วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ภาวะโลกร้อน
(Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ครับ (Greenhouse gases)
ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่ม ีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ครับ
ภาพจาก Global Warming Exhibition of National Academy of Science (US)
แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนตร์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
ข้อมูลจาก: Whyworldhot.com
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าเหล่าก๊าซเรือนกระจกทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์นั้นเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว รวมถึงการที่ป่าไม้ถูกตัดและทำลายลงไปอย่างมาก จึงทำให้ไม่มีตัวฟอกอากาศที่มากพอ จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลกอย่างหนาแน่น ความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่เคยถูกสะท้อนกลับออกไปนอกโลกก็ถูกสะสมไว้ในโลกมากเกินไป และก็เป็นสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้นก็มีให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็กลับมาให้เราได้เห็นใหม่ และพาหะนำโรคที่มีมากขึ้น ในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้น
พวกเราสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ด้วยหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการลดใช้พลังงาน ลดใช้ถุงพลาสติก ลดใช้สิ่งของที่ไม่จำเป็นเพื่อที่จะสร้างขยะให้น้อยลง รวมไปถึงการปลูกต้นไม้ และยังมีอีกหลายวิธีที่พวกเราสามารถทำได้ เพื่อที่จะช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนนี้
ข้อมูลจาก: Greentheearth.info
โลกร้อนได้อย่างไร
เป็นเวลากว่าทศวรรษมาแล้วที่ Syante Arrhenius นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ได้พิสูจน์ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สามารถเก็บกักความร้อนได้ โดย CO2 ในชั้นบรรยากาศซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติได้เก็บความร้อนที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์ให้คงอยู่ภายในโลก ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่หนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
แต่ขณะนี้ CO2 ก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาโลกร้อน ได้เพิ่มปริมาณขึ้นมากกว่าช่วงเวลาใดๆ ในประวัติศาสตร์ 420,000 ปีที่ผ่านมา
ปรากฎการณ์เรือนกระจก
ภูมิอากาศของโลกเกิดจากการไหลวนของพลังงานจากดวงอาทิตย์ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของแสงแดด พลังงานประมาณร้อยละ 70 ได้ถูกดูดซับโดยผ่านชั้นบรรยากาศลงมาให้ความอบอุ่นกับพื้นผิวโลก แต่อีกร้อยละ 30 จะสะท้อนกลับไปสู่ห้วงอวกาศ ในรูปของแสงอินฟราเรดหรือรังสีความร้อน ทำให้โลกไม่ร้อนจนเกินไป
สูงจากโลกเราขึ้นไปในชั้นบรรยากาศมี “ก๊าซเรือนกระจก” ซึ่งเปรียบเสมือน “ผ้าห่มธรรมชาติ” ห่อหุ้มอยู่ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) โอโซน(O3) มีเทน(CH4) ไนตรัสออกไซด์(N2O) ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ก๊าซเหล่านี้มีปริมาณรวมกันทั้งสิ้นไม่ถึงร้อยละ 1 ของบรรยากาศ แต่ก็มากเพียงพอที่จะทำให้โลกของเรามีอุณหภูมิอุ่นขึ้นจากเดิมประมาณ 30 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์
CO2 คือตัวการสำคัญ
สาเหตุสำคัญของปัญหาโลกร้อนกว่าร้อยละ 80 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของ CO2ในชั้นบรรยากาศ ในปี พ.ศ. 2534 มีการปล่อย CO2 รวมทั้งโลกในปริมาณสูงถึง 26.4 พันล้านตัน จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก
นักวิทยาศาสตร์ประมาณการเปลี่ยนแปลงของ CO2 ในช่วง 10,000 ปี ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมว่ามีไม่ถึงร้อยละ 10 และธรรมชาติสามารถปรับตัวให้สมดุลกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ แต่ในช่วงระยะเวลาเพียง 200 ปีที่ผ่านมาระดับ CO2 ได้เพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 30 ถึงแม้บางส่วนจะถูกดูดซับไปโดยมหาสมุทรและพืช แต่ปริมาณ CO2 ก็ยังคงเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ในทุกๆ 20 ปี ซึ่งขณะนี้มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศมากที่สุดในรอบ 420,000 ที่ผ่านมา
คาดการณ์ว่าปริมาณการปล่อย CO2 อาจเพิ่มสูงขึ้นจากระดับปัจจุบันร้อยละ 4 ถึง 320 ในปี พ.ศ. 2643 ซึ่งจำนวนนี้ถือว่ามากกว่าระดับที่มีอยู่ตามธรรมชาติก่อนที่มนุษย์จะเริ่มเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลครั้งใหญ่ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ประมาณสองถึงสามเท่า
ก๊าซเรือนกระจกที่มีปริมาณรองลงมาอย่างก๊าซมีเทน (CH4) ก็เพิ่มปริมาณขึ้นเป็นสองเท่าเนื่องจากการทำการเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข้าวในนาที่มีน้ำขังและการปศุสัตว์ นอกจากนี้ การฝังกลบขยะ การทำเหมืองถ่านหินและการผลิตก๊าซธรรมชาติก็ปล่อย CH4 เช่นกัน คาดว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจาก CH4 ประมาณร้อยละ 15-20 และการเพิ่มขึ้นของไนตรัสออกไซด์ (N2O) คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) และโอโซน (O3)ประมาณร้อยละ 20 ปริมาณ N2O ที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15 เป็นผลมาจากการทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่
ใครปล่อย CO2
ในปี พ.ศ.2541 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ (แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา) ปล่อย CO2 รวมกันถึง ร้อยละ 79 ของปริมาณที่ปล่อยจากประเทศที่พัฒนาแล้ว 25 ประเทศ (OECD) ในปี พ.ศ.2542 กลุ่มประเทศ G8 ได้แก่ ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ และรัสเซีย ได้ปล่อย CO2 รวมกัน คิดเป็นร้อยละ 48.7 ของการปล่อยจากทั่วโลก
ดังนั้นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำจึงควรแสดงความรับผิดชอบโดยการเร่งดำเนินการเพื่อลดการปล่อย CO2 อย่างจริงจังในประเทศของตนเพื่อเป็นตัวอย่างและแนวทางให้แก่ประเทศอื่นๆ ได้ปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นไปตามหลักการของพิธีสารเกียวโต คือ ไม่มีการกำหนดพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องเป็นผู้นำในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก
บรรยากาศของโลกเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา (Dynamic) ภูมิอากาศของโลกจึงมีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงเวลาสั้นบ้างยาวบ้าง ขึ้นอยู่กับปัจจัยสาเหตุนานาประการ ตัวอย่างเช่น การระเบิดของภูเขาไฟทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพียงช่วงเดือนหรือปี การพุ่งชนของอุกาบาตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายสิบปี การเพิ่มขึ้นของมลภาวะทางอากาศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนับศตวรรษ การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในมหาสมุทรและขนาดของแผ่นน้ำแข็ง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของวงโคจรโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นคาบนับล้านปี การเคลื่อนที่ของทวีปและการเปลี่ยนพลังงานจากดวงอาทิตย์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนับพันล้านปี ดังกราฟในภาพที่ 1
ปัจจัยที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกได้แก่ พลังงานจากดวงอาทิตย์ และวงโคจรของโลก ปัจจัยภายในได้แก่ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของก๊าซในบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลก ซึ่งพอสรุปรวมได้ดังนี้
พลังงานจากดวงอาทิตย์
วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
องค์ประกอบของบรรยากาศ
อัลบีโด หรือความสามารถในการสะท้อนแสงของบรรยากาศ และพื้นผิวโลก
น้ำในมหาสมุทร
แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก
การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
ทุกปัจจัยที่กล่าวมามีผลกระทบต่อบรรยากาศโลกโดยตรง และมีผลกระทบต่อกันและกัน ซึ่งยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม
ความแปรปรวนของแสงดวงอาทิตย์
พลังงานจากดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์มีขนาดไม่คงที่ ในยุคเริ่มแรกของระบบสุริยะดวงอาทิตย์มีขนาดเล็กและมีแสงสว่างน้อยกว่าปัจจุบัน ดวงอาทิตย์ขยายตัวใหญ่ขึ้นเนื่องจากการเผาไหม้ก๊าซไฮโดรเจนที่อยู่ภายใน เมื่อพื้นที่ผิวเพิ่มขึ้น ความสว่างก็ยิ่งมากขึ้นด้วย อีกประมาณ 5 พันล้านปี ดวงอาทิตย์จะมีขนาดใหญ่เท่าวงโคจรของดาวอังคาร
นอกจากนี้ปริมาณและพื้นที่ของจุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) ในแต่ละวันยังไม่เท่ากัน ดวงอาทิตย์จะมีจุดมากเป็นวงรอบทุกๆ 11 ปี สิ่งนี้มีผลกระทบต่อพลังงานที่โลกได้รับด้วย
วัฏจักรมิลานโควิทช์
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์ชาวเซอร์ เบียชื่อ มิลูติน มิลานโควิทช์ (Milutin Milankovitch) ได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกเป็นคาบเวลาระยะยาว เกิดขึ้นจากปัจจัย 3 ประการคือ
1. วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เปลี่ยนแปลงขนาดความรี (รีมาก - รีน้อย) เป็นวงรอบ 96,000 ปี เมื่อโลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์อุณหภูมิก็จะสูงขึ้น เมื่อโลกอยู่ไกลอุณหภูมิก็จะต่ำลง
2. แกนหมุนของโลกส่าย (เป็นวงคล้ายลูกข่าง) รอบละ 21,000 ปี ทำให้แต่ละพื้นที่ของโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ในช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละปี
3. แกนของโลกเอียงทำมุมระหว่าง 21.5 - 24.5 องศา กับระนาบของวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ กลับไปมาในคาบเวลา 41,000 ปี แกนของโลกเอียงเป็นสาเหตุทำให้เกิดฤดูกาล ปัจจุบันแกนของโลกเอียง 23.5 องศา หากแกนของโลกเอียงมากขึ้น ก็จะทำให้ขั้วโลกได้รับแสงอาทิตย์มากขึ้นในฤดูร้อนและน้อยลงในฤดูหนาว ซึ่งมีผลทำให้ฤดูร้อนและฤดูหนาวมีอุณหภูมิแตกต่างกันมากขึ้น
แสดงให้เห็นอิทธิพลของปัจจัยทั้งสามทำให้ภูมิอากาศโลกมีอุณหภูมิสูงและต่ำสลับกันไปเป็น วัฏจักร โดยที่แต่ละคาบนั้นมีระยะเวลาและความรุนแรงไม่เท่ากัน
องค์ประกอบของบรรยากาศ สัดส่วนของก๊าซในบรรยากาศ ไม่ใช่สิ่งคงตัว แต่ก่อนโลกของเราเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซออกซิเจนเพิ่งจะเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์อาหารด้วยแสงของคลอโรฟิลล์ในสิ่งมีชีวิตเมื่อประมาณ 2 พันปีที่แล้วมานี้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในบทสิ่งมีชีวิต) ก๊าซบางชนิดมีผลกระทบต่ออุณหภูมิของบรรยากาศโดยตรง เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน เนื่องจากเป็นก๊าซเรือนกระจก ก๊าซบางชนิดไม่มีผลกระทบต่ออุณหภูมิของบรรยากาศโดยตรง แต่จะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและองค์ประ กอบทางเคมีของบรรยากาศ เช่น ก๊าซออกซิเจน ก๊าซโอโซน
น้ำในมหาสมุทร
น้ำในมหาสมุทรมีหน้าที่ควบคุมภูมิอากาศโดยตรง ความชื้นในอากาศมาจากน้ำในมหาสมุทร ความเค็มของน้ำทะเลมีผลต่อความจุความร้อนของน้ำ การไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทรจึงมีผลกระทบต่อภูมิอากาศบนพื้นทวีปโดยตรง ระบบการไหลเวียนของน้ำใต้มหาสมุทรที่เรียกว่า “แถบสายพานยักษ์” (Great conveyor belt) สร้างผลกระทบต่อภูมิอากาศโลก เป็นวงรอบ 500 – 2,000 ปี
อัลบีโด อุณหภูมิของพื้นผิวและบรรยากาศของโลกจะสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดูดกลืนและสะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์ แผ่นน้ำแข็ง ก้อนเมฆ สะท้อนรังสีคืนสู่อวกาศ และฝุ่นละอองที่แขวนลอยในอากาศ ทำให้พื้นผิวโลกมีอุณหภูมิต่ำ ขณะที่ป่าไม้และน้ำดูดกลืนพลังงาน ทำให้พื้นผิวมีอุณหภูมิสูง เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิว ย่อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิด้วย (รายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่อง
แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก
ร้อยละ 75 ของน้ำจืดบนโลก สะสมอยู่ที่เกาะกรีนแลนด์ ในมหาสมุทรอาร์คติก และบนทวีปแอนตาร์คติก ในรูปของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก หากแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกทั้งสองละลายหมดจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 66 เมตร พื้นที่เกาะและบริเวณชายฝั่งจะถูกน้ำท่วม อัลบีโดของพื้นผิวและปริมาณความร้อนที่สะสมอยู่ในน้ำทะเลจะเปลี่ยนแปลงไป และส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศ
การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก
เปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเป็นวัฏจักรต่อเนื่อง (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่อง “วัฏจักรวิลสัน” ในบทธรณี) กระบวนการธรณีแปรสันฐาน หรือ เพลตเทคโทนิคส์ (Plate Tectonics) เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งทุกอย่างบนผิวโลก อันเป็นปัจจัยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เช่น ก๊าซจากภูเขาไฟ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของบรรยากาศ ฝุ่นละอองภูเขาไฟกรองรังสีจากดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงของผิวโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอัลบีโด และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
การศึกษาบรรยากาศของโลกในอดีต
ในการพยากรณ์อากาศนั้น นักอุตุนิยมวิทยาได้ข้อมูลอากาศมาจากสถานีตรวจอากาศภาคพื้น ประกอบกับข้อมูลจากบอลลูน เครื่องบิน และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา แต่ทว่าในการสืบค้นข้อมูลสภาพอากาศในอดีตนับหมื่นหรือแสนปีนั้น นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาจากฟองก๊าซซึ่งถูกกักขังไว้ในแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก เมื่อหิมะตกลงมาทับถมบนพื้นผิว มันจะมีช่องว่างสำหรับอากาศ กาลเวลาต่อมาหิมะที่ถูกทับถมตกผลึกกลายเป็นน้ำแข็งกักขังฟองก๊าซไว้ข้างใน (ดังที่แสดงในภาพที่ 6) เพราะฉะนั้นแผ่นน้ำแข็งแต่ละชั้นย่อมเก็บตัวอย่างของบรรยากาศไว้ในยุคสมัยที่แตกต่างกัน ยิ่งเจาะน้ำแข็งลงไปลึกเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้ฟองอากาศเก่าแก่โบราณมากขึ้นเท่านั้น วิธีการตรวจวัดเช่นนี้สามารถได้ฟองอากาศซึ่งมีอายุถึง 110,000 ปี สถานีขุดเจาะแผ่นน้ำแข็งเพื่อการวิจัยบรรยากาศที่สำคัญมี 2 แห่งคือ ที่เกาะกรีนแลนด์ ในมหาสมุทรอาร์คติกใกล้ขั้วโลกเหนือ และที่สถานีวิจัยวอสตอค ในทวีปแอนตาร์คติกใกล้ขั้วโลกใต้
นักวิทยาศาสตร์ทำการตรวจวัดอายุของฟองก๊าซ ได้จากการศึกษาก๊าซและฝุ่นละอองที่ถูกสะสม เทียบกับเหตุการณ์ทางธรณีในยุคนั้น หรือไม่ก็ใช้การตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีของคาร์บอน ในฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในก้อนน้ำแข็ง ภาพที่ 7 แสดงให้เห็นถึงปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในแต่ละยุคสมัย ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของอากาศแปรผันตามไปด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจก ดูดกลืนรังสีอินฟราเรดทำให้โลกอบอุ่น ในบางช่วงเวลาอุณหภุมิต่ำมากจนกลายเป็นยุคน้ำแข็ง ในช่วงเวลาโลกร้อนสลับกันไป ด้วยสาเหตุของวัฎจักรมิลานโควิทช์ และปัจจัยทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก LESAPROJECT
ป้ายกำกับ:
ภัยพิบัติ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น