วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553
อาณาจักรสุโขทัย (การปกครอง, เศรษฐกิจ, สภาพสังคม)
พระมหากษัตริย์แบบปิตุราชานี้ เป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งทางการเมืองการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย เป็นลักษณะเด่นที่มักจะได้รับการกล่าวถึงและอยู่ในห้วงนึกคิดของผู้คนโดยทั่วไป เมื่อเอ่ยถึงประวัติศาสตร์สุโขทัย อันที่จริง ราชาธิปไตยแบบพ่อปกครองลูก หรือปิตุราชาธิปไตย นี้มีอยู่เฉพาะในสุโขทัยตอนต้นเท่านั้น ต่อมาลักษณะของกษัตริย์แบบพ่อขุนจะได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาเป็นกษัตริย์แบบธรรมราชา ตามสภาพแวดล้อมทางการเมืองและความจำเป็นในสมัยหลัง
1. ลักษณะการปกครองแบบบิดาปกครองบุตร(Patriarchal Family) ซึ่งเป็นวิธีการปกครองของไทยตั้งแต่เดิมมา โดยถือบิดาเป็นหัวหน้าครอบครัว มีหน้าที่คอบอบรมบุตรหลานให้ประพฤติในทางที่ชอบที่ควร ตลอดจนคอยช่วยเหลือเกื้อกูลให้บุตรหลานมีที่ทางทำมาหากิน หลายๆ ครอบครัวมารวมกันเป็นหมู่หนึ่ง มีผู้นำคนหนึ่งทำหน้าที่ปกครองดูแล หลายๆ หมู่รวมกันเป็นประเทศ ซึ่งมีลักษณะคล้ายครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยประชาชน หรือคนครอบครัวจำนวนมากมาย มีหัวหน้าใหญ่ ซึ่งทำหน้าที่ปกครองดูแลคนภายในครอบครัวให้มีความสุขและปลอดภัย ซึ่งในสมัยสุโขทัยเรียกว่า พ่อขุน ลักษณะเด่นของการปกครองแบบนี้ก็คือ ผู้ทำหน้าที่ปกครองและผู้ถูกปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เป็นแบบ Two Way Process ซึ่งหมายถึงลักษณะผู้ปกครองไปสู่ผู้ถูกปกครอง และจากผู้ถูกปกครองจะย้อนกลับมาสู่ผู้ปกครอง
2. ลักษณะการปกครองแบบกระจายอำนาจ คือมีการกระจายอำนาจออกไปจาก ศูนย์กลางสู่เมืองต่างๆ ใน สองรัชกาลแรกบ้านเมืองยังไม่เรียบร้อย มีการทำสงครามอยู่ตลอดและอาณาก็ยังไม่กว้างขวาง ประกอบกับพลเมืองก็ยังมีไม่มาก การปกครองแบบกระจายอำนาจจึงยังไม่เกิดขึ้นจนถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง
บ้านเมืองสงบและกว้างขวางเพราะมีการขยายดินแดนออกไป พลเมืองเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้พระองค์มีนโยบาย "สร้างบ้านแปลงเมือง" ในคำจารึกหลักที่ 3 ปรากฏว่า ไดทำการแต่งตั้งเจ้าเมืองไปปกครองเมืองต่างๆ มีศักดิ์เป็น "ขุน" หลายเมือง เช่น คณที พระบาง เชียงทอง บางพาน บางฉลัง เป็นต้น
3. ลักษณะคล้ายแบบประชาธิปไตย การปกครองสมัยสุโขทัยแตกต่างกว่าสมัยอยุธยามาก เพราะสมัยอยุธยาเป็นแบบ Autocratc System คือกษัตริย์กำอำนาจเด็ดขาดแต่ผู้เดียว ใครจะคัดค้านไม่ได้ ซึ่งถือรูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราช(Absolute Monarchy) แต่สมัยสุโขทัย กษัตริย์ไม่ยกตนเองสูงมากจนเกินไป ไม่กำอำนาจไว้แต่เพียงผู้เดียวทั้งยอมให้ประชาชนมีอิสระเสรีมากกว่า
การปกครองสมัยสุโขทัย
เมื่อแรกก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย ยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง จำนวนพลเมืองยังมีไม่มากและกำลังอยู่ในระยะก่อร่างสร้างตนเพื่อความเป็นปึกแผ่น จึงยังคงมีความเคยชินอยู่กับการกครองแบบดั้งเดิม ซึ่งยึดถือความสัมพันธ์ทางครอบครัวเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ พระมหากษัตริย์สุโขทัยในระยะต้นจึงทรงวางพระองค์ประดุจบิดาของประชาชน ทรงปกครองดูแลไพร่บ้านเมืองอย่างใกล้ชิด และด้วยความเอาใจใส่เหมือนดั่งพ่อบ้านดูแลรับผิดชอบลูกบ้านของตนเอง ในขณะเดียวกันก็ทรงมีอำนาจสิทธิ์ขาดเหนือชีวิตของลูกบ้านด้วย การปกครองแบบนี้ก่อให้เกิดพระมหากษัตริย์แบบปิตุราชา ซึ่งมักจะใช้คำนำหน้าพระนามว่า "พ่อขุน" ในยามสงบ พ่อขุนมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาราษฎร์ ประชาชนสามารถร้องทุกข์ต่อพ่อขุนได้ยอย่างใกล้ชิด นอกจากนั้น พ่อขุนยังมีภาระหน้าที่เป็นผู้พิพากษาสูงสุดในการให้ความยุติธรรมแก่ราษฎร วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทต่างๆ ของพลเมือง อีกทั้งยังส่งเสริมทำนุบำรุงพุทธศาสนา สั่งสอนอบรมศีลธรรมจรรยาแก่ประชาชนและช่วยเหลือดูแลการประกอบอาชีพด้วย ในยามสงคราม พ่อขุนจะเป็นแม่ทัพใหญ่ในการต่อสู้กับอริราชศัตรู รวมทั้งมีภาระหน้าที่ในการแผ่ขยายอาณาเขตเพื่อความมั่นคงของอาณาจักร
การพิจารณาดูว่า สังคมใดมีประชาธิปไตยหรือไม่ ก็คือ การพิจารณาว่า ในสังคมนั้นมีเสรีภาพ ภราดรภาพ เสมอภาค อยู่อย่างพร้อมมูลมากน้อยเพียงใด แต่สังคมสมัยสุโขทัยนั้น ปรากฏจากหลักฐานว่า ประชาชนมีเสรีภาพอยู่มาก กล่าวคือ
ด้านเสรีภาพ ประชาชนมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์หลายๆ ประการ ดังปรากฏจากหลักฐานทางศิลาจารึก พอสรุปได้คือ เสรีภาพในการเรียกร้องหาความยุติธรรม ประชาชนทุกคนมีโอกาสที่จะอุทธรณ์ฟ้องร้องคดีใดๆ ก็ได้ ถ้ามีใครมาทำให้เดือดร้อน ศิลาจารึกกล่าวว่า "… ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจมันจักกล่าวถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรางคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม…"ด้านความเสมอภาค ประชาชนสุโขทัย มีความเสมอภาคทางการดำรงชีวินในสังคมไม่ว่าจะเป็นการเลือกอาชีพ การค้าขาย การเข้ารับการ หรือการทำงานสิ่งใดๆ อาจจะเอาเชลยศึกเป็นทาส แต่ไม่ถูกกดขี่รุนแรงนัก ดังในศิลาจารึกกล่าวว่า "..ได้ข้าเสือกข้าเสือหัวพุ่ง หัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี…"
ด้านภารดรภาพ ในสมัยสุโขทัยประชาชนมีภราดรภาพดีมาก มีความรักกันฉันท์พี่น้อง การที่มีภราดรภาพดีอาจเป็นเพราะลักษณะการปกครองส่งเสริมด้วย กล่าวคือ การปกครองแบบพ่อปกครองลูก ทำให้ประชาชนคบหาสมาคมกันด้วยความใกล้ชิด มีความรู้สึกเหมือนเป็นพี่น้องกันมากขึ้น ภราดรภาพอีกประการหนึ่ง คือ การที่พ่อเมืองทำหน้าที่เป็นผู้อบรมจิตใจของประชาชนด้วยตนเอง เข้าทำนองนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน ที่สนับสนุนให้ข้าราชการฝ่ายปกครองใช้นโยบายเข้าถึงจิตใจประชาชน ไม่วางตนเป็นนายของประชาชน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า นโยบายเช่นนี้ได้ผลดีมากในปัจจุบัน
แต่นโยบายเช่นนี้ไม่ใช่ของใหม่แต่เป็นนโยบายที่เคยใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยกระนั้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การปกครองสมัยสุโขทัยนั้น เป็นแบบบิดาปกครองบุตร หรือแบบปิตลาธิปไตย ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญที่สุดที่ใช้ในการปกครองสุโขทัย ลักษณะอื่นที่มีความเด่นน้อยกว่า แต่ก็พอจะกล่าวได้ว่า ลักษณะอื่นก็มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศพร้อมกัน ไปกับแบบบิดาปกครองบุตรด้วยการควบคุมกำลังคน
ในสมัยก่อน กำลังคนหรือแรงงานไพร่นับเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งอย่างหนึ่งของอาณาจักร ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ คำว่า "ไพร่" หมายถึง ประชาชนทั่วๆ ไป คนส่วนใหญ่สังคมประมาณร้อยละ 80-90 จะเป็นไพร่ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กำลังคนมีความสำคัญอย่างมากต่อการเสริมสร้างและแผ่ขยายอาณาจักร เพราะในด้านเศรษฐกิจ กำลังคนเป็นบ่อเกิดของผลผลิตต่างๆ ซึ่งยังความมั่งคั่งสมบูรณ์ให้แก่รัฐ ในขณะเดียวกัน กำลังคนก็เป็นพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งของการสร้างอำนาจทางการเมือง เป็นกองทัพในยามเกิดศึกสงครามอีกทั้งยังเป็นแรงงานโยธาในการก่อสร้างต่างๆ เช่น สร้างป้อมปราการ กำแพงเมือง ขุดอ่างเก็บน้ำ คูเมือง สร้างถนนหนทาง และวัดวาอารามต่างๆ
ดังนั้น แต่ละอาณาจักรจึงต้องสร้างวิธีการหรือระบบที่มีคุณภาาพในการควบคุมกำลังคน เพื่อให้สามารถเกณฑ์แรงงานไพร่มาใช้ได้อย่างรวดเร็วในยามที่เกิดความต้องการ จะเห็นได้ว่า ระบบการเมืองการปกครองของสุโขทัย มีจุดอ่อนอยู่ 2 ประการ คือ ไม่มีการจัดรูปแบบการปกครองที่กระชักรัดกุม และไม่มีระบบการควบคุมกำลังคนอย่างเคร่งครัด ซึ่งจุดอ่อนทั้ง 2 ข้อนี้ เป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้อาณาจักรไม่เข้มแข็ง และง่ายต่อการแตกสลาย อย่างไรก็ตาม ระบบการเมืองการปกครองของสุโขทัยก็มีลักษณะเด่นอยู่ที่การรับรูปแบบกษัตริย์และการปฏิบัติตนตามแนวคิดทางการเมืองของศาสนานั้นอยู่โดดเด่นเหนือองค์กรทางการปกครองอื่นๆ ซึ่งมีโครงสร้างค่อนข้างหลวม ด้วยเหตุนี้ พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นผู้ดึงความกระจัดกระจายในท่ามกลางโครงสร้างที่หลวมนั้นให้มารวมอยู่ด้วยกัน ความเจริญหรือความเสื่อมของอาณาจักรจึงขึ้นกับบุคลิกภาพขององค์พระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก
การพิจารณาดูว่าสังคมใดมีประชาธิปไตยหรือไม่ ก็คือ การพิจารณาว่า ในสังคมนั้นมีเสรีภาพ ภราดรภาพ เสมอภาค อยู่อย่างพร้อมมูลมากน้อยเพียงใด แต่สังคมสมัยสุโขทัยนั้น ปรากฏจากหลักฐานว่า ประชาชนมีเสรีภาพอยู่มาก กล่าวคือ
ด้านเสรีภาพ ประชาชนมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์หลายๆ ประการ ดังปรากฏจากหลักฐานทางศิลาจารึก พอสรุปได้คือ เสรีภาพในการเรียกร้องหาความยุติธรรม ประชาชนทุกคนมีโอกาสที่จะอุทธรณ์ฟ้องร้องคดีใดๆ ก็ได้ ถ้ามีใครมาทำให้เดือดร้อน ศิลาจารึกกล่าวว่า "… ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจมันจักกล่าวถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรางคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม…"
การแบ่งสมัยการปกครองของสุโขทัย
1. สมัยสุโขทัยตอนต้น มีลักษณะการปกครองที่สำคัญคือ
1.1 หลักการปกครองแบบบิดาปกครองบุตร เป็นแบบราชาธิปไตย ที่ถือหลักการปกครองครอบครัว กษัตริย์เสมือนเป็นบิดาของประชาชน และการปกครองแบบทหารที่ยามปกติทำมาหากิน ยามสงครามชายฉกรรจ์ทุกคนเป็นทหาร
1.2 กษัตริย์ใช้หลักธรรมในการปกครอง และสั่งสอนประชาชนให้อยู่ในศีลธรรม หลักธรรมที่ใช้ในการปกครองเรียกว่า ทศพิธราชธรรม
2. สมัยสุโขทัยตอนปลาย มีลักษณะการปกครองที่สำคัญคือ
2.1 ปกครองแบบธรรมราชา ที่ยึดคติเทวราชแบบเขมรที่ผสมกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เช่น ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร เป็นต้น
2.2 มีการจัดระเบียบการปกครองราชอาณาจักร เป็นเมือง 4 ประเภท เช่นเดียวกับสุโขทัยตอนต้น
ขอบเขตของการปกครองในตอนต้นสมัยสุโขทัย คือ รัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนบานเมือง นั้น การปกครองประเทศคงไม่ยุ่งยากเท่าใด เพราะบ้านเมืองยังเล็กอยู่ ผู้คนก็ไม่มากนัก ครั้งต่อมาบ้านเมืองใหญ่โตขึ้นอาณาเขตขยายออกไปกว้าง ได้ดินแดนเพิ่มขึ้นมากมาย ทำให้คนในการปกครองมีมาก
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบรรยายเกี่ยวกับขอบเขตการปกครองในหนังสือเรื่อง ลักษณะการปกครองสยามแต่โบราณ ไว้ พอสรุปได้ดังนี้
การแบ่งเขตการปกครองสุโขทัยนั้น อาจถือกำหนดจากคัมภีร์ราชศาสตร์ของพราหมณ์เป็นหลัก คือมีราชธานีตั้งอยู่กลาง และมีเมืองลูกหลวงล้อมทั้งสี่ทิศ
เท่าที่มีหลักฐานอยู่ก็พอสรุปได้ว่า ได้แบ่งเขตออกเป็น เมืองหลวง, เมืองลูกหลวง,
พระเมืองพระยามหานคร, เมืองออกหรือเมืองขึ้น วิธีแบ่งเขตการปกครองแบบนี้ได้ใช้มาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งแยกได้ดังนี้
1. ราชธานี คือ เมืองหลวง
ขอบเขตของการปกครอง
วิธีแบ่งเขตการปกครองแบบนี้ได้ใช้มาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งแยกได้ดังนี้
\
1. ราชธานี คือ เมืองหลวง ซึ่งเป็นเมืองที่ประทับของกษัตริย์ มีกำแพงเมือง 3 ชั้น
(ตรีบูร) มีพระราชวังและวัดวาอารามที่ใหญ่โต ทั้งที่อยู่ภายในกำแพงเมืองและนอกกำแพงเมือง เป็นศูนย์รวมการปกครองและศูนย์กลางวัฒนธรรม เช่น ศาสนา ศิลป ขนบธรรมเนียมประเพณี คำสั่งหรือนโยบายการปกครองต่างๆ จะออกไปราชธานีทั้งสิ้น ที่ราชธานี มีกษัตริย์เป็นประมุข ทำการสั่งงานและปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วย
2. หัวเมืองชั้นใน คือ เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน เป็นเมืองขนาดใหญ่กว่าเมืองอื่นๆ และมีความสำคัญรองไปจากราชธานี
มีอยู่ 4 ทิศของราชธานี เดิมมีอยู่เมืองเดียวทางด้านเหนือคือ เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเคยมีความสำคัญคู่กับสุโขทัย ต่อมาจึงมีเมืองลูกหลวงเพิ่มขึ้นอีก 3 เมือง และทำหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านด้วย
การที่มีเมืองลูกหลวงเพิ่มขึ้น ก็เพราะพระราชวงศ์ของกษัตริย์มีมากขึ้น และกษัตริย์ก็ทรงต้องฝึกให้เชื้อพระวงศ์มีความชำนาญในการปกครอง และเพื่อการแบ่งเบาภาระหน้าที่ในการปกครองประเทศด้วย
เมืองลูกหลวงทั้ง 4 นี้คือ
ทิศเหนือ คือ เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นเมืองสำคัญควบคู่กับสุโขทัยมาแต่เดิม เมืองนี้มีป้อมปราการทำด้วยศิลาแลงอย่างมั่นคง มีวัดวาอารามที่ใหญ่โตหลายๆ แห่ง ซึ่งปัจจุบันยังมีสภาพดีอยู่มาก เมืองนี้เป็นเมืองที่ประทับของมหาอุปราชา
ทิศตะวันออก คือ เมืองสองแคว(ปัจจุบันคือพิษณุโลก) เป็นเมืองใหญ่มีกำแพงเมืองและมีวัดที่สำคัญคือวัดพระศรีมหาธาตุ มีพระพุทธรูปสำคัญประดิษฐานอยู่คือ พระพุทธชินราช(สร้างสมัยพญาลิไท)
ทิศตะวันตก คือ เมืองนครชุม(ปัจจุบันอยู่ฝั่งตะวันตกของจังหวัดกำแพงเพชร) ตัวเมืองเป็นกำแพงดินล้อมรอบ ภายในเมืองมีวัดที่สำคัญคือวัดพระมหาธาตุ ซึ่งปรากฏเรื่องราวที่สำคัญดังจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม)
ทิศใต้ คือ เมืองสระหลวง มีกำแพงก่อด้วยดิน มีวัดพระมหาธาตุอยู่ภายในกำแพงเมืองด้วย
ุ ลักษณะเด่นของเมืองลูกหลวงทั้ง 4 ที่คล้ายกันคือ
มีวัดสำคัญอยู่ภายในตัวเมืองชื่อเดียวกันคือ พระมหาธาตุทุกเมือง ระยะห่างจากเมืองหลวงไปยังเมืองลูกหลวงมีระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ซึ่งอาจเดินด้วยเท้าเปล่าไปถึงกันภายสน 2 วัน คือต้องค้างคืนกลางทางหนึ่งคืน เมืองลูกหลวงนี้มีส่วนดีที่ช่วยในการปกครองและป้องกันราชธานี แต่เป็นผลเสียที่พวกเชื้อพระวงศ์ซึ่งครองเมืองลูกหลวงเหล่านั้น บางองค์ก็สะสมกำลังชิงความเป็นใหญ่กัน เช่น ปรากฏว่า เมื่อถึงระยะการเปลี่ยนรัชกาลกษัตริย์องค์หนึ่ง พระมหาธรรมราชา(ลิไทย) ได้ยกทัพเข้ามาแย่งราชสมบัติ และระยะหลังต่อมาก็ได้มีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นอีกหลายครั้ง
3. หัวเมืองชั้นนอก เรียกว่า เมืองพระยามหานคร
. หัวเมืองชั้นนอก เรียกว่า เมืองพระยามหานคร ได้แก่เมืองที่อยู่ห่างไกลราชธานีออกไป พ่อขุนรามคำแหงทรงแต่งตั้งเจ้านายเชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการที่ไว้วางพระราชหฤทัย ออกไปปกครองดูแลต่างพระเนตร พระกรรณ ขึ้นตรงต่อพระองค์ เป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์ ในอันที่จะเลือกใครไปกินเมืองใด โดยพระองค์พิจารณาจากผู้ที่มีความสามารถเหมาะสม พระองค์อาจถอดถอนแล้วทางแต่งตั้งใหม่ก็ได้ และไม่เป็นการสืบตำแหน่งติดต่อกันทางสายโลหิต เมื่อเจ้าเมืองถึงแก่กรรมแล้ว ใช่ว่าลูกหลานหรือหลานของเจ้าเมืองคนเดิมจะได้ขึ้นกินเมืองแทน นอกเสียจากพระมหากษัตริย์ว่าจะแต่งตั้งใคร เจ้าเมืองทุกคนต้องได้รับแต่งตั้งคนใหม่ออกไปจากราชธานี หรือเลือกบุคคลในเมืองอื่นใดที่เหมาะสม ผู้ปกครองมีอำนาจในดินแดนเกือบสมบูรณ์ ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง
เมืองที่เป็นหัวเมืองชั้นอก จัดเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี จัตวา ลดหลั่นตามความสำคัญ และความใหญ่เล็กของเมือง หัวเมืองชั้นนอก สมัยพ่อขุนรามคำแหง
ทิศใต้ ได้แก่ เมืองแพรก(สวรรคบุรี) สุวรรณภูมิ(อู่ทอง) ราชบุรี เพชรบุรี และตะนาวศรี
ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองแพร่
ทิศตะวันออก ได้แก่ เมืองหล่มสัก ศรีเทพ(วิเชียรบุรี) และเมืองเพชรบูรณ์
4. หัวเมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองที่มายอมอ่อนน้อมขึ้นด้วยเพื่อพึ่งพระบารมีบ้าง ไทยเราไปปราบได้บ้าง เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลราชธานีออกไปไม่สามารถปกครองดูแลได้ทั่วถึง โดยมากชาวเมืองเป็นคนต่างชาติต่างภาษากับเรา พ่อขุนรามคำแหงจึงต้องมอบให้ผู้ครองเมืองนั้นๆ ปกครองเมืองของตนเองอย่างอิสระเสรี ให้เจ้านายเมืองนั้นปกครองสิทธิ์ขาด เหมือนอย่างเป็นพระเจ้าแผ่นดินในเมืองของตน ปกครองตนเองเกือบสมบูรณ์ทุกประการ เพียงแต่ต้องส่งถวายเครื่องราชบรรณาการต่อพระเจ้าแผ่นดินที่กรุงสุโขทัยตามกำหนด โดยมากเป็นต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง สมปีถวายครั้งหนึ่ง เวลามีศึกสงครามจะต้องเกณฑ์ทหารส่งมาช่วย ได้ทราบข่าวศึกต้องรีบแจ้งให้สุโขทัยทราบ คอยป้องกันศัตรูให้ เมืองประเทศราชในสมัยพ่อขุนรามคำแหง
- ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ น่าน เซ่า(หลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ
- ทิศตะวันตก ได้แก่ ทะวาย เมาะตะมะ หงสาวดี ตองอู
- ทิศใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช (ภายหลังกลายเป็นเมืองท้าวพระยามหานคร)อู่ทอง มะละกา ยะโฮห์
กฎหมายสมัยสุโขทัย
กฎหมายถือเป็นหัวใจของการปกครองในสมัยสุโขทัย ปรากฏว่า มีกฎหมายใช้กันด้วย กฎหมายที่พบตามคำจารึกพอจะแบ่งได้คร่าวๆ ดังนี้
1. กฎหมายเกี่ยวกับกษัตริย์ เรียกกันว่า ทศพิธราชธรรม อันเป็นกฎหมายตราขึ้นไว้เพื่อเป็นเครื่องชี้หรือเป็นแนวไว้ให้กษัตริย์ทรงปฏิบัติโดยไม่นอกลู่นอกทางจนเกินไป
2. กฎหมายสำหรับประชาชน ตราไว้เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตาม เพื่อก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในชาติวิธีการพิจารณาความโดยตัดสินความหรือข้อพิพาทของประชาชนโดยการสืบสวนข้อเท็จริงให้แน่ชัดเสียก่อน แล้วจึงตัดสินคดีนั้นด้วยความซื่อสัตย์และยุติธรรม
ผลที่ปรากฏขึ้นในการปกครองสมัยสุโขทัย มีดังนี้
1. ฝ่ายปกครองและราษฎรมีความใกล้ชิดกัน ปัญหาช่องว่างระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองมีน้อยมาก
2. เกิดความสามัคคีภายในชาติ เพราะการปกครองแบบบิดาปกครองบุตร และการใช้หลักธรรมในการปกครอง
3. เป็นการวางรากฐานแบบประชาธิปไตย ในด้านการให้สิทธิเสรีภาพประชาชน ความเสมอภาคและการปกครองโดยกฎหมาย
4. ประมุขคือพ่อขุนมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับประชาชนในฐานะที่เป็นหลักของบ้านเมืองที่ช่วยสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชน คือ ช่วยให้ราษฎรมีความสุขให้ความคุ้มครอง ช่วยระงับข้อพิพาทระหว่างประชาชนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
5. การจัดระเบียบการปกครองมีการแบ่งเป็น
- เมืองราชธานี คือ กรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์ดูแลเอง
- หัวเมืองชั้นใน คือ เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน รายล้มราชธานี 4 ทิศ ระยะเดินทางเท้า 2 วัน ส่งพระราชโอรส หรือเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง
- หัวเมืองชั้นนอก คือ เมืองพระยามหานคร ส่งขุนนางที่ไว้พระทัยไปปกครอง อยู่ถัดจากเมืองชั้นในออกไป
- เมืองประเทศราช ให้เจ้าแคว้นปกครองกันเอง และต้องส่งส่วย 3 ปี ต่อครั้ง
6. มีกฎหมายใช้ คือ กฎหมายเกี่ยวกับกษัตริย์และกฎหมายสำหรับประชาชน
เศรษฐกิจ
ถ้าจะถามถึงความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจในสมัยสุโขทัยว่าเป็นอย่างไร
คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าเศรษฐกิจในสมัยสุโขทัยนั้นดี เพราะชินกับข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า "… เมืองสุโขทัยนี้ดีในน้ำมีปลาในนามีข้าว..." จากข้อความเพียงนี้ทำให้เข้าใจต่อไปอีกว่าเป็นสภาพเศรษฐกิจของสมัยสุโขทัยตลอดสมัย ซึ่งตามความเป็นจริงนั้นหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 นี้กล่าวเฉพาะเศรษฐกิจในสมัยพ่อขุนรามคำแหงเท่านั้น
เพราะถ้าจะอ้างเอาความในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ตลอดแล้วจะต้องคำนึงถึงข้อความข้อความหนึ่งซึ่งกล่าวในตอนต้นว่า "..เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหงเมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว…" จะชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 นั้นกล่าวถึงสภาพเศรษฐกิจสมัยพ่อขุนรามคำแหง ดังนั้น การแปลความจากข้อความว่า "…เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว.." เป็นสภาพำเศรษฐกิจของสุโขทัยตลอดสมัยนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด
ดังได้กล่าวว่าพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำนา ทำสวน ทำไร่ นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพ ๆ อีกเช่น การหัตถกรรม และการค้าขายกับต่างประเทศ
จากการที่อาณาจักรสุโขทัยมีทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นพื้นฐานทางเกษตรกรรม หัตถกรรม และทรัพยากรธรรมชาติประเภทแร่ธาตุ เช่น เหล็ก สังกะสี ทองคำ เป็นต้น ทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าวมีส่วนช่วยในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
ในปัจจุบันได้มีการศึกษาหลักฐานประเภทศิลาจารึกกว้างขวางมากขึ้นมีศิลาจารึกหลายหลักที่บ่งบอกสภาพทางด้านเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยให้ชัดเจนมากขึ้น
ถึงแม้ว่าอาณาจักรสุโขทัยจะมีการประกอบอาชีพหลายอย่างแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงทางเศรษฐกิจนั้นอยู่ที่การพัฒนาพื้นฐานของเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม เนื่องจากสังคมของอาณาจักรสุโขทัยเป็นสังคมเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ บริเวณที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยอันมีเมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองนครชุม เมืองตาก เมืองเหล่านี่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่ม แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และแม่น้ำปิง ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มอันกว้างใหญ่ มีหนองบึงอันเป็นเพียงปัจจัยที่ทำให้ประชาชนพอกินเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่อันกว้างใหญ่นี้เมื่อถึงฤดูน้ำจะท่วมเป็นบริเวณกว้าง และน้ำจากหุบเขาไหลลงมาแรงทำให้พื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกจริง ๆ มีอยู่จำกัด ทำให้ผู้ปกครองอาณาจักรต้องดำเนินนโยบายสนับสนุนการเกษตรด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้คือ
1 ส่งเสริมการเพาะปลูก
2 ส่งเสริมการชลประทาน
3 ส่งเสริมการเลื้ยงสัตว์
4 การประมง
5 ส่งเสริมโดยการให้ทุนในการประกอบอาชีพ
โดยให้ประชาชนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งพวกเขาได้หักร้างถางพง และเพาะปลูกพืชพรรณต่าง ๆ และเมื่อเขาตายไปแล้วทรัพย์สินเหล่านั้นก็ตกทอดถึงลูกหลานทั้งสิ้น ทำให้ประชาชนมีกำลังใจในการประกอบอาชีพ ดังปรากฎข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า”…สร้างป่าหมาก ป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน…” และอีกตอนหนึ่งปรากฎความว่า “…ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่า เหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไทย ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมันไว้แก่ลูกมันสิ้น…” นอกจากนี้ศิลาจารึกหลักที่ 3 ยังปรากฎข้อความว่า “…ไพร่ฟ้าไทยลูกเจ้าลูกขุนผู้ใด …ได้ข้ำ เอาเหย้าน้าวเอาเรือนเขา พ่อตายให้ไว้แก่ลูก พี่ตายให้ไว้แก่น้อง…” จากข้อความในศิลาจารึกดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการเพาะปลูกนอกจากข้าวแล้วยังมีพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น เช่น มะพร้าว ขนุน มะม่วง มะขาม หมาก พลู เป็นต้น
2. การพัฒนาทางด้านหัตถกรรม ในสมัยสุโขทัยได้มีการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานทางด้านหัตถกรรมที่สำคัญ สามารถแยกได้ 2 กลุ่ม ดังนี้คือ
2.1 งานหัตถกรรมซึ่งถือว่าเป็นการสนับสนุนตลาดภายใน เช่น ตลาดในราชวงศ์ ตลาดในศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งไปเกี่ยวข้องกับปราสาท วัดวาอารามต่าง ๆ คือ งานก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่พวกศิลาแลง พวกอิฐ ปูนสอ ส่วนการก่อสร้างก็ต้องใช้แรงงานคนซึ่งเป็นช่างทางด้านต่าง ๆ ส่วนอีกด้านหนึ่งได้แก่งานผลิตวัสดุตกแต่ง เช่นพวกกระเบื้อง หน้าบันต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องประกอบการศาสนา เช่น พระพุทธรูป เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหัตถกรรมทำเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น การทำมีด ทำเสียม จอบ ขวาน เป็นต้น
2.2 งานหัตถกรรมซึ่งถือว่าเป็นการสนับสนุนการค้ากับตลาดภายนอก ที่สำคัญได้แก่การผลิตเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า "เครื่องสังคโลก"
3. การพัฒนาทางด้านการค้าขาย ที่ตั้งของเมืองสุโขทัยแม้จะไม่เหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางการค้าแต่ความพยายามของผู้ปกครองที่จะส่งเสริมการค้าขายเพื่อหารายได้ชดเชยด้านการเกษตรกรรมที่ไม่ค่อยสมบูรณ์นักทำให้การค้าของอาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรือง ทั้งการค้าภายในประเทศและการค้ากับต่างประเทศซึ่งขอแยกพิจารณาดังนี้
3.1 การค้าภายในประเทศ ลักษณะการค้าภายในประเทศในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไรไม่ทราบชัดเจน แต่มีข้อความปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 1 ตอนหนึ่งว่า “…เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยมีตลาดป(สา)น มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากกลาง มีไร่นา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่เร…” คำว่า “ ปสาน “ แปลว่า ตลาดที่มีห้องหรือร้านเป็นแถวติดต่อกัน ภาษาเปอร์เชียว่า “ บาซาร์ “ แสดงให้เห็นว่าในเมืองสุโขทัยมีตลาดประจำสำหรับประชาชนซื้อขายสินค้ากัน ตลาดปสานนี้คงตั้งอยู่ในย่านชุมชน เพราะปรากฎข้อความในจารึกว่ามีถิ่นฐาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก นอกจากมีตลาดปสานอันเป็นตลาดประจำแล้ว เชื่อว่าคงมีตลาดชนิดที่เรียกว่า “ ตลาดนัด “ ด้วย สำหรับการซื้อขายประจำวันโดยปกติคงทำกันที่ตลาดปสาน โดยพ่อค้าแม่ค้ามีร้านขายสินค้าอยู่ในตลาดนั้น ประชาชนต้องการสิ่งของอะไรก็ไปที่ร้านขายของตลาดปสานซื้อหาได้ทันที
3.2 การค้ากับต่างประเทศ การค้ากับต่างประเทศในสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นการค้าเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “ สังคโลก “ เริ่มเจริญรุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ปรากฎในช่วงที่ตรงกับสมัยนี้จีนประสบอุปสรรคในการส่งสินค้าเครื่องปั้นดินเผาออกนอกประเทศ ทั้งนี้เพราะจีนเกิดสงครามกลางเมือง มีการเปลี่ยนราชวงศ์จากซ้องมาเป็นมองโกลแล้วก็เปลี่ยนราชวงศ์เหม็ง สงครามอันยาวนานนี้ทำให้จีนปั่นป่วนเกิดความอดอยาก ทั้งมีโรคระบาดและน้ำท่วม เมื่อบ้านเมืองวุ่นวายโจรผู้ร้ายก็ชุกชุม อีกทั้งชายฝั่งทะเลของจีนยังถูกโจรสลัดญี่ปุ่นรบกวนอีกด้วย ทำให้จีนไม่สามารถผลิตอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาของตนได้และก็ไม่สามารถส่งออกจำหน่าย่ต่างประเทศอีกด้วย ในช่วงนี้เป็นช่วงที่สุโขทัยจะเข้ายึดการค้าเครื่องปั้นดินเผาของจีนมา สุโขทัยคงจะสร้างงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาขึ้นมาโดยอาศัยความช่วยเหลือจากช่างเทคนิคของจีน ดังนั้น ลักษณะบางประการของเครื่องปั้นดินเผาของสุโขทัย จึงมีอิทธิพลของจีนอย่างมาก และสามารถนำไปขายในตลาดในฐานะแทนของจีนที่ขาดตลาดไป สำหรับเส้นทางทางการค้ากับต่างประเทศมีเส้นทางที่สำคัญ ดังนี้
3.2.1 เส้นทางขนส่งทางบก ประกอบด้วยเส้นทางที่สำคัญ 3 สายคือ
1. เส้นทางทางบกสายเมืองสุโขทัย ผ่านเมืองตากไปเมืองเมาะตะมะ เส้นทางสายนี้อาจจะใช้เส้นทางที่เรียกว่า “ ถนนพระร่วง “ เลียบตามลำแม่น้ำยมและเลียบที่ราบ “ คุ้มแม่สอด “ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้เดินทางติดต่อระหว่างเมืองสุโขทัยกับเมืองหงสาวดีตั้งแต่สมัยโบราณ
2. เส้นทางบกสายเมืองสุโขทัย ผ่านเมืองเพชรบุรี เมืองกุยบุรี เมืองมะริด ไปถึงตะนาวศรี
3. เส้นทางบกสายเมืองสุโขทัย ผ่านเมืองตาก เมืองลำพูน ขึ้นไปถึงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทย
3.2.2 เส้นทางขนส่งทางน้ำ สินค้าที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาจะถูกบรรทุกลงเรือขนาดเล็กล่องจากเมืองศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัยไปตามแม่น้ำยมลงไปถึงเมืองพระบาง เมืองชัยนาท และกรุงศรีอยุธยา หลังจากนั้นจะบรรทุกสินค้าลงเรือขนาดใหญ่ส่งไปขายต่างประเทศ เส้นทางขนส่งทางน้ำตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาลงไปประกอบด้วยเส้นทางที่สำคัญ 4 สาย ดังนี้คือ
1. เส้นทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเมืองต่าง ๆ ในหมู่เกาะริวกิว โดยเริ่มจากสันดอน ปากแม่น้ำเจ้าพระยาในอ่าวไทย ผ่านสมุทรปราการ เกาะสีชัง พัทยา สัตหีบ ตราด กัมพูชา จาม เวียดนาม และตัดตรงผ่านทะเลจีนใต้ไปยังหมู่เกาะริวกิว หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ คือ ซากเรือสำเภา โบราณที่สัตหีบ เรือสำเภาที่เกาะกระดาด และซากเรือสำเภาโบราณที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรี
2. เส้นทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังหมู่เกาะพิลิปปินส์ โดยเริ่มจากสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาในอ่าวไทยตรงไปสัตหีบ แล้วตัดตรงไปยังเมืองปัตตานี และเมืองมะละกา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ หลังจากนั้นมีเส้นทางต่อไปยังหมู่เกาะอินโดนีเซีย เกาะเชเลเซย์ และหมู่เกาะฟิลิปปินส์ การขนส่งตามเส้นทางนี้ต้องใช้เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ เพราะการเดินทางใช้เวลานาน
3. เส้นทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเมืองสงขลา โดยเริ่มจากสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาในอ่าวไทย แต่น่าจะใช้เรือขนาดกลางบรรทุกเครื่องปั้นดินเผาไปขายแก่พ่อค้าชาวต่างประเทศ่ตามเมืองท่าสำคัญทางชายฝั่งทะเลด้าน่ตะวันออกของอ่าวไทย เช่นเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองสงขลา หลักฐานโบราณคดีที่พบ คือ ซากเรือโบราณที่เมืองนครศรีธรรมราชและซากเรือสำเภาโบราณที่เมืองสงขลา
4. เส้นทางจากเมืองสุพรรณบุรีไปยังเมืองสงขลา โดยเริ่มจากเมืองสุพรรณบุรีไปออกทะเลที่เมืองสมุทรสาคร และผ่านเมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคิรีขันธ์ เมืองสทิงพระ และเมืองสงขลา
การค้ากับ่ต่างประเทศนอกจากจะเจริญรุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้ว น่าจะเจริญอีกครั้งในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย แต่เมื่อกรุงศรีอยุธยาประกาศเป็นศัตรูกับอาณาจักรสุโขทัยแล้ว กิจการการค้ากับต่างประเทศก็ลดความสำคัญลง แต่อย่างไรก็ตาม การค้าเครื่องปั้นดินเผายังดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา
ขอบเขตของการปกครอง
3. หัวเมืองชั้นนอก เรียกว่า เมืองพระยามหานคร ได้แก่เมืองที่อยู่ห่างไกลราชธานีออกไป พ่อขุนรามคำแหงทรงแต่งตั้งเจ้านายเชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการที่ไว้วางพระราชหฤทัย ออกไปปกครองดูแลต่างพระเนตร พระกรรณ ขึ้นตรงต่อพระองค์ เป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์ ในอันที่จะเลือกใครไปกินเมืองใด โดยพระองค์พิจารณาจากผู้ที่มีความสามารถเหมาะสม พระองค์อาจถอดถอนแล้วทางแต่งตั้งใหม่ก็ได้ และไม่เป็นการสืบตำแหน่งติดต่อกันทางสายโลหิต เมื่อเจ้าเมืองถึงแก่กรรมแล้ว ใช่ว่าลูกหลานหรือหลานของเจ้าเมืองคนเดิมจะได้ขึ้นกินเมืองแทน นอกเสียจากพระมหากษัตริย์ว่าจะแต่งตั้งใคร เจ้าเมืองทุกคนต้องได้รับแต่งตั้งคนใหม่ออกไปจากราชธานี หรือเลือกบุคคลในเมืองอื่นใดที่เหมาะสม ผู้ปกครองมีอำนาจในดินแดนเกือบสมบูรณ์ ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง
เมืองที่เป็นหัวเมืองชั้นอก จัดเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี จัตวา ลดหลั่นตามความสำคัญ และความใหญ่เล็กของเมือง หัวเมืองชั้นนอก สมัยพ่อขุนรามคำแหง
ทิศใต้ ได้แก่ เมืองแพรก(สวรรคบุรี) สุวรรณภูมิ(อู่ทอง) ราชบุรี เพชรบุรี และตะนาวศรี
ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองแพร่
ทิศตะวันออก ได้แก่ เมืองหล่มสัก ศรีเทพ(วิเชียรบุรี) และเมืองเพชรบูรณ์
ป้ายกำกับ:
ประวัติศาสตร์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น