู่มาก
๖.การพูดจึงมีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
๗.การถ่ายทอดความคิด ภูมิปัญญา การเขียน การพูด
ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
๑.ผู้พูดที่ดี มีความศรัทธาเลื่อมใส พัฒนาตนเอง
๒.ใฝ่หาความรู้ พูดมีเนื้อหา ฟังมากๆ อ่านมาก
๓.ช่างสังเกตและจดจำ ถ้อยคำสำนวนดีๆ
๔.หมั่นฝึกฝน
๕.มีความจริงใจ ในเรื่องที่พูด ผู้พูด ผู้ฟัง
๖.การพูดจะต้องพัฒนาตลอดเวลา
ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการพูดที่เห็นทั่วไป
๑.พูดยาวไป ไม่รู้จักกาละเทศะ
๒.พูดสั้นไป ขาดความรู้ ขาดสาระ
๓.พูดไม่ชวนฟัง ขาดศิลปในการถ่ายทอด
๔.พูดไม่รู้เรื่อง ผู้ฟังจับใจความไม่ได้
๕.พูดไม่ถูกหู พูดแล้วไม่เกิดประโยชน์
๖.เกิดจากอุปนิสัยของผู้พูด พูดไม่น่าฟัง พูดจาลามก
ป้ายกำกับ:
ท่องเที่ยว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น