วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553
เทคโนโลยี
1. เทคโนโลยี หมายถึงอะไร
2. เทคโนโลยี มีกี่ระดับอะไรบ้าง
3. เหตุใดมนุษย์ถึงมีเทคโนโลยีเป็นวิธีการในการเพิ่มและพัฒนาคุณภาพ
4. ขั้นตอนการดำเนินการของกระบวนการออกแบบและสร้างสรรค์ โดยกระบวนการเทคโนโลยี
5. ประโยชน์และโทษของเทคโนโลยี
1. ความหมายของเทคโนโลยี
คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"
*** พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"
นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
*** ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
*** สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
*** ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
*** ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จาก การที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
***** พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)
ที่มา : http://arc.rint.ac.th/center/pongsak/e_ ... it4_2.html ------------------------
2. เทคโนโลยี มีกี่ระดับอะไรบ้าง เทคโนโลยีมี 4 ระดับ ได้แก่1. เทคโนโลยีระดับเบื้องต้น สามารถจัดหาได้ภายในประเทศ หรือสามารถพัฒนาขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ตู้เย็น โทรศัพท์ เป็นต้น
2. เทคโนโลยีระดับกลาง มักต้องซื้อจากต่างประเทศ แต่สามารถพัฒนาได้ภายในประเทศ หากมีแผนการพัฒนาที่ต่อเนื่อง เช่น โทรทัศน์ เครื่องเสียง เป็นต้น
3. เทคโนโลยีระดับสูง ต้องซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ แต่สามารถใช้งานโดยคนไทย หากพัฒนาในประเทศจะต้องซื้อเทคโนโลยีแกนจากต่างประเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น
4. เทคโนโลยีระดับสูงมาก ต้องซื้ออุปกรณ์ และทักษะการใช้งานจากต่างประเทศ เช่น ระบบคมนาคมสื่อสารขนาดใหญ่
-----------------------------------------------------------------
ที่มา : หนังสือยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. - http://www.nstda.or.th/) "
-------------------------
3. เหตุใดมนุษย์ถึงมีเทคโนโลยีเป็นวิธีการในการเพิ่มและพัฒนาคุณภาพเพราะมนุษย์ต้องการความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น ในเรื่องวิถีการใช้ชีวิต การทำงาน รวมไปถึงสังคม
เพราะมนุษย์เรามีสมอง มีการจดบันทึก มีวิธีคิด วิธีทดลองและการสร้างสรรค์ ทำให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีไปได้เรื่อย ๆ
------------------------
4. ขั้นตอนการดำเนินการของกระบวนการออกแบบและสร้างสรรค์ โดยกระบวนการเทคโนโลยี
เริ่ม จากการวิจัย เป็นเรื่องธรรมดาที่การวิจัยวิทยาศาสตร์ใน 20 - 30 โครงการ จะประสบความสำเร็จและมีความเหมาะสมต่อการนำมาพัฒนาเป็นเทคโนโลยีเพียง 2 หรือ 3 โครงการ
ระยะเวลาที่เริ่มตั้งแต่การวิจัยวิทยาศาสตร์ไปจนถึง ขั้นตอนการทดลองนำไปใช้ในการผลิตจะมีระยะเวลาประมาณ 15 ปี เป็นอย่างน้อย จากนั้นจึงจะเริ่มนำเทคโนโลยีนี้เข้าตลาด เป็นระยะที่เรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Sunrise Technology (พระอาทิตย์ขึ้น) และหลังจากผ่านระยะการขยายตัว อิ่มตัว และเทคโนโลยีดังกล่าวจะเริ่มเข้าสู่ระยะลดต่ำลง หรือเริ่มล้าสมัยที่เราเรียกว่า Sunset Technology (พระอาทิตย์ตกดิน)
ซึ่งเรียกว่า วัฏจักรของเทคโนโลยี ได้แก่
1. วิจัย (Research)
2. พัฒนา (Develope)
3. โครงการต้นแบบ (Pilot)
4. แนะนำเชิงพาณิชย์ (Intro) 5. ขยายวงการใช้เทคโนโลยี (Growth)
6. ระยะอิ่มตัว (Mature)
7. ระยะลดต่ำ (Decline)
-----------------------------------------------------------------------
ที่มา : หนังสือเอกสารวิชาการ นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : วิวัฒนาการและการจัดาการ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
---------------------------------------------------------
5. ประโยชน์และโทษของเทคโนโลยี
สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. : 80) กล่าวว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความจำเป็นและเพิ่มความสำคัญเป็นลำดับมากขึ้นต่อ การดำรงชีวิตของมนุษย์แม้ว่าการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเอื้ออำนวยใน ด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายและอายุยืนนานขึ้น หากการการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ โดยมิได้พิจารณาอย่างสุขุมรอบคอบและกว้างไกลแล้ว ย่อมเกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและสมดุลทางธรรมชาติอย่างมหันต์ เมื่อมองไปข้างหน้า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรช่วยเตรียมให้มนุษย์มีความพร้อมที่จะเผชิญกับ ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต และปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ข้อที่พึงตระหนัก คือ การดำรงชีวิตของมนุษย์มิใช่เพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากธรรมชาติ หรือการทำตนอยู่เหนือธรรมชาติ หากแต่มนุษย์ต้องเรียนรู้ธรรมชาติที่จะดำรงชีวิตอย่างสันติร่วมกับผู้อื่น กับสังคมวัฒนธรรม และกับธรรมชาติ
ดังนั้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน จะต้องเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการทางด้านความรู้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้บุคคลในสังคม รู้จักวิธีการคิดอย่างมีเหตุผล มีวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่มีระบบ อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญาซึ่งวิธีการคิดนั้นเป็นวิธีเดียวกัน กับที่ใช้อยู่ในกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ป้ายกำกับ:
เทคโนโลยี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น