- ประวัติศาสตร์ หมายถึง เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ หรือสร้างแนวความคิดไว้ทั้งหมด รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากเจตจำนงของมนุษย์ ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือธรรมชาติที่มีผลต่อมนุษยชาติ
- ประวัติศาสตร์ ได้แก่ เหตุการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ได้สืบสวนค้นคว้าแสวงหาหลักฐานมารวบรวมและเรียบเรียงขึ้น เนื่องจากเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตมีขอบเขตกว้างขวาง และมีความสำคัญแตกต่างมากน้อยลดหลั่นกันไป นักวิทยาศาสตร์จึงหยิบยกขึ้นมาศึกษาเฉพาะแต่สิ่งที่ตนเห็นว่ามีความหมายและมีความสำคัญ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรแยกได้เป็น 3 พวกคือ - แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ เรื่องราวของเหตุการณืที่บันทึกไว้โดยผู้รู้เห็น หรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง - แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ บทความหรือรายงานของนักวิชาการทั้งในด้านประวัติศาสตร์ และสาขาวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง - แหล่งข้อมูลตติยภูมิ ได้แก่ เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ผู้อื่นเรียบเรียงไว้ สารานุกรม และเอกสารทางวิชาการอื่นๆ หลักฐานที่เป็นวัตถุ ได้แก่ โบราณวัตถุ โบราณสถาน เงินตรา ฯลฯ
ประโยชน์ของประวัติศาสตร์ ช่วยสนองความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแทนการคาดเดา หรือความเชื่อถือที่ปราศจากหลักฐาน เป็นบันทึกประสบการณ์ของมนุษยชาติที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษาเพื่อเป็นบทเรียน ช่วยให้เกิดความรักความภาคภูมิใจในชาติ มีความตระหนักในคุณค่าของมรดกด้านต่างๆ ช่วยให้รู้จักและเข้าใจในเรื่องของโลก และเรื่องของเพื่อนมนุษยชาติที่กว้างขวางออกไป ฝึกให้คนรู้จักใช้เหตุผลในการพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ ช่วยในการทำนายอนาคต
การแบ่งยุคประวัติศาสตร์
- ยุคหินเก่า มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือด้วยหินอย่างหยาบๆ ด้วยการกระเทาะให้เป็นรูปร่างและมีคม ดำรงชีวิตด้วยการเก็บกินจากธรรมชาติ อยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ
- ยุคหินกลาง ประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เครื่องมือมีความประณีต มีมากแบบมากชนิดขึ้น เริ่มมีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ และเฝ้าที่อยู่อาศัย
- ยุคหินใหม่ ประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสต์กาล รู้จักขัดเกลาเครื่องมือหินให้แหลมคมและเรียบร้อยขึ้น รู้จักนำกระดูกมาดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ และที่สำคัญคือรู้จักเลี้ยงปศุสัตว์และทำการเพาะปลูก
- สมัยสัมฤทธิ์ มนุษย์รู้จักผสมดีบุกกับทองแดงเป็นทองสัมฤทธิ์ สมัยสัมฤทธิ์เริ่มขึ้นประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช สมัยนี้พบโลหะอื่นที่ราคาถูกและมีประสิทธิภาพกว่า คือ เหล็ก และในสมัยสัมฤทธิ์นี้มนุษย์รู้จักใช้แรงงานสัตว์ในการไถนาและชักลาก รู้จักการควบคุมแหล่งน้ำด้วยการชลประทาน และที่สำคัญที่สุดคือ มนุษย์ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้
- สมัยเหล็ก ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีการนำเหล็กมาใช้ทำเครื่องมือและอาวุธ
- สมัยประวัติศาสตร์
- สมัยโบราณ เริ่มเมื่อประมาณ 5,000 – 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงประมาณริสต์ศตวรรษที่ 5 ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลกตามบริเวณลุ่มแม่น้ำใหญ่ต่างๆ เช่น แม่น้ำไนล์ ยุเฟรติส-ไทกริส สินธุ และฮวงโห
- สมัยกลาง เป็นสมัยที่อาณาจักรโรมันกว้างใหญ่ครอบคลุมบริเวณอารยธรรมโบราณทางตะวันออกใกล้แหลมบอลข่าน และกว่าครึ่งของยุโรปตะวันตกได้แตกสลายไป อนารยชนเผ่าต่างๆ เข้าครอบครองแทนที่ความเจริญรุ่งเรือง ที่สืบเนื่องกันมาหลายพันปีได้เสื่อมสลายลงยุโรป กลับตกอยู่ในสภาพที่ต่ำกว่าเดิมในด้านอารยธรรม จนมีการให้ชื่อยุคต่อมาว่ายุคมืด
- สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา นักประวัติศาสตร์มิได้มีความเห็นตรงกันตั้งหมดว่าควรถือเอาปรากฎการณ์ใดเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ บางคนถือเอาการปฎิรูปศาสนาเป็นการเริ่มสมัยใหม่ของยุโรป แต่นักประวัติศาสตร์คนอื่นอาจยึดเอาปีที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเสียแก่พวกเตอร์ก เป็นปีสิ้นสุดของสมัยกลาง แต่โดยทั่วไปถือเอาคริสต์ศตวรรษที่ 15 เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน
1. ประวัติศาสตร์ช่วยมนุษย์ในการตัดสินใจ เมื่อจำเป็นต้องเผชิญกับปัญหาสำคัญๆ ทั้งนี้ โดยอาศัยแนวประสบการณ์ของมนุษย์ในอดีตในการตัดสินใจว่า ควรจะปฏิบัติอย่างไรกับปัญหาที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดผลดีที่สุดสำหรับอนาคต
2. การศึกษาประวัติศาสตร์ทำให้เราเกิดความเพลิดเพลิน บุคคลที่ศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อประโยชน์ด้านนี้มีความรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่กับการจดจำปีที่เกิด เหตุการณ์สำคัญๆ ภูมิหลัง ให้เราศึกษาเรื่องราวต่างๆ โดยรอบตัวเราได้อย่างน่าสนใจ วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาอดีตโดยมีระบบเป็นวิชาที่ครอบคลุมและแทรกซึมอยู่ในทุกสาขาวิชา จะไม่มีวิชาใดมีลักษณะเป็นวิชาขึ้นได้โดยไม่อาศัยประวัติศาสตร์เลย ประวัติศาสตร์มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ เพราะว่า ประวัติศาสตร์จะเป็นแหล่งข้อมูลที่ทำให้เราได้ศึกษาต่อถึงเรื่องราวต่างๆ ในอดีตและเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ ประวัติศาสตร์ เปรียบเสมือนบทเรียนบทหนึ่งของชีวิตที่สอนให้มนุษย์ได้เรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ ที่ได้เรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันให้ดีขึ้น ประวัติศาสตร์ช่วยกำหนดทิศทางในการดำเนินการ การวางแผนพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน และผลของปัจจุบันก็ส่งผลถึงอนาคต ถ้าหากเราสามารถนำประวัติศาสตร์มาประยุกต์ใช้ปรับปรุงแก้ไขให้ปัจจุบันดำเนินไปด้วยดี จะเห็นว่าประวัติศาสตร์มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และอื่นๆ ไม่จำกัดขอบเขตซึ่งนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าแห่งความสำคัญ เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ในปัจจุบันให้สร้างสรรค์ และพัฒนาสิ่งดีๆ ต่อไป เพื่อวิวัฒนาการในอนาคตข้างหน้า ประวัติศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าความสำคัญอย่างยิ่ง
การเกิดของประวัติศาสตร์ คนในสังคมสร้างพฤติกรรมหลากหลาย จึงมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ประวัติศาสตร์ไม่สามารถจะครอบคลุมได้ทั้งหมด จึงต้องตีความหมายของประวัติศาสตร์ให้แคบเข้ามาว่า เหตุการณ์ที่นับเป็นประวัติศาสตร์จะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ ประการแรก จะต้องเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนหรือสังคมส่วนรวม และยังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การปกครอง เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ จึงเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการด้านต่างๆ ขึ้นแก่สังคมอย่างกว้างขวาง ประการที่สอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะเกิดเฉพาะเพียงครั้งเดียว และไม่มีโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์แบบเดิมซ้ำอีก เพราะสภาพแวดล้อม ระยะเวลา สถานที่ และผู้คนที่เกี่ยวข้องย่อมีการการเปลี่ยนแปลง ทำให้เหตุการณ์ประวัติศาสตร์แต่ละเหตุการณ์ไม่เหมือนกัน ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย จึงมีขึ้นไม่ได้ แต่อาจจะมีเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้ ประการที่สาม เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ย่อมเกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากปัจจัยหลากหลาย ทั้งก่อนและระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ กล่าวอีกนัยหนึ่ง เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ต้องสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับสภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ที่เป็นอยู่ในระยะก่อนและระหว่างเวลานั้นด้วย
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ คือการศึกษาเพื่อที่จะทราบถึงความเป็นไปในอดีต จึงต้องอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นร่องรอยของพฤติกรรมในอดีตของมนุษย์เป็นเครื่องมือในการไต่สวน แต่เนื่องจากนักประวัติศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์อย่างรอบด้าน ทั้งการกระทำความคิดและความรู้สึก หลักฐานทางประวัติศาสตร์จึงมีมากมายหลากหลายประเภท ครอบคลุมทุกเรื่องราวที่ต้องการจะศึกษา เพื่อสะดวกในการศึกษาเรื่องราวของหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันหลากหลายนั้น จึงได้มีการจัดแบ่งประเภทออกเป็นหลักฐานชั้นต้น และหลักฐานชั้นรอง โดยประเมินจากความน่าเชื่อถือของหลักฐานการแบ่งประเภทหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะนี้ เมื่อพิจารณากันโดยถ่องแท้แล้ว จะเห็นว่า มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ระหว่างหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง ต่อมาจึงมีการจัดแบ่งประเภทหลักฐานทางประวัติศาสตร้ดวยการกำหนดตามตัวอักษรเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐนที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร การแบ่งหลักฐานในลักษณะนี้ อาจเปรียบเทียบกันและกันได้ว่า การศึกษาประวัติศาสตร์จะอาศัยหลักฐานประเภทนี้เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ เนื่องจากสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง และแพร่หลายในวงกว้าง แม้แต่หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรบางประเภทเช่น หลักฐานทางโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ก็ยังต้องอาศัยเอกสารซึ่งเป็นข้อเขียนของนักโบราณคดีในการศึกษาตีความหลักฐานต่างๆ เหล่านี้ด้วย นอกจากนี้หลักฐานการบอกเล่า ซึ่งถือว่า เป็นหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์แล้ว ก็จะจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานเพื่อการศึกษาต่อไป การสร้างประวัติศาสตร์หรือประสบการณ์ในอดีตทีมีคุณค่าขึ้นมาใหม่ของนักประวัติศาสตร์และการที่จะรู้เรื่องราวของสิ่งต่างๆ หรือเพื่อการสอบสวนค้นคว้าหาข้อเท็จจริงในอดีต เราจำต้องอาศัยหลักฐานต่างๆ เข้าประกอบการศึกษาและพิจารณาทั้งสิ้น หลักฐานเหล่านี้เราเรียกว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์(Historical Sources) ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1 หลักฐานที่มีลายลักษณ์อักษร
2 หลักฐานที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร
การประเมินค่าของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายใน หมายถึง การตรวจสอบความน่าเชื้อถือของหลักฐานว่า มีความน่าเชื่อถือในเรื่องใดสูง เรื่องใดต่ำ หรือไม่น่าเชื่อถือทั้งหมด โดยตรวจสอบหาอคติความไม่สมบูรณ์ ความด้อยในเหตุผล ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จะวัดว่า หลักฐานมีคุณค่าเพียงใด ผู้ศึกษาจะต้องมีความรู้ดีในด้านภาษา สำนวนการเขียนของผู้เขียน ตลอดจนข้อดีข้อเสีย และข้อควรระวังของหลักบานประเภทต่างๆ เช่น หลักฐานประกอบบันทึกความทรงจำนั้น ผู้เขียนมักจะยอกย่องตนเองเสมอ หรือรายงานและเอกสารที่ทางการเขียนขึ้น มักจะอ้างความสำเร็จมากว่าความล้มเหลวและมักจะไม่บอกความจริงทั้งหมด ซึ่งจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
1.1 ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์และการบันทึก ถ้าบันทึกได้ทันเหตุการณ์มากเท่าไร ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น
1.2 จุดมุ่งหมายของผู้บันทึก ผู้บันทึกบางคนตั้งใจบันทึกได้ทันเหตุการณ์มากเท่าไร ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น
1.3 ผู้บันทึกเป็นผู้รู้ในเรื่องราวนั้นจริงหรือไม่ เรื่องราวที่รายงานนั้นอ้างอิงมาจากบุคคลอื่นหรือเป็นคำพูดของผู้บันทึกเอง
1.4 คุณสมบัติของผู้บันทึกเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน สภาพแวดล้อมน่าเชื่อถือหรือไม่ ขณะที่บันทึกนั้นสภาพร่างกายหรือจิตใจปกติหรือไม่มีความกดดันทางอารมณ์ หรือถูกบีบบังคับให้เขียนหรือไม่
1.5 ข้อความนั้นมีอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม หรือไม่
1.6 วิธีการในการบันทึกใช้วิธีการบันทึกอย่างไร ถี่ถ้วนมีอรรถรสหรือเป็นการบันทึกโดยการสืบหาสาเหตุอย่างเที่ยงธรรม ถ้าหากผู้บันทึกใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บันทึกเหตุการณ์ จะทำให้เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ
2. การประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายนอก เป็นการมุ่งวิเคราะห์และพิสูจน์หลักฐานว่า เป็นของจริงหรือของปลอม ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด โดยอาศัยวิธีการเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบหลักฐานว่าจริงหรือปลอมนั้น ผู้ศึกษาไม่สามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ทั้งหมด เพราะต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางจริงๆ จึงต้องอาศัยผลงานหรือขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนนี้จะเป็นการตรวจสอบหาข้อบกพร่องของข้อความในหลักฐานที่อาจเกิดการคัดลอกหรือแปลผิดพลาดหรือมีการต่อเติมเกิดขึ้น
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ประยุกต์ วิธีการทางประวัติศาสตร์เข้ากับหลักฐานที่ได้สืบทอดกัตนมาแต่อดีตและข้อมูลที่เชื่อถือได้เข้าด้วยกัน ข้อมูลต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ใช้เป็นประโยชน์ต่อนักปกครอง นักสังคมศาสตร์ นักสังคมวิทยา นักวรรณคดีวิจารณ์หรือนักการแพทย์ เพื่อสร้างแนวความคิดทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถาบันการเมือง ประเพณีทางสังคม วรรณกรรมหรือวงการแพทย์
คำว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ มีระเบียบวิธีการใช้ในความหมายต่างๆ นักสังคมศาสตร์ นักสังคมวิทยาบางคนไปประยุกต์ข้อมูลทางประวัติศาสตรืและข้อสรุปในปัญหาต่างๆ ตามแนววิทยาศาสตร์มาใช้ อย่างไรก็ตาม นักสังคมศาสตร์รวมทั้งนักประวัติศาสตร์ทั้งหลายต่างก็ได้วิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเป็นจริง การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นจริง ถือเป็นวิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่ง ไม่เฉพาะแต่การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เท่านั้น แต่เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ด้วย
เนื่องจากประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์อันสลับซับซ้อน หลักฐานต่างๆ จึงมีความซับซ้อนและยุ่งยาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการสืบสวน ค้นคว้า และวิเคราะห์หลักฐานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ขั้นกำหนดปัญหาและตั้งข้อสมมติฐาน
เป็นการกำหนดขอบเขตเนื้อหาว่าต้องการศึกษาเรื่องใด โดยทำการศึกษาขอบเขตและแนวทางของปัญหา เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงโดยละเอียด การตั้งข้อสมมติฐาน เป็นการกำหนดให้ผู้เรียนเดาคำตอบหรือกำหนดแนวทางที่คาดว่าเป็นไปได้เกี่ยวกับคำตอบของปัญหา สมมติฐานนี้ถือว่าเป็นความจริงชั่วคราวที่สมมติขึ้น
2. ขั้นการสืบสวนและรวบรวมข้อมูล
ข้อมูลหลักฐานเป็นวิธีการขั้นตอนที่จะต้องพยายามสืบหาและรวบรวมหลักฐานที่ต้องใช้เท่าที่จะแสวงหาได้ เป็นความพยายามที่ต้องทำตลอดเวลา การทำงานค้นคว้าในขณะที่ลงมือเขียนเกือบจะเสร็จแล้วก็จะต้องคอยติดตามหลักฐานที่เราค้นพบใหม่ หรือมีการตีความใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น