วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กล่องดำที่อยู่ในเครื่องบิน

bb1

เมื่อใดก็ตามที่เกิดอากาศยานอุบัติเหตุ สองสิ่งแรกที่หน่วยกู้ภัยต้องรีบค้นหาคือ ผู้รอดชีวิตและอุปกรณ์บันทึกข้อมูลการบิน หรือที่เรียกกันว่า "กล่องดำ (Black Box)"

เครื่องบินโดยทั่วไปจะต้องปฏิบัติตามกฎด้านการบิน ในการติดตั้ง "กล่องดำ" สองชนิดสำหรับบันทึกข้อมูลการบินเพื่อช่วยจำลองเหตุการณ์ก่อนหน้าที่จะเกิดอุบัติเหตุ โดย

กล่องดำ 2 ชนิดนั้นมี ดังนี้


เครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน (The Cockpit Voice Recorder - CVR)

1. กล่องที่ชื่อว่า Cockpit Voice Recorder (CVR) โดย เครื่อง CVR จะบันทึกเสียงพูดของนักบิน รวมทั้งเสียงอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในห้องนักบิน โดยรับเสียงจากไมโคร-
    โฟนของนักบิน และไมโครโฟนที่ติดตั้งไว้ในแผงอุปกรณ์ด้านบนระหว่างนักบินทั้งสอง เสียงที่เกิดขึ้นในห้องนักบินทั้งหมดเช่น เสียงเครื่องยนต์ สัญญาณเตือน เสียงการคลื่อนไหวของฐานล้อ เสียงการกดหรือว่าปลดสวิตช์ต่างๆ เสียงการโต้ตอบการจราจรทางอากาศ การแจ้งข่าวอากาศ และการสนทนาระหว่างนักบินกับพนักงานภาคพื้น-หรือลูกเรือ จะถูกบันทึกไว้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน โดยจะนำไปพิจารณาประกอบกับค่าอื่นๆ เช่น รอบเครื่องยนต์ ระบบที่ผิดปกติ ความเร็ว และเวลา ณ เหตุการณ์ นั้นๆ เครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบินแบบแถบแม่เหล็ก จะบันทึกเสียงได้ในช่วงเวลาประมาณ 30 นาที จากนั้นจะขึ้นรอบการบันทึกใหม่ ในขณะที่เครื่องบันทึกแบบหน่วย
 ความจำ สามารถบันทึกได้รอบละประมาณสองชั่วโมง

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ชุมชนความรู้360องศา: การดูแลรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง

ชุมชนความรู้360องศา: การดูแลรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง: ปัจจุบันผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ทำให้เกิดภาวะอัมพาตของขา 2 ข้าง  หรือทั้งขาและแขนมีมากขึ้น นับเป็นปัญหาซึ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ...

การดูแลรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง


ปัจจุบันผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ทำให้เกิดภาวะอัมพาตของขา 2 ข้าง  หรือทั้งขาและแขนมีมากขึ้น
นับเป็นปัญหาซึ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ  เนื่องจากสาเหตุของการเกิดบาดเจ็บไขสันหลังมักเกิดจากอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ ์ รถยนต์ ซึ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ  จากการตกจากที่สูง  ถูกยิง  ถูกแทง ของหนักตกทับ หรือสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคของไขสันหลัง เยื่อหุ้มไขสันหลัง หรือหลอดเลือดของไขสันหลังผู้ป่วยจากอุบัติเหตุส่วนใหญ่เป็นชายมากกว่าหญิงประมาณ 2.4 ถึง 4 เท่า  และอายุมักอยู่ในช่วงระหว่าง 24 ถึง 44 ปี ซึ่งเป็นวัยทำงาน ทำให้เกิดการสูญเสียเป็นอย่างมาก 


ดังนั้นความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะทำให้
ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี


การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังจากอุบัติเหตุ จุดประสงค์ คือ 

ไขสันหลัง

ไขสันหลัง
         ไขสันหลัง (spinal cord) เป็นส่วนของระบบประสาทที่ต่อออกมาจากเมดัลลาออบลองกาตา อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ตั้งแต่กระดูกสันหลังข้อแรกจนถึงกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอวข้อที่ 2 และมีเยื่อหุ้มเช่นเดียวกับสมอง
ไขสันหลังบริเวณอกและเอวขยายกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ เมื่อเลยกระเบนเหน็บลงไปแล้ว จะเรียวเล็กจนมีลักษณะเป็นเส้นไม่มีเยื่อหุ้ม ดังนั้นการฉีดยาเข้าที่บริเวณไขสันหลังและเจาะน้ำบริเวณไขสันหลังจึงทำกันต่ำกว่ากระดูกสันหลังเอวข้อที่สองลงมา

เส้นประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังมีทั้งหมด 31 คู่ เป็นเส้นประสาทประสม(mixed never)แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5บริเวณดังนี้

เส้นประสาทไขสันหลัง




เส้นประสาทไขสันหลังคือ เส้นประสาทที่ออกมาจากไขสันหลัง โดยการรวมกันของรากเส้นประสาทด้านหลัง (dorsal root) กับรากเส้นประสาทด้านหน้า (ventral root)รากเส้นประสาทด้านหลัง (dorsal root) ประกอบด้วยเซลล์ประสาทรับความรู้สึก ทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้ามายังไขสันหลัง

รากเส้นประสาทด้านหน้า (ventral root) ประกอบด้วยเซลล์ประสาทนำคำสั่ง (motor nerves) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทหรือคำสั่งจากไขสันหลังออกไปยังกล้ามเนื้อหรือต่อมต่างๆภายในร่างกาย

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

4 สิงหาคม วันสื่อสารแห่งชาติ

"การสื่อสาร" คือ กระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร ที่มีความสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน เพราะคนเราทุกคนต้องสื่อสาร ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของท่าทาง สัญลักษณ์ หรืออยู่ในรูปแบบของภาษา... ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ที่ได้ทรงพระราชทาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มีใจความว่า

          "การสื่อสารเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ในการพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศด้วย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน ที่สถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ย่อมมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ ทุกฝ่ายและทุกหน่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประเทศ จึงควรจะได้ร่วมมือกันดำเนินงานและประสานผลงานกันอย่างใกล้ชิดและสอดคล้อง สำคัญที่สุด ควรจะได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิชาการและเทคโนโลยี อันทันสมัยให้ลึกและกว้างขวาง แล้วพิจารณาเลือกเฟ้นส่วนที่ดี มีประสิทธิภาพแน่นอนมาปรับปรุงใช้ด้วยความฉลาดริเริ่ม ให้พอเหมาะพอสมกับฐานะและสภาพบ้านเมืองของเรา เพื่อให้กิจการสื่อสารของชาติได้พัฒนาอย่างเต็มที่ และสามารถอำนวยประโยชน์แก่การสร้างเสริมเศรษฐกิจ สังคม และเสถียรภาพของบ้านเมืองได้อย่างสมบูรณ์แท้จริง"

           ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดให้วันที่ 4 สิงหาคมของทุกปี เป็น "วันสื่อสารแห่งชาติ" โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารจะมีการจัดงานและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น การจัดทำดวงตราไปรษณียากรที่ระลึกวันสื่อสารแห่งประเทศไทย การจัดนิทรรศการแสดงเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม ฯลฯ และวันนี้เรามีเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับ "วันสื่อสารแห่งชาติ" มาฝากเพื่อน ๆ กันด้วย...
          ตามประวัติความเป็นมาของวันสื่อสารแห่งชาติ ขอย้อนกลับไปในปี พ.ศ.2526 คณะกรรมการจัดงานปีการสื่อสารโลก ได้พิจารณาเห็นว่าวันที่ 4 สิงหาคม 2426 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา "กรมไปรษณีย์" และ "กรมโทรเลข" ขึ้นในประเทศไทย

10 สุดยอดอาหารที่ควรทานทุกวัน


1. โยเกิร์ต

          อาหารสุขภาพที่หลาย ๆ คนมักจะซื้อไว้ติดบ้าน เอาไว้ทานยามหิว และนั่นเป็นสิ่งที่ดีแล้วค่ะ เพราะในโยเกิร์ตนั้นมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี วิตามินบี 12 และโปรตีน ดังนั้น ถ้าคุณทานโยเกิร์ตให้ได้วันละ 1 ถ้วย จะทำให้สุขภาพคุณดีอย่าบอกใครเลยล่ะ

2. คะน้า

          มีสารเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด รวมถึงมีวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ สร้างภูมิต้านทานโรคที่ดี นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมเสริมสร้างการทำงานของกระดูก


การออกกำลังกายท่าพื้นฐาน


ท่าทางและอิริยาบทในการใช้ชีวิตประจำวัน


วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หลัก ๘ ประการของการดูแลรักษาสุขภาพ

.1 รับประทานอาหาร  อย่างถูกต้องเหมาะสม
           อาหารเช้า สำคัญมากเพราะช่วงเช้าร่างกายขาดน้ำตาล ถ้าไม่รับประทานอาหารเช้าจะเกิดภาวะขาดน้ำตาลซึ่งจะม ผลทำให้ความคิดตื้อตันไม่ปลอดโปร่ง วิตกกังวล ใจสั่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด โมโหง่าย มื้อเช้ารับประทานได้เช้า ที่สุดยิ่งดี (ระหว่างเวลา ๖.๐๐ – ๗.๐๐ น.) เพราะท้องว่างมานาน หากยังไม่มีอาหารให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำข้าวอุ่น ๆ ก่อน ควรทานข้าวต้มร้อน ๆ จะช่วยให้ง่ายต่อการขับถ่ายอุจจาระ ถ้าจำเป็นต้องรับประทาน(สาย) ใกล้อาหารมื้อกลางวัน อย่ารับประทานมาก
         
 อาหารเพล (อาหารมื้อกลางวัน)ควรเป็นอาหารหนัก เช่น ข้าวสวย พร้อมกับข้าวครบ ๕ หมู่ เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมาก และควรรับประทานให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย