วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การQSOอย่างไรดี

imagesCA6ROSIJ
 
1. ฟังให้มาก หากตั้งใจ คัดเลือกไว้ แต่ส่วนดี อย่าให้มี เสียงกวนใด ในสถานี เล็ดลอดไป กับความถี่ ตรวจสอบ ให้แน่ดีก่อนกดคีย์ ออกอากาศไป

2. กะจังหวะ จะเรียกขาน คาดการณ์ว่า คู่สถานี ที่เรียกหา พร้อมจะมา QSO
3. เรียกช่วงสั้น คั่นช่องว่าง เพื่อฟังตอบ ชัดถ้อยคำ ไม่ช้าเร็ว จนเกินไป เรียกสั้นๆ สามครั้งดี กว่าเรียกยาว เพียงครั้งเดียว
4. กดคีย์แน่น แล้งจึงพูด ปากชิดไมค์ ไม่ตะโกน ก็เพราะดี
5. จดสัญญาณ เรียกขานเพื่อน ไม่เลอะเลือน และเวียนมา น่าเบื่อหน่าย imagesCAB1TNRA
6. พูดอะไร ให้ติดต่อ ใจจดจ่อ ไม่สับสน
7. พูดสบายๆ คล้ายธรรมชาติ QSO ไม่เสแสร้ง แกล้งเป็นงาน มีรสชาติ ปราศจาก เรื่องส่วนตัว และโอ้อวด QSO ที่เหมาะสม ถูกกาละ และเทศะ คือทักษะ การสื่อสาร เพื่อนย่อมเห็น เป็นพยาน ว่าสถานี มีมาตรฐาน
8. ก่อนเรียกขาน ปรับสัญญาณ จนเสียงซู่ เพื่อตรวจดู ว่าผู้ใด ใช้ความถี่ อยู่หรือเปล่า ฟังสักพัก หากให้แน่ แค่สอบถาม “มีท่านใด ใช้ความถี่ นี้อยู่ไหม? จาก H2 (E2)…” สักสองรอบ หากไม่มี เสียงใดตอบ ก็ชอบที่ ว่าความถี่ ที่ข้าฯ ถาม นี้ว่างอยู่
9. เมื่อตอบรับ ต้องชัดเจน อย่าพิเรน “ต๊อบ-ต๊อบ-ต๊อบ” ฟังไพเราะ เสนาะหูกว่า หากตอบว่า “HS… ตอบ E2…ครับ (ค่ะ)
10. “ก” กำลังเรียก “ข” ; “ข” ยังไม่ทันตอบ “ก” ; “ก” ยังไม่ทัน CLEAR ; ไม่สมควรที่ “ค” จะรีบเรียก “ก” เขาไป จะรีบร้อนอะไรกัน เช่นนั้นหนา รอให้ “ก” แจ้งร่ำลา (CLEAR หรือ STAND BY) ก่อนแล้วจึง เรียกก็ได้ เขาคงไม่ ปิด (เครื่อง) ทันใด ให้ตายซี
11. จะขอเข้า ร่วมสนทนา อย่าลืมว่า นามเรียกขาน น้ำสำคัญ มิฉะนั้น คงไม่ตอบ ไม่รู้สอบ มาหรือเปล่า “แถ็ก คับ แถ็ก” กับ “เบค คับ เบค” อย่าดีกว่า ฟังแล้วว่า ไม่เข้าท่า เอาเสียเลย
12. จงอย่าเป็น “เสือปืนไว” เว้นช่องไว้ สองสามวิ สีเพื่อนฝูง ขอช่วยเหลือ จะเอื้อเฟื้อ ได้สักที
13. สมัครเล่น ที่เป็นแล้ว QRK 4-5 ก็ว่าแจ๋ว สุดแสนเบื่อ เมื่อ FULL SCALE ตลอดกาล อย่าให้ใคร เข้าเฝ้าว่า “พ่อปากกว้าง แต่หูตึง”
14. คำฟุ่มเฟือย ไร้ความหมาย พยายามเลิกใช้ จะดีกว่า “OK” นั้น มันเท่ห์ไฉน ใช้ให้เกร่อ แถม “โลเจ้อ คับ โลเจ้อ” “XYL” เขาใช้กัน ทั่วโลกา มาเมืองไทย ไหงเป็น “X” หรือไม่ก็ “X-RAY” “ผมขับรถ” พูดไม่โก้ จำต้องโว “DRIVE MOBILE” QRD เลี้ยวซ้าย QRDตรงไป QRD เลี้ยวขวา ฝรั่งเขาเล่น กันมาทั่ว ต้องมากลัว ทั่วเมืองไทย QRD จริงแล้วไซร้ ใช้เดินเรือ บอกไม่เชื่อ MARITINE Q-CODE คือถามว่า “ท่านมุ่งหน้า ไปท่า(เรือ)ใด และท่านออกมา จากท่า(เรือ)ไหน? QTR ใช่เวลา ก็หาไม่ QTR ไม่ว่างเว้น สุดเข็ญใจ คำว่า “บ้าน” ภาษาไทย ไหงไม่ใช้ คำว่า “รถ” อดไม่ได้ ต้อง MOBILE มันน่าอาย หรืออย่างไร ถ้าพูดไทย
15. การค้า การเมือง เรื่องศาสนา อย่านำมา QSO หาเรื่องโม้ มีถมไป
16. ความลับนี้ ว่าไม่มี ในอากาศ จงอย่าพลาด ไม่เดียงสา เผลอโอภา ภาษารัก หากจะพลอด ปลอดภัยกว่า ทาง LAND LINE

Q S O อย่างไร ไม่ ดี ?

********************************************
เรียกขาน-ตอบรับ
HS**** อยู่ม้าย ? – XYZ อยู่ม้าย ? – HS**** - XYZ ???
ตอบ ตอบ ตอบ !!! - ผู้ใดตอบ ??? – ก๊อปไม้ก๊อป ??? - ปี้ยะป่าว ???
CQ CQ CQ ??? - ตอบ CQ – ผู้ใดตอบ CQ ?? – ก็ผู้ใด CQ ล่ะ ??
แถ็ก แถ็ก แถ็ก – เชิญ – ผู้ใดรับแถ็ก ?? เบก เบกคับเบก – เชิญสิบล้อเบก !! }
การติดต่อสื่อสารทางวิทยุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการวิทยุสมัครเล่น การแสดงตน (STATION IDENTIFICATION) คือ การขานสัญญาณเรียกขาน (CALL SIGN) ซึ่งนอกจากเป็นกติกาสากลแล้วยังถือว่าเป็นมรรยาทที่ดีอีกด้วย
ในการ QSO ไม่จำเป็นต้องทวนสัญญาณเรียกขานกันทุกประโยค ระเบียบสากล ITU ระบุว่าอย่างน้อยที่สุด ต้องขาน CALL SIGN (เพื่อเป็นการแสดงตน) ไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งภายในช่วงเวลา 10 นาที
การขานสัญญาณเรียกขาน (CALL SIGN) ไม่ต้องกลัวว่าคนอื่นเขาจะฟังออก ขานช้าๆ ชัดๆ โดยเฉพาะตอนเรียกขานกันครั้งแรกๆ ควรขานเป็น PHONETIC ALPHABET จะได้ไม่สับสนว่า เป็นตัว F Foxtrot, H Hotel, S Sierra หรือ X X-Ray เป็นต้น
ROGER
{ โรเจอร์เลย – ท่านโลเจอร์อาคาร xxx ไหม ? – ผมก็ไม่โลเจอร์เลย ไม่รู้ซีว่าอยู่ตรงไหน !
ทำไมท่านจึงโลเจ้อร์ชื่อจริงผมล่ะ ? – อ๋อ ผมโลเจ้อร์ชื่อท่านแล้วละ แต่ยังไม่โลเจ้อร์หน้าท่านเลย }
คำว่า “ ROGER (ร๊อด์เจ้อร์)” นั้นมิได้แปลว่า ทราบ หรือ รู้ หรือ รู้จัก ความหมายของคำนี้ เป็นในลักษณะว่า “รับทราบ เชิงรับปฏิบัติ” ลำบากนัก(แต่มันเท่ห์?) ก็อย่าไปใช้มันเลยดีกว่า ภาษาไทยธรรมด๋า ธรรมดา ก็ไพเราะดีอยู่แล้ว เข้าใจง่ายดีด้วย
QRD – QTR –X – X-RAY – HOME – DRIVE MOBILE
{ QTR นี้ ผมกำลังจะได๊ว์โมบาย QRD ไป HOME ท่าน ท่านอย่าเพิ่ง QRD ไปไหนนะ ให้ QRX ผมที่ HOME ก่อนนะ ผมคงจะใช้ QTR ไม่น่าเท่าไรหรอก อ้อ ! แล้วช่วยบอก X ของท่านให้เตรียมขนมอร่อยๆ ไว้เผื่อ X-RAY ของผมด้วย ลืมบอกไปว่า X-RAY เขาเผอิญมี QTR ว่างเว้น เขาเลยขอตามมาด้วย เขาอยากจะมา โลเจ้อร์ X ของท่านบ้าง เพราะเคยแต่ได้ยินเสียงเขา Q มาเป็น QTR นานแล้ว เสียโอดีโอเขาเพราดี เลยอยากจะมาโลเจอร์ หน้าเขาบ้าง }
Q CODE หรือ Q SIGNAL เขามีไว้เพื่อย่นย่อข้อความในการติดต่อสื่อสารในระบบ CW (CONTINUOUS WAVE) หรือ วิทยุโทรเลข (RADIO TELEGRAPHY) คือ การรับ-ส่ง โดยการเคาะรหัสมอร์ส (MORSE) ส่วนการติดต่อสื่อสารในระบบวิทยุโทรศัพท์ (RADIO TELEPHONY) นั้น คือ การใช้เสียงพูดไปผสมกับคลื่นวิทยุพาหะ และ เมื่อไปถึงผู้รับก็จะถูกถอดออกมาเป็นเสียงคำพูดอีก จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้รหัสย่อ หรือ Q CODE หรือ Q SIGNAL นักวิทยุสมัครเล่นสากลจะต้องผ่านการสอบ รับ-ส่ง วิทยุโทรเลขขึ้นพื้นฐานที่อัตราความเร็วต่ำๆ ก่อน ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ติดต่อในระบบวิทยุโทรเลขก็ตาม Q CODE พื้นฐานง่ายๆประมาณ 10 กว่าตัวก็ควรที่จะต้องทราบ
QRD นั้นเป็น MARITIME Q CODE ใช้ในการเดินเรือ แปลตรงๆ ตัวว่า “ท่านกำลังมุ่งหน้าไปยังท่า(เรือ)ใด ? และท่านออกเดินทางมาจากท่า(เรือ)ใด?” นักวิทยุสมัครเล่นระดับนานาชาติเล่นมาร่วม 50 ปีแล้วบอกว่ายังไม่เคยรู้เลยว่า QRD นี้คืออะไร เพิ่งมาได้ยินเกร่อไปหมดที่เมืองไทยนี่เอง { QRD ถึงไหนแล้ว? QRD เลี้ยวซ้าย QRD เลี้ยวขวา } ฟังแล้วมันให้น่ากลุ้ม !
QTR ใช่ “เวลา” ก็หาไม่ จริงแล้วไซร้คือ เขาอยากรู้ว่ากี่โมงแล้ว พูดให้ง่ายก็ขอเทียบเวลานั่นเอง ทำไมจึงชอบเอาคำเดียวมาใช้แทนความหมายของทั้งประโยคก็ไม่ทราบ
QSL มิได้แปลว่า “ยืนยันว่าข้อความที่พูดมานั้นถูกต้อง” ถ้าในลักษณะของคำถามก็คือ “ท่านสามารถยืนยันไหมว่า ท่านรับข้อความได้ทั้งหมด” ในลักษณะคำตอบก็คือ “ข้าพเจ้ายืนยันว่าข้าพเจ้ารับข้อความได้ทั้งหมด” นี่ก็อีกตัวอย่างหนึ่งที่เอาคำเดียวมาใช้แต่ความหมายไม่ตรงกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น