วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย

imagesCA24Z499
 
 ระยะเริ่มต้น
ก่อนหน้านั้น กิจการวิทยุสมัครเล่น มีขึ้นในประเทศไทยหลายสิบปีแล้ว จากการบอกกล่าวของนักวิทยุสมัครเล่นรุ่นแรกๆเล่าว่าได้มากกว่า 60 ปี แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากทั้งประชาชนทั่วไปและจากรัฐบาลเท่าใดนัก

นับจากก่อตั้งเป็นเวลากว่า 40 ปีที่ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปมากขึ้นเป็นลำดับ โดยที่สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ "เพื่อเป็นสมาคมของนักวิทยุสมัครเล่นที่มิใช่เพื่อการค้า แต่รวมกันเพื่อส่งเสริมความสนใจเกี่ยวกับการทดลองวิทยุเพื่อความก้าวหน้าทางศิลปการวิทยุ และผดุงไว้ซึ่งชื่อเสียงของนักวิทยุสมัครเล่น ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง"
สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย พยายามดำเนินการกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทยให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยขออนุญาตทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่นมาโดยตลอด เช่น การเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันระดับนานาชาติในรายการแข่งขันวิทยุสมัครเล่นต่างๆ รวมทั้งเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันรายการต่างๆ หลายรายการนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติในสมัยนั้น ให้มีการจัดตั้งสถานีชั่วคราวขึ้นได้
imagesCAWKI59Q
การจัดตั้งชมรมวิทยุอาสาสมัคร
ต่อมามีการจัดตั้ง "ชมรมวิทยุอาสาสมัคร" ในปี พ.ศ. 2524 ขึ้น โดย พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น และได้มีการจัดให้มีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ซึ่งในครั้งนั้นมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานเป็น "VR" โดยเริ่มจาก VR001 ไปเรื่อยๆ มีผู้สมัครสอบประมาณ 500 คน และสอบผ่าน 311 คน[ผู้ที่สอบได้จะเรียกตัวเองว่า นักวิทยุอาสาสมัคร
แต่เป็นที่ทราบกันดีว่านักวิทยุอาสาสมัครได้ใช้ความถี่วิทยุสมัครเล่น ช่วยเหลือสังคม และงานต่างๆ ของทางราชการตลอดมา ซึ่งก็เป็นครั้งแรกที่ประชาชนทั่วไปได้มีสิทธิใช้งานความถี่วิทยุ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า การเมือง และศาสนา ซึ่งหลังจากนั้นคณะกรรมการชมรม ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบของสมาคม ภายใต้ชื่อ "สมาคมวิทยุอาสาสมัคร" มีชื่อภาษาอังฤษว่า "Voluntary Radio Association (VRA)" ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมนักวิทยุอาสาสมัคร ช่วยเหลือสังคมและสาธารณประโยชน์แลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคนิคระหว่างสมาชิกและพัฒนาวิชาการด้านวิทยุคมนาคม โดยการปฏิบัติการติดต่อสื่อสารของสมาชิกทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือศาสนา และไม่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับการเมือง
ยุคการจัดตั้งตามกฏหมาย
"กิจการวิทยุสมัครเล่น" ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างแท้จริงเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 จากการประกาศใช้ระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 นับได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้มีการติดต่อสื่อสารแบบ "นักวิทยุสมัครเล่น" อย่างแท้จริงขึ้นในประเทศไทย โดยกำหนดสัญญาณเรียกขานที่เป็นสากลตามข้อกำหนดของ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
ซึ่งกำหนดให้ประเทศไทยใช้สัญญาณเรียกขานที่ขึ้นต้นด้วย "HS" และในเวลาต่อมาได้กำหนดสัญญาณเรียกขาน "E2" เพิ่มให้กับประเทศไทย
กิจกรรมของนักวิทยุสมัครเล่นไทย
สถานีพิเศษ
clip_image001
 
สัญญาณเรียกขานพิเศษ
ในเหตุการณ์สำคัญต่างๆ มักจะมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานพิเศษ เพื่อใช้สำหรับการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งนักวิทยุหลายคนก็คอยจะติดต่อกับสถานีพิเศษเหล่านี้ เพื่อจะขอรับบัตรยืนยันการติดต่อไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งในบางโอกาสอาจมีการใช้ prefix พิเศษ เช่น HS2000 ซึ่งเป็นสถานีรายงานการปรับเปลี่ยนปี ค.ศ. ใหม่ HS50A สัญญาณเรียกขานพิเศษสำหรับเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
การเป็นนักวิทยุสมัครเล่นและใบอนุญาต
สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย จะต้องผ่านการอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นจาก คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ก่อนจึงจะสามารถใช้งานความถี่วิทยุของนักวิทยุสมัครเล่นได้ ซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
  1. ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
  2. ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
  3. ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
ซึ่งในแต่ระดับขั้นนั้นมีสิทธิที่จะใช้งานความถี่วิทยุสมัครเล่นและกำลังส่งที่แตกต่างกัน สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงนั้น ยังไม่เคยเปิดสอบสำหรับประชาชนทั่วไป แต่มีการถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (HS1A) เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น
สิทธิต่างๆ ของนักวิทยุสมัครเล่นประเทศไทย
เมื่อสอบผ่านหรือได้รับประกาศนียบัตรรับรองการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นแล้ว จะมีสิทธิการใช้งานความถี่ที่กำหนดให้ใช้เฉพาะนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น ซึ่งมีหลายย่านความถี่ตามข้อกำหนดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และใช้กำลังส่งได้สูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดแต่ละลำดับชั้นของใบอนุญาต สำหรับประเทศไทยสิทธิต่างๆ เป็นดังตาราง
ใบอนุญาตความถี่กำลังส่งสูงสุด
นักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น144.000 - 146.000 MHzไม่เกิน 10 วัตต์
435.000 - 438.000 MHzเฉพาะภาครับเท่านั้น
นักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง1.800 - 1.825 MHz
3.500 - 3.540 MHz
7.000 - 7.200 MHz
10.100 - 10.150 MHz
14.000 - 14.350 MHz
18.068 - 18.168 MHz
21.000 - 21.450 MHz
24.890 - 24.990 MHz
28.000 - 29.700 MHz
ไม่เกิน 200 วัตต์
144.000 - 146.000 MHzไม่เกิน 10 วัตต์
435.000 - 438.000 MHzเฉพาะภาครับเท่านั้น
อ้างอิง
  1. ^ ตารางกำหนดคำนำหน้าสัญญาณเรียกขานของประเทศโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น