วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ไขสันหลัง

ไขสันหลัง
         ไขสันหลัง (spinal cord) เป็นส่วนของระบบประสาทที่ต่อออกมาจากเมดัลลาออบลองกาตา อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ตั้งแต่กระดูกสันหลังข้อแรกจนถึงกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอวข้อที่ 2 และมีเยื่อหุ้มเช่นเดียวกับสมอง
ไขสันหลังบริเวณอกและเอวขยายกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ เมื่อเลยกระเบนเหน็บลงไปแล้ว จะเรียวเล็กจนมีลักษณะเป็นเส้นไม่มีเยื่อหุ้ม ดังนั้นการฉีดยาเข้าที่บริเวณไขสันหลังและเจาะน้ำบริเวณไขสันหลังจึงทำกันต่ำกว่ากระดูกสันหลังเอวข้อที่สองลงมา

เส้นประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังมีทั้งหมด 31 คู่ เป็นเส้นประสาทประสม(mixed never)แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5บริเวณดังนี้


เส้นประสาทบริเวณคอ (cervical never) 8 คู่

 เส้นประสาทบริเวณอก (thoracal never) 12 คู่

 เส้นประสาทบริเวณเอว (lumbar never) 5 คู่

 เส้นประสาทบริเวณกระเบนเหน็บ (sacral never) 5 คู่

 เส้นประสาทบริเวณก้นกบ (coccygeal never) 1 คู่

เส้นประสาทที่ไขสันหลังไปเลี้ยงแขนและขาจะมีความยาวมากกว่าไปเลี้ยงลำตัวถ้าตัดไขสันหลังออกตามขวางจะพบว่าแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

 1.ส่วนที่เป็นสีเทา

 2.ส่วนที่เป็นสีขาว

1. เนื้อสีเทา (gray matter) 
       อยู่ทางด้านใน มีลักษณะเป็นรูปผีเสื้อเป็นที่อยู่ของเซลล์ประสาทและ ใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม ส่วนตรงกลางของไขสันหลัง บริเวณเนื้อสีเทาจะมีช่องในไขสันหลัง เรียกว่า ช่องกลวงตรงกลางไขสันหลัง (central canal) เป็นที่อยู่ของ น้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebo-spinal fluid)
ส่วนของไขสันหลังสีเทาที่ยื่นไปข้างหลัง เรียกว่า ปีกบน (posterior gray horn) จะมีแอกซอนของเซลล์ประสาทพวกรับความรู้สึกจากอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ เข้าสู่ปีกบนทางรากบน (dorsal root) ของเส้นประสาทไขสันหลัง

ส่วนไขสันหลังสีเทาที่ยื่นออกมาข้างหน้าเรียกว่าปีกล่าง(anterior gray horn vetral gray horn) เป็นที่อยู่ของ เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron ) นำกระแสประสาทออกทางรากล่าง (ventral root) ของเส้นประสาทไขสันหลัง


ไขสันหลังส่วนสีเทาแบ่งตามหน้าที่ สามารถจำแนกได้ 4 บริเวณ คือ 

1.1 โซมาติกเซนซอรีคอลัมน์ (somatic motor column)
เป็นบริเวณที่ทำหน้าที่ในการรับความรู้สึก คือ รับความรู้สึกจากผิวหนังและกล้ามเนื้อ ทั่วร่างกายได้แก่ส่วนของปีกบน (posterior gray horn) ด้านใน ซึ่งอยู่ชิดกับร่องทางด้านหลังของไขสันหลัง

1.2 โซมาติก มอเตอร์ คอลัมน์ (somatic motor column ) 
เป็นบริเวณที่ทำหน้าที่สั่งการออกจากไขสันหลังไปสู่กล้ามเนื้อของอวัยวะตอบสนองต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ได้แก่ ส่วนของปีกล่าง (anterior gray horn ) ด้านใน ซึ่งชิดกับร่องทางด้นหลังของไขสันหลัง

1.3 วิสเซอรัล เซนเซอรี คอลัมน์ (visceral sensory column )
เป็นบริเวณที่รับความรู้สึกจากอวัยวะภายในต่าง ๆ ได้แก่ ส่วนของปีกบนด้านนอก ซึ่งอยู่ชิดกับด้านข้างของเนื้อสีขาว (white matter )

1.4 วิสเซอรัลมอเตอร์คอลัมน์ (visceral motor column ) 
เป็นบริเวณที่ทำหน้าที่สั่งการออกไปสู่กล้ามเนื้อของอวัยวะภายในต่าง ๆได้แก่ ส่วนของปีกล่างด้านนอกซึ่งอยู่ชิดกับด้านข้างของเนื้อสีขาว
2. เนื้อสีขาว (white matter )
      
 เป็นส่วนที่อยู่ด้านนอก เป็นพวกใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มอยู่หนาแน่น จึงมีสีขาวทำหน้าที่เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างไขสันสันหลังกับสมอง

กลุ่มเส้นประสาทแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ

1. กลุ่มเส้นประสาทนำกระแสประสาทเข้าสู่สมอง (ascending tract ) 

2. กลุ่มเส้นประสาทสั่งการจากสมองผ่านไขสันหลังไปยังอวัยวะตอบสนองต่างๆ(descending tract )
กลุ่มเส้นประสาทนำกระแสประสาทเข้าสู่สมอง (ascending tract ) 

แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ เช่น นำกระแสประสาทจากกล้ามเนื้อเข้าสู่ไขสันหลังและสมอง นำกระแสประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการสัมผัส ความดัน ไปสู่สมองส่วนที่ทำหน้าที่นั้น ๆ นำกระแสประสาทเกี่ยวกับความรู้สึกเจ็บและอุณหภูมิจากอวัยวะ รับสัมผัสต่าง ๆ เข้าสู่สมอง
กลุ่มเส้นประสาทสั่งการจากสมองผ่านไขสันหลังไปยังอวัยวะตอบสนองต่าง ๆ (descending tract )
ได้แก่ กลุ่มเส้นประสาทที่นำคำสั่งจากสมองโดยเฉพาะจากซีรีบัลคอร์เทกซ์ (cerebral cortex) ลงมาตามไขสันหลังไปสู่กล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในอำนาจจิตใจ (voluntary muscle ) ทั่วร่างกาย
เส้นประสาทไขสันหลังแต่ละเส้นประกอบด้วยมัดเส้นใยประสาทหลาย ๆ มัด และมัดเส้นใยประสาทประกอบด้วยใยประสาทจำนวนมาก มัดเส้นใยประสาทมีทั้งเส้นใย ประสาทสั่งการและใยประสาทรับความรู้สึก ดั้งนั้น ส้นประสาทไขสันหลังจึงเป็นเส้นประสาทประสม (mixed nerve) ทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น