วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิทยุสมัครเล่น คำจำกัดความค่อนข้างจะกว้าง แต่อาจจะพอสรุปได้ว่า

 
 
 

กิจการวิทยุคมนาคมที่ดำเนินการโดยพนักงานวิทยุสมัครเล่น ซึ่งได้รับอนุญาตจากทางราชการ เพื่อการฝึกฝนตนเอง การติดต่อระหว่างกัน และการทดลอง ตรวจสอบทางวิชาการวิทยุคมนาคมต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มพูนความรู้และวิชาการ โดยไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจ หรือการเงิน หรือการเมือง"

วิทยุสมัครเล่น เป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีคุณค่าต่อการสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้กับประเทศชาติอย่างยิ่ง การเล่นวิทยุฝึกให้คนมีวินัย ฝึกหัวใจให้แกร่ง ฝึกสมองให้ไว ให้กระตือรือร้น ค้นคว้าด้วยตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าแสดงออก จิตใจเปิดกว้างต่อสังคม ปรับตัวให้เข้ากับความแตกต่าง อย่างเปิดเผย และมีอัธยาศัยไมตรีอย่างอบอุ่น เพิ่มพูนความรู้ความสนใจทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาตนเอง และ ประเทศชาติต่อไป
ปัจจุบันนี้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่งที่ให้ความสนุกสนานและความรู้ โดยคนทั่วโลกกว่าล้านคน เป็นความตื่นเต้นบนการสื่อสารที่จะสร้างสถานีในการติดต่อสื่อสารกับนักวิทยุสมัครเล่นคนอื่นๆ ซึ่งทำให้งานอดิเรกแบบนี้ก่อให้เกิดการทดลองและความคิดใหม่ๆเพื่อการพัฒนาความรู้และสร้างเพื่อนใหม่ให้กับตัวเอง
การติดต่อของนักวิทยุสมัครเล่นต้องผ่านการสอบจากหน่วยงานทางด้านโทรคมนาคมของแต่ละประเทศ ซึ่งการสื่อสารที่เป็นงานอดิเรกของนักวิทยุสมัครเล่นไม่เป็นเพียงแต่นั่งคุยหรือยืนคุยไปวันๆ เท่านั้น
พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดด้วยรหัสมอร์สหรือเสียงพูดกับนักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลกได้ด้วยความถี่ย่าน HF

การสื่อสารผ่านดาวเทียมของนักวิทยุสมัครเล่น
clip_image001[1]

การติดต่อแบบสะท้อนดวงจันทร์ Earth Moon Earth

การส่งข้อความสื่อสารผ่านระบบ RTTY (Radioteletype)

การรับ-ส่ง ภาพผ่านวิทยุสื่อสารด้วยระบบ SSTV (Slow scan television)

การบริการสังคม และช่วยเหลือประเทศชาติยามเกิตุเหตุฉุกเฉิน

การสื่อสารยุคดิจิตอลผ่านระบบ Packet radio คล้ายกับการส่ง E-mail หรือ Webboard ของระบบอินเตอร์เน็ตและสามารถเชื่อมต่อกันได้ด้วยคอมพิวเตอร์

สัญญาณเรียกขาน (Call Sign)

ตามกฏข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศกำหนดให้สถานีวิทยุคมนาคม ใช้สัญญาณเรียกขาน(Call Sign) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเป็นสัญญาณมาจากสถานีใด และเป็นของประเทศใด หรืออยู่ในเขตพื้นที่ใดของประเทศ สำหรับประเทศไทย ได้รับสัญญาณเรียกขานเป็นตัวนำหน้าคือ
HSA ถึง HSZ และ E2A และ E2Z

สถานีซึ่งต้องมีสัญญาณเรียกขานระหว่างประเทศ ตามข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ
             
1. สถานีที่ให้บริการติดต่อสาธารณะระหว่างประเทศ
             
2. สถานีซึ่งก่อให้เกิดการรบกวนอย่างรุนแรงเกินพื้นที่ของประเทศซึ่งสถานีนั้นตั้งอยู่
           
 3. สถานีวิทยุสมัครเล่น

HSnXXX   หรือ    E2nXXX
           
 HS หรือ E2 ระบุว่าเป็น ประเทศไทย ตามข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ
             
n แทนด้วยตัวเลข 0-9 ใช้ระบุว่าอยู่ในเขตพื้นที่ใดของประเทศไทย
             
X (พยัญชนะ 1 ตัว) ใช้สำหรับ VIP สูงสุดของประเทศ
          
  XX (พยัญชนะ 2 ตัว) ใช้สำหรับ กรณีพิเศษ เช่น สถานีทวนสัญญาณ,สถานีวิทยุขิงชมรมหรือสมาคม,สถานีชั่วคราวเฉพาะกิจ เช่น HS3AS , HS1AB , HS0AC เป็นต้น
           
 XXX (พยัญชนะ 3 ตัว) ใช้สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นโดยทั่วไป เช่น HS3PMT เป็นต้น

clip_image001[7]การรายงานสัญญาณด้วยระบบ RST (RST System)

เพื่อตรวจสอบว่าว่าสภาพสัญญาณ ที่ขณะทำการติดต่อสื่อสารเป็นอย่างไร ชัดเจนเพียงใด พร้อมจะติดต่อกันหรือไม่ ควรจะปรับปรุงอย่างไรเพื่อให้สัญญาณดีขึ้น การรายงานสัญญาณด้วยระบบ RST คือการรายงานคุณภาพและความแรงของสัญญาณ ซึ่งเป็นที่นิยมโดยทั่วไปในกิจการวิทยุสมัครเล่น

R(Readability)

ความชัดเจนการรับฟังข้อความมี 5 ระดับ

1.รับไม่ได้เลย

2.ไม่ค่อยดี(แทบรับไม่ได้เลย)

3.พอใช้

4.ดี

5.ดีเยี่ยม


ความแรงของสัญญาณ
1.อ่อนมากจนรับแทบไม่ได้

2.อ่อนมาก

3.อ่อน

4.พอใช้ได้

5.ดีพอใช้

6.ดี

7.แรงปานกลาง

8.แรงดี

9.แรงดีมาก

2.เสียงพร่ามากแต่เนื่องจากการติดต่อระบบวิทยุโทรศัพท์ไม่มีสัญญาณวิทยุโทรเลข จึงตัดการรายงาน T (Tone) ทิ้งไป เรียกว่าระบบ RS นิยมดูค่า S จาก S-Meter ของเครื่องรับวิทยุ ซึ่งมีสเกลจาก 1ถึง9


ตัวอย่าง

รายงานสัญญาณในระบบ RS เป็น 59 หมายความว่ารับฟังข้อความได้ดีเยี่ยมและมีความแรงสัญญาณดีมาก รายงานสัญญาณในระบบ RS เป็น 35 หมายความว่ารับฟังข้อความได้แต่ด้วยความลำบากมากและมีสัญญาณแรงดีพอใช้

หลักเกณฑ์การใช้ความถี่วิทยุสำหรับกิจการวิทยุสมัคเล่น
          
1. ให้ยกเลิกช่องเรียกขานเดิมตามที่กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้กำหนดให้ใช้เป็นช่องเรียกขานประจำสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายและความถี่เฉพาะกิจที่ได้รับอนุญาต จังหวัดต่างๆ ทั้งหมด และให้ใช้ ความถี่ที่ประกาศไว้
         
  2. ความถี่ที่กำหนดให้ใช้สำหรับช่องเรียกขานและแจ้งเหตุฉุกเฉิน ใช้ความถี่ 145.0000 MHz ใช้เหมือนกันทั่วประเทศซึ่งมีจุดประสงค์สำหรับ
              
2.1 เรียกขานเพื่อต้องการติดต่อสื่อสาร ปกติมีการเรียกอยู่ 2 วิธี
                        - เรียกแบบเจาะจงสถานี
                        - เรียกแบบไม่เจาะจงสถานี
               
2.2 เรียกขานเพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน (เฉพาะเหตุฉุกเฉินเท่านั้น)
                        - เรียกแบบเจาะจงสถานี เช่น เรียกสถานีควบคุมข่ายในจังหวัดนั้นๆ
                        - เรียกแบบไม่เจาะจงสถานี ขึ้นต้นด้วย MAYDAY MAYDAY MAYDAY (MAYDAY 3 ครั้ง)
               
2.3 รอรับฟังการเรียกขานและแจ้งเหตุฉุกเฉิน

ดังนั้นนักวิทยุสมัครเล่นทุกคนจึงควรสแตนด์บายที่ช่องเรียกขาน 145.0000 MHz นี้ เพื่อ
                   
   - สามารถเรียกขานได้ง่าย ไม่ต้องติดตามว่าใครจะอยู่ช่องใด
                  
    - สามารถทราบได้ว่ามีใครแจ้งเหตุฉุกเฉินอะไร ซึ่งท่านอาจมีส่วนช่วยได้
                     
 - เมื่อเรียกขานได้แล้ว จึงเปลี่ยนไปใช้ความถี่ที่กำหนดให้ สำหรับช่องสื่อสาร
       
   3. ความถี่ที่กำหนดให้ใช้สำหรับ เรียกขานและแจ้งเหตุทั่วไป 144.9000 MHz แจ้งเหตุทั่วไปที่ไม่ใช้เหตุฉุกเฉิน เช่น ข่าวการจราจรติดขัด เหตุไฟฟ้าขัดข้อง ท่อประปาแตก เป็นต้น
สำหรับช่องความถี่อื่นๆซึ่งแบ่งประเภทของการใช้งาน

การแบ่งย่านความถี่วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
 

HF(สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง)
VHF (สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น)
UHF (วิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียม)
7 MHZ,14 MHz,21 MHz,28 MHz
144 - 146 MHz
435 MHz


หลักปฏิบัติในการติดต่อสื่อสารสำหรับนักวิทยุสมัคเล่น

1.การเรียกขานเพื่อการติดต่อแบบปกติ
           
  1.1 ก่อนการเรียกทุกครั้งควรหาความถี่ว่างไว้ก่อน โดยการลด SQUELCH แล้วเฝ้าฟังอยู่สักระยะ จนแน่ใจว่าความถี่ว่าง
           
  1.2 ปรับความถี่ไปที่ 145.0000 MHz ฟังให้แน่ใจว่าไม่มีผู้ใดใช้อยู่ เมื่อแน่ใจว่าความถี่ว่าง จึงเริ่มต้นเรียกขานได้ มี 2 ลีกษณะคือ
               
   - การเรียกแบบเจาะจงสถานี โดย พูด "สัญญาณเรียกขานของผู้ถูกเรียก" ตามด้วย "จาก" "สัญญาณเรียกขานของผู้เรียก"
เช่น HS3OCY จาก HS3PMT (โฮ-เทล เซีย-ร่า ธรี ออสก้า ชาลี แยงกี้ จาก โฮ-เทล เซีย-ร่า ธรี ปาป้า ไม้ก์ แทงโก้)
การเรียกควรอ่านออกเสียงแบบ Phonetic Alphabet เพื่อป้องกันการสับสน และในการเรียกแต่ละคราว ควรเรียกไม่เกิน 3 ครั้ง และเมื่อสถานีที่ถูกเรียก ตอบรับแล้ว จึงเปลี่ยนไปใช้ความถี่ ที่ได้เตรียมไว้
ในกรณีที่เรียกแล้ว ไม่ได้รับการตอบ เมื่อเรียกครบ 3 ครั้ง ผู้เรียกจะต้องบอกเคลียร์ความถี่(บอกเลิกใช้ความถี่)  ทิ้งระยะเวลาพอสมควร แล้วจึงเรียกใหม่
                
  - การเรียกแบบไม่เจาะจงสถานี (ใครรับสัญญษณได้ ช่วยตอบด้วย) โดย พูด "CQ"(ไม่เกิน 3 ครัง) "จาก" "สัญญาณเรียกขานของผู้เรียก" เช่น CQ CQ CQ จาก HS3PMT (ซีคิว ซีคิว ซีคิว จาก โฮ-เทล เซีย-ร่า ธรี ปาป้า ไม้ก์ แทงโก )เมื่อมีสถานีใดสถานีหนึ่งตอบมา จึงเปลี่ยนไปใช้ความถี่ ที่ได้เตรียมไว้
ในกรณีที่เรียกแล้ว ไม่ได้รับการตอบ เมื่อเรียกครบ 3 ครั้ง ผู้เรียกจะต้องบอกเคลียร์ความถี่(บอกเลิกใช้ความถี่)  ทิ้งระยะเวลาพอสมควร แล้วจึงเรียกใหม่

2.การเรียกขานเพื่อแจ้งเหตุทั่วไป

ใช้หลักการเรียกขานเหมือนกับ การเรียกขานเพื่อการติดต่อแบบปกติ โดยปรับความถี่ไปที่ 144.9000 MHz หรือ สามารถขอความช่วยเหลือ จากสถานีของเพื่อนสมาชิกในช่องความถี่อื่นก็ได

3.การเรียกขานเพื่อแจ้งเหตฉุกเฉิน

เป็นเหตุที่มีอันตรายต่อชัวิตและทรัพย์สิน และต้องการความช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน เรียกโดยใช้คำว่า MAYDAY MAYDAY MAYDAY (MAYDAY 3 ครั้ง) ตามด้วย Call Sign ของผู้แจ้ง หากไม่มีผู้รับแจ้ง ก็สามารถไปแจ้งช่องใดก็ได้จนกว่าจะมีผู้รับแจ้ง
การแจ้งเหตุฉุกเฉินเป็นการส่งข่าวที่มีความสำคัญเหนือการติดต่อสื่อสารอื่นๆทั้งหมด ดังนั้นสถานีอื่นที่ได้ยินสัญญาณแจ้งเหตุ ให้หยุดการส่งสัญญาณทันที เพื่อช่วยเหลือและให้คำแนะนำ โดยต้องไม่ทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวาง จนกว่าการแจ้งเหตุนั้นจะแล้วเสร็จ

การเช็คเน็ท
การเช็คเน็ท เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน โดยความหมายของการเช็คเน็ท คือ
                - การนัดเวลาของกลุ่มสมาชิก ที่พร้อมที่จะทำการติดต่อสื่อสารกัน ตามวัตถุประสงค์ ของกิจการวิทยุสมัครเล่น
                - เป็นการประกาศให้ทราบว่ายังใช้เครื่องวิทยุคมคนาคมในการออกอากาศอยู่
                - เพื่อทดสอบการรับ-ส่ง สัญญาณว่าสามารถไปได้ดีเพียงใด
                - การนัดหมายเพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสารจากสถานีที่ทำการเช็คเน็ท
โดยปกติ การเช็คเน็ท อาจนัดหมายไปทำการเช็คเน็ทที่ช่องใดก็ได้ หรือสถานที่ทำการเช็คเน็ทสามารถหมุนเวียนได้ตามแต่จะเห็นสมควร เพื่อให้มีการฝึกฝนการทำหน้าที่สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในกรณีที่เกิดความจำเป็นที่จะต้องทำหน้าที่ได

ภาษาที่ใช้ ในการติดต่อสื่อสาร


เนื่องด้วยการติดต่อสื่อสารทางวิทยุ เป็นการติดต่อที่ผู้อื่นสามารถรับฟังได้เป็นจำนวนมาก มีทั้งหน่วยงานราชการ และนักวิทยุสมัครเล่นด้วยกัน ดังนั้น ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร จึงใช้ภาษาธรรมดา โดยใช้ถ้อยคำสุภาพ พูดให้ชัดเจน ในกรณีที่เป็นสัญญษณเรียกขาน การเรียกครั้งแรก ควรใช้หลักการอ่านออกเสียง แบบ Phonetic Alphabet หรือบางข้อความอาจใช้คำย่อ ที่ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่นสากล เป็นข้อความสั้นๆกระทัดรัด และข้อความที่ใช้ในการติดต่อ ให้จำกัดเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับการทดลองทางด่านวิชาการ และการแจ้งเหตุที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม พร้อมทั้งต้องศึกษาในข้อห้าม แห่งระเบียบรวมทั้งกฏหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง การติดต่อข้อความส่วนตัว ให้จำกัดให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจ เป็นเรื่องที่ต้องห้ามเด็ดขาด และห้ามส่งข่าวไปยังบุคคลที่สาม อีกทั้งห้ามส่งข้อความ เข้าโค้ดหรือรหัส ที่ผู้อื่นไม่สามารถเข้าใจได้ มาใช้ในการติดต่อสื่อสารอย่างเด็ดขาด

คำเฉพาะและคำย่อต่างๆ ที่ควรรู้สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น

BREAK

ขอขัดจังหวะ การติดต่อระหว่างคู่สถานีที่กำลังติดต่อกันอยู่ (มาจากคำว่า Break in)

CLEAR

เลิกการใช้ความถี่ที่กำลังใช้อยู่(เมื่อสิ้นสุดการติดต่อ เพื่อเปิดโอกาศให้สถานีอื่นมาใช้ได้)

CONTACT
ขอเข้าร่วมใช้ความถี่ ที่คู่สถานีกำลังติดต่อกันอยู่

CQ

เรียกแบบไม่เจาะจงสถานี (General Call) เพื่อต้องการจะติดต่อด้วย มีความหมายว่า "ผู้ใดได้ยินแล้วตอบด้วย"

DX
การติดต่อระยะไกลๆด้วยวิทยุ , ระยะทางไกล , สถานีที่อยู่ห่างไกล (ต่างประเทศ) ย่อมาจากคำว่า Distance

HAM
เป็นคำแสลง หมายความว่า นักวิทยุสมัครเล่น

LAND LINE (LIMA LIMA)

โทรศัพท์

MAYDAY

สัญญาณแจ้งเหตุอันตราย หรือขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน

NEGATIVE

ไม่ใช่ , ขอปฏิเสธ

OVER

เปลี่ยน (เชิญคู่สถานีเป็นฝ่ายส่ง)

ROGER

รับข้อความที่ส่งมาครบถ้วน และเข้าใจแล้ว
STAND BY

รับข้อความที่ส่งมาครบถ้วน และเข้าใจแล้ว

xyl
ภรรยา

YL

หญิงสาว หรือนักวิทยุสมัครเล่นที่เป็นเพศหญิง

73

ด้วยความปราถนาดี ใช้กล่าวอำลาเมื่อจะเลิกติดต่อทางวิทยุ

88

มาจากคำว่า LOVE and KISS ใช้กล่าวอำลาสำหรับนักวิทยุที่มีเพศต่างกันและคุ้นเคยกันเท่านั้น

GO AHEAD

เริ่มส่งได้

QSL CARD


บัตรรายงานผลการติดต่อสื่อสาร

Reference Text คู่มือแนะนำการสอบเพื่อรับใบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น

ข้อสอบกลางพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น

Reference Websiteกรมไปรษณีย์โทรเลข

ขอบคุณเจ้าของบทความดังกล่าวไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น