วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เที่ยวพังงา 1 มี 4 ตอน

 
พังงา เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขา มีพื้นที่ 4,170.895 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่าง

จากกรุงเทพฯ ประมาณ 788 กิโลเมตร ชื่อของจังหวัดพังงานั้นเดิมน่าจะเรียกว่า “เมืองภูงา”

ตามชื่อเขงา หรือเขาพังงา ซึ่งอยู่ในตัวเมืองพังงาในปัจจุบัน เมื่อตั้งเมืองขึ้นจึงเรียกกันว่า “เมืองภูงา”

เมืองภูงานี้อาจจะตั้งชื่อให้คล้องจองเป็นคู่กับเมืองภูเก็ตมาแต่เดิมก็ได้ แต่เหตุที่เมืองภูงากลายเป็น

เมืองพังงานั้น สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากเมืองภูงาเป็นเมืองที่มีแร่อุดมสมบูรณ์จึงมีฝรั่งมาติดต่อซื้อขาย

แร่ดีบุกกันมาก และฝรั่งเหล่านี้คงจะออกเสียงเมืองภูงาเป็นเมือง “พังงา” เพราะแต่เดิมฝรั่งเขียนเมืองภู

งาว่า PHUNGA หรือ PUNGA ซึ่งอาจอ่านว่า ภูงา หรือจะอ่านว่า พังงา หรือ พังกา ก็ได้


ประวัติศาสตร์เมืองพังงา
จากพงศาวดารปรากฏว่าก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น เมืองพังงาเป็นเมืองแขวงขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่วป่า

จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 1แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเทียบเท่าเมืองตะกั่วป่า

เมืองตะกั่วทุ่ง และโอนเมืองจากฝ่ายกรมท่ามาขึ้นเป็นฝ่ายกลาโหมตั้งแต่นั้นมา ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3
ทรงมีพระราชดำริที่จะปรับปรุงบูรณะหัวเมืองชายฝั่งตะวันตกที่ถูกพม่าตี
จึงได้แต่งตั้งข้าราชการมาเป็นเจ้าเมือง และให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
โดยแต่งตั้งให้พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร) เป็นเจ้าเมืองพังงาคนแรกในปี 2383 ต่อมาเมืองตะกั่วทุ่งถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองพังงา
ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ที่ประชุมเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตจึงมีมติให้ยุบ เมืองตะกั่วป่าขึ้นกับจังหวัดพังงาด้วย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2474 เป็นต้นมา แรกเริ่มที่ตั้งเป็นเมืองนั้นสถานที่ราชการอยู่ที่บ้านชายค่าย ต่อมา พ.ศ. 2473 จึงได้มาสร้างศาลากลางจังหวัด
ขึ้นที่บ้านท้ายช้าง ครั้น พ.ศ. 2515 จึงได้สร้างศาลากลางหลังใหม่ขึ้นบริเวณหน้าถ้ำพุงช้างจนถึงปัจจุบัน
จังหวัดพังงาแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอคุระบุรี อำเภอทับปุด อำเภอกะปง อำเภอตะกั่วทุ่ง
อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง และอำเภอเกาะยาว
 

การเดินทาง

รถยนต์
สามารถใช้ได้สองเส้นทางได้แก่
เส้นทางแรก จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง จากนั้นจึงเข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดพังงา
รวมระยะทาง 788 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 12 ชั่วโมง
เส้นทางที่สอง จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ไปจนถึงจังหวัดชุมพร และจากจังหวัดชุมพรให้ตรงไปใช้ทางหลวงหมายเลข 41
ผ่านอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 401 จนถึงอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 415 ผ่านอำเภอทับปุดเข้าสู่ตัวเมืองพังงา

รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งแบบปรับอากาศและธรรมดา กรุงเทพฯ-พังงา บริการทุก
วัน ออกจากสถานีขนส่งสายใต้
ถนนบรมราชชนนี ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 2435 1199 (รถปรับอากาศ)
โทร. 0 2434 5557-8 (รถธรรมดา) สถานีพังงา ถนนเพชรเกษม (หลังธนาคารหลวงไทย) โทร. 0 7641 2300, 0 7641 2014
หรือ http://www.transport.co.th/
นอกจากนั้นจากจังหวัดพังงา มีรถโดยสารไปยังจังหวัดต่าง ๆ คือ ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พัทลุง หาดใหญ่ สงขลา ปัตตานี นราธิวาส
สุไหง-โกลก อ.บ้านตาขุน อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี และจากอำเภอเมืองมีรถประจำทางจากตลาดไปท่าเรือท่าด่านศุลกากร
ที่สามารถเช่าเรือไปอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาได้ด้วย 

รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถไฟออกจากกรุงเทพฯ ไปลงที่สถานีพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วต่อรถโดยสารประจำทาง
ไปจังหวัดพังงาอีกประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020
หรือ http://www.railway.co.th/

เครื่องบิน
การเดินทางไปพังงาทางเครื่องบิน นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการเที่ยวบินไปลงจังหวัดภูเก็ต จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดพังงา
ระยะทางประมาณ 58 กิโลเมตร หรือเทียวบินไปจ้งหวัดระนอง จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดพังงา โดยใช้เวลาเดิน

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกะปง

วัดนารายณิการาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลเหล ห่างจากที่ว่าการอำเภอ ประมาณ 14 กิโลเมตร หรือตามทางหลวงหมายเลข
401 (ตะกั่วป่า-สุราษฎร์ธานี) จะมีทาง แยกขวาเข้าไป 2 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์ เทวรูปพระลักษณ์ องค์ จำลอง
ซึ่งองค์จริงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และเทวรูปพระ แม่นางสีดา (นางสีดา) ซึ่งเป็นองค์จริง
นอกจากนี้ยังพบศิลาจารึกอายุ 1,300-1,400 ปี ที่
ขุดได้บริเวณยอดเขาเลียง อยู่ภายในวัด รูปสลักเหล่านี้มีความสำคัญเกี่ยวกับประวัติความ เป็นมาของเมือง "ตะโกลา" (ชื่อเดิมของเมืองตะกั่วป่า)
และการเผยแพร่เข้ามาของ วัฒนธรรมอินเดียในภูมิภาคแถบนี้ นอกจากนั้นอำเภอกะปงยังมีน้ำตกอื่น ๆ ที่ชาวบ้านนิยมไปเที่ยวพักผ่อน
คือ น้ำตกแสงทอง เป็นน้ำตกเล็ก ๆ และ น้ำตกหินลาดหรือน้ำตกแล่งหิน เป็นน้ำตกที่มีโขดหิน และธารน้ำใส


น้ำร้อนอำเภอกะปง

ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าน่า ห่างจากตัวอำเภอกะปง 8 กิโลเมตร มีน้ำแร่ไหลผ่านซอกชั้นหินต่าง ๆ ตามหุบเขา
ทางอำเภอได้จัดบ่อกักน้ำแร่ไว้ น้ำแร่มีอุณหภูมิประมาณ 65 องศาเซลเซียส
ช่วงเวลาที่เหมาะแก่ท่องเที่ยว
ตลอดทั้งปี

ลักษณะของสถานที่
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่านา มีน้ำแร่ไหลผ่านซอกชั้นหินต่างๆ ตามหุบเขา ทางอำเภอ
ได้จัดบ่อกักน้ำแร่ไว้ น้ำแร่มีอุณหภูมิประมาณ 65 องศาเซลเซียส
ข้อมูลอาหารพื้นเมือง ( ถ้ามี )
น้ำพริกกุ้งเสียบ,ไก่คั่วกลิ้ง,แกงส้มหน่อไม้ยอดมะพร้าวใส่กุ้ง,ผักเหมียงผัดกุ้งเสียบ,
กุ้งผัดมะขามเปียก,ผักเหมียงต้มกะทิ,ขนมจีนน้ำพริก-น้ำยา-แกงไก่-แกงไตปลา
ของฝากของที่ระลึก
กะปิ,กุ้งเสียบ,อาหารทะเลแห้ง,ต่าวซ้อ,ลูกจันทน์เทศเชื่อม,รากไม้ตะบูนดำ,เม็ดมะม่วงหิมพานต์เผา,
ทุเรียนกวน,สับปะรดภูเก็ต,งานหัถกรรมได้แก่
ดอกไม้ประดิษฐ์จากยางพารา และเกล็ดปลา
ข้อมูลอื่นๆ ( มีโชว์ การแสดง )
อาบน้ำแร่
ที่อยู่
ต.ท่านา
การเดินทางโดยรถยนต์
อยู่ห่างจากตัวอำเภอปะกง ประมาณ 8 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงาน ททท. ภาคใต้ เขต 4 โทร.0-7621-1036,0-7621-2213, 0-7621-7138
หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร.1672

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอคุระบุรี

เกาะเมี่ยง

ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เกาะเมียง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะสี่ เป็นเกาะที่มีขนาดพื้นที่รองจากเกาะสิมิลัน 
เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (บนเกาะ) ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร บ้านพักนักท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
เกาะนี้มีแนวหาดทราย 2 หาด สามารถเดินถึงกันได้โดยใช้เวลาในการเดินประมาณ 20 นาที
หาดหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นหาดทราย ยาวประมาณ 400 เมตร ทรายขาวละเอียดและสวยมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย
น้ำทะเลสีฟ้า เหมาะสำหรับลงเล่นน้ำได้ มีปะการังกระจายอยู่เป็นกลุ่ม ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของหาดมีแนวปะการังต่อเนื่อง
ไปถึงแนวหินยาว ทำให้บริเวณนี้เป็นจุดดำตื้นได้อย่างสบายๆ เพราะไม่ต้องเดินหรือว่ายน้ำจากหาดหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
บนเกาะสี่จะมีสัตว์ที่หาดูได้ยาก เช่น
        - ปูไก่ ซึ่งลำตัวเป็นสีแดงสด มีก้ามสีดำน้ำเงิน เวลาร้องจะมีเสียงคล้ายไก่
เราสามารถพบเห็นได้ในช่วงหัวค่ำที่มันออกมาหากิน
        - นกชาปีไหน เป็นนกประจำถิ่นขนาดใหญ่ มีสีสันและลวดลายบนตัวที่งดงาม
จะพบได้ตามริมชายหาด หรือร้านอาหารหน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
        - ปูเสฉวน สามารถพบเห็นได้มากมายหลายขนาดทั้งเล็กและใหญ่ นอกจากนั้นรอบๆ
หมู่เกาะสิมิลัน ยังมีแหล่งดำน้ำที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก ทั้งจุดดำน้ำลึกและตื้น ได้แก่
        - เกาะตาชัย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือสุดของอุทยานฯ
        - เกาะบอน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะสิมิลัน ในบริเวณนี้ เราจะได้พบกับฉลามครีบขาว ปลากระเบนราหู อีกด้วย
        - กองหินคริสต์มาสพอยต์ เราจะได้พบปลาไหลริบบิ้นสีฟ้า กั้งตั๊กแตน
        - กองหินแฟนตาซี อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะแปด ซึ่งเป็นจุดรวมของหินดอกไม้ ปะการัง กัลปังหา
        - อ่าวลึก
        - อ่าวกวางเอง
สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจกิจกรรมดำน้ำ สามารถติดต่อบริษัทดำน้ำในจังหวัดภูเก็ตและพังงาได้เลย

สิ่งอำนวยความสะดวกบนเกาะ 4 เกาะ 4 มีสิ่งอำนวยความสะดวกทุกสิ่งพร้อมสำหรับนักท่องเที่ยวผู้

มาเยือน 

บ้านพัก มีหลายหลัง หลายขนาด หลายราคา ติดต่อสอบถามที่อุทยานหมู่เกาะสุรินทร์โดยตรง

เต็นท์พักแรม มีไว้บริการ 2 จุด ที่หาดหน้าและหาดเล็ก  หลังละ 400 บาท นอนได้ 2 คน  เกาะนี้

ห้ามนำเต็นท์มากางเอง

ร้านอาหาร มีอาหารตามสั่งบริการ ราคาอาหารที่นี่ไม่โหดเหมือนที่เกาะสุรินทร์ อาหารตามสั่งราดข้าวจานละ 50 บาท
ปริมาณสมเหตุสมผลจานเดียวอิ่ม  อาหารตามสั่งอื่นๆ สั่งได้ทั้งปลาตัวใหญ่ทอดกรอบ ราดพริก มีเมนูให้สั่งเยอะแยะ
รสชาติอร่อย  ร้านอาหารเปิดปิดเป็นเวลา 7.00-9.00, 11.00-15.00 , 17.00-20.30 น.

ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ มีไว้บริการหลายจุด น้ำจืดมีเพียงพอแต่เหม็นกลิ่นโคลนสักหน่อย

โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ GSM สัญญาณเต็ม 5 ขีด แต่มีช่องสัญญาณโทรได้ 16 เครื่อง , และมีโทรศัพท์ Pin Phone
ไว้บริการบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ไฟฟ้า - น้ำใช้ ไฟฟ้าเปิดบริการตั้งแต่ 18.00 น. - 21.00 น. น้ำใช้มีปริมาณเพียงพอ การบริการ 
  เจ้าหน้าที่หญิงบางคนพูดจาไม่ค่อยดีเท่าไร ถ้าหากได้รับการปรับปรุงแก้ไขสักนิดจะทำให้การพักผ่อนบนหาดแสนสวยแห่งนี้เหมือนแดนสวรรค์


สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงบนเกาะสิมิลัน

เกาะตาชัย เป็น เกาะที่เพิ่งประกาศให้อยู่ในความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2541
โดยมีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในท้องที่ ต.เกาะพระทอง อ.คุระบุรี เป็นเกาะที่ยังคงรักษาสภาพธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมสถานที่กางเต๊นท์ไว้ให้บริการ
มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน คือ ลานกางเต๊นท์ที่กว้างขวางร่มครึ้มใต้ร่มไม้ซึ่งมองเห็นหาดทรายขาวสะอาด
ห้องน้ำชาย-หญิง ร้านอาหารสวัสดิการที่คอยให้บริการตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 2 ทุ่มทุกวัน เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
และสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบความโรแมนติกในยามเย็น ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดทำเส้นทางไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เดินเท้าระยะสั้นๆ
ประมาณ 20 นาที ไปชมพระอาทิตย์ตก นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจ คือ ดำน้ำตื้น บริเวณรอบๆ เกาะมีปะการังที่อุดมสมบูรณ์สวยงามมาก

เกาะบอน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะทะลุ เป็นเกาะเป็นแหล่งที่อยู่ของปลาที่ชุกชุมมาก จุดเด่นคือ สะพานหิน
ที่เกิดจากหินที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนเป็นโพรงมองคล้ายสะพานโค้งข้ามแม่น้ำ เป็นเกาะที่นักดำน้ำสามารถทักทายกับเจ้ายักษ์ใหญ่แห่งท้องทะเล
นั่นคือ เจ้ากระเบนราหู ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถพบได้ง่ายกว่าแหล่งท่องเที่ยวแหล่งอื่น

เกาะบางู หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะเก้า สภาพของเกาะเป็นหิน หน้าผา ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะ มีหินโผล่น้ำ
ซึ่งเป็นแหล่งปะการังที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในหมู่นักดำน้ำลึกว่า “คริสต์มัสพอยต์” นอกจากนี้บริเวณรอบๆ เกาะ ยังมีแหล่งดำน้ำตื้นด้วย

เกาะปายัง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะสอง เป็นเกาะที่มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาหิน รอบเกาะเป็นหน้าผา และโขดหิน ไม่มีหาดทราย

เกาะปายู หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะหก มีลักษณะของเกาะเป็นภูเขาหิน เป็นหน้าผา มีชายหาดด้านตะวันออก
แนวปะการังบริเวณนี้กว้างประมาณ 150-200 เมตร ด้านตะวันตกเป็นหน้าผาสูงชัน ไม่มีแนวปะการังที่ชัดเจน แต่มีกองหินและปะการังขึ้นกระจาย
มีปะการังก้อนขนาดใหญ่อยู่บ้างในความลึก 20 เมตร ด้านเหนือเป็นแหลมเล็กๆ ด้านใต้เป็นแนวหิน

เกาะปาหยัน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะสาม มีสภาพทั่วไปของเกาะเป็นหิน ลักษณะเป็นหน้าผา ไม่มีหาดทราย
แต่เป็นแหล่งดำน้ำลึกที่นักดำน้ำลึกนิยมอีกแห่งหนึ่ง มีการขนานนามบริเวณนี้ว่า สันฉลาม บ้างก็ขนานนามว่า กำแพงเมืองจีน
ซึ่งเรียกตามลักษณะกำแพงหินธรรมชาติใต้น้ำที่มีความโอฬารมาก บริเวณนี้จะพบฝูงปลาจำนวนมากที่แวะเวียนมาหากินอยู่ข้างๆ
กำแพงหินธรรมชาติใต้น้ำ เช่น ฝูงปลาสาก และยังมีกัลปังหาที่มีสีสันสวยงามอีกเป็นจำนวนมาก

เกาะหูยง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะหนึ่ง เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาวสะอาด และยาวมากที่สุดในบรรดาเกาะทั้งหมด
ซึ่งหาดของเกาะนี้เป็นที่วางไข่ของเต่าทะเลหลายชนิด หากจะไปท่องเที่ยวที่เกาะแห่งนี้ ควรติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติก่อน

เกาะเมียง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะสี่ เป็นเกาะที่มีขนาดพื้นที่รองจากเกาะสิมิลัน เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
(บนเกาะ) ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร บ้านพักนักท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เกาะนี้มีแนวหาดทราย 2 หาด
สามารถเดินถึงกันได้โดยใช้เวลาในการเดินประมาณ 20 นาที

จุดชมวิวลานข้าหลวงตั้ง อยู่บนเกาะสี่ (เกาะเมียง) ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่งดงามจุดหนึ่งของเกาะสี่ โดยจะมีเฟิร์นข้าหลวงขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก
และมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม มีทัศนียภาพที่สามารถมองได้กว้างไกล สุดสายตา สามารถมองเห็นเกาะต่างๆ
ได้หมดทุกเกาะ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงเส้นทางให้มีป้ายสื่อความหมาย เพื่ออธิบายแก่นักท่องเที่ยว
และมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับและบริการนักท่องเที่ยว
หาดหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นหาดทราย ยาวประมาณ 400 เมตร ทรายขาวละเอียดและสวยมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย
น้ำทะเลสีฟ้า เหมาะสำหรับลงเล่นน้ำได้ มีปะการังกระจายอยู่เป็นกลุ่ม ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของหาดมีแนวปะการังต่อเนื่องไปถึงแนวหินยาว
ทำให้บริเวณนี้เป็นจุดดำตื้นได้อย่างสบายๆ เพราะไม่ต้องเดินหรือว่ายน้ำจากหาดหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


หาดเล็ก เป็นหาดอยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะ สามารถเดินจากหาดหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ตามทางเดินเท้าประมาณ 300 เมตร
ทางเดินเท้าจะผ่านป่าดิบชื้นสมบูรณ์ เหมาะสำหรับเดินศึกษาธรรมชาติ ที่สำคัญ คือ เป็นจุดชมปูไก่ ที่หาดูได้ยาก บริเวณหาดเล็ก
มีทรายที่ขาวสะอาด น้ำทะเลสวยใส มีแนวปะการังขนาดเล็กกระจายเป็นหย่อมๆ เหมาะสำหรับดำน้ำตื้นเช่นกัน

เกาะห้า เป็น เกาะเล็กๆ แต่เป็นจุดดำน้ำที่น่าสนใจ และงดงาม มีเอกลักษณ์ของเกาะ คือ ปลาไหลสีขาวเทา ที่ชอบโผล่หัวชูคอขึ้นมาจากรู
จนได้ชื่อว่า สวนปลาไหล บริเวณนี้ยังเต็มไปด้วยปะการังอ่อน ปะการังแข็งที่มีอยู่มากมาย

เกาะ หินปูซาร์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะเจ็ด มีลักษณะเป็นหินโผล่ กว้างประมาณ 30 เมตร มีผาหิน สามารถว่ายน้ำลัดเลาะไปมา
ตามหน้าผาพบปะการังอ่อน มีทัศนวิสัยในการดำน้ำลึกดีมาก สามารถมองเห็นได้กว้างไกล รอบด้านเป็นกองหินความลึกประมาณ 20-50 เมตร
มีหุบเหวใต้น้ำ บริเวณนี้มีปลาหลายชนิด เช่น ปลาสลิดหินสามจุด ลูกปลานกขุนทอง และปลาฉลาม ออกจากแนวกองหินไปทางด้านใต้
มีกัลปังหาขึ้นอยู่บนลานกระจายที่ความลึก 30 เมตร ลงไปเรื่อย ๆ อาจพบเต่าทะเลและกระเบนราหู (Manta Birostris)

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

ข้อมูลทั่วไป พระยาสุรินทราชา เทศาเมืองภูเก็ต (นามเดิมนกยูง วิเศษกุล) เป็นผู้ค้นพบเกาะและตั้งชื่อ หมู่เกาะสุรินทร์ เมื่อครั้งที่ท่านมาสำรวจ ทะเลฝั่งอันดามัน ที่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จนกระทั่งวันที่ 30 ธันวาคม 2514 กรมป่าไม้จึงได้ประกาศให้พื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์เป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันและอยู่ติดชายแดนประเทศพม่า ห่างจากฝั่งทะเลด้านตะวันตกของไทยประมาณ 70 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี เกาะไข่ และเกาะกลาง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 84,375 ไร่ หรือ 135 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา : กรมป่าไม้ได้ประกาศป่าหมู่เกาะสุรินทร์ ท้องที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นป่าสงวนแห่งชาติเมื่อ 30 ธันวาคม 2514 ต่อมาคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้มีมติในที่ประชุมครั้งที่ 1/2519 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2519 เห็นชอบในหลักการที่จะกำหนดให้หมู่เกาะสุรินทร์เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งกรมป่าไม้ได้ติดต่อประสานงานไปยังกรมทรัพยากรธรณี ได้รับแจ้งว่า หมู่เกาะสุรินทร์อยู่ในเขตสัมปทานปิโตรเลี่ยม แปลงที่ ตก. 9 W1 ของบริษัท WEEKS PETROLEUM จึงขอให้ระงับการประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไว้ก่อน และบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ยังเคยถูกเสนอให้ใช้เป็นค่ายญวนอพยพ แต่เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทั้งบนบกและในทะเล ประกอบกับทิวทัศน์ธรรมชาติที่งดงาม เหมาะที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมชาติ กรมป่าไม้จึงได้คัดค้านไม่เห็นด้วย
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า มีทิวทัศน์ทางทะเลที่สวยงาม มีปะการัง สภาพป่าที่สมบูรณ์ หาดทรายขาวสะอาด และนกนานาชนิด กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรกำหนดบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสุรินทร์ ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ หมู่เกาะสุรินทร์มีสภาพที่กำบังคลื่นลมทั้งสองฤดู เนื่องจากเกาะวางตัวอยู่เป็นกลุ่มและมีอ่าวขนาดใหญ่ ทำให้เกิดแนวปะการังริมฝั่งอยู่รอบเกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ และเกาะบริวาร นอกเหนือจากการรับอิทธิพลจากคลื่นลม สภาพแวดล้อมทางสมุทรศาสตร์ของบริเวณหมู่เกาะเหล่านี้อเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการพัฒนาของแนวปะการัง คือ น้ำใส อุณหภูมิพอเหมาะ และมีการผสมผสานของน้ำที่ได้รับสารอาหารจากมวลน้ำเบื้องล่างที่ปะทะเกาะ ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอน ซึ่งเป็นอาหารสำหรับปลาและสัตว์อื่นๆ ปัจจัยทางสมุทรศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ลักษณะของน้ำขึ้นน้ำลงในทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นแบบ Semidiurnal คือ น้ำขึ้นและน้ำลงอย่างละ 2 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง และความแตกต่างระหว่างน้ำขึ้นสูงสุดและต่ำสุดอาจถึง 3 เมตร ทำให้มีกระแสน้ำเลียบฝั่งค่อนข้างแรง
เกาะสุรินทร์เหนือ และเกาะสุรินทร์ใต้ ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด โดยมีพื้นน้ำตื้นๆ กว้างประมาณ 200 เมตร กั้นอยู่ ในช่วงน้ำลงสามารถข้ามไปยังอีกเกาะได้ เรียกว่า อ่าวช่องขาด ส่วนเกาะขนาดเล็กอีกสามเกาะเป็นเกาะหินที่มีต้นไม้แคระแกร็นขึ้นอยู่ไม่หนาแน่นนัก พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น เป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ลักษณะภูมิอากาศ สามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ปริมาณฝนเฉลี่ยในแต่ละปีจะมีค่ามากกว่า 3,000 มิลลิเมตร ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 83 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ในช่วงนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี ดังนี้
ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 14 พฤศจิกายน ของทุกปี

เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี


พืชพรรณและสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ มีป่า สัตว์ป่า และสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ดังนี้
ป่าดงดิบ เป็นป่าที่มีพื้นที่มากที่สุด มีอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยพรรณไม้หลายชนิด เช่น คอแลน มะยง เท้าแสนปม กระเบากลัก ลำป้าง มะพลับ ลักเคยลักเกลือ ดำตะโก พลับเขา เลือดแรด หันช้าง สลอดป่า หงอกค่าง พระเจ้าห้าพระองค์ ยางยูง ยางปาย สะเดาปัก ตะพง มะเม่าดง มะส้าน อ้ายบ่าว มะกล่ำต้น แตงชั่ง มะเม่าสาย นกนอน ลิ้นควาย กระบาก ไทร กร่าง ไม้หอม แกงเลียงใหญ่ มะเม่าดง ตะขบควาย นวล มูกเขา และลังค้าว นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้ชนิดอื่นๆ อีก คือ
ปาล์ม ได้แก่ เต่าร้างแดง ช้างไห้ หวาย
ไม้พุ่ม ได้แก่ แม่กลอน เต้ยชะครู จันทร์คันนา คัดเค้าทอง
ไม้เถาเลื้อย ได้แก่ เถาปลอง แสลงพันเถา ลิ้นกวาง ขมัน เถานางรอง กร่าง
ไม้พื้นล่าง ได้แก่ เข็มพระรามไม้ ผักยอดตอง คล้า ว่านสากเหล็ก กูดง้อง เตยหนู กูดปรง และร๊อก เป็นต้น
ป่าชายหาด ประกอบด้วย โพกริ่ง กระทิง ตีนเป็ดทะเล สนทะเล จิกเล ปอทะเล โกงกางหูช้าง คันทรง ขาเปี๋ย สำมะงา รักทะเล ปรงทะเล ลำเจียก หญ้าไหวทาม เป็นต้น
ป่าชายเลน ประกอบด้วย โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โกงกางหัวสุม ตะบูน ลำแพนหิน ตีนเป็ดทะเล และพืชอิงอาศัยพวกกระแตไต่ไม้และกล้วยไม้บางชนิด
จากสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์นี้จึงเป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะนกซึ่งพบมากกว่า 80 ชนิด ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ เช่น นกขุนทอง นกลุมพูขาว นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกชาปีไหนซึ่งเป็นนกที่หายาก และหากเดินไปตามชายทะเลจะพบนกยางทะเล นกนางนวล เหยี่ยวแดง บินเหนือท้องทะเลเพื่อล่าปลาเป็นอาหาร ภายในป่าจะพบลิงกังอยู่เป็นฝูงใหญ่ เกาะรอก กระจง ตะกวด งูหลาม ค้างคาวแม่ไก่ และค้างคาวหนูผี

สิ่งมีชีวิตในแนวปะการังแนวปะการังที่พบทั่วไปที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นแนวปะการังริมฝั่ง หรือที่เรียกกันว่า fringing reef ปะการังที่พบได้มากได้แก่ ปะการังดอกกะหล่ำ ปะการังเขากวาง ปะการังโขดหรือปะการังนิ้วมือ ปะการังดอกเห็ด ปะการังกาแล็กซี่ ปะการังแผ่นเปลวไฟหรือปะการังดอกจอก ปะการังสมอง ปะการังจาน ปะการังไฟ ดอกไม้ทะเล ปะการังอ่อน กัลปังหา และปากกาทะเล เป็นต้น
นอกจากปะการังแข็งที่พบเห็นโดยทั่วไปแล้ว ยังพบหญ้าทะเลในบริเวณอ่าวของหมู่เกาะสุรินทร์ 3 ชนิด ได้แก่ หญ้าเงาหรืออำพัน หญ้ากุ่ยช่ายเข็ม และหญ้าชะเงาเต่า นอกจากนี้ยังมี ฟองน้ำ หนอนทะเล กุ้งมังกร กุ้ง ปู หอย หมึก ดาวทะเล ดาวเปราะ ดาวขนนก เม่นทะเล ปลิงทะเลเพรียงหัวหอมและกลุ่มปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาสลิดหิน ปลานกขุนทอง ปลาผีเสื้อ ปลาสินสมุทร ปลานกแก้ว ปลากะรังและปลาทอง ปลาขี้ตังเป็ด ปลาสลิดทะเล ปลาผีเสื้อเทวรูป ปลาอมไข่ ปลาตั๊กแตนหิน ปลาบู่ ปลาสิงโต ปลากะรังหัวโขน ปลาหิน ปลากะพง ปลากล้วย ปลาสร้อยนกเขา ปลาทรายขาว ปลาหางแข็ง ปลาโมง ปลาสีกุน ปลาวัว ปลาปักเป้า นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของสัตว์ทะเลหายาก เช่น ฉลามวาฬ วาฬ และเต่าทะเลซึ่งพบ 4 ชนิดด้วยกันได้แก่ เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ และเต่าหญ้า

หมู่บ้านชาวเลหรือมอแกนหมู่บ้านชาวเลหรือมอแกน ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ชายหาดบริเวณอ่าวไทรเอน เกาะสุรินทร์เหนือ ประมาณ 130-150 คน ชาวเลหรือมอแกนเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะของทะเลอันดามัน ตั้งแต่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย เรื่อยไปจนถึงเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย มอแกนเป็นชนเผ่าที่มีวิถีการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมหาเลี้ยงชีพโดยการงมหอย แทงปลา โดยในช่วงฤดูมรสุมระหว่างเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน มอแกนจะอาศัยอยู่บนเรือที่เปรียบเสมือนบ้าน แต่พอถึงช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-เมษายน จะเปลี่ยนที่อยู่มาอาศัยอยู่บนบกที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์
เรือของชาวมอแกนแบบดั้งเดิม มี 2 ประเภท ประเภทที่ 1 เป็นเรือขนาดใหญ่ สร้างขึ้นจากไม้ประมาณ 3-4 ต้น ใช้เวลาสร้างประมาณ 60 วัน ใช้แรงงานคนประมาณ 20 คน ประเภทที่ 2 เป็นเรือขนาดเล็ก ใช้ไม้เนื้ออ่อนเจาะด้วยขวาน ใช้เวลาสร้างประมาณ 5 วัน ใช้แรงงานคนประมาณ 3 คน โดยวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบเรือทั้ง 2 ประเภท จะใช้วัสดุและอุปกรณ์เช่นเดียวกัน คือ ไม้ขนุนปานหรือไม้ระกำ ขวาน ใช้สลักไม้แทนตะปู ใช้หวาย ใบเตย หรือใบค้อ กระสอบป่านแทนหมันและน้ำมันยาง
วิถีชีวิตของชาวมอแกน อาศัยการนับเวลาจะสังเกตจากดวงจันทร์ พวกเขามีความเชื่อในเรื่องของภูตผีและวิญญาณบรรพบุรุษ โดยในเดือนเมษายนของทุกปี กลุ่มชาวเลที่อยู่กระจัดกระจายตามเกาะต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงและในประเทศพม่าจะมารวมตัวกันที่หมู่เกาะสุรินทร์ เพื่อประกอบพิธี "ลอยเรือ" อันเป็นการบวงสรวงผีและวิญญาณของบรรพบุรุษ อีกทั้งเป็นการสะเดาะห์เคราะห์ให้ปลอดภัยและแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวง จึงถือได้ว่าชาวมอแกนเป็นชนเผ่าที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้มากที่สุด

กิจกรรม -ชมวัฒนธรรมประเพณี

อ่าวเต่าอ่าวเต่า อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะสุรินทร์ใต้ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 2 กิโลเมตร เป็นแนวปะการังริมเกาะ กว้าง 50 - 200 เมตร แนวปะการังหักชันลงที่ลึก 20 - 25 เมตร อย่างรวดเร็ว บริเวณด้านในของแนวปะการังจะพบกับปะการังขนาดเล็ก บริเวณตรงกลางของแนวปะการังพบปะการังหลากหลายชนิด สำหรับบริเวณขอบแนวปะการังพบปะการังก้อนขนาดใหญ่ มีปะการังอ่อนและกัลปังหาอยู่เป็นหย่อมๆ ในที่ลึก สัตว์เด่นบริเวณนี้ คือ เต่ากระ นอกจากนี้ยังมีสัตว์หลากหลายชนิด แม้แต่กระเบนราหูหรือฉลามวาฬ ก็เคยมีนักดำน้ำแบบดำผิวน้ำพบเห็นในบริเวณนี้เช่นกัน

กิจกรรม -ดำน้ำตื้น

อ่าวผักกาดอ่าวผักกาดเป็นอ่าวเล็กๆ อยู่ทางทิศใต้ของเกาะสุรินทร์ใต้ เลยอ่าวเต่าไป อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 5 กิโลเมตร แนวปะการังริมฝั่งกว้างประมาณ 50 - 150 เมตร มีชายหาดเล็กๆ แนวปะการังหักชันตรงขอบลงสู่ความลึก 15 -20 เมตร ด้านล่างเป็นพื้นทราย สามารถพบเห็นปะการังอ่อนและกัลปังหาได้บ้าง
อ่าวผักกาดเป็นจุดที่มีปะการังหลากหลายชนิดในพื้นที่แคบๆ พบทั้งปะการังก้อน แผ่นตั้ง แผ่นนอน เขากวาง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ทะเลที่น่าสนใจ เช่น ดอกไม้ทะเล หอยมือเสือ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในน้ำลึก อาจทำให้มองเห็นไม่ชัดสำหรับผู้ที่ชอบดำน้ำแบบผิวน้ำ ที่นี่มีปลาเกือบทุกชนิดที่พบในหมู่เกาะเกาะสุรินทร์ มาดำน้ำที่อ่าวผักกาดจึงต้องสังเกตปลาเป็นหลัก โดยเฉพาะปลาผีเสื้อ และปลาสินสมุทร เพราะที่นี่มีปลาสองกลุ่มนี้หลากหลายมาก

กิจกรรม -ดำน้ำตื้น - ดำน้ำลึก


เกาะปาจุมบาเกาะปาจุมบา หรือเรียกอีชื่อหนึ่งว่า เกาะมังกร มีอ่าวมังกรอยู่ทางทิศตะวันออกเกาะ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 5 กิโลเมตร พื้นที่นี้เป็นพื้นที่สงวนสำหรับการอนุรักษ์เต่าทะเล บรเวณนี้น้ำไม่ลึก ยกเว้นด้านเหนือของเกาะ มีแต่กองหินใต้น้ำ ไม่มีปะการังอ่อนหรือกัลปังหา บางครั้งมีกระแสน้ำรุนแรง ไม่เหมาะสำหรับการดำน้ำ

กิจกรรม -ยังไม่เปิดท่องเที่ยว

อ่าวไม้งามอ่าวไม้งาม อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะสุรินทร์เหนือ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 2 กิโลเมตร ด้านตะวันตกของอ่าวเป็นแนวปะการังในอ่าวใหญ่ ขอบแนวปะการังห่างฝั่ง 200 - 500 เมตร การเดินทางไปอ่าวแห่งนี้ ทำได้ 2 แบบ คือ เดินเท้าตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติหาดไม้งาม ความยาว 2,000 เมตร อีกแบบหนึ่งคือนั่งเรือ แต่เรือไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าอ่าวไม้งาม เนื่องจากน้ำตื้นมาก จึงต้องไปจอดเรือที่หาดเล็กๆ ก่อนเดินทางเท้าต่อไปอีก 200 เมตร นักท่องเที่ยวจะได้มีโอกาสเดินชมป่า ก่อนที่จะไปดำน้ำริมหาด บริเวณอ่าวไม้งามเป็นหาดทรายธรรมชาติที่งดงาม มีปูเสฉวนจำนวนมาก บางช่วงฤดูอาจพบเห็นนกขุนทองทำรังบนต้นไม้
ปะการังที่พบในอ่าวนี้ เป็นปะการังแผ่นตั้ง ปะการังเห็ด ปะการังเขากวาง และปะการังก้อน พบอยู่ห่างจากฝั่งพอสมควร นอกจากปะการังแล้วยังพบสัตว์ทะเล เช่น ดอกไม้ทะเล ปลิงทะเล และปลามีให้ชมในช่วงที่อยู่ห่างจากฝั่งพอควร การดำน้ำดูปะการังในบริเวณอ่าวนี้ ควรดำน้ำเฉพาะเส้นทางดำน้ำที่กำหนด มิฉะนั้นแล้วอาจไปเกยตื้นกลางดงปะการัง สิ่งที่ควรทำคือ พยายามลอยตัวไปตามพื้นทราย ลัดเลาะข้างๆ ปะการัง อย่าลอยอยู่บนปะการังโดยตรง ซึ่งอาจโดนปะการังหรือเม่นทะเลโดยไม่ได้ตั้งใจ
บริเวณอ่าวไม้งามนี้ ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดทำสถานที่กางเต็นท์ ห้องน้ำ-ห้องสุขา ไว้บริการนักท่องเที่ยวที่สนใจมาพักแรมแบบแคมป์ปิ้ง นักท่องเที่ยวควรปฎิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ช่วบกันประหยัดน้ำจืด ช่วยเหลือกันและเคารพสิทธิของกันและกันในหมู่นักท่องเที่ยว

กิจกรรม -ดำน้ำตื้น - ดูนก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - พายเรือแคนู/คยัค - กิจกรรมชายหาด - แค็มป์ปิ้ง

เกาะตอรินลาเกาะตอรินลา หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะไข่ อยู่ทางทิศใต้ของเกาะสุรินทร์ใต้ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 6 กิโลเมตร เกาะตอรินลาเป็นจุดดำน้ำชั้นยอดของหมู่เกาะสุรินทร์ บางคนเรียกกองเหลือง บริเวณนี้มีทั้งแนวปะการังและกองหินใต้น้ำสลับกัน จัดเป็นจุดดำน้ำที่ใหญ่มาก กินอาณาเขตเกือบทั่วร่องน้ำระหว่างเกาะตอรินลากับเกาะสุรินทร์ใต้ มีดงปะการังเขากว้างที่กว้างใหญ่ มีปลาสวยงามมากมาย มากกว่า 200 ชนิด เช่น ปลาไหลสวน ฉลามครีบเงิน ฉลามเสือดาว กระเบนหางแส้ กะรังหน้างอน ฝูงปลาค้างคาว ปลากระตั้ว ปลาไหลริ้บบิ้น เป็นต้น และที่โดนเด่นคือ มีปลากระโทงแทงกระโดดให้เห็นกันบ่อยๆ ถือเป็นจุดชมปลากระโทงแทงชั้นเยี่ยมแห่งหนึ่งของทะเลไทย ข้อควรระวังสำหรับนักดำน้ำ คือ บริเวณร่องน้ำเกาะตอรินลา มีกระแสน้ำอันรุนแรง บางครั้งไหลวน จึงควรดำน้ำความความระมัดระวัง

กิจกรรม -ดำน้ำตื้น - ดำน้ำลึก

อ่าวจากอ่าวจาก อยู่ด้านทิศตะวันออกของเกาะสุรินทร์เหนือ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 10 กิโลเมตร เป็นแนวปะการังในอ่าวใหญ่ ขอบปะการังห่างฝั่ง 200 - 400 เมตร ด้านในเป็นปะการังเขากวาง ปะการังพุ่ม ปะการังกิ่ง ด้านนอกมีปะการังก้อนสลับกับปะการังเขากวางกว้างใหญ่ สัตว์ใต้ทะเลส่วนมากเป็นปลาสวยงาม สัตว์ใหญ่ๆ มีน้อย
กิจกรรม -ดำน้ำตื้น

อ่าวสุเทพอ่าวสุเทพ อยู่บนเกาะสุรินทร์ใต้ เป็นอ่าวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนเกาะนี้ มีแนวประการับยาวถึง 1,200 เมตร ห่างจากฝั่ง 200 - 500 เมตร หรือมากกว่านั้น ด้านในของแนวปะการังเป็นปะการังขนาดเล็กปนเศษปะการัง ด้านนอกของแนวเป็นปะการังก้อนขนาดใหญ่สลับกับปะการังแผ่นนอนใหญ่มาก ขอบแนวปะการรังลาดลงสู่พื้นทราย ความลึก 15 เมตร สามารถพบเห็นปะการังอ่อนและกัลปังหา หอยมือเสือ และปลาสวยงาม
อ่าวสุเทพอยู่ไม่ไกลจากบริเวณที่พักของอุทยานแห่งชาติ (อ่าวช่องขาด) แต่มีนักท่องเที่ยวน้อย เพราะเรือวิ่งข้ามช่องขาดมาได้เฉพาะช่วงน้ำขึ้น อ่างสุเทพจึงค่อนข้างสงบ เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบความเป็นส่วนตัว

สถานที่ติดต่ออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
ต.เกาะพระทอง อ. คุระบุรี จ. พังงา 82150
โทรศัพท์ 0 7649 1378, 0 7649 1582 โทรสาร 0 7649 1583 

การเดินทาง

รถยนต์ ขับรถไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) จากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่ อำเภอคุระบุรี ระยะทางประมาณ 720 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอคุระบุรีประมาณ 6 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 721 มีทางแยกเลี้ยวเข้าท่าเรือคุระบุรี ประมาณ 2 กิโลเมตร จะมองเห็นป้ายอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์อยู่ทางขวามือ จากนั้นให้เลี้ยวเข้าไปจอดรถบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (บนฝั่ง)

เครื่องบินโดยสารเครื่องบินมาลงที่สนามบินจังหวัดระนอง หรือสนามบินจังหวัดภูเก็ต จากนั้นจึงค่อยเดินทางด้วยรถยนต์มายังอำเภอคุระบุรี ในจังหวัดพังงาต่อไป

เรือการเดินทางทางเรือ เริ่มจากท่าเรือคุระบุรี ไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ มีการบริการเรือทัวร์โดยสารของเอกชนให้บริการนักท่องเที่ยว ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.5 - 3.5 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของเรือโดยสาร
การบริการเรือทัวร์โดยสาร เปิดให้บริการทุกวันไม่มีวันหยุด จนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งเข้าสู่ช่วงฤดูมรสุมจึงจะปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว มีตารางการเดินเรือ ดังนี้
- จากท่าเรือคุระบุรี เวลา 09.00 น. ของทุกวัน ถึงที่ทำการอุทยานฯ บนเกาะสุรินทร์เหนือ เวลาประมาณ 13.00 น.
- จากที่ทำการอุทยานฯ บนเกาะสุรินทร์เหนือ เวลา 10.00 น. ของทุกวัน ถึงท่าเรือคุระบุรี เวลาประมาณ 14.00 น.


อัตราค่าโดยสารทางเรือ- เรือโดยสารทั่วไป ค่าโดยสารไป-กลับ ประมาณ 1,200 บาท/คน
- เรือเร็ว ค่าโดยสารไป-กลับ ประมาณ 1,500 บาท/คน

รถโดยสารประจำทางเริ่มต้นจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ เวลาออกเดินทางจากกรุงเทพฯประมาณ 19.00 น. ถึงคุระบุรี เวลา 05.00 น. อัตราค่าโดยสารคนละ 480 บาท จากบริเวณสถานีขนส่งคุระบุรี ในอำเภอคุระบุรี บริการรถมอเตอร์ไซด์และรถยนต์เช่า เหมาคันเดินทางไปส่งยังบริเวณท่าเรือคุระบุรี อันเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร สำหรับอัตราค่าโดยสารมีดังต่อไปนี้ คือ รถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง 50 บาท/คน รถยนต์เช่าเหมา 200 บาท/คัน

ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ทั้งชนิดบ้านเดี่ยว และบ้านแฝด บริเวณอ่าวช่องขาด บนเกาะสุรินทร์เหนือ

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ มีพื้นที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการอยู่บริเวณอ่าวไม้งาม บนเกาะสุรินทร์เหนือ ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีค่าบริการอยู่หลายอัตราขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

บริการอาหาร ร้านอาหาร ห้องปฐมพยาบาล และร้านขายของที่ระลึก บริเวณอ่าวช่องขาด บนเกาะสุรินทร์เหนือ

ท่าเรือ/ท่าเทียบเรือเรือบริการนำเที่ยว
- จากท่าเรือคุระบุรีไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ค่าโดยสาร (ไป-กลับ) 1,000 บาท/เที่ยว/คน
- ชมปะการัง บริเวณเกาะต่างๆ ราคาในการให้บริการ 100 บาท/คน/วัน

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ บริเวณอ่าวช่องขาด บนเกาะสุรินทร์เหนือ

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

ข้อมูลทั่วไป หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะกลางทะเลอันดามันที่เป็นเลิศในความงามของปะการังแห่งหนึ่งของโลก “สิมิลัน” เป็นภาษายาวีหรือมลายู แปลว่า “เก้า” ชาวประมงบางคนจึงเรียกว่า หมู่เกาะเก้า ประกอบด้วย เกาะใหญ่น้อย 9 เกาะด้วยกัน เรียงตัวตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันประกอบด้วย เกาะบอน เกาะบางู เกาะสิมิลัน เกาะปายู เกาะห้า เกาะเมียง เกาะปาหยัน เกาะปายัง และเกาะหูยง หมู่เกาะสิมิลัน เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2525 ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และในปี 2541 ได้ผนวกรวมเกาะตาชัย ทำให้มีพื้นที่ทั้งหมด 140 ตารางกิโลเมตร
ในปี พ.ศ. 2524 คณะสำรวจหมู่เกาะสิมิลันซึ่งประกอบด้วย Mr. Jeferey A. Sayer ผู้เชี่ยวชาญด้านอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่าของ FAO (ขณะนั้นช่วยงานด้านอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า กรมป่าไม้) ดร.เต็ม สมิตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญกรมป่าไม้ นายสุวัช สิงหพันธุ์ เจ้าหน้าที่กองอุทยานแห่งชาติ และคณะสำรวจของนายประพันธ์ ผลเสวก แห่งนิตยสารเพื่อนเดินทาง ได้เสนอความคิดเห็นต่อกองอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2524 ว่า บริเวณหมู่เกาะสิมิลันมีสภาพธรรมชาติและทิวทัศน์ทางทะเลสวยงามยิ่ง สภาพแวดล้อมบนเกาะต่างๆ สมบูรณ์ มีพรรณพืชและสัตว์ที่น่าสนใจหลายชนิด สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยหน้าผา โขดหินรูปร่างแปลกตา มีหาดทรายขาวบริสุทธิ์ และใต้ท้องทะเลอุดมสมบูรณ์ด้วยปะการังหลากสีหลายชนิดและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด เหมาะสมที่จะสงวนรักษาไว้เป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2524 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2524 เห็นสมควรให้จัดบริเวณหมู่เกาะเก้าหรือหมู่เกาะสิมิลันเป็นอุทยานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยให้ชื่อว่า “หมู่เกาะสิมิลัน” ในการประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2525 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสิมิลัน ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เนื้อที่ประมาณ 80,000 หรือ 128 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติภายใต้ชื่อว่า “ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ” โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 123 ลงวันที่ 1 กันยายน 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 43 ของประเทศไทย
ต่อมาได้ผนวกพื้นที่เกาะตาชัย เนื้อที่ 12 ตารางกิโลเมตรเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 65ก ลงวันที่ 25 กันยายน 2541 รวมพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั้งสิ้น 87,500 ไร่ หรือ 140 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ประกอบด้วยพื้นดินที่เป็นเกาะต่างๆ เขาหินแกรนิตสูงชัน หาดทราย โขดหิน ลักษณะรูปร่างต่างๆ ชายฝั่งของเกาะต่างๆ มีลักษณะเว้าแหว่งไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากตั้งอยู่ในส่วนทะเลนอก ได้รับอิทธิพลจากการกัดเซาะของคลื่นทะเลโดยตรง เรียงตัวตามแนวทิศเหนือใต้ พื้นน้ำเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดียตะวันออก บริเวณไหล่ทวีปติดชายฝั่งตะวันตกของจังหวัดพังงาและประเทศพม่า คู่ขนานกับแนวเกาะนิโคบาร์ ที่เป็นไหล่ทวีปของประเทศอินเดีย ตามชายหาดหรือสันทรายจะไม่มีดินเลนให้เห็นจึงเป็นชายหาดที่ขาวสะอาด สวยงาม อนุภาค ทรายมีขนาดเล็กละเอียด ส่วนที่เป็นยอดเขาจะเป็นเขาโดดสูงชัน ยอดเขาสูงสุดมีความสูง 244 เมตร จากระดับน้ำทะเล บางเกาะมีลักษณะแบนราบล้อมรอบด้วยเนินทรายและแนวปะการัง

ลักษณะภูมิอากาศ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในเกณฑ์สูงเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 83 % ปริมาณน้ำฝนแต่ละปีเฉลี่ย 3,560 มิลลิเมตร ปริมาณการระเหยของน้ำแต่ละปีเฉลี่ย 1,708 มิลลิเมตร ช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในช่วงนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ทางอุทยานฯ จึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี ดังนี้
ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 14 พฤศจิกายน ของทุกปี

เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า พืชพรรณ สามารถจำแนกออกได้ เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ป่าชายหาด มีลักษณะโปร่งพบพันธุ์ไม้กระจัดกระจายมีความสูงไม่เกิน 15 เมตร ได้แก่ หูกวาง จิกเล สารภีทะเล ไม้ยืนต้นขนาดเล็กและไม้พุ่มขนาดใหญ่ ความสูงไม่เกิน 10 เมตร เช่น ตะบัน หงอนไก่ทะเล ปอทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไม้พุ่มขนาดเล็ก เช่น ชิงชี่ ก้างปลาทะเล เตยทะเล เป็นต้น พืชคลุมดินที่พบ เช่น พืชตระกูลถั่ว พวกถั่วผี ผักราด หญ้าที่พบตามชายหาด เช่น หญ้าหวาย หญ้าขุย ไม้ไผ่ พืชอาศัย ได้แก่ นมพิจิตร ข้าหลวงหลังลาย เป็นต้น
2. ป่าละเมาะ เป็นสังคมของไม้พุ่มที่เจริญเติบโตได้บนดินที่มีความลึกของชั้นดินไม่เกิน 30 เซนติเมตร พรรณไม้ที่พบไม่หนาแน่นนัก เช่น กระบองเพชร จันทน์ผา ไม้พุ่มขนาดเล็กที่พบทั่วไป ได้แก่ พลอง นกนอน เป็นต้น
3. ป่าดงดิบ ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ความสูง 20 เมตรขึ้นไป ได้แก่ ยางปาย ยูง สะยา ไม้ยืนต้นขนาดรองลงมา ความสูง 15-20 เมตร ได้แก่ ขนุนนก เม่า โมกป่า ไม้ยืนต้นขนาดกลางความสูง 10-15 เมตร ที่พบ เช่น กระเบา รักป่า เนียน เป็นต้น มักพบ ไผ่ป่า หวาย ปาล์ม ขึ้นปะปน ไม้เลื้อย ไม้เถาว์ที่พบ เช่น พลูฉีก เสี้ยวเครือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้และกาฝากเกาะตามกิ่งก้านไม้ขนาดใหญ่
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญหาพบได้ยาก ได้แก่ ละมุดป่า และงวงช้างทะเล พบเฉพาะเกาะใหญ่ในทะเลอันดามัน พืชที่กินผลหรือใบอ่อนได้ เช่น ละมุดป่า มะปริง มะหวด เนียง ผักหวาน และชิงชี่ เป็นต้น
สัตว์ป่า จากการสำรวจสามารถจำแนกได้ดังนี้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น ค้างคาวแม่ไก่เกาะ ค้างคาวปีกถุงเคราดำ พญากระรอกดำ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ เช่น โลมาหัวขวด เป็นต้น
สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย เต่าทะเลที่สำคัญได้แก่ เต่ามะเฟือง เต่ากระ นอกจากนี้ยังพบพวกเหี้ย แลน กระรอก เป็นจำนวนมาก ส่วนจำพวกงู ไม่เคยพบงูที่มีพิษ งูที่พบมากได้แก่ งูเหลือม
นก ที่พบได้บ่อยในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีดังนี้
1. นกที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย และไม่อพยพย้ายถิ่น เช่น เหยี่ยวแดง นกกวัก เป็นต้น
2. นกที่จัดเป็นนกอพยพ เข้ามาในประเทศไทยบางฤดูกาล เช่น นกปากซ่อมหางเข็ม นกเด้าลมหลังเทา
3. นกประจำถิ่นและบางครั้งมีการอพยพย้ายถิ่น ได้แก่ นกนางแอ่นบ้าน นกยางควาย นกอีลุ้ม และนกนางนวลแกลบสีกุหลาบ เป็นต้น
ปลา ที่สำคัญที่พบเป็นพวกปลาทะเล ได้แก่ ปลาฉลาม ปลากระโทงเทง ปลากระเบน ปลาบิน ปักเป้าทะเล รวมตลอดถึงปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งปะการังอีกหลายชนิด เช่น ปลาผีเสื้อ ปลานางฟ้า และปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกหลายชนิด
สัตว์ประเภทอื่นที่สำคัญ สำหรับพันธุ์สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่สำคัญที่สุด ได้แก่ ปะการัง และแมงกระพรุน ซึ่งปะการังโดยรอบหมู่เกาะสิมิลัน ส่วนใหญ่เป็นปะการังน้ำลึก เท่าที่สำรวจพบ ได้แก่ ปะการังใบไม้ ปะการังแปรงล้างขวด ปะการังรูพรุน นอกจากนี้ยังมีปะการังที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และปะการังพรุนแบบฟองน้ำอีกหลายชนิด ทั้งยังพบพวกกัลปังหาอีกเป็นจำนวนมากด้วย
หมู่เกาะสิมิลัน เป็นหมู่เกาะที่ได้รับการยกย่องจากนิตยสารสกินไดวิ่งของอเมริกาว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ ซึ่งติดอันดับ ความงาม เป็น 1 ใน 10 ของโลก ซึ่งมีช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวมากที่สุดคือ ระยะปลายเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนเมษายน ในเดือนมีนาคมจะเป็นช่วงที่อากาศดีที่สุด น้ำใส และไม่มีมรสุม


เกาะหูยงเกาะหูยง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะหนึ่ง เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาวสะอาด และยาวมากที่สุดในบรรดาเกาะทั้งหมด ซึ่งหาดของเกาะนี้เป็นที่วางไข่ของเต่าทะเลหลายชนิด หากจะไปท่องเที่ยวที่เกาะแห่งนี้ ควรติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติก่อน
กิจกรรม -ดำน้ำลึก

เกาะปายังเกาะปายัง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะสอง เป็นเกาะที่มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาหิน รอบเกาะเป็นหน้าผา และโขดหิน ไม่มีหาดทราย
กิจกรรม -ดำน้ำตื้น - ดำน้ำลึก

เกาะปาหยัน
เกาะปาหยัน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะสาม มีสภาพทั่วไปของเกาะเป็นหิน ลักษณะเป็นหน้าผา ไม่มีหาดทราย แต่เป็นแหล่งดำน้ำลึกที่นักดำน้ำลึกนิยมอีกแห่งหนึ่ง มีการขนานนามบริเวณนี้ว่า สันฉลาม บ้างก็ขนานนามว่า กำแพงเมืองจีน ซึ่งเรียกตามลักษณะกำแพงหินธรรมชาติใต้น้ำที่มีความโอฬารมาก บริเวณนี้จะพบฝูงปลาจำนวนมากที่แวะเวียนมาหากินอยู่ข้างๆ กำแพงหินธรรมชาติใต้น้ำ เช่น ฝูงปลาสาก และยังมีกัลปังหาที่มีสีสันสวยงามอีกเป็นจำนวนมาก
กิจกรรม -ดำน้ำลึก

เกาะเมียงเกาะเมียง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะสี่ เป็นเกาะที่มีขนาดพื้นที่รองจากเกาะสิมิลัน เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (บนเกาะ) ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร บ้านพักนักท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เกาะนี้มีแนวหาดทราย 2 หาด สามารถเดินถึงกันได้โดยใช้เวลาในการเดินประมาณ 20 นาที
หาดหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นหาดทราย ยาวประมาณ 400 เมตร ทรายขาวละเอียดและสวยมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย น้ำทะเลสีฟ้า เหมาะสำหรับลงเล่นน้ำได้ มีปะการังกระจายอยู่เป็นกลุ่ม ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของหาดมีแนวปะการังต่อเนื่องไปถึงแนวหินยาว ทำให้บริเวณนี้เป็นจุดดำตื้นได้อย่างสบายๆ เพราะไม่ต้องเดินหรือว่ายน้ำจากหาดหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
หาดเล็ก เป็นหาดอยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะ สามารถเดินจากหาดหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ตามทางเดินเท้าประมาณ 300 เมตร ทางเดินเท้าจะผ่านป่าดิบชื้นสมบูรณ์ เหมาะสำหรับเดินศึกษาธรรมชาติ ที่สำคัญ คือ เป็นจุดชมปูไก่ ที่หาดูได้ยาก บริเวณหาดเล็ก มีทรายที่ขาวสะอาด น้ำทะเลสวยใส มีแนวปะการังขนาดเล็กกระจายเป็นหย่อมๆ เหมาะสำหรับดำน้ำตื้นเช่นกัน
กิจกรรม -ดำน้ำตื้น - ดำน้ำลึก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - ส่องสัตว์ - กิจกรรมชายหาด - ชมทิวทัศน์

เกาะห้า
เป็นเกาะเล็กๆ แต่เป็นจุดดำน้ำที่น่าสนใจ และงดงาม มีเอกลักษณ์ของเกาะ คือ ปลาไหลสีขาวเทา ที่ชอบโผล่หัวชูคอขึ้นมาจากรู จนได้ชื่อว่า สวนปลาไหล บริเวณนี้ยังเต็มไปด้วยปะการังอ่อน ปะการังแข็งที่มีอยู่มากมาย

กิจกรรม -ดำน้ำลึก

เกาะปายู
เกาะปายู หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะหก มีลักษณะของเกาะเป็นภูเขาหิน เป็นหน้าผา มีชายหาดด้านตะวันออก แนวปะการังบริเวณนี้กว้างประมาณ 150-200 เมตร ด้านตะวันตกเป็นหน้าผาสูงชัน ไม่มีแนวปะการังที่ชัดเจน แต่มีกองหินและปะการังขึ้นกระจาย มีปะการังก้อนขนาดใหญ่อยู่บ้างในความลึก 20 เมตร ด้านเหนือเป็นแหลมเล็กๆ ด้านใต้เป็นแนวหิน

กิจกรรม -ดำน้ำลึก

เกาะหินปูซาร์เกาะหินปูซาร์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะเจ็ด มีลักษณะเป็นหินโผล่ กว้างประมาณ 30 เมตร มีผาหิน สามารถว่ายน้ำลัดเลาะไปมา ตามหน้าผาพบปะการังอ่อน มีทัศนวิสัยในการดำน้ำลึกดีมาก สามารถมองเห็นได้กว้างไกล รอบด้านเป็นกองหินความลึกประมาณ 20-50 เมตร มีหุบเหวใต้น้ำ บริเวณนี้มีปลาหลายชนิด เช่น ปลาสลิดหินสามจุด ลูกปลานกขุนทอง และปลาฉลาม ออกจากแนวกองหินไปทางด้านใต้ มีกัลปังหาขึ้นอยู่บนลานกระจายที่ความลึก 30 เมตร ลงไปเรื่อย ๆ อาจพบเต่าทะเลและกระเบนราหู

กิจกรรม -ดำน้ำลึก

เกาะสิมิลันเกาะสิมิลัน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะแปด เป็นเกาะที่มีพื้นที่มากที่สุด ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร และยอดสูงสุดของภูเขา 244 เมตร จากระดับน้ำทะเล เกาะสิมิลันมีอ่าวเล็กๆ อยู่ทางทิศเหนือของเกาะ อ่าวนี้มีลักษณะโค้งจึงได้ชื่อว่า อ่าวเกือกม้า ใต้ท้องทะเลอุดมสมบูรณ์ด้วยกองหินและแนวปะการัง ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาเล็กปลาน้อยมากมาย สภาพหาดสวยงามสะอาดและน้ำทะเลใสมาก สามารถลงเล่นน้ำได้ เหมาะสำหรับการดำน้ำดูปลาและปะการัง
ทางด้านทิศตะวันออกของอ่าวเป็นเกาะแก่งเล็กๆ ใต้น้ำอุดมไปด้วยปะการังเขากวางและปะการังดอกเห็ดขนาดใหญ่ ทางด้านตะวันตกของอ่าว ภายใต้ท้องทะเลเป็นโขดหินสลับกับแนวปะการังไปเป็นระยะตลอดแนวอ่าว ทางด้านทิศตะวันออกของอ่าว มีก้อนหินขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายรองเท้าบู๊ต เต่ายักษ์ และหินใบ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของเกาะ กองหินใต้น้ำซึ่งเป็นจุดดำน้ำลึกที่ขึ้นชื่อ คือ กองหินแฟนตาซี

กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ดำน้ำตื้น - ดำน้ำลึก - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - แค็มป์ปิ้ง


เกาะบางูเกาะบางู หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะเก้า สภาพของเกาะเป็นหิน หน้าผา ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะ มีหินโผล่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งปะการังที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในหมู่นักดำน้ำลึกว่า "คริสต์มัสพอยต์"

กิจกรรม -ดำน้ำลึก

เกาะบอนเกาะบอน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เกาะทะลุ เป็นเกาะเป็นแหล่งที่อยู่ของปลาที่ชุกชุมมาก จุดเด่นคือ สะพานหิน ที่เกิดจากหินที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนเป็นโพรงมองคล้ายสะพานโค้งข้ามแม่น้ำ เป็นเกาะที่นักดำน้ำสามารถทักทายกับเจ้ายักษ์ใหญ่แห่งท้องทะเล นั่นคือ เจ้ากระเบนราหู ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถพบได้ง่ายกว่าแหล่งท่องเที่ยวแหล่งอื่น

กิจกรรม -ดำน้ำลึก

เกาะตาชัยเป็นเกาะที่เพิ่งประกาศให้อยู่ในความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2541 โดยมีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในท้องที่ ต.เกาะพระทอง อ.คุระบุรี เป็นเกาะที่ยังคงรักษาสภาพธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
93 ม.5 บ้านทับละมุ ถ.เพชรเกษม ต.ลำแก่น อ. ท้ายเหมือง จ. พังงา 82210
โทรศัพท์ 0 7659 5045, 0 7642 1365 โทรสาร 0 7659 5210 

การเดินทาง

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ-จังหวัดพังงา ระยะทางประมาณ 788 กิโลเมตร อัตรค่าโดยสารขึ้นอยู่กับประเภทรถโดยสาร ระหว่าง 357-685 บาท จากพังงามาที่อำเภอทับละมุ ระยะทาง 65 กิโลเมตร รถยนต์โดยสารราคา 35 บาท จากนั้นต่อมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ไปยังท่าเรือทับละมุ ราคา 30 บาท (ระยะทาง 5 กิโลเมตร)

เครื่องบิน
จากท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ถึงท่าอากาศยานภูเก็ต ราคา 2,300 บาท เดินทางสู่จังหวัดพังงา โดยรถโดยสารประจำทาง ถึงท่าเทียบเรือทับละมุ และจ้างเหมาเรือไปอุทยานแหงชาติหมู่เกาะ สิมิลัน

เรือ
จากท่าเรือทับละมุเดินทางไปยังเกาะเมี่ยง (เกาะสี่) ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร มีเรือโดยสารของภาคเอกชนให้บริการทุกวันตลอดฤดูกาลท่องเที่ยว เรือโดยสารทุกลำจะออกจากท่าเรือพร้อมกัน โดยขาไปออกเวลา 08.00 น. และขากลับออกเวลา 14.00 น. ของทุกวันๆ ละ 1 เที่ยว (เก็บตั๋วเรือเอาไว้แสดงตอนกลับด้วย) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3.5 - 4 ชั่วโมง อัตราค่าโดยสารขึ้นอยู่กับชนิดของเรือและการบริการดังนี้
เรือโดยสารทั่วไป อัตรา 1,500 บาทต่อคน เป็นการเดินทางไป-กลับ (กลับวันไหนก็ได้) สำหรับอัตรา 2,300 บาทต่อคน เป็นการเดินทางไป-กลับ มีอาหาร เครื่องดื่มและพาเที่ยวรอบๆ เกาะ เป็นการพาเที่ยวภายใน 1 วัน หรือจะจ้างเหมาลำก็ได้มีอัตราค่าจ้างเหมา คือ เรือขนาด 35 - 40 คน ราคาประมาณ 12,000 บาทต่อวัน เรือขนาด 50 - 60 คน ราคาประมาณ 15,000 บาทต่อวัน ขึ้นอยู่กับการตกลงราคา และเมื่อเดินทางถึงอุทยานแห่งชาติ จะมีเรือหางยาวให้บริการกับนักท่องเที่ยว ไปตามเกาะต่างๆ ดังนี้
เกาะสี่–เกาะหก ระยะทาง 3 กิโลเมตร อัตราค่าบริการ ราคา 150 บาทต่อคน
เกาะสี่-เกาะแปด ระยะทาง 11.5 กิโลเมตร อัตราค่าบริการ ราคา 200 บาทต่อคน
เกาะสี่-เกาะเก้า ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร อัตราค่าบริการ ราคา 300 บาทต่อคน
รอบเกาะแปด และเกาะเก้า อัตราค่าบริการ ราคา 300 บาท/คน


สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
มีพื้นที่กางเต็นท์บริเวณเรือนแถว ขนาด 2.5 ไร่ มีห้องน้ำ-ห้องสุขารวม และ พื้นที่กางเต็นท์บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติที่ มส.2 (เกาะแปด) มีพื้นที่ขนาด 6 ไร่ มีห้องน้ำ-ห้องสุขารวม

ท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ
ท่าเทียบเรือ จำนวน 1 แห่ง บริเวณ บ้านทับละมุ (ท่าเทียบเรือทับละมุ)

แหล่งดำน้ำลึก จำนวน 10 จุด ได้แก่

คริสมาส พอยท์ ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 66 กิโลเมตร

อ่าวเรือจม (หินตาแก่) ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 64 กิโลเมตร

แฟนตาซี รีฟ ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 6.1 กิโลเมตร

อิเลฟเฟน ร๊อค (Elephant Rock) ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 64 กิโลเมตร

หินเบคอน ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 64 กิโลเมตร

หินสามก้อน ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 65.4 กิโลเมตร
หินคอนโด (East of Eden) ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 64 กิโลเมตร

หัวแหลม ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 65.7 กิโลเมตร

สวนปลาไหล ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 64.1 กิโลเมตร

หินแพและสันฉลาม ระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 64 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติศรีพังงา

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติศรีพังงา มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ในจำนวน 5 แห่ง ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2530 ซึ่งมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์และสวยงามตามธรรมชาติ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ มีสัตว์ป่าชุกชุม และจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก หน้าผา อุทยานแห่งชาติศรีพังงา มีเนื้อที่ประมาณ 153,800 ไร่ หรือ 246.08 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา : ในต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2529 ราษฎรอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ได้เสนอผ่าน นายบรม ตันเถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ทางราชการจัดตั้งพื้นที่บริเวณน้ำตกตำหนัง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งต้นน้ำ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2529 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2529 พิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งพื้นที่ป่าบริเวณน้ำตกตำหนัง เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ
เดือนพฤษภาคม 2529 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 877/2529 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2529 ให้ นายธวัช ไชยพัฒน์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจและจัดตั้งพื้นที่บริเวณป่าน้ำตกตำหนังเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติศรีพังงา” จากรายงานการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713 (ศง)/32 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2529 บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าสมบูรณ์ มีทิวทัศน์และจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม กองอุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเทือกเขานมสาว ในท้องที่ตำบลคุระ ตำบลแม่นางขาว ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี และตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 60 ลงวันที่ 16 เมษายน 2531 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 56 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นแนวขนานกับฝั่งทะเลอันดามันในแนวเหนือใต้ บริเวณเทือกเขาจะมีสภาพป่าที่สมบูรณ์เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นต้นกำเนิดลำห้วยต่างๆ มากมาย ทำให้เกิดจุดเด่นทางธรรมชาติประเภทน้ำตก หน้าผา และสภาพป่าที่สวยงาม มีต้นน้ำลำธารมากมาย เช่น คลองคุรอด คลองตำหนัง คลองแพรกขวา คลองแพรกซ้าย คลองบางแดง คลองบางวัน คลองหลักเขต และคลองบางใหญ่

ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกเกือบตลอดปี มีเพียง 2 ฤดูกาล โดยฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน และฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม ซึ่งสภาพอากาศจะชื้นและไม่หนาวหรือร้อนจัด มีอุณหภูมิตั้งแต่ 26-29 องศาเซลเซียส ตลอดปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยป่าดิบชื้นเป็นไม้ไม่ผลัดใบสภาพป่าค่อนข้างชื้น มีพรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ ยาง ตะเคียน สะตอป่า กระท้อน ตาเสือ เสียดช่อ และนาคบุตร เป็นต้น ส่วนพืชพื้นล่างรกทึบด้วย หวาย เถาวัลย์ ว่าน สมุนไพร ระกำ มอส และเฟินชนิดต่างๆ รวมทั้งไผ่หลายชนิด มีสัตว์ป่าชุกชุมเนื่องจากพื้นที่ติดกับป่าเหนือเขื่อนเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้สัตว์ป่าอพยพหนีน้ำอันเกิดจากการปิดกั้นเขื่อนกักน้ำ มาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สมเสร็จ เลียงผา ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมี เสือ กระจง ชะนี ลิง ค่าง วัวแดง และนกชนิดต่างๆ อีกมากมาย เช่น นกแก้ว ไก่ป่า นกเงือก นกโพระดก นกแซงแซว นกปรอด นกหัวขวาน ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบสัตว์เลื้อยคลานประกอบด้วย เต่า ตะพาบน้ำ เห่าช้าง ตะกวด งู กิ้งก่า ฯลฯ ทั้งยังมีสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบทูด คางคก เขียด อึ่งอ่าง และปลาที่สวยงามอยู่มากมายตามแอ่งน้ำต่างๆ

น้ำตกตำหนังเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ทิ้งตัวลงมาจากหน้าผาหิน สูงประมาณ 60 ม. ลงสู่แอ่งน้ำใหญ่เบื้องล่าง เหมาะแก่การเล่นน้ำมาก เป็นน้ำตกที่เดินทางไปเที่ยวได้สะดวกที่สุดของอุทยานแห่งชาติศรีพังงา จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติจะมีทางรถยนต์ต่อเข้าไปอีกราว 1.5 กิโลเมตร จากนั้นเดินเท้าผ่านแอ่งปลาพลวงและผืนป่าร่มรื่นไปอีก 500 เมตร ก็จะถึงน้ำตกตำหนัง ระหว่างทางมีนกหลายชนิดให้ชม เช่น นกหัวขวานสีน้ำตาล นกปรอดเล็กตาขาว นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล ฯลฯ

น้ำตกโตนต้นไทรเกิดจากลำน้ำซึ่งตกจากโขดหินขนาดใหญ่ บริเวณใกล้น้ำตกจะมีต้นไม้ใหญ่น้อย และโขดหินสวยงาม สายน้ำไหลตกลงมาตามผาหินสูงประมาณ 20 เมตร บริเวณน้ำตกมีต้นไทรอยู่หลายต้นจนเป็นที่มาของชื่อน้ำตก ทางเข้าน้ำตกอยู่เลยด่านตรวจอุทยานแห่งชาติก่อนเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติมาเล็กน้อย เมื่อพบทางแยกให้เลี้ยวซ้าย ผ่านสวนผลไม้ชาวบ้านไปอีก 2 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินเลาะลำธารเข้าไปถึงน้ำตก ควรมีเจ้าหน้าที่ช่วยนำทาง แต่ในช่วงฤดูฝนจะเดินเข้าไปน้ำตกไม่ได้ จากน้ำตกโตนต้นไทรไปอีก 500 เมตร จะถึง ถ้ำค้างคาว ซึ่งมีค้างคาวอาศัยอยู่จำนวนมาก

น้ำตกโตนต้นเตยจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติมีทางเดินไปน้ำตกโตนต้นเตย ผ่านลำธารที่มีก้อนหินน้อยใหญ่ประมาณ 30 นาที จะถึงน้ำตกชั้นล่าง เรียกว่า น้ำตกโตนเตยน้อย สูง 10 เมตร จากนั้นเดินตามลำธารไปจนถึงน้ำตกโตนเตยที่ทิ้งตัวลงจากผาหินสูง 45 เมตร อยู่ท่ามกลางป่าดงดิบ มีเฟิน หวาย และนกหลายชนิดให้พบเห็น เช่น นกเขียวคราม นกเขียวก้านตอง นกโพระดกคางแดง ฯลฯ ในช่วงฤดูฝนที่น้ำหลากไม่สามารถเดินตามลำธารเข้าไปได้ ควรมีเจ้าหน้าที่ช่วยนำทางเพราะอาจหลงทางได้

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณลานจอดรถของน้ำตกตำหนัง มีทางเดินไต่เขาผ่านป่าดิบชื้นขึ้นไปจนถึงจุดชมทิวทัศน์ มองเห็นบริเวณที่คลองตำหนังไหลผ่านป่าชายเลนลงทะเลระหว่างทางมีต้นไทร ซึ่งถ้าโชคดีเป็นช่วงลูกไทรสุก ก็จะมีโอกาสได้พบนกหลากชนิดที่แวะมากินลูกไทร เช่น นกแก๊ก รวมทั้งนกเงือกหายาก เช่น นกชนหิน นกเงือกดำ ในบริเวณนี้ยังมีพืชหากยาก เช่น กระโถนพระฤาษี บัวผุด ด้วย จากนั้นเส้นทางจะผ่าน น้ำตกโตนอู น้ำตกโตนเด้ง แล้ววกกลับมายังจุดเริ่มต้น


สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติศรีพังงา
ตู้ ปณ. 22 ปทจ.ตะกั่วป่า อ. ตะกั่วป่า จ. พังงา 82110
โทรศัพท์ 0 7641 9056 

การเดินทาง

รถยนต์
โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ตะกั่วป่า-ระนอง) ผ่านป่าเทือกเขานมสาว เลี้ยวเข้าทางแยกสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติตรงหลักกิโลเมตรที่ 756 เป็นเส้นทางลำลองจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (จากปากทางบ้านตำหนัง) เข้าเขตน้ำตกตำหนังเป็นระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร
วนอุทยานน้ำตกรามัญ
อยู่ตำบลกระโสม ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาโตนดิน มีพื้นที่ประมาณ 125 ไร่ วนอุทยานฯ เป็นน้ำตกขนาดกลางมีน้ำไหลตลอดทั้งปี เหตุที่มาของชื่อน้ำตกรามัญ คือ เมื่อสงครามเก้าทัพ ได้มีชาวมอญกลุ่มหนึ่งหนีทัพพม่าขึ้นไปตั้งชุมชนตรงชั้นบนสุดของน้ำตกแห่งนี้ ชาวบ้านจึงรียกว่า “น้ำตกรามัญ” บริเวณต้นน้ำมีลักษณะเป็นเทือกเขาเรียงรายติดต่อกัน สภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์เป็นป่าดงดิบ วนอุทยานฯ ในส่วนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวประกอบด้วยธารน้ำขนาดกลางไหลจากป่าต้นน้ำผ่านหุบเขา และพื้นที่ต่างระดับทำให้เกิดน้ำตกชั้นต่าง ๆ หลายชั้น นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่า ได้แก่ เลียงผา สมเสร็จ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน ตะพาบน้ำ ปลาซิว ปลาพรวงหิน ปลาเสือ วนอุทยานฯ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติด้วย นอกเหนือจากน้ำตกรามัญ ยังมีน้ำตกอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีก เช่น โตนใต้ เป็นน้ำตกชั้นล่างสุด หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตีนล่าง โตนขอนปัก มีลักษณะเป็นสระน้ำขนาดกลาง มีความลึกพอสมควร เหมาะสำหรับการเล่นน้ำ โตนไอ้จุ่น มีลักษณะเหมือนชั้นที่ 2 สามารถลงเล่นน้ำได้ตลอดทั้งปี โตนกลาง เป็นชั้นที่มีธารน้ำตกสูงพอสมควร มีความสวยงาม และเหมาะสำหรับเล่นน้ำใต้ธารน้ำตก โตนหินราว เป็นชั้นน้ำตกที่มีความลึกมาก โตนสาวงาม เป็นน้ำตกชั้นสุดท้ายที่มีความสวยงามเช่นกัน

ข้อมูลทั่วไป
วนอุทยานน้ำตกรามัญอยู่ในท้องที่ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา มีเนื้อที่ประมาณ 125 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2526
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปบริเวณน้ำตกรามัญ เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนติดต่อกัน พื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 100 เมตร ดินเป็นดินเหนียวปนทราย หินเป็นหินปูน มีหินทรายและหินแกรนิตปนบ้างเล็กน้อย
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม รวม 8 เดือน แต่ช่วงที่มีฝนตกชุกคือระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน
พืชพรรณและสัตว์ป่า ป่าบริเวณน้ำตกยังสมบูรณ์ซึ่งเป็นป่าดงดิบชื้นเหลืออยู่เฉพาะบริเวณลำห้วยเท่านั้น เหนือขึ้นไปส่วนใหญ่ป่ามีสภาพเสื่อมโทรม ถูกบุกรุกแผ้วถางทำสวนเกือบหมด พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนสามพอน ตะเคียนทราย ยาง ยูง เสียดช่อ ส้าน เป็นต้น ไม้พื้นล่างได้แก่ ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่รวก กล้วย ป่าเฟิร์น และบอน
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ลิง ค่าง หมูป่า กระจง เก้ง อีเห็น กระรอก และนกชนิดต่างๆ
สิ่งที่น่าสนใน บริเวณน้ำตกมีลักษณะเป็นเทือกเขาเรียงราย สภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ พรรณไม้เด่น ได้แก่ ไม้ยาง ตะเคียนทอง เสียดช่อ เฟิร์น ระกำ น้ำตกเป็นธานน้ำขนาดกลางไหลผ่านหุบเขาและพื้นที่ต่างระดับ ทำให้เกิดน้ำตกจำนวน 8 ชั้น ชั้นแรกสุเรียกว่า โตนโต้ ชั้นที่ 2 ชื่อโตนขนปก มีลักษณะเป็นสระขนาดกลางลึก 2-3 เมตร เล่นน้ำได้ ชั้นที่ 3 เรีกโตนไอ้จุ่น มีลักษณะเหมือนชั้นที่ 2 ชั้นที่ 4 เรียกโตนกลางเป็นชั้นที่สูงนับ 10 เมตรเหมาะสำหรับอาบน้ำ ชั้นที่5 และ 6 มีแอ่งน้ำที่เกิดตามธรรมชาติมีน้ำขังทั้งปี ชั้นที่ 7 โตนหินงาม มีแอ่งน้ำลึกมากไม่เหมาะจะเล่นน้ำ ชั้นที่ 8 ชื่อโตนสาวงาม เป็นชั้นที่มีความสวยงาม สามารถเินได้อย่างไม่ยากลำบากนัก


สถานที่ติดต่อวนอุทยานน้ำตกรามัญ
ต.กระโสม อ. ตะกั่วทุ่ง จ. พังงา 82130
โทรศัพท์ 0 7535 6134, 0 7635 6780
ค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ผู้ใหญ่ คนละ 20-80 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ)
เด็ก คนละ 10-40 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ)
กรณีเป็นเด็กอายุต้องต่ำกว่า 14 ปี แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี จักไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม
กรณีเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้เก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสำหรับเด็ก

การเดินทางรถยนต์ จากตัวเมืองพังงาไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม ไปทางตำบลกระโสม ห่างจากตัวเมืองประมาณ 11 กิโลเมตร มีทางแยกขวาเข้าสู่วนอุทยานฯ อีก 6 กิโลเมตร หรือจากอำเภอตะกั่วทุ่ง ตามทางหลวงหมายเลข 4 ประมาณ 10 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายเข้าสู่วนอุทยานฯ
รถประจำทาง สามารถจะเช่าเหมาได้จากตลาดในอำเภอเมืองไปวนอุทยานฯ ได้


อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่

ข้อมูลทั่วไป แต่เดิมเป็นเพียงวนอุทยานป่าชายทะเลเขาหลัก ซึ่งอยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ ต่อมา ในปี 2527 ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลกะปง จังหวัดพังงา ได้มีหนังสือเรียนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า พื้นที่บริเวณ ตำบลกะปง จังหวัดพังงา น้ำตกลำรู่ เป็นน้ำตกที่สวยงาม ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขากะได บริเวณรอบๆ ยังมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่านานาชนิด ควรอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าไว้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีบันทึกให้กรมป่าไม้พิจารณา กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ ให้มีคำสั่งให้ เจ้าหน้าที่ออกไปทำการสำรวจบริเวณดังกล่าว ปรากฏว่า พื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

ในปี 2528 กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ ให้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติน้ำตกลำรู่” ต่อมา ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีบันทึกสั่งการให้กรมป่าไม้สงวนป่าคลองลำรู่ใหญ่ ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ตามที่ผู้บัญชาการสถานีทหารเรือพังงา ได้ให้ความเห็นชอบตามมติของสภาตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง ที่ต้องการสงวนป่าต้นน้ำลำธารคลองลำรู่ใหญ่ ซึ่งกรมป่าไม้ได้ให้กองอนุรักษ์ต้นน้ำทำการตรวจสอบ และได้มีการประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2528 เห็นชอบให้กองอุทยานแห่งชาติสำรวจหาข้อมูลเพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป
กองอุทยานแห่งชาติได้สั่งการให้อุทยานแห่งชาติน้ำตกลำรู่ ทำการสำรวจเพิ่มเติม และได้รับหนังสือรายงานผลการสำรวจว่า พื้นที่บริเวณน้ำตกลำรู่ และบริเวณป่าต้นน้ำลำธารของตำบลลำแก่น รวมพื้นที่สำรวจประมาณ 150 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติ 7 ป่า เป็นป่าต้นน้ำลำธารที่สำคัญของจังหวัดพังงา มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ทางธรรมชาติหลายแห่ง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ และต่อมาในปี 2531 อุทยานแห่งชาติน้ำตกลำรู่ได้มีหนังสือขอเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่และมีความหมายเด่นชัด กองอุทยานแห่งชาติได้พิจารณาแล้วจึงอนุมัติให้ใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่” ซึ่งมาจากชื่อพื้นที่บริเวณชายทะเลเขาหลักและน้ำตกลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณป่าเทือกเขาหลัก ป่าเขาโตน ป่าชายทะเลเขาหลัก ป่าเทือกเขากระได ป่าเขาหลัก ป่าลำรู ป่าควนหัวโตน ป่าเขาพัง และป่าเทือกเขากะทะคว่ำ ในท้องที่ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า ตำบลกะปง ตำบลเหมาะ อำเภอกะปง ตำบลลำแก่น ตำบลลำภี อำเภอท้ายเหมือง และตำบลทุ่งคาโงก อำเภอเมือง จังหวัดพังงา เนื้อที่ 125 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 152 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2534 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 66 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน ได้แก่ เขาหลัก เขาลำรู เขาแสงทอง เขาไม้แก้ว และเขาปลายบางโต๊ะ มียอดเขาสูงที่สุดประมาณ 1,077 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ ของจังหวัดพังงา ได้แก่ แม่น้ำตะกั่วป่า และแม่น้ำพังงา และยังประกอบด้วยคลองและลำห้วยลำเล็กๆ มากมาย ส่วนบริเวณที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ เป็นพื้นที่ชายฝั่งที่ติดกับทะเล เป็นระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และกลุ่มปะการัง

ลักษณะภูมิอากาศ อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันตกของฝั่งทะเลอันดามัน จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม โดยจะมีฝนตกชุก

พืชพรรณและสัตว์ป่า สภาพป่าโดยทั่วไปภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกอบด้วย
ป่าดิบชื้น มีพื้นที่ขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ไว้เกือบทั้งหมด มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางขน ยางมันหมู ไข่เขียว ตะเคียนราก กระบาก ก้านตอง บุนนาค ชันรูจี เทพทาโร ทำมัง สะทิบ มังตาน พิกุลป่า แซะ เสียดช่อ หันช้าง สะตอ เหรียง สัตตบรรณ มะกอกป่า สะท้อนรอก ตาเสือ เงาะป่า และคอเหี้ย เป็นต้น สำหรับไม้พุ่มที่พบได้แก่ เข็มป่า ไม้เท้ายันยาด โมกแดง คันหามเสือ ตาเป็ดตาไก่ ปอผ่าสาม มะเดื่อขี้นก เตยหนู ลิ้นกวาง คุยช้าง เถาไฟ สะบ้า พริกไทยป่า ย่านอวดน้ำ เตยย่าน และตะเข็บ พืชล้มลุกที่พบตามพื้นดิน ได้แก่ เปราะป่า กระทือแดง เอื้อง หมายนา ข่าคม ว่านงดดิน แก้วหน้าม้า ผักหนาม มะพร้าวนกคุ่ม คล้า คลุ้ม เนระพูสีไทย และว่านพังพอน ส่วนพืชเบียดรากที่พบได้แก่ กระโถนพระราม พันธุ์ไม้จำพวกปาล์มได้แก่ ฉก หมากเจ ชิง กะพ้อ ค้อ เต่าร้างแดง และหวายชะโอนเขา พืชจำพวกหวายและไผ่ ได้แก่ ไผ่เรียบ ไผ่ผาก เป็นต้น พืชอิงอาศัยจำพวกเฟิน ได้แก่ กระปรอกหางสิงห์ เกล็ดนาคราช กูดหิน กูดหางค่าง ว่านกีบแรด รังไก่ หัวอ้ายเป็ด นอกจากนี้ยังพบพืชเมล็ดเปลือย ได้แก่ ขุนไม้ ซึ่งพบต้นที่มีขนาดใหญ่มาก เส้นรอบวง 205 เซนติเมตร สูงประมาณ 40 เมตร และพญาไม้
ป่าชายหาด เป็นสังคมพืชที่ขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ที่เป็นดินทราย และบริเวณฝั่งทะเลที่มีโขดหินกระจายอยู่ทั่วไป พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าชายหาดจัดเป็นพืชทนเค็ม เนื่องจากได้รับอิทธิพลของไอเค็มจากน้ำทะเล บริเวณชายฝั่งที่ติดกับทะเล พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ กระทิง หูกวาง จิกทะเล หยีทะเล โพกริ่ง โพทะเล ปอทะเล ตีนเป็ดทะเล สนทะเล โกงกางหูช้าง และปรงทะเล พันธุ์ไม้เหล่านี้มีความสูงไม่มากนัก ลำต้นคดงอ หรือเอนเอียงไปเนื่องจากอิทธิพลของแรงลม ไม้พุ่มที่พบได้แก่ รักทะเล พืชล้มลุกที่ทอดเลื้อยไปตามหาดทราย ได้แก่ ผักบุ้งทะเล บริเวณชายฝั่งที่เป็นหาดทราย และบริเวณที่มีโขดหินกระจายอยู่โดยทั่วไป ซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งขึ้นมาก นอกจากนี้พบพันธุ์ไม้
ป่าชายเลน ที่ส่วนสืบพันธุ์ถูกน้ำทะเลพัดพามาติดที่ชายฝั่ง สามารถงอกตั้งตัว และเติบโตอยู่ได้ ได้แก่ แสมทะเล ฝาดแดง ตะบูนขาว เล็บมือนาง ถั่วขาว พังกาหัวสุมดอกแดง โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ จีง้ำ และตาตุ่มทะเล
เนื่องจากสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และองค์ประกอบของพืชพันธุ์ของป่า มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพืช อาหาร และแหล่งน้ำ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่สำคัญ ได้แก่
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วย เลียงผา สมเสร็จ กระแตใต้ บ่าง หมีขอ พังพอนเล็ก กระจ้อน ค้างคาวขอบหูขาวใหญ่ ค้างคาวขอบหูขาวกลางค้างคาวหน้ายาวใหญ่ เป็นต้น
สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย กิ้งก่าบินปีกสีส้ม กิ้งก่าเขาหนามยาว ตะกวด งูแสงอาทิตย์ งูลายสอสวน งูกะปะ และงูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง เป็นต้น

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มักพบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำขังหรือที่ชื้นแฉะ สัตว์กลุ่มนี้ออกหากินในกลางคืน ได้แก่ อึ่งกรายลายเลอะ จงโคร่ง กบหลังตาพับ และอึ่งข้างดำ เป็นต้น
นก พบได้ทั่วไปในอุทยานแห่งชาติ เช่น เหยี่ยวรุ้ง นกออก นกเขาเขียวและนกพญาไฟใหญ่ เป็นต้น ส่วนนกขนาดใหญ่ที่พบได้มี 3 ชนิด คือ นกเงือกปากดำ นกแก๊ก และนกกาฮัง
ผีเสื้อ ที่พบมากและกระจายทั่วพื้นที่ ได้แก่ ผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู ผีเสื้อหนอนมะนาว ผีเสื้อหางติ่ง ชะอ้อน ผีเสื้อขาวแคระ ผีเสื้อหนอนใบรักธรรมดา ผีเสื้อใบกุ่มธรรมดา ผีเสื้อหนองคูณธรรมดา ผีเสื้อสีตาลจุดตาห้า ผีเสื้อสายัณสีตาลธรรมดา ผีเสื้อหางแหลม ผีเสื้อสีอิฐธรรมดา ผีเสื้อแพนซีสีตาลไหม้ ผีเสื้อสะพายขาวปีกโค้ง ผีเสื้อฟ้าวาวสีต่างฤดู เป็นต้น
สัตว์ทะเล พบบริเวณชายฝั่งอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ได้แก่ สัตว์กลุ่มปลิง เช่น ปลิงดำ ปลิงขาว ปลิงลูกปัด เป็นต้น กลุ่มเม่น เช่น เม่นหนามยาว กลุ่มดาวขนนก เช่น ดาวขนนก กลุ่มปู กลุ่มกุ้ง กลุ่มหอย เช่น หอยสังข์หนาม หอยเบี้ยเสือดาว หอยเบี้ยอารบิก หอยนมสาว เป็นต้น กลุ่มทากทะเล เช่น ทากปุ่ม เป็นต้น กลุ่มปลา เช่น ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ ปลาปากคม ปลากระทุงเหว ปลาข้าวเม่าน้ำลึก ปลาหิน ปลาสิงโต ปลากะรังสายฟ้า ปลาเก๋าหน้าแดง ปลาอมไข่ ปลาเหาฉลาม ปลากะพงข้างปาน ปลาทราย ปลาแพะ ปลากระดี่ทะเล ปลาผีเสื้อก้างปลา ปลาโนรีครีบยาว ปลาสลิดหินบั้งหลังเหลือง ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลานกขุนทอง ปลาเขียวพระอินทร์ ปลาพยาบาล ปลาตุ๊ดตู่ ปลาปักเป้าหนามทุเรียน เป็นต้น
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอตะกั่วป่า อำเภอกะปง อำเภอท้ายเหมือง และอำเภอเมือง จังหวัดพังงา มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่มีค่าและสัตว์ป่านานาชนิด ประกอบด้วยน้ำตกหลายแห่งเป็นจุดเด่นทางธรรมชาติ มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่

หาดเล็กเป็นชายหาดทรายขาวละเอียด และเงียบสงบ สามารถว่ายน้ำ ดำน้ำ ดูปะการังโดยเดินเท้าจากที่ทำการอุทยาแห่งชาติประมาณ 1.5 กิโลเมตร ตลอดทางจะเดินผ่านป่า ลัดเลาะไปตามชายทะเลเขาหลัก
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - กิจกรรมชายหาด

น้ำตกโตนช่องฟ้ามีต้นน้ำเกิดจากคลองบางเนียง ประกอบด้วยน้ำตกจำนวน 5 ชั้นใหญ่ๆ จัดเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สวยงาม สามารถเดินทางไปตามถนนเพชรเกษม แยกเข้าบริเวณวัดพนัสนิคมในหมู่บ้านบางเนียง เป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเส้นทางเดินป่าบริเวณเทือกเขาหลักไปตามแนวสันเขาถึงน้ำตกโตนช่องฟ้า ระยะทาง 9 กิโลเมตร
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก

น้ำตกลำพร้าวและน้ำตกหินลาดมีต้นน้ำเกิดจากคลองปลายบางโต๊ะและน้ำตกทั้งสองอยู่ในลำห้วยเดียวกัน น้ำตกลำพร้าว มีชั้นน้ำตก 3 ชั้น ส่วนน้ำตกหินลาดมีชั้นน้ำตก 2 ชั้น สามารถเดินทางไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4090 แยกเข้าบ้านทุ่งคาโงก 4 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าต่อไปยังน้ำตกอีกเล็กน้อย
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก - ชมพรรณไม้ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ 

ชายทะเลเขาหลักเดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นวนอุทยานชายทะเลเขาหลัก มีลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลยุบตัวและชายหาด มีทิวทัศน์ที่สวยงาม และเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ อยู่ห่างจากอำเภอตะกั่วป่ามาทางอำเภอท้ายเหมืองตามถนนเพชรเกษม 33 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าไปเพียง 50 เมตร ฝั่งตรงข้ามเป็นศาลเจ้าพ่อเขาหลักซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของคนทั่วไป
บริเวณนี้ประกอบด้วยแหลมหิน หาดหิน หาดทราย และปรากฏรอยเท้าที่จารึกบนแผ่นหินอยู่ใต้ต้นไทร มีจุดชมวิวในบริเวณแหลมเขาหลัก มีทางเดินศึกษาธรรมชาติจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปหาดเล็ก ระยะทาง 2 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นทางเดินเรียบชายฝั่ง นอกจากนี้ยังมีทางเดินป่าระยะไกลจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปน้ำตกโตนช่องฟ้า ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร บริเวณชายทะเลเขาหลักยังสามารถดำน้ำชมปะการังน้ำตื้นได้บ้างแต่ไม่มากนัก
กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ 


คลองลำรูใหญ่ลักษณะเป็นลำห้วยขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยลำห้วยขนาดเล็กจำนวนมาก แต่ละห้วยมีน้ำตกขนาดเล็กที่สวยงาม เช่น น้ำตกวังกล้วยเถื่อน เป็นน้ำตกที่มีความสูงขนาดกลาง รวม 7 ชั้น ที่สวยงามยิ่ง คลองลำรูใหญ่เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอท้ายเหมือง
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก 

น้ำตกลำรู่
เป็นน้ำตกที่มีความสูงขนาดกลาง รวม 5 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปี สวยงามน่าชม สามารถเดินทางไปโดยใช้ถนนแยกจากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4090 (อำเภอกะปง-บ้านกะปง-หมู่บ้านลำรู่) ผ่านที่ว่าการอำเภอกะปง ไปยังหมู่บ้านลำรู่ 9 กิโลเมตร และเดินทางต่อไปยังย้ำตกลำรู่อีก 1 กิโลเมตร

สถานที่ติดต่ออุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
หมู่ที่ 7 ต.คึกคัก อ. ตะกั่วป่า จ. พังงา 82190
โทรศัพท์ 0 7642 0243 โทรสาร 0 7642 0814

การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ อยู่ใกล้ถนนเพียง 50 เมตร มีจุดสังเกตคือ ศาลพ่อตาเขาหลัก ซึ่งเป็นที่สักการะของชาวบ้านและคนทั่วไป

เครื่องบินจะต้องใช้บริการของสนามบินนานาชาติจังหวัดภูเก็ต แล้วโดยสารรถมาสู่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ โดยใช้เส้นทางตามถนนเพชรเกษมมุ่งสู่อำเภอท้ายเหมือง

รถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งสายใต้ มีทั้งรถปรับอากาศ และรถธรรมดาสายกรุงเทพฯ-ภูเก็ต และกรุงเทพฯ-ตะกั่วป่า ซึ่งอัตราค่าโดยสาร กรุงเทพฯ-พังงา รถยนต์โดยสารธรรมดา ราคา 357 บาท ปรับอากาศ ราคา 459 บาท ปรับอากาศพิเศษ ราคา 685 บาท
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง

ข้อมูลทั่วไป อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ–เกาะพระทอง เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลอยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามกฎหมาย มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ประกอบไปด้วยเกาะต่างๆ ที่อยู่ติดทะเลอันดามัน ได้แก่ เกาะระ เกาะคอเขา เกาะพระทอง เกาะปลิง–เกาะพ่อตา เกาะลูกตุ้ม เกาะทุ่งนางดำ และมีเกาะขนาดเล็กต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ป่าชายเลนจำนวน 37 เกาะ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 401,250 ไร่ หรือ 642 ตารางกิโลเมตร
ความเป็นมา : ในปี พ.ศ. 2531 มีข่าวว่านายทุนกำลังติดต่อขอเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่บริเวณเกาะระ-พระทอง จังหวัดพังงา นายดิษฐพงศ์ โชคคณาพิทักษ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ในขณะนั้น จึงได้มีหนังสืออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ด่วนมาก ที่ กช 0713 (มส) /116 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2531 เสนอให้กองอุทยานแห่งชาติแจ้งกรมป่าไม้ระงับไม่ให้มีการเช่าพื้นที่บริเวณเกาะระ และมีความเห็นให้สงวนไว้เพื่ออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จะได้ดำเนินการสำรวจผนวกให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ต่อมาอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ เห็นควรสำรวจพื้นที่บริเวณเกาะระ-เกาะพระทอง พื้นที่ป่าชายเลนใกล้เคียง และพื้นที่อื่นๆ ที่เห็นว่ามีศักยภาพเหมาะสมที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ
กรมป่าไม้โดย ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ อนุมัติลงวันที่ 28 มีนาคม 2543 ท้ายหนังสือสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ กษ 0712.5/981 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2543 ให้ นายธนพงศ์ อภัยโส นักวิชาการป่าไม้ 6 ซึ่งปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ดำเนินการสำรวจเบื้องต้นบริเวณเกาะพื้นที่เกาะระ เกาะพระทอง พื้นที่ป่าชายเลนใกล้เคียง ท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอ.ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ผลการสำรวจเบื้องต้นปรากฏว่า พื้นที่บริเวณที่ดำเนินการสำรวจครอบคลุมพื้นที่ 401,250 ไร่ เป็นพื้นน้ำ 185,180 ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่บก 206,080 ไร่ มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ มีความหลากหลายทางชีวภาพเหมาะสมที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1868/2543 ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2543 ให้ นายธนพงศ์ อภัยโส นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่บริเวณเกาะระ- เกาะพระทอง และพื้นที่ป่าชายเลน ใกล้เคียงในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติ
จากการดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ทำให้แกนนำบางคนในท้องถิ่นเสียผลประโยชน์ จึงได้ยุยงให้ชาวบ้านประท้วงคัดค้านการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยอ้างปัญหาการประมงพื้นบ้านเป็นประเด็นหลัก ทำให้มีการชุมนุมประท้วง ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2543 บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอคุระบุรี เพื่อคัดค้านการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยมีแกนนำผู้คัดค้านผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเวทีปราศรัยโจมตีการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ สำหรับทางฝ่ายราชการมีนายมานิต วัฒนเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นายยอด คีรีรัตน์ ป่าไม้เขตนครศรีธรรมราช และนายธนพงศ์ อภัยโส หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง ชี้แจงข้อเท็จจริงและทำความเข้าใจ ผลการชุมนุมประท้วงในวันนั้น ผู้ชุมนุมประท้วงได้ลงลายมือชื่อคัดค้าน และยื่นข้อเสนอต่อจังหวัดพังงาให้ยุติการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ซึ่งทางจังหวัดพังงารับเรื่องไว้เสนอต่อกรมป่าไม้ ผู้ชุมนุมประท้วงจึงแยกย้ายสลายกลุ่มไป
การดำเนินการสำรวจจัดตั้งยังคงดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2544 ได้มีชาวบ้านประมาณ 300 คน ได้บุกรุกเข้ารื้อถอนที่ทำการชั่วคราวของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง บริเวณอ่าวเส็ง ท้องที่หมู่ 3 ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และบังคับให้เจ้าหน้าที่ขนย้ายวัสดุขึ้นมาจากเกาะระ ในช่วงเวลาดังกล่าวกรมป่าไม้ได้มีการโยกย้ายข้าราชการโดยแต่งตั้ง นายยุทธนา สัจกุล เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ไปทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ–เกาะพระทอง ต่อไป โดยดำเนินการประสานงานนายอำเภอท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และหัวหน้าหน่วยงานราชการเกี่ยวข้องดำเนินการ ตั้งที่ทำการชั่วคราว ณ จุดเดิมที่ถูกรื้อถอนไปอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2544 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
พื้นที่ที่ดำเนินการสำรวจทั้งหมดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ 11 ป่า ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะเกาะ ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งนางดำและป่าควนปากเตรียม ป่าสงวนแห่งชาติเกาะระ ป่าสงวนแห่งชาติทุ่งทุ ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนโครงการกิ่งอำเภอคุระบุรีแปลงที่ 1 ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนโครงการกิ่งอำเภอคุระบุรีแปลงที่ 3 ป่าสงวนแห่งชาติเขาบ่อไทร ป่าสงวนแห่งชาติเขาพระพิชัย ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนอำเภอตะกั่วป่าและป่าบางนายสี ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนโครงการอำเภอคุระบุรี ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองบางปอ

ลักษณะภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ–เกาะพระทอง ตั้งอยู่ท้องที่อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยด้านทิศตะวันออกเป็นป่าชายเลนติดกับแผ่นดินใหญ่ มีเนื้อที่รวม 642 ตารางกิโลเมตร ด้านทิศเหนือจดอุทยานแห่งชาติแหลมสนและทะเลอันดามัน ทิศใต้จดทางหลวงหมายเลข 4 อำเภอตะกั่วป่า ทิศตะวันออกจดทางหลวงหมายเลข 4 เทือกเขาแม่นางขาว อุทยานแห่งชาติศรีพังงา ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน ประกอบไปด้วยเกาะต่างๆ ที่อยู่ติดทะเลอันดามัน ได้แก่
เกาะระ มีพื้นที่ 19.5 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความลาดชันสูงมียอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 235 เมตร ด้านทิศตะวันตกมีหาดทรายเป็นแนวยาวด้านทิศเหนือและทิศใต้เป็นแหล่งที่มีแนวปะการังน้ำตื้นที่สมบูรณ์ เกาะพระทอง มีพื้นที่ 102 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่มีพื้นที่ราบและเคยผ่านการทำเหมืองแร่มาก่อนทำให้ดินเป็นทรายไม่เหมาะทำการเกษตรกรรม ด้านตะวันออกของเกาะพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นป่าชายเลนมีลำคลองผ่ากลางพื้นที่ในแนวเหนือ-ใต้ เป็นเกาะที่มีเต่าขึ้นมาวางไข่มากบริเวณชายหาดด้านทิศตะวันตก ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนธันวาคม เกาะปลิง–เกาะพ่อตา เป็นเกาะขนาดเล็กเนื้อที่ประมาณ 0.08 ตารางกิโลเมตร มีแนวปะการังด้านทิศตะวันออกของเกาะระ ระดับน้ำเมื่อลงต่ำสุดจะสามารถเดินข้ามไปยังเกาะได้
เกาะคอเขา มีพื้นที่ 60 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ราบสลับกับภูเขา ด้านทิศตะวันออกเป็นป่าชายเลนพื้นที่บางส่วนเคยผ่านการทำเหมืองแร่ มียอดเขาสูงที่สุด 175 เมตรจากระดับน้ำทะเล ด้านทิศตะวันตก มีชายหาดทอดตัวยาวจากทิศเหนือจดทางด้านทิศใต้ของตัวเกาะ เกาะลูกตุ้ม เป็นเกาะที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะระ มีลักษณะเป็นภูเขาหินขนาดเล็ก เกาะทุ่งนางดำ มีเนื้อที่ประมาณ 3.56 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่อยู่เหนือสุดของอุทยานแห่งชาติ ด้านทิศตะวันตกมีหาดทรายขาววางตัวยาวมีทิวทัศน์ที่สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อน ด้านทิศตะวันตกเป็นแหล่งหญ้าทะเลซึ่งมีราษฏรพบเห็นพะยูนในพื้นที่ดังกล่าวบ่อยครั้ง และมีเกาะขนาดเล็กต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ป่าชายเลนจำนวน 37 เกาะ ได้แก่ เกาะยาว เกาะจง เกาะนกฮูก เกาะสิบสี่ เกาะปากทุ่งรักใหญ่ เกาะทุ่งทุ เกาะขาด เกาะปากทุ่งรัก เกาะถ้วย เกาะพนันเมีย เกาะกลาง เกาะหอย เกาะชาด เกาะกลอย เกาะปอ เกาะเต่า เกาะห้าง เกาะอำพัน เกาะหินถาก และเกาะน้อย

ลักษณะภูมิประเทศเป็นชายฝั่งทะเลยุบตัว ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้ท้องที่จังหวัดพังงา ลักษณะโดยรวมของพื้นที่เป็นหาดโคลนปากแม่น้ำมีลำคลองหลายสายไหลลงมาบริเวณดังกล่าว เป็นคลองยาวมีสาขามากมายก่อนเปิดออกสู่ทะเลมีความสมบูรณ์ของธาตุอาหารในตะกอนดิน และได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลงของน้ำทะเล มีภูเขาสูงชันและเกาะต่างๆ วางในแนวเหนือใต้ ได้แก่ เกาะระพื้นที่เป็นเขาสูงและชัน สูงจากระดับน้ำทะเล 235 เมตร เกาะพระทองพื้นที่เป็นที่ราบ เกาะคอเขาพื้นที่เป็นที่ราบส่วนใหญ่มีภูเขาสลับ สูงจากระดับน้ำทะเล 310 เมตร และจากเกาะบริวารเล็กๆ อีก เช่น เกาะปลิง เกาะตาชัย และเขาบ่อไทรที่มียอดเขาสูงที่สุดคือ 450 เมตรจากระดับน้ำทะเล
จากการศึกษาแผนที่ทางธรณีวิทยาจังหวัดภูเก็ต บริเวณเกาะระ เกาะพระทอง และบริเวณใกล้เคียง มีสภาพทางธรณีแบ่งได้เป็น 3 ชั้นอายุ คือ หินยุคควาเทอร์นารี หินยุคนี้จะเป็นทรายที่มีการพัดพามาสะสม ประกอบด้วย ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันบ่งได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ ตะกอนชายหาด มีองค์ประกอบคือ ทราย ทรายแป้ง และเศษเปลือกหอยซึ่งจะพบได้บริเวณชายหาดทั่วไป และตะกอนน้ำพา มีองค์ประกอบคือ กรวด ทราย ทรายแป้ง และดิน พบเป็นบริเวณกว้างบริเวณปากแม่น้ำ ที่ราบ สันดอนทราย หินยุคควาเทอร์นารีชุดย่อย Pleistocene เป็นตะกอนตะพักลุ่มน้ำและตะกอนเชิงเขา มีกรวด ทราย ทรายแป้ง และดินเป็นองค์ประกอบ พบตามเชิงเขาถัดจากหินยุคควาเทอร์นารีเข้ามา และ หินยุคเพอร์เมียน-คาร์บอนิเฟอรัส ประกอบด้วย Pedly mudstone, Laminated mudstone, Sandstone และ Congioneratic sandstone ซึ่งจะพบตามภูเขาเช่น เกาะระ เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่เกาะระ เกาะพระทอง และพื้นที่ใกล้เคียง มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกชุกเกือบทั้งปี เพราะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสะมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งแบ่งได้ 2 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน โดยมีฝนตกชุกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,125 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนมีปริมาณน้ำฝนมากที่สุด คือ 366 มิลลิเมตร และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม-มีนาคมโดยมีฝนตกในช่วงนี้บ้าง อุณหภูมิสูงสุด 38 องศาเซลเซียส อยู่ในเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 29 องศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
จากการสำรวจพื้นที่อุทยานแห่งชาติสามารถจำแนกสัมคมพืชออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่

ป่าดิบชื้น พบว่าขึ้นปกคลุมบริเวณที่เป็นเขา เช่น เกาะระ บริเวณลาดเขาและสันเขาพันธุ์ไม้ที่เป็นไม้เด่น เช่น ยางยุง ยางปราย ขันทอง ไม้เรือนยอดรองลงมา เช่น มะปริง มะส้าน เลือดกวาง มะไฟป่า ไม้พื้นล่าง เช่น หวาย กะพ้อ และเตย เป็นต้น
ป่าชายเลน พบขึ้นบริเวณชายฝั่ง ตามอ่าวของเกาะ เนื่องจารับอิทธิพลจากลำธาร แม่น้ำลำคลองกลายสายและการขึ้นลงของน้ำทะเล ดินเป็นเลนปนทรายหากมองจากภาพถ่ายทางอากาศ ป่าชายเลนจะเป็นผืนยาวติดต่อกันตั้งแต่ตอนเหนือจากบ้านทุ่งนางดำ ไปทางใต้จนถึงเกาะคอเขา ในพื้นที่อำเภอ ตะกั่วป่า พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตะปูนขาว ถั่วดำ ฝาดอกแดง แสมขาว แสมดำ และไม้วงศ์ปาล์ม เช่น จาก เป้งทะเล หลาวชะโอน ไม้พื้นที่ล่างเช่น กระเพาะปลา และเหงือกปลาหมอ เป็นต้น
ป่าชายหาด พบตามชายหาด ตามอ่าวที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง บริเวณเกาะระและเกาะพระทองพันธุ์ไม้ที่พบอาทิ เช่น สนทะเล ชมพู่ป่า โพทะเล มะส้าน เตยทะเล ไม้พื้นล่าง เช่น ผักบุ้งทะเล
สังคมพืชทดแทน จากการทำเหมืองแร่ดีบุกบริเวณเกาะพระทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ราบสภาพดินขาดแร่ธาตุ ไม้เด่นในพื้นที่จะเป็นไม้เสม็ดขาว ขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณแอ่งน้ำ และพื้นที่โล่งกว้าง ไม้เสม็ดขึ้นอยู่ห่างกัน
แหล่งหญ้าทะเล จากการสำรวจการแพร่กระจายและพื้นที่ปกคลุมของหญ้าทะเลชนิดต่างๆ บริเวณหาดทุ่งนางดำพบว่ามีการแพร่กระจายสูง หาดดังกล่าวเป็นพื้นที่ขายหาดฝั่งปากคลองคุระ ความขุ่นใสค่อนข้างน้อย แม่น้ำต่อเนื่องไปบริเวณหาดทุ่งนางดำระหว่างเนินทรายและชายฝั่งเกิดมีลักษณะคล้ายแอ่งน้ำขนาดใหญ่เป็นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเล ซึ่งพบหญ้าทะเลบริเวณนี้ 8 ชนิด โดยมีพื้นที่แพร่กระจายรวม 1.38 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ Cymodocea serrulata, Halodule uninervis, Syringodium isoetipolium, Enhalus acoroides, Halophila ovalis และ H. minor นอกจากนี้ยังพบการแพร่กระจายของหญ้าทะเลบริเวณทิศตะวันออกของเกาะระ
จากการสำรวจบนเกาะทุกเกาะตามถิ่นที่อยู่อาศัยประเภทต่างๆ โดยทำการจำแนกและบันทึกสัตว์ป่า ที่พบตัวจริงโดยใช้กล้องส่องทางไกลสำรวจร่องรอยของสัตว์ป่า และจากการสอบถามราษฎรที่อยู่ในท้องถิ่นได้ผลดังนี้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากการสำรวจเบื้องต้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น กวางป่า หมูป่า ค่างแว่นถิ่นใต้ ลิงแสม อีเห็นธรรมดา นากใหญ่ขนเรียบ นิ่ม กระรอกท้องแดง กระรอกปลายหางดำ ค้างคาวแม่ไก่เกาะ บ่าง และหนูเกาะ เป็นต้น จากการสำรวจทางอากาศของประชากรพะยูนของฝั่งอันดามันโดยสำรวจในบริเวณแหล่งหญ้าทะเลพื้นที่ประมาณ 100-200 ตร.กม จำนวน 8 แห่ง ในจังหวัดพังงา กระบี่ สตูล ระหว่างวันที่ 31 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2540 พบพะยูนระหว่าง 1-6 ตัว ใน 5 พื้นที่ในจังหวัดพังงาที่บ้านทุ่งนางดำ อำเภอคุระบุรี และข้อมูลเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2541 มีราษฎรพบเห็นพะยูนติดโป๊ะบริเวณด้านทิศตะวันออกของเกาะระ และอ่าวทุ่งนางดำบ่อยครั้งจึงเป็นหลักฐานยืนยันว่ายังพบพะยูนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
นก ที่พบเห็น เช่น นกตะกรุม นกพญาปากกว้างท้องแดง นกเงือกกรามช้าง นกเงือกหัวงอน และจากการรายงานการสำรวจนกในพื้นที่เกาะระและเกาะพระทองของนักวิชาการจากต่างประเทศที่เข้าไปพักในสุดขอบฟ้ารีสอร์ทในช่วงระยะเวลา 1 ปี พบว่า มีนกถึง 106 ชนิด
สัตว์เลื้อยคลาน จากการสำรวจพบสัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ ตะกวด เหี้ย งูเหลือม งูพังกา งูลายสอใหญ่ จิ้งเหลนบ้าน เต่าหับ เต่าดำ เป็นต้น ปัจจุบันมีนักวิจัยชาวต่างประเทศได้เข้ามาทำการศึกษาวิจัยเต่าทะเล พบว่าบริเวณเกาะระและเกาะพระทองด้านทางทิศตะวันตกมีการพบเห็นเต่าทะเล โดยพบเห็นเต่าทะเลถึง 3 ชนิดด้วยกัน คือเต่ามะเฟือง เต่าหญ้า และเต่าตะนุ นอกจากนี้บริเวณชายหาดยังเป็นพื้นที่ที่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคมของทุกปี
ปลา เนื่องจากพื้นที่ทำการสำรวจเป็นพื้นที่สำคัญ ดังนั้นจะพบปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจ จากการสอบถามราษฎรและชาวประมงในพื้นที่ พบว่าในพื้นที่ป่าชายเลนมีปลาหลายชนิด เช่น ปลาสีเสียด ปลากะพงข้างปาน ปลาตะกรับ ปลากะตัก ปลาปักเป้า ปลากระทุงเหวปากแดง ปลากระพงแดง ปลากดทะเล ปลาสีกุน เป็นต้น ปลาในแนวปะการัง เช่น ปลาสิงโต ปลากะรังลายขวางจุดน้ำเงิน ปลากระพง ปลาผีเสื้อ ปลาสลิดหิน ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า และปลาปักเป้า เป็นต้น

เกาะระเป็นเกาะที่มีความลาดชันสูง ที่ราบจะพบบางแห่งใกล้กับชายหาด ประกอบไปด้วยป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ สามารถทำเส้นทางเดินป่าและเส้นทางศึกษาธรรมชาติได้ ชายหาดที่กว้างและยาวทางด้านทิศตะวันตกและด้านทิศเหนือของเกาะเหมาะแก่การเล่นน้ำ อาบแดด หรือชมดวงอาทิตย์ตก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 60 นาที

เกาะพระทองเป็นเกาะที่มีพื้นที่กว้างและเป็นที่ราบไม่มีภูเขา ด้านทิศตะวันออกพื้นที่เป็นป่าชายเลนติดต่อกัน ส่วนพื้นที่ราบทางด้านทิศตะวันตกสภาพเป็นป่าทดแทนที่ไม้เสม็ดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โล่งกว้างสามารถนำรถไปวิ่งได้ มีความสวยงาม เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ เช่น กวางป่า หมูป่า เป็นต้น สามารถทำกิจกรรมได้หลายอย่าง เช่น ตั้งแค็มป์ ปั่นจักรยาน อีกทั้งชายหาดที่วางตัวทิศเหนือไปถึงทิศใต้ของตัวเกาะเดินป่า หรือการเข้าไปศึกษาธรรมชาติของสัตว์บกตอนกลางคืน เนื่องจากมีกวางประมาณ 60 ตัว ซึ่งพบเห็นได้บ่อยครั้ง เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีใช้เวลาในการเดินทางโดยเรือ 50 นาที

เกาะคอเขา
สภาพเป็นเขาสลับกันเป็นพื้นที่ราบ ในเขตอำเภอคุระบุรีกับอำเภอตะกั่วป่า มีความสวยงามของชายหาดยาวตลอดความยาวเกาะ ปัจจุบันมีส่วนมะพร้าวและหมู่บ้าน ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที

เกาะปลิง – เกาะพ่อตาอยู่ชิดกันบริเวณด้านตะวันตกมีแนวปะการังหลากหลายแต่แนวปะการังที่ไม่กว้างมาก สามารถดูปะการังได้ กิจกรรมที่สามารถทำได้ในพื้นที่ชายเลนตามลำคลองต่างๆ ได้แก่ พายเรือคายัค ดูนก ศึกษาสภาพป่า

สถานที่ติดต่ออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง
ต.เกาะพระทอง อ. คุระบุรี จ. พังงา 82150
โทรศัพท์ 0 7649 1378 

การเดินทาง
รถยนต์การเดินทางสามารถเดินทางโดยรถยนต์จากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมาย 4 ถึงอำเภอคุระบุรีและเดินทางต่อไปยังท่าเทียบเรือเพื่อไปยังเกาะต่างๆ

เรือ

การเดินทางท่องเที่ยวโดยทางเรือ สามารถติดต่อเรือนำเที่ยวได้ที่บริเวณท่าเรือต่างๆ โดยจ้างเหมาลำ ท่าเรือที่สะดวกแก่การเดินทาง ได้แก่
• ท่าเทียบเรือนางย่อน อยู่บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
• ท่าเทียบเรือบ้านน้ำเค็ม อำเภอตะกั่วป่า สามารถเดินทางไปยังเกาะคอเขาใช้เวลาประมาณ 30 นาที
• ท่าเทียบเรือบ้านทุ่งละออง ซึ่งสามารถเดินทางจากบ้านทุ่งละอองโดยเรือพาดหางไปยังด้านใต้ของเกาะพระทองภายในเวลา 20 นาทีและเกาะคอเขาด้านเหนือ ใช้เวลา 20 นาที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น