วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เที่ยงพังงา 2

น้ำตกรามัญ

วนอุทยานน้ำตกรามัญ อยู่ในท้องที่ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา มีเนื้อที่ประมาณ 125 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อ
วันที่ 24 ตุลาคม 2526
อยู่ใกล้กับวัดถ้ำสุวรรณคูหา จากกม.ที่ 31 มีทางแยกขวาเข้าไปอีก 7 กม.
น้ำตกรามัญเป็นน้ำตกขนาดกลาง บริเวณโดยรอบเป็นป่ารกมีน้ำตกตลอดปี
มีศาลานั่งพักขนาดใหญ่ 1 หลัง นอกจากนี้ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นใดอยู่ตำบลกระโสม
ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาโตนดิน มีพื้นที่ประมาณ 125 ไร่ วนอุทยานฯ
เป็นน้ำตกขนาดกลางมีน้ำไหลตลอดทั้งปี เหตุที่มาของชื่อน้ำตกรามัญ คือ

เมื่อสงครามเก้าทัพ ได้มีชาวมอญกลุ่มหนึ่งหนีทัพพม่าขึ้นไปตั้งชุมชนตรงชั้นบนสุดของน้ำตกแห่งนี้
ชาวบ้านจึงรียกว่า “น้ำตกรามัญ” บริเวณต้นน้ำมีลักษณะเป็นเทือกเขาเรียงรายติดต่อกัน สภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์เป็นป่าดงดิบ
วนอุทยานฯ ในส่วนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวประกอบด้วยธารน้ำขนาดกลางไหลจากป่าต้นน้ำผ่านหุบเขา
และพื้นที่ต่างระดับทำให้เกิดน้ำตกชั้นต่าง ๆ หลายชั้น นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่า ได้แก่ เลียงผา สมเสร็จ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน
ตะพาบน้ำ ปลาซิว ปลาพรวงหิน ปลาเสือ วนอุทยานฯ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติด้วย นอกเหนือจากน้ำตกรามัญ
ยังมีน้ำตกอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีก เช่น โตนใต้ เป็นน้ำตกชั้นล่างสุด หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตีนล่าง โตนขอนปัก มีลักษณะเป็นสระน้ำขนาดกลาง
มีความลึกพอสมควร เหมาะสำหรับการเล่นน้ำ โตนไอ้จุ่น มีลักษณะเหมือนชั้นที่ 2 สามารถลงเล่นน้ำได้ตลอดทั้งปี โตนกลาง
เป็นชั้นที่มีธารน้ำตกสูงพอสมควร มีความสวยงาม และเหมาะสำหรับเล่นน้ำใต้ธารน้ำตก โตนหินราว เป็นชั้นน้ำตกที่มีความลึกมาก
โตนสาวงาม เป็นน้ำตกชั้นสุดท้ายที่มีความสวยงามเช่นกัน

ลักษณะภูมิประเทศ
   สภาพพื้นที่โดยทั่วไปบริเวณน้ำตกรามัญ เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนติดต่อกัน พื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ
100 เมตร ดินเป็นดินเหนียวปนทราย หินเป็นหินปูน มีหินทรายและหินแกรนิตปนบ้างเล็กน้อย
ลักษณะภูมิอากาศ
   ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม รวม 8 เดือน แต่ช่วงที่มีฝนตกชุกคือระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน

พืชพรรณและสัตว์ป่า
   ป่าบริเวณน้ำตกยังสมบูรณ์ซึ่งเป็นป่าดงดิบชื้นเหลืออยู่เฉพาะบริเวณลำห้วยเท่านั้น เหนือขึ้นไปส่วนใหญ่ป่ามีสภาพเสื่อมโทรม
ถูกบุกรุกแผ้วถางทำสวนเกือบหมด พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนสามพอน ตะเคียนทราย ยาง ยูง เสียดช่อ ส้าน เป็นต้น
ไม้พื้นล่างได้แก่ ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่รวก กล้วย ป่าเฟิร์น และบอนสัตว์ป่าที่พบได้แก่ ลิง ค่าง หมูป่า กระจง เก้ง อีเห็น
กระรอก และนกชนิดต่างๆ
ที่พักและบริการ

 วนอุทยานน้ำตกรามัญ ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว
หากมีความประสงค์จะไปพักแรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง
แล้วไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่วนอุทยานน้ำตกรามัญโดยตรง
การเดินทาง
   รถยนต์ ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอตะกั่วทุ่งประมาณ 10 กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 4
ถึงหลักกิโลเมตรที่ 874 แยกเข้าทางแยกซ้ายมือตามถนนลูกรังไปประมาณ 6 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ
   วนอุทยานน้ำตกรามัญ หมู่ 6 บ้านหินสามก้อน ต.กระโสม อ. ตะกั่วทุ่ง จ. พังงา 82130 โทรศัพท์ 0 7535 6134 , 0 7635 6780
 
ชายทะเลท่านุ่น
ชายทะเลท่านุ่น อยู่เชื่อมระหว่างสะพานสารสิน - สะพานเทพกษัตรี ระหว่างจังหวัดพังงาและภูเก็ต จากทางหลวงหมายเลข 4 ตรงเข้าสู่จังหวัดภูเก็ต โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 402 ก่อนถึงเกาะภูเก็ตบริเวณช่องแคบปากพระ จะแลเห็นหาดทรายทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ที่หาดทรายนี้ทุก ๆ ปี จะมีเต่าขึ้นมาวางไข่อยู่เสมอ

วัดสุวรรณคูหา
หมู่ที่ 2 ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่งการเดินทาง ใช้เส้นทางสาย พังงา-โคกกลอย(ทางหลวงหมายเลข 4)
ไป 7 กิโลเมตรถึงหลักกิโลเมตรที่ 31 อำเภอตะกั่วทุ่งจะมีถนนลาดยางแยกเข้าขวามือไปอีก 1กิโลเมตร วัดสุวรรณคูหานี้ ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า
"วัดถ้ำ" เป็นวัดที่น่าสนใจและมีความสำคัญที่สุดของจังหวัดพังงา เนื่องจากเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี
ในบริเวณที่ตั้งวัดมีภูเขาลูกหนึ่งซึ่งเขาลูกนี้ มีถ้ำใหญ่น้อยหลายแห่งทั้งที่ต่ำและที่สูง ถ้ำที่สำคัญมี ถ้ำใหญ่ ถ้ำแจ้งถ้ำมืด และถ้ำแก้ว
ถ้ำใหญ่อยู่ตอนล่างสุด เวลาเข้าถ้ำจะต้องผ่านก่อนเสมอ มีขนาดใหญ่กว่าถ้ำอื่น กว้างประมาณ 20 เมตรเศษ ยาวประมาณ 40 เมตร เศษ
พื้นถ้ำเรียบ เพดานโค้งครึ่งวงกลมเหมือนประทุนเรือ ตลอดความยาวของ ถ้ำประดับตกแต่งด้วยกระ เบื้องถ้วยจานเชิงลายคราม
และเบญจรงค์ชนิดขนาดต่าง ๆ ถ้ำใหญ่ใช้เป็นวิหารมี พระพุทธรูปปูนปั้นต่าง ๆ ประดิษฐานอยู่จำนวนหลายองค์ที่สำคัญคือ พระพุทธไสยาสน์
ขนาดยาว 7 วา 2 ศอก องค์หนึ่งสวยงามมาก นอกจากนั้นยังมีพระปรมาภิไธยย่อของพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์หลายพระองค์
นอกจากนั้นบริเวณหน้าถ้ำยังเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิง จำนวนมากที่ลงมาหาอาหาร เก็บค่าเข้าชมเฉพาะชาวต่างชาติ คนละ 10 บาท

  • หลักฐานที่พบ
หลักฐานที่พบเป็นโบราณวัตถุหลายประเภท มีดังนี้
๑. ภาชนะดินเผาและเศษภาชนะดินเผา เนื้อหยาบเผาด้วยอุณหภูมิต่ำ มีทั้งผิวเรียบและตกแต่งผิวด้วยลายขูดขีดและลายเรขาคณิต
๒. ขวานหิน ชนิดมีบ่าและไม่มีบ่า ทำจากหินปลิ้นท์แวสเปรอร์ คาลซิโดนี และหินทราย ได้แก่ หินลับทำด้วยหินปูนและหินควอตซ์
มีด้วยกัน ๓ อัน เครื่องมือสะเก็ดหินขูดรูปไข่ทำจากหินควอตซ์สีน้ำตาลเข้ม เครื่องมือสะเก็ดหินพบจำนวน ๒ ชิ้น ทำด้วยหินควอตซ์มีด้วยกัน
๓ อัน เครื่องมือสะเก็ดหินขูดรูปไข่ ทำจากหินควอตซ์สีขาวและสีน้ำตาลแผ่นหินกลมทำด้วยหินชนวน ขวานหินขัดมีรูปแบบต่าง ๆ เช่น

รูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีคมสอบลงด้านเดียว ขวานรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชนิดมีบ่า ทำด้วยหิน ควอตซ์ หินปูนและหินเซิร์ต
๓. กำไล ทำจากเปลือกหอย หินทุบเปลือกไม้ และลูกปัดสีส้ม ทำจากหินคาร์นีเลียน
๔. เปลือกหอยชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หอยกาบ หอยแครง หอยน้ำพริก หอยกระดุมจุด หอยหลักควาย (หรือที่เรียกว่าหอยสันขวาน)
และหอยติบ
  • ลักษณะทั่วไป
เป็นแหล่งโบราณคดีที่ใช้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราวของกลุ่มชนก่อนประวัติ ศาสตร์ สมัยหินใหม่ในสังคมเกษตรกรรม
วัตถุโบราณที่พบมีภาชนะดินเผา และเศษภาชนะดินเผา ขวานหินขัด กำไลที่ทำจากเปลือกหอยและเปลือกหอยชนิดต่าง ๆ
ซึ่งพบภายในถ้ำเป็นเพิงหินธรรมชาติ สภาพพื้นถ้ำขรุขระ

การเดินทาง
 เดินทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ระหว่างโคกกลอย - พังงา ตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31
แล้วแยกไปตามถนนทางด้านทิศเหนือประมาณ 800 เมตร ก็จะถึงแหล่งโบราณคดีวัดสุวรรณคูหาซึ่งจะอยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 9 กิโลเมตร

ติดต่อ
วัดสุวรรณคูหา โทร. 076 496 270

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอตะกั่วป่า

เขาหลัก
พังงา เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขา มีพื้นที่ 4,170.895 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 788 กิโลเมตร ชื่อของจังหวัดพังงานั้นเดิมน่าจะเรียกว่า “เมืองภูงา” ตามชื่อเขางา หรือเขาพังงา ซึ่งอยู่ในตัวเมืองพังงาในปัจจุบัน เมื่อตั้งเมืองขึ้นจึงเรียกกันว่า “เมืองภูงา” เมืองภูงานี้อาจจะตั้งชื่อให้คล้องจองเป็นคู่กับเมืองภูเก็ตมาแต่เดิมก็ได้ แต่เหตุที่เมืองภูงากลายเป็นเมืองพังงานั้น สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากเมืองภูงาเป็นเมืองที่มีแร่อุดมสมบูรณ์จึงมีฝรั่งมา ติดต่อซื้อขายแร่ดีบุกกันมาก และฝรั่งเหล่านี้คงจะออกเสียงเมืองภูงาเป็นเมือง “พังงา” เพราะแต่เดิมฝรั่งเขียนเมืองภูงาว่า PHUNGA หรือ PUNGA ซึ่งอาจอ่านว่า ภูงา หรือจะอ่านว่า พังงา หรือ พังกา ก็ได้
เขาหลัก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ครอบคลุมหลายอำเภอ เขาหลักมีภูมิประเทศสวยงามทางทะเลเหมาะแก่การพักผ่อนอย่างแท้จริง ส่วนทางบกเหมาะแก่การศึกษาธรรมชาติอย่างมาก แม้เขาหลักจะอยู่ในเขตอุทยานแต่ก็มีโรงแรมเปิดให้บริการหลายแห่ง ในรูปแบบราคาที่แตกต่างกันออกไป



น้ำตกลำรู่
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ เป็นน้ำตกที่มีความสูงขนาดกลาง รวม 5 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปี สวยงามน่าชม สามารถเดินทางไปโดยใช้ถนนแยกจากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4090 (อำเภอกะปง-บ้านกะปง-หมู่บ้านลำรู่) ผ่านที่ว่าการอำเภอกะปง ไปยังหมู่บ้านลำรู่ 9 กิโลเมตร และเดินทางต่อไปยังย้ำตกลำรู่อีก 1 กิโลเมตร
การเดินทาง
สามารถเดินทางโดยใช้ถนนแยก จากทางหลวง 4090 ผ่านที่ว่าการอำเภอกะปง ไปยังหมู่บ้านลำรู่ ประมาณ 9 กิโลเมตร และเดินทางต่อไป ยังน้ำตกลำรู่อีก 1 กิโลเมตร




หาดบางสัก
หาดบางสัก อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่าไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 มุ่งหน้าสู่จังหวัดภูเก็ต เป็นระยะทาง 14 กิโลเมตร ที่นี่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นคนไทย และที่นี่เต็มไปด้วยร้านขายอาหารทะเลมากมาย ที่หมุนเวียนเปลี่ยนชื่อไปตามกาลเวลา  ทุกๆครั้งที่มีงานเทศกาล ผู้คนมากมายจะพากันหลั่งไหลมายังชายหาดแห่งนี้ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจกับครอบครัว
หลังจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติทำให้ชายหาดแห่งนี้เงียบเหงาไปบ้าง แต่ปัจจุบันความสนุกก็เริ่มกลับมาอีกครั้ง ท้องฟ้า เม็ดสาย สายลม แสงแดดของหาดบางสักแห่งนี้ยังคงสวยงามอยู่เหมือนเดิม และที่สำคัญชายหาดแห่งนี้ ทำให้เรารู้สึกว่าที่นี่ คือชายหาดของเรา
ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปหาดบางสัก
อยู่ตำบลบางม่วง ริมถนนสายเพชรเกษม สายท้ายเหมือง-ตะกั่วป่า กิโลเมตรที่ 76-77 มีทางแยกซ้ายมือเข้าไป 100 เมตร


อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อสิงหาคม 2534 มีพื้นที่ประมาณ 125ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตอำเภอ ท้ายเหมือง อำเภอกะปง อำเภอตะกั่ว-ป่า และอำเภอเมือง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวคือ เขาหลัก จากตัว อำเภอตะกั่วป่า25 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 4(สายท้ายเหมือง-ตะกั่วป่า) แล้วเลี้ยว ซ้ายที่บริเวณ กิโลเมตรที่ 56 - 57 ก่อนเข้าเขตอำเภอท้ายเหมือง จะเห็นเขาลูกหนึ่งชื่อเขาหลัก มีศาลเจ้าพ่อเขาหลักตั้งอยู่ บริเวณฝั่งตรงข้ามของเขาหลักจะเป็นชายทะเลเขาหลัก ซึ่งมีลักษณะเป็นหาดหิน ทั้งก้อนเล็กและใหญ่เรียง รายอยู่มากมาย น้ำตกลำรู่ อยู่ในเขตป่าเทือกเขากระได เป็นน้ำตกที่มีความสูงขนาดกลางรวม 5 ชั้น สามารถ เดิน ทางโดยใช้ถนนแยกจากทางหลวง 4090 ผ่านที่ว่าการอำเภอกะปง ไปยังหมู่บ้านลำรู่ ประมาณ 9 กิโลเมตร และเดินทางต่อไปยังน้ำตกลำรู่อีก 1 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมี น้ำตกโตนช่องฟ้า อยู่เหนือที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 5 กิโลเมตร ตามถนน เพชรเกษม จะมีป้ายบอกทาง เลี้ยวไปตามถนนลูกรัง 5 กิโลเมตร รถยนต์สามารถเข้าถึงบริเวณน้ำตกได้สะดวก การเดินทาง จากกรุงเทพฯ เดินทางด้วยรถโดยสารสู่ภูเก็ต เมื่อผ่านอำเภอตะกั่วป่าไป 33 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ
แต่เดิมเป็นเพียงวนอุทยานป่าชายทะเลเขาหลัก ซึ่งอยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ ต่อมา ในปี 2527 ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลกะปง จังหวัดพังงา ได้มีหนังสือเรียนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า พื้นที่บริเวณ ตำบลกะปง จังหวัดพังงา น้ำตกลำรู่ เป็นน้ำตกที่สวยงาม ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขากะได บริเวณรอบๆ ยังมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่านานาชนิด ควรอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าไว้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีบันทึกให้กรมป่าไม้พิจารณา กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ ให้มีคำสั่งให้ เจ้าหน้าที่ออกไปทำการสำรวจบริเวณดังกล่าว ปรากฏว่า พื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
ในปี 2528 กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ ให้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติน้ำตกลำรู่” ต่อมา ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีบันทึกสั่งการให้กรมป่าไม้สงวนป่าคลองลำรู่ใหญ่ ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ตามที่ผู้บัญชาการสถานีทหารเรือพังงา ได้ให้ความเห็นชอบตามมติของสภาตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง ที่ต้องการสงวนป่าต้นน้ำลำธารคลองลำรู่ใหญ่ ซึ่งกรมป่าไม้ได้ให้กองอนุรักษ์ต้นน้ำทำการตรวจสอบ และได้มีการประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2528 เห็นชอบให้กองอุทยานแห่งชาติสำรวจหาข้อมูลเพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป
กองอุทยานแห่งชาติได้สั่งการให้อุทยานแห่งชาติน้ำตกลำรู่ ทำการสำรวจเพิ่มเติม และได้รับหนังสือรายงานผลการสำรวจว่า พื้นที่บริเวณน้ำตกลำรู่ และบริเวณป่าต้นน้ำลำธารของตำบลลำแก่น รวมพื้นที่สำรวจประมาณ 150 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติ 7 ป่า เป็นป่าต้นน้ำลำธารที่สำคัญของจังหวัดพังงา มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ทางธรรมชาติหลายแห่ง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ และต่อมาในปี 2531 อุทยานแห่งชาติน้ำตกลำรู่ได้มีหนังสือขอเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่และมีความหมายเด่นชัด กองอุทยานแห่งชาติได้พิจารณาแล้วจึงอนุมัติให้ใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่” ซึ่งมาจากชื่อพื้นที่บริเวณชายทะเลเขาหลักและน้ำตกลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณป่าเทือกเขาหลัก ป่าเขาโตน ป่าชายทะเลเขาหลัก ป่าเทือกเขากระได ป่าเขาหลัก ป่าลำรู ป่าควนหัวโตน ป่าเขาพัง และป่าเทือกเขากะทะคว่ำ ในท้องที่ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า ตำบลกะปง ตำบลเหมาะ อำเภอกะปง ตำบลลำแก่น ตำบลลำภี อำเภอท้ายเหมือง และตำบลทุ่งคาโงก อำเภอเมือง จังหวัดพังงา เนื้อที่ 125 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 152 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2534 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 66 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน ได้แก่ เขาหลัก เขาลำรู เขาแสงทอง เขาไม้แก้ว และเขาปลายบางโต๊ะ มียอดเขาสูงที่สุดประมาณ 1,077 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ ของจังหวัดพังงา ได้แก่ แม่น้ำตะกั่วป่า และแม่น้ำพังงา และยังประกอบด้วยคลองและลำห้วยลำเล็กๆ มากมาย ส่วนบริเวณที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ เป็นพื้นที่ชายฝั่งที่ติดกับทะเล เป็นระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และกลุ่มประการัง

ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันตกของฝั่งทะเลอันดามัน จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม โดยจะมีฝนตกชุก

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไปภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ประกอบด้วย
ป่าดิบชื้น มีพื้นที่ขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ไว้เกือบทั้งหมด มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางขน ยางมันหมู ไข่เขียว ตะเคียนราก กระบาก ก้านตอง บุนนาค ชันรูจี เทพทาโร ทำมัง สะทิบ มังตาน พิกุลป่า แซะ เสียดช่อ หันช้าง สะตอ เหรียง สัตตบรรณ มะกอกป่า สะท้อนรอก ตาเสือ เงาะป่า และคอเหี้ย เป็นต้น สำหรับไม้พุ่มที่พบได้แก่ เข็มป่า ไม้เท้ายันยาด โมกแดง คันหามเสือ ตาเป็ดตาไก่ ปอผ่าสาม มะเดื่อขี้นก เตยหนู ลิ้นกวาง คุยช้าง เถาไฟ สะบ้า พริกไทยป่า ย่านอวดน้ำ เตยย่าน และตะเข็บ พืชล้มลุกที่พบตามพื้นดิน ได้แก่ เปราะป่า กระทือแดง เอื้อง หมายนา ข่าคม ว่านงดดิน แก้วหน้าม้า ผักหนาม มะพร้าวนกคุ่ม คล้า คลุ้ม เนระพูสีไทย และว่านพังพอน ส่วนพืชเบียดรากที่พบได้แก่ กระโถนพระราม พันธุ์ไม้จำพวกปาล์มได้แก่ ฉก หมากเจ ชิง กะพ้อ ค้อ เต่าร้างแดง และหวายชะโอนเขา พืชจำพวกหวายและไผ่ ได้แก่ ไผ่เรียบ ไผ่ผาก เป็นต้น พืชอิงอาศัยจำพวกเฟิน ได้แก่ กระปรอกหางสิงห์ เกล็ดนาคราช กูดหิน กูดหางค่าง ว่านกีบแรด รังไก่ หัวอ้ายเป็ด นอกจากนี้ยังพบพืชเมล็ดเปลือย ได้แก่ ขุนไม้ ซึ่งพบต้นที่มีขนาดใหญ่มาก เส้นรอบวง 205 เซนติเมตร สูงประมาณ 40 เมตร และพญาไม้
ป่าชายหาด เป็นสังคมพืชที่ขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ที่เป็นดินทราย และบริเวณฝั่งทะเลที่มีโขดหินกระจายอยู่ทั่วไป พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าชายหาดจัดเป็นพืชทนเค็ม เนื่องจากได้รับอิทธิพลของไอเค็มจากน้ำทะเล บริเวณชายฝั่งที่ติดกับทะเล พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ กระทิง หูกวาง จิกทะเล หยีทะเล โพกริ่ง โพทะเล ปอทะเล ตีนเป็ดทะเล สนทะเล โกงกางหูช้าง และปรงทะเล พันธุ์ไม้เหล่านี้มีความสูงไม่มากนัก ลำต้นคดงอ หรือเอนเอียงไปเนื่องจากอิทธิพลของแรงลม ไม้พุ่มที่พบได้แก่ รักทะเล พืชล้มลุกที่ทอดเลื้อยไปตามหาดทราย ได้แก่ ผักบุ้งทะเล บริเวณชายฝั่งที่เป็นหาดทราย และบริเวณที่มีโขดหินกระจายอยู่โดยทั่วไป ซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งขึ้นมาก นอกจากนี้พบพันธุ์ไม้
ป่าชายเลน ที่ส่วนสืบพันธุ์ถูกน้ำทะเลพัดพามาติดที่ชายฝั่ง สามารถงอกตั้งตัว และเติบโตอยู่ได้ ได้แก่ แสมทะเล ฝาดแดง ตะบูนขาว เล็บมือนาง ถั่วขาว พังกาหัวสุมดอกแดง โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ จีง้ำ และตาตุ่มทะเลเนื่องจากสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และองค์ประกอบของพืชพันธุ์ของป่า มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพืช อาหาร และแหล่งน้ำ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่สำคัญ ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วย เลียงผา สมเสร็จ กระแตใต้ บ่าง หมีขอ พังพอนเล็ก กระจ้อน ค้างคาวขอบหูขาวใหญ่ ค้างคาวขอบหูขาวกลางค้างคาวหน้ายาวใหญ่ เป็นต้น สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย กิ้งก่าบินปีกสีส้ม กิ้งก่าเขาหนามยาว ตะกวด งูแสงอาทิตย์ งูลายสอสวน งูกะปะ และงูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง เป็นต้น สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มักพบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำขังหรือที่ชื้นแฉะ สัตว์กลุ่มนี้ออกหากินในกลางคืน ได้แก่ อึ่งกรายลายเลอะ จงโคร่ง กบหลังตาพับ และอึ่งข้างดำ เป็นต้น นก พบได้ทั่วไปในอุทยานแห่งชาติ เช่น เหยี่ยวรุ้ง นกออก นกเขาเขียวและนกพญาไฟใหญ่ เป็นต้น ส่วนนกขนาดใหญ่ที่พบได้มี 3 ชนิด คือ นกเงือกปากดำ นกแก๊ก และนกกาฮัง

ผีเสื้อ ที่พบมากและกระจายทั่วพื้นที่ ได้แก่ ผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู ผีเสื้อหนอนมะนาว ผีเสื้อหางติ่ง ชะอ้อน ผีเสื้อขาวแคระ ผีเสื้อหนอนใบรักธรรมดา ผีเสื้อใบกุ่มธรรมดา ผีเสื้อหนองคูณธรรมดา ผีเสื้อสีตาลจุดตาห้า ผีเสื้อสายัณสีตาลธรรมดา ผีเสื้อหางแหลม ผีเสื้อสีอิฐธรรมดา ผีเสื้อแพนซีสีตาลไหม้ ผีเสื้อสะพายขาวปีกโค้ง ผีเสื้อฟ้าวาวสีต่างฤดู เป็นต้น

สัตว์ทะเล พบบริเวณชายฝั่งอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ ได้แก่ สัตว์กลุ่มปลิง เช่น ปลิงดำ ปลิงขาว ปลิงลูกปัด เป็นต้น กลุ่มเม่น เช่น เม่นหนามยาว กลุ่มดาวขนนก เช่น ดาวขนนก กลุ่มปู กลุ่มกุ้ง กลุ่มหอย เช่น หอยสังข์หนาม หอยเบี้ยเสือดาว หอยเบี้ยอารบิก หอยนมสาว เป็นต้น กลุ่มทากทะเล เช่น ทากปุ่ม เป็นต้น กลุ่มปลา เช่น ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ ปลาปากคม ปลากระทุงเหว ปลาข้าวเม่าน้ำลึก ปลาหิน ปลาสิงโต ปลากะรังสายฟ้า ปลาเก๋าหน้าแดง ปลาอมไข่ ปลาเหาฉลาม ปลากะพงข้างปาน ปลาทราย ปลาแพะ ปลากระดี่ทะเล ปลาผีเสื้อก้างปลา ปลาโนรีครีบยาว ปลาสลิดหินบั้งหลังเหลือง ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลานกขุนทอง ปลาเขียวพระอินทร์ ปลาพยาบาล ปลาตุ๊ดตู่ ปลาปักเป้าหนามทุเรียน เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่

คลองลำรูใหญ่ ลักษณะเป็นลำห้วยขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยลำห้วยขนาดเล็กจำนวนมาก แต่ละห้วยมีน้ำตกขนาดเล็กที่สวยงาม เช่น น้ำตกวังกล้วยเถื่อน เป็นน้ำตกที่มีความสูงขนาดกลาง รวม 7 ชั้น ที่สวยงามยิ่ง คลองลำรูใหญ่เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอท้ายเหมือง

ชายทะเลเขาหลัก เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นวนอุทยานชายทะเลเขาหลัก มีลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลยุบตัวและชายหาด มีทิวทัศน์ที่สวยงาม และเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ อยู่ห่างจากอำเภอตะกั่วป่ามาทางอำเภอท้ายเหมืองตามถนนเพชรเกษม 33 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าไปเพียง 50 เมตร ฝั่งตรงข้ามเป็นศาลเจ้าพ่อเขาหลักซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของคนทั่วไป บริเวณนี้ประกอบด้วยแหลมหิน หาดหิน หาดทราย และปรากฏรอยเท้าที่จารึกบนแผ่นหินอยู่ใต้ต้นไทร มีจุดชมวิวในบริเวณแหลมเขาหลัก มีทางเดินศึกษาธรรมชาติจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปหาดเล็ก ระยะทาง 2 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นทางเดินเรียบชายฝั่ง นอกจากนี้ยังมีทางเดินป่าระยะไกลจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปน้ำตกโตนช่องฟ้า ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร บริเวณชายทะเลเขาหลักยังสามารถดำน้ำชมปะการังน้ำตื้นได้

น้ำตกโตนช่องฟ้า
มีต้นน้ำเกิดจากคลองบางเนียง ประกอบด้วยน้ำตกจำนวน 5 ชั้นใหญ่ๆ จัดเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปตามถนนเพชรเกษม แยกเข้าบริเวณวัดพนัสนิคมในหมู่บ้านบางเนียง เป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเส้นทางเดินป่าบริเวณเทือกเขาหลักไปตามแนวสันเขาถึงน้ำตกโตนช่องฟ้า ระยะทาง 9 กิโลเมตร

น้ำตกลำพร้าวและน้ำตกหินลาด มีต้นน้ำเกิดจากคลองปลายบางโต๊ะและน้ำตกทั้งสองอยู่ในลำห้วยเดียวกัน น้ำตกลำพร้าว มีชั้นน้ำตก 3 ชั้น ส่วนน้ำตกหินลาดมีชั้นน้ำตก 2 ชั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4090 แยกเข้าบ้านทุ่งคาโงก 4 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าต่อไปยังน้ำตกอีกเล็กน้อย

น้ำตกลำรู่ เป็นน้ำตกที่มีความสูงขนาดกลาง รวม 5 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปี สวยงามน่าชม นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปโดยใช้ถนนแยกจากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4090 (อำเภอกะปง-บ้านกะปง-หมู่บ้านลำรู่) ผ่านที่ว่าการอำเภอกะปง ไปยังหมู่บ้านลำรู่ 9 กิโลเมตร และเดินทางต่อไปยังย้ำตกลำรู่อีก 1 กิโลเมตร

หาดเล็ก
เป็นชายหาดทรายขาวละเอียด และเงียบสงบ สามารถว่ายน้ำ ดำน้ำ ดูปะการังโดยเดินเท้าจากที่ทำการอุทยาแห่งชาติประมาณ 1.5 กิโลเมตร ตลอดทางจะเดินผ่านป่า ลัดเลาะไปตามชายทะเลเขาหลัก


สถานที่ติดต่อและการเดินทาง
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
หมู่ที่ 7 ต.คึกคัก,อ. ตะกั่วป่า จ. พังงา 82190


การเดินทาง รถยนต์
จากกรุงเทพฯใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ อยู่ใกล้ถนนเพียง 50 เมตร มีจุดสังเกตคือ ศาลพ่อตาเขาหลัก ซึ่งเป็นที่สักการะของชาวบ้านและคนทั่วไป
เครื่องบิน จะต้องใช้บริการของสนามบินนานาชาติจังหวัดภูเก็ต แล้วโดยสารรถมาสู่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ โดยใช้เส้นทางตามถนนเพชรเกษมมุ่งสู่อำเภอท้ายเหมือง


รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายใต้ มีทั้งรถปรับอากาศ และรถธรรมดาสายกรุงเทพฯ-ภูเก็ต และกรุงเทพฯ-ตะกั่วป่า ซึ่งอัตราค่าโดยสาร กรุงเทพฯ-พังงา รถยนต์โดยสารธรรมดา ราคา 357 บาท ปรับอากาศ ราคา 459 บาท ปรับอากาศพิเศษ ราคา 685 บาท

ค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานแห่งชาติ

ผู้ใหญ่ คนละ 20-80 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ)
เด็ก คนละ 10-40 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ)
กรณีเป็นเด็กอายุต้องต่ำกว่า 14 ปี แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี จักไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม
กรณีเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้เก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสำหรับเด็ก


เมืองโบราณบ้านทุ่งตึก
 ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะคอเขา ระหว่างปลายคลองเมืองทองกับปลายคลองทุ่งตึก บริเวณนี้เป็นปากแม่น้ำตะกั่วป่า ลักษณะพื้นที่เป็นลานทราย มีต้นไม้ขึ้น บางแห่งก็เป็นป่าละเมาะ เหตุที่ชาวบ้านทั่วไปเรียก "ทุ่งตึก" เนื่องมาจากบนลานทรายระหว่างป่าละเมาะในเนื้อที่หลายสิบไร่นี้ มีซากอาคารโบราณสถานคล้ายตึกหรือวิหารอยู่ไม่น้อยกว่า 3 แห่ง แล้วยังพบชิ้นส่วนของศาสนสถาน และสัญลักษณ์รูปเคารพ ในศาสนาพราหมณ์ อาทิ แผ่นศิลาสลักเป็นแท่นเจาะรูคล้ายกับเป็นแท่นศิลารองฐานศิวลึงค์หรือเทวรูป นอกจากนี้แล้ว ตามพื้นดินยังเต็มไปด้วยเศษกระเบื้องถ้วยชามเครื่องเคลือบของจีน เศษภาชนะดินเผา เศษภาชนะทำแก้วสีต่าง ๆ พร้อมด้วยลูกปัดชนิดและสีต่าง ๆ มากมาย เงินเหรียญอินเดียกระจายเต็มบริเวณที่เป็นโบราณสถานทุ่งตึก นักปราชญ์ทางโบราณคดีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ทุ่งตึกเป็นที่ตั้งเมืองท่าโบราณ ซึ่งชาวอินเดีย อาหรับ และชาวมลายู รู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นเมืองท่าค้าขายเครื่องเทศสำคัญแห่งหนึ่งทางฝั่งทะเลตะวันตกของแหลมมลายู ตั้งอยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เหมาะสมในการอาศัยจอดเรือหลบคลื่นลม มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์อยู่ใกล้ทะเลหลวง เรือขนาดใหญ่ก็สามารถเข้าออกสะดวก และอยู่ตรง ปากแม่น้ำตะกั่วป่า การคมนาคมทั้งขึ้นและล่องตามลำแม่น้ำจะต้องผ่านเสมอ การเดินทางไปชมเมืองโบราณบ้านทุ่งตึก สามารถดดยสารรถไปลงที่สถานีขนส่งตะกั่วป่า แล้วสามารถต่อรถสองแถวหรือจักรยานยนต์ รับจ้างไปยังท่าเรือบ้านน้ำเค็ม แล้วลงเรือโดยสารต่อไปยังเมืองโบราณได้


ช่วงเวลาที่เหมาะแก่ท่องเที่ยว
เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 6.00-18.00 น. ทุกวัน

ลักษณะของสถานที่
บริเวณเมืองโบราณบ้านทุ่งตึก เป็นปากแม่น้ำตะกั่วป่า มีเนื้อที่หลายสิบไร่ มีซากอาคารโบราณสถานลักษณะคล้ายคลึงกับตึก หรือวิหาร ประมาณ 3 แห่ง นอกจากนี้ตามพื้นดินยังมีชิ้นส่วนของศาสนสถาน และรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ เศษกระเบื้องถ้วยชาม เครื่องเคลือบของจีน เคร ื่องปั้นดินเผา ลูกปัดชนิดและสีต่างๆมากมาย กระจายอยู่ทั่วบริเวณ|นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า เมืองโบราณแห่งนี้เป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญในอดีต

ข้อมูลอาหารพื้นเมือง ( ถ้ามี )

น้ำพริกกุ้งเสียบ,ไก่คั่วกลิ้ง,แกงส้มหน่อไม้ยอดมะพร้าวใส่กุ้ง,ผักเหมียงผัดกุ้งเสียบ,กุ้งผัดมะขามเปียก,ผักเหมียงต้มกะทิ,ขนมจีนน้ำพริก-น้ำยา-แกงไก่-แกงไตปลา

ของฝากของที่ระลึก

กะปิ, กุ้งเสียบ,อาหารทะเลแห้ง,ต่าวซ้อ,ลูกจันทน์เทศเชื่อม,รากไม้ตะบูนดำ,เม็ดมะม่วงหิมพานต์เผา,ทุเรียนกวน,สับปะรดภูเก็ต,งานหัถกรรมได้แก่ ดอกไม้ประดิษฐ์จากยางพารา และเกล็ดปลา
ข้อมูลอื่นๆ ( มีโชว์ การแสดง )

ชมแหล่งดบราณคดี


สถานที่ติดต่อ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคใต้ เขต 4 โทร.0-7621-1036,0-7621-2213, 0-7621-7138 หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร.1672

สถานที่ตั้ง

ตั้งในเขตพื้นที่เรียกว่าทุ่งตึก ตำบลเกาะคอเขา อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา โดยตั้งอย่างห่างที่ว่าการอำเภอ 15 กิโลเมตร

การเดินทาง ไปชมเมืองโบราณบ้านทุ่งตึกโดยรถโดยสารไปลงที่สถานีขนส่งตะกั่วป่า แล้วสามารถต่อรถสองแถวหรือจักรยานยนต์รับจ้างไปยังท่าเรือบ้านน้ำเค็ม แล้งลงเรือโดยสารต่อไปยังเมืองโบราณได้ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. ทุกวัน

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอทับปุด

น้ำตกเต่าทอง อยู่ในเขตตำบลบ่อแสนห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 9 กิโลเมตรครับ การเดินทางต้องใช้เส้นทาง สายเดียวกับทางไปวนอุทยานสระนางมโนห์รา เลยไปถึงหมู่ที่ 3 ตำบลบ่อแสน จะมีทางลูกรังแยกเข้า น้ำตกอีก 11 กิโลเมตร


สถานที่ตั้ง อยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบ่อแสน ห่างจากตัวเมืองพังงา 19 กิโลเมตร อยู่ก่อนถึงอำเภอทับปุด 8 กิโลเมตร


แหล่งท่องเที่ยวอำเภอท้ายเมือง

น้ำตกลำปี

น้ำตกลำปี มีต้นน้ำที่เกิดจากเทือกเขาลำปี ตัวน้ำตกมีจำนวน 4 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นจะไหลลดหลั่นลงมาอย่างสวยงาม โดยชั้นล่างเป็นอ่างน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษมตรงข้ามบ้านลำปีตามทางลาดยาง ประมาณ 1.8 กิโลเมตร ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 14 กิโลเมตร นอกจากการชมความงดงามของน้ำตกแล้วคุณยังสามารถชื่นชมความงดงามของธรรมชาติบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะต้นไม้ที่ขึ้นเขียวขจี และป่าไม้ที่ยังคงอุดมณ์สมบูรณ์อยู่มาก

การเดินทาง

จากอำเภอท้ายเหมือง ตามทางหลวงหมายเลข 4 บริเวณกิโลเมตรที่ 32–33 จะมีทางแยกให้เลี้ยวขวา เข้าไป 2 กิโลเมตร

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

น้ำตกโตนไพร

บริเวณกม.ที่ 28-29 จะมีทางลูกรังแยกเข้าไปอีก 7 กม. แล้วเดินเข้าไปชมน้ำตกอีก 1 กม. เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำตกอยู่ตลอดปี การเดินทางไปชมน้ำตกโตนไพรควรเดินทางไปชมในฤดูแล้ง เพราะสะดวกในการเดินทาง

ชายทะเลท้ายเหมือง
หรือ หาดท้ายเหมือง อยู่ในเขตสุขาภิบาลท้ายเหมือง มีทาง ราดยาง แยกขวาเข้าไปอีก 1.5 กม. จากนั้นต่อเข้าถนนเลียบชายหาดไปอีก 5 กม. ก็จะถึงบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ชายหาดท้ายเหมืองเป็นหาดทรายสะอาดขนานไปกับทางหลวงแผ่นดินมีความยาวกว่า 13 กม. น้ำทะเลใส เล่นน้ำได้ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ จะมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ จึงมีประเพณีเดินดูเต่าไข่ในตอนกลางคืนเดือนหงาย และช่วงที่ไข่เต่าฟักเป็นตัวจะมีการปล่อยเต่าลงทะเล เรียกว่า ประเพณีเดินเต่า


ที่พัก: ติดต่อกองอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา 82120 หรืออุทยานแห่งชาติทางทะเล กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 529-2918-22

น้ำตกโตนต้นไทร ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติศรีพังงา เกิดจากลำน้ำซึ่งตกจากโขดหินขนาดใหญ่ บริเวณใกล้น้ำตกจะมีต้นไม้ใหญ่น้อย และโขดหินสวยงาม สายน้ำไหลตกลงมาตามผาหินสูงประมาณ 20 เมตร บริเวณน้ำตกมีต้นไทรอยู่หลายต้นจนเป็นที่มาของชื่อน้ำตก ทางเข้าน้ำตกอยู่เลยด่านตรวจอุทยานแห่งชาติก่อนเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติมาเล็กน้อย เมื่อพบทางแยกให้เลี้ยวซ้าย ผ่านสวนผลไม้ชาวบ้านไปอีก 2 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินเลาะลำธารเข้าไปถึงน้ำตก ควรมีเจ้าหน้าที่ช่วยนำทาง แต่ในช่วงฤดูฝนจะเดินเข้าไปน้ำตกไม่ได้ จากน้ำตกโตนต้นไทรไปอีก 500 เมตร จะถึง ถ้ำค้างคาว ซึ่งมีค้างคาวอาศัยอยู่จำนวนมาก

สถานที่ตั้ง อยู่ก่อนถึงด่านตรวจทางเข้าที่ทำการอุทยานฯ เล็กน้อย จะมีทางเข้าแยกขวามือ สามารถเดินเท้าเข้าไปราว 15 นาที จะถึงน้ำตกโตนต้นไทร ซึ่งสูงราว 20 เมตร บริเวณโดยรอบมีต้นไทรขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมืองข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีสภาพพื้นที่เป็น 2 ส่วน คือ ป่าเขาลำปี ซึ่งมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตก ยอดเขาขนิม เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่มองเห็นทะเลอันดามัน และทิวทัศน์ของลำน้ำที่ไหลคดเคี้ยวจนออกสู่ทะเลอันดามัน อีกส่วนหนึ่งคือ ชายหาดท้ายเหมืองเป็นหาดทรายขาวสะอาดกว้างและยาว มีความเงียบสงบ รวมเนื้อที่อุทยานแห่งชาติทั้งหมดประมาณ 45,000 ไร่ หรือ 72 ตารางกิโลเมตร
อุทยานแห่งชาตินี้ เดิมเป็นที่รู้จักกันในนามของ " น้ำตกลำปี " และกองจัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติได้มีบันทึกกรมป่าไม้ที่ กส 0711/973 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2523 เสนอร่างกฎกระทรวงให้ป่าเขาลำปี จังหวัดพังงา เป็นป่าสงวนแห่งชาติ และ ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีบันทึกลงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 ถึงกรมป่าไม้ ความว่า “นายบรรหาร ศิลปอาชา ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้นโยบายว่า ป่าที่จะสงวนนั้น ถ้าการดำเนินการล่าช้า มีผู้บุกรุกหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินแล้วมากรายขอให้พิจารณาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ส่วนที่ยังเหลืออยู่และไม่มีปัญหาให้พิจารณาว่า ให้มีประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติได้หรือไม่ ให้กองอุทยานแห่งชาติเสนอความคิดเห็นด้วย”
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 1617/2523 ลงวันที่ 15 กันยายน 2523 ให้ นายธีระศักดิ์ บุญชูดวง นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวพบว่า ป่าเขาลำปีเป็นป่าซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2504 ให้รักษาไว้เป็นป่าไม้ถาวรของชาติ มีน้ำตกร่มรื่นสวยงามตามธรรมชาติ คือ น้ำตกลำปี ซึ่งในปี พ.ศ. 2498 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เคยมาเที่ยวชมน้ำตกแห่งนี้ด้วย มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าชุกชุม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจที่ กส 0708(อพ)/12 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2524 กองอุทยานแห่งชาติจึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2525 ซึ่งมีมติให้กรมป่าไม้พิจารณาประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติไปพลางก่อน และขณะเดียวกันก็ให้กรมป่าไม้ดำเนินการจัดการให้เป็นวนอุทยาน กองอุทยานแห่งชาติจึงได้เสนอกรมป่าไม้ มีคำสั่งที่ 894/2526 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2526 ให้ นายไชโย ยิ่งเภตรา เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานเขาลำปี
ต่อมา วนอุทยานเขาลำปีได้มีหนังสือที่ กษ 0712(ลป)/17 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2526 ส่งรายงานการสำรวจเบื้องต้นป่าเขาลำปีและหาดทรายชายทะเลท้ายเหมืองเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ปรากฏว่า บริเวณดังกล่าวนอกจากจะมีน้ำตกลำปี ซึ่งเป็นน้ำตกที่มีความร่มรื่นสวยงามตามธรรมชาติ ยังสำรวจพบน้ำตกโตนย่านไทร (น้ำตกโตนไพร) จุดชมวิวบนยอดเขาขนิม และในบริเวณใกล้เคียงมีชายหาดที่สวยงาม กว้างประมาณ 40 เมตร ยาวประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นหาดทรายขาวสะอาด เงียบสงบ มีป่าทุ่งเสม็ดขาว และพันธุ์ไม้ชายทะเลนานาชนิดขึ้นอยู่ ตลอดจนเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเลและที่อยู่อาศัยของนกจำนวนมาก ซึ่งกรมป่าไม้ได้ดำเนินการประกาศป่าเขาลำปีเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,023 (พ.ศ. 2526) ออกตามความพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 192 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2526 และกองอุทยานแห่งชาติได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 1/2527 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2527 ซึ่งได้มีมติเห็นควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณป่าเขาลำปี และหาดท้ายเหมือง ในท้องที่ตำบลลำแก่น ตำบลทุ่งมะพร้าว ตำบลท้ายเหมือง และตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 59 ลงวันที่ 14 เมษายน 2529 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 52 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง มีสภาพพื้นที่แยกจากกันเป็นสองส่วนโดยมีถนนเพชรเกษมเป็นเส้นแบ่ง คือ บริเวณหาดท้ายเหมืองซึ่งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามันที่มีความยาวของชายหาดประมาณ 13.6 กิโลเมตร และ เทือกเขาลำปี ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดงดิบ รวมเนื้อทั้งหมด ประมาณ 72 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งมะพร้าว ตำบลท้ายเหมือง ตำบลนาเตย ตำบลบางทอง ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 8 องศา 23 ลิบดา-8 องศา 33 ลิบดา เหนือ และอยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 98 องศา 12 ลิบดา-98 องศา 20 ลิบดา ตะวันออก โดยมีที่ทำการอุทยานแห่งชาติตั้งอยู่บริเวณหาดท้ายเหมือง ซึ่งมีอาณาเขตทิศเหนือจดเขตที่ดินทหารเรือ ทิศใต้จดคลองหินลาด ทิศตะวันออกจดที่ดินสาธารณประโยชน์อำเภอท้ายเหมือง และทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน ส่วนบริเวณเทือกเขาลำปีมีอาณาเขตทิศเหนือจดบ้านเขากล้วยและบ้านอินทนิน ตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง ทิศใต้จดบ้านนาตาคำ และบ้านกลาง ตำบลบางทอง อำเภอท้ายเหมือง ทิศตะวันออกจดบ้านห้วยทราย ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง และทิศตะวันตกจดบ้านบ่อหิน บ้านลำปี ตำบลท้ายเหมือง และบ้านขนิม ตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง

บริเวณหาดท้ายเหมืองซึ่งอยู่ริมทะเลอันดามัน มีชายหาดยาวประมาณ 13.6 กิโลเมตร มีส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 1.6 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดประมาณ 350 เมตร ปลายสุดของหาดเป็นแหลม เรียกว่า แหลมอ่าวขาม (เขาหน้ายักษ์) ทางด้านตะวันออกของพื้นที่มีคลองน้ำกร่อยขนาดใหญ่คือ คลองทุ่งมะพร้าว และคลองหินลาด ซึ่งน้ำส่วนใหญ่ไหลมาจากเทือกเขาลำปี และบริเวณเทือกเขาลำปีเป็นภูเขาสลับซับซ้อนเรียงตัวยาวไปตามแนวเหนือ-ใต้ ประกอบด้วย เขาขนิม เขาลำปี เขาโตนย่านไทร และเขาลำหลัง ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาขนิม สูงประมาณ 622 เมตรจากระดับน้ำทะเล เทือกเขาส่วนใหญ่เป็นหินอัคนี ประเภทหินแกรนิต ในยุคไทรแอสสิค-ครีเตเชียส มีอายุอยู่ในช่วง 60-140 ล้านปี หินเหล่านี้มีความคงทนต่อการกัดกร่อนสูง มีลำน้ำหลายสายที่เกิดจากเทือกเขาลำปี เช่น คลองขนิม คลองลำปี คลองบางปอ คลองลำหลัง คลองพลุ คลองคำนึง และคลองอินทนิน เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีกำลังแรงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม พัดพาความชุ่มชื่นจากมหาสมุทรอินเดียมายังแผ่นดิน ทำให้เกิดฝนตกชุกในช่วงเวลาดังกล่าว พื้นที่นี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือน้อย เนื่องจากมีเทือกเขาสูงทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้เป็นแนวกั้น ทำให้ลมมีกำลังอ่อนลง อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนพฤศจิกายนซึ่งลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรง ก็สามารถส่งผลให้เกิดฝนตกได้บ้างแต่มีปริมาณไม่มากนัก ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายนเป็นช่วงฤดูแล้ง ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมน้อย อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณฝนจะมีน้อย โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34 องศาเซลเซียส.ในเดือนเมษายน และต่ำสุดเฉลี่ย 21 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยจะอยู่ในช่วงประมาณ 2,800-3,000 มิลลิเมตร

พืชพรรณและสัตว์ป่า สภาพป่าในบริเวณเทือกเขาลำปีเป็น ป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง หลุมพอ ตะเคียนทอง ตะเคียนชันตาแมว กระบาก เทพทาโร ยมหอม สุเหรียน ทุ้งฟ้า พลอง ฉก ฯลฯ พืชพื้นล่าง ได้แก่ ปุด เร่วดง หวายขม หวายขริง หวายกำพวน ไผ่ หมากผู้หมากเมีย คล้า กล้วยป่า และบริเวณที่ใกล้ลำธารจะเป็นเฟินตีนตะขาบ โปรงทอง ลำเพ็ง ผักกูด และกูดขน เป็นต้น เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่สำคัญหลายชนิด เช่น เหยี่ยวผึ้ง เหยี่ยวรุ้ง ไก่ฟ้าหน้าเขียว นกหว้า นกแสกแดง นกเค้าป่าสีน้ำตาล นกโพระดก นกพญาไฟ ชะนีมือขาว ลิงเสน ลิงกัง ค่าง สมเสร็จ เก้ง และเลียงผา เป็นต้น
บริเวณหาดท้ายเหมืองเป็นที่ราบชายฝั่งด้านตะวันตกเป็นหาดทรายขาว ด้านตะวันออกจรด ป่าชายเลน ที่ขึ้นอยู่ริมคลอง พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนดำ ตะบูนขาว ลำพู ถั่วดำ ถั่วขาว แสมขาว และแสมดำ บางส่วนเป็นป่าจากล้วน ป่าชายเลนนี้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นแหล่งสืบพันธุ์ และสถานที่วางไข่ของสัตว์บกและสัตว์น้ำต่างๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลาต่างๆ จึงเป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของนกและสัตว์ป่าหลากหลายชนิด เช่น นกกาน้ำเล็ก นกยางทะเล เหยี่ยวแดง นกแต้วแล้วป่าโกงกาง ลิงแสม พังพอนกินปู เหี้ย งูปากกว้างน้ำเค็ม งูสามเหลี่ยม งูแสมรัง และปลาซิวข้าวสารชวา เป็นต้น
บริเวณชายหาดจะเป็น ป่าชายหาด มี สนทะเล จิกเล หูกวาง หยีทะเล ปอทะเล เมา มะนาวผี และรักทะเล ส่วนพืชพื้นล่างได้แก่ สังหยู สาบเสือ ลำเท็ง ปรงทะเล เตยทะเล ผักบุ้งทะเล และถั่วทะเล ขึ้นอยู่ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หลากชนิด เช่น เหยี่ยวขาว นกออก ไก่ป่า นกกวัก นกหัวโตทรายเล็ก นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกบั้งรอกใหญ่ นกกะเต็นอกลาย นกตะขาบดง นกแซงแซวหางปลา ลิ่นชวา กระแตใต้ ค้างคาวขอบหูขาวเล็ก ชะมดแผงสันหางดำ พังพอนเล็ก แย้ จิ้งเหลนบ้านเป็นต้น
บริเวณศูนย์กลางพื้นที่หาดท้ายเหมืองประมาณ 1,000 ไร่ มีสภาพเป็น ป่าพรุ ที่มีน้ำจืดขังอยู่เกือบตลอดปี สภาพดินเป็นดินทรายละเอียดขาวนวล สังคมพืชที่เด่นชัดในสภาพป่านี้คือ เสม็ดขาว บริเวณที่ดอนจะมีเสม็ดแดง ชะมวงป่า มะพลับพรุ ตีนเป็ด และหว้าน้ำ ขึ้นปะปน พืชอิงอาศัยที่ขึ้นรอบลำต้นไม้ขนาดใหญ่ เช่น กระแตไต่ไม้ สไบสีดา เกล็ดนาคราช เฟินก้ามปู และเฟินข้าหลวง โดยมี กระดุมเงิน โคลงเคลง ปลาไหลเผือก เข็มป่า รามใหญ่ กะทือ ย่านาง มันเทียน หวายลิง และเอื้องหมายนา เป็นพืชพื้นล่าง สัตว์ป่าที่สำคัญและสำรวจพบในป่านี้ได้แก่ นกยางกรอกพันธุ์จีน นกอีลุ้ม นกกระแตแต้แว้ด นกตบยุงหางยาว นกกะเต็นอกขาว หมูหริ่ง นากใหญ่ขนเรียบ หมีขอ หมูป่า กระรอกลายท้องแดง เต่านา ตะกวด งูหลามปากเป็ด งูเหลือม กบนา ปลาดุกลำพัน และปลาหัวตะกั่ว เป็นต้น
ในบริเวณแหล่งน้ำ ห้วย และลำคลองต่างๆ สำรวจพบปลาน้ำจืด 31 ชนิด ได้แก่ ปลาสลาด ปลาซิวใบไผ่ ปลาแขยงหิน ปลาดุกลำพัน ปลาซิวข้าวสารแคระ ปลาแรด ปลาช่อน ปลาก้าง ปลานิล เป็นต้น สัตว์น้ำที่พบบริเวณชายฝั่งหาดท้ายเหมืองได้แก่ ปลาทราย ปลากระบอก เต่ากระ เต่าหญ้า ปูลม ปูแสม หอยมวนพลู หอยตลับลาย กุ้งฝอย กุ้งตะกาด แมงกะพรุน ฯลฯ


อนุสรณ์สถานแห่งความรุ่งเรืองยุคเหมืองแร่เครื่องจักรไอน้ำ

กิจกรรม -ชมประวัติศาสตร์


หาดท้ายเหมือง
เป็นหาดที่มีลักษณะค่อนข้างตรงและยาวจากอำเภอท้ายเหมืองไปจนถึงเขาหน้ายักษ์ ในช่วงไม่มีมรสุมสามารถเล่นน้ำได้ แต่ไม่เหมาะเล่นน้ำในช่วงมรสุมที่มีคลื่นลมแรงเนื่องจากชายฝั่งมีความลาดชันมาก
บริเวณหาดท้ายเหมืองจะมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ของทุกปี ทางอำเภอท้ายเหมืองจึงจัดให้มีงานประเพณีอนุรักษ์เต่าทะเล ระหว่างวันที่ 1-9 มีนาคมทุกปีโดยกำหนดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวเข้าร่วมทำกิจกรรม คือ การปล่อยเต่าทะเล การดูเต่าทะเลวางไข่ นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมต้องปฏิบัติตามที่อุทยานแห่งชาติกำหนด มิฉะนั้น จะเป็นการรบกวนเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่

กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ - แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์

บ่ออนุบาลเต่าทะเล
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 100 เมตร อยู่ในส่วนของหาดท้ายเหมือง

กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - ชมทิวทัศน์

น้ำตกลำปีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาลำปี มีจำนวน 4 ชั้น ชั้นล่างเป็นอ่างน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษมตรงข้ามบ้านลำปีตามทางลาดยาง ประมาณ 1.8 กิโลเมตร ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 14 กิโลเมตร

กิจกรรม -ชมพรรณไม้ - เที่ยวน้ำตก

น้ำตกโตนไพร
สูงประมาณ 50 เมตร ด้านล่างเป็นแอ่งขนาดใหญ่เหมาะสำหรับเล่นน้ำ ต้นน้ำเกิดจากเขาโตนย่านไทร สภาพป่าโดยรอบมีความอุดมสมบูรณ์ดี

กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก - ชมพรรณไม้

เขาหน้ายักษ์ความงามของทิวทัศน์ ความสงบของเวิ้งอ่าว และชีวิตใต้น้ำ

กิจกรรม -กิจกรรมชายหาด - ชมทิวทัศน์

สถานที่ติดต่ออุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
หมู่ 5 ต.ท้ายเหมือง อ. ท้ายเหมือง จ. พังงา 82120
โทรศัพท์ 0 7641 7206 โทรสาร 0 7641 7206 

การเดินทาง

รถยนต์ เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินซึ่งจะมีสายหลักๆ 3 สาย คือ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เส้นทางถนนนเพชรเกษมเป็นทางหลวงแผ่นดินสายหลักของภาคใต้ เป็นทางเรียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึง พังงาประมาณ 839 กิโลเมตร
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ซึ่งจะแยกจากทางหลวงหมายเลข 4 ที่อำเภอตะกั่วป่า ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี สิ้นสุดเส้นทางที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้เส้นทาง สุราษฎร์ธานี - ตะกั่วป่า - ท้ายเหมือง ระยะทาง 210 กม.
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 เส้นทางสายโคกกลอย - ภูเก็ต โดยใช้เส้นทาง ภูเก็ต - โคกกลอย - ท้ายเหมือง หรือ พังงา - โคกกลอย -ท้ายเหมือง ระยะทาง 66 กม.


เครื่องบินเนื่องจากจังหวัดพังงาอยู่ห่างจากสนามบินภูเก็ตซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติเพียง 66 กิโลเมตร ดังนั้นการเดินทางเข้าสู่จังหวัดพังงาโดยเฉพาะอำเภอท้ายเมืองด้วยเครื่องบินจึงสะดวกมาก แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์ตามทางหลวงหมายเลข 402 สนามบิน - โคกกลอย -ท้ายเหมือง ระยะทาง 40 กม.

รถโดยสารประจำทาง
ใช้รถโดยสารประจำทาง กรุงเทพฯ - พังงา รถ ป.2 ราคา 357 บาท รถ ป.1 ราคา 441 บาท และจากพังงาถึงอุทยานฯ ระยะทาง 62 กม. เดินทางต่อถึงอำเภอท้ายเหมืองโดยรถสองแถว พังงา - ท้ายเหมือง ราคา 30 บาท แล้วเดินทางต่อถึงอุทยานฯ โดยรถจักรยานยนต์รับจ้างราคา 30 บาท
ใช้รถโดยสารประจำทาง กรุงเทพฯ - ท้ายเหมือง รถ ป.2 ราคา 370 บาท รถ ป.1 ราคา 451 บาท เดินทางถึงอุทยานฯ โดยรถจักรยานยนต์รับจ้างราคา 30 บาท
ใช้บริการ รถ กรุงเทพฯ - โคกกลอย รถ ป.2 ราคา 375 บาท รถ ป.1 ราคา 485 บาท แล้วเดินทางต่อถึงอำเภอท้ายเหมืองโดยรถประจำทาง โคกกลอย - อำเภอท้ายเหมือง ราคา 20 บาท เดินทางต่อถึงอุทยานฯ โดยรถจักรยานยนต์รับจ้างราคา 30 บาท

ชายทะเลท้ายเหมือง
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี – หาดท้ายเหมือง เป็นพื้นที่ทางทิศตะวันออกของชายฝั่งทะเลอันดามัน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 72 ตารางกิโลเมตร หรือ 45,000 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ ตำบลลำแก่น ตำบลทุ่งมะพร้าว ตำบลท้ายเหมือง ตำบลบางทอง และตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีสภาพพื้นที่แยกจากกันเป็น 2 ส่วน โดยมีถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) เป็นเส้นแบ่ง คือ บริเวณหาดท้ายเหมือง ซึ่งอยู่ริมทะเลอันดามัน มีชายหาดยาวประมาณ 13.6 กิโลเมตร มีส่วนกว้างที่สุดประมาณ 1,600 เมตร ส่วนที่แคบที่สุดประมาณ 350 เมตร ปลายสุดของหาดเป็นแหลม เรียกว่า แหลมอ่าวขาม (เขาหน้ายักษ์) ทางด้านตะวันออกของพื้นที่แห่งนี้มีคลองน้ำกร่อยขนาดใหญ่ คือ คลองทุ่งมะพร้าว และคลองหินลาด ซึ่งมีน้ำจืดส่วนใหญ่ไหลมาจากเทือกเขาลำปี และบริเวณเทือกเขาลำปี ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดงดิบพื้นที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน เรียงตัวยาวไปตามแนวเหนือ – ใต้ เรียกว่าเทือกเขาลำปี
ประกอบด้วย เขาขนิม เขาลำปี เขาโตนย่านไทร และเขาลำหลัง และมีสภาพพื้นที่แปรเปลี่ยนสูงขึ้นจากประมาณ 40 – 100 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณรอบ ๆ เขตอุทยานแห่งชาติสู่พื้นที่ภูเขาสูงในตอนกลางของอุทยานแห่งชาติ ยอดเขาสูงสุด คือ เขาขนิมอยู่ทางด้านทิศเหนือของพื้นที่ มีความสูง 622 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เทือกเขาในเขตอุทยานแห่งชาติเขาลำปี – หาดท้ายเหมือง เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น คลองลำปี คลองขนิม คลองลำหลัง คลองพลุ คลองคำนึง คลองอินทนิน และคลองบางปอ เป็นต้น ลักษณะพื้นที่มีความลาดชัน โดยมีความลาดชันเฉลี่ยประมาณ 10 – 25% โดยมีที่ทำการอุทยานแห่งชาติตั้งอยู่บริเวณหาดท้ายเหมือง ภูเขาในเขตอุทยานแห่งชาติบริเวณเขาลำปี นอกจากจะเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าจำนวนมากแล้ว ยังเป็นแหล่งต้นน้ำซึ่งจะไหลรวมลงสู่ลำน้ำสายสำคัญ 2 สาย คือ คลองทุ่งมะพร้าว และคลองคัน ลุ่มน้ำคลองทุ่งมะพร้าว มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 42.94 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยลำน้ำสาขาย่อยที่สำคัญ ได้แก่ ลุ่มน้ำคลองอินทนิน ลุ่มน้ำคลองขนิม ลุ่มน้ำคลองลำปี ลุ่มน้ำคลองปะเต และลุ่มน้ำย่อยอื่น ๆ ส่วนลุ่มน้ำคลองคัน มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 14.06 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยลำน้ำสาขาย่อยคือ คลองคำนึง คลองนาตาคำ คลองห้วยทราย คลองห้วยกลั้ง และลำน้ำสาขาย่อยอื่น ๆ รวมพื้นที่อุทยานแห่งชาติบริเวณเขาลำปี ประมาณ 57 ตารางกิโลเมตร หรือ 35,625 ไร่ สำหรับพื้นที่บริเวณหาดท้ายเหมือง มีพื้นที่ประมาณ 15 ตารางกิโลเมตร หรือ 9,375 ไร่ หรือประมาณ 20% ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั้งหมด

สภาพภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี จะเห็นได้ว่าภูเขาบริเวณนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำสายสำคัญดังกล่าว ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงบริเวณภูเขา โดยเฉพาะหากป่าไม้ถูกทำลายจะก่อให้เกิดการชะล้างหน้าดินซึ่งจะส่งผลให้ตะกอนไหลลงไปทับถมในลำคลองมากขึ้น ทำให้คลองตื้นเขินอย่างรวดเร็ว จนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านระบบนิเวศวิทยา นอกจากนั้นยังทำให้มีโอกาสเกิดอุทกภัย กล่าวคือ ปริมาณน้ำท่าที่จะไหลในหน้าฝนจะมีมากกว่าปกติอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ ในขณะที่หน้าแล้งนั้นจะประสบภาวะขาดแคลนน้ำ ซึ่งสภาพดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อสภาพสมดุลของบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติและโดยรอบ โดยเฉพาะในหน้าแล้งจะก่อให้เกิดปัญหาการรุกของน้ำเค็ม เนื่องจากปริมาณน้ำที่ใช้ดันน้ำเค็มมีไม่เพียงพอ จะเกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและวิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น

สภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี – หาดท้ายเหมือง ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีกำลังแรงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม พัดพาความชุ่มชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมายังแผ่นดิน ทำให้เกิดฝนตกชุกในช่วงเวลาดังกล่าว พื้นที่นี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือน้อย เนื่องจากมีเทือกเขาสูงทอดตัวในแนวเหนือ – ใต้ เป็นแนวกั้นทำให้ลมมีกำลังอ่อนลง อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรง ก็สามารถส่งผลให้เกิดฝนตกได้บ้างแต่มีปริมาณไม่มากนัก ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงฤดูแล้ง ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมน้อยลง อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณฝนจะมีน้อย


พืชพรรณและสัตว์ป่า
     สภาพป่าในบริเวณเทือกเขาลำปีเป็น ป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง หลุมพอ ตะเคียนทอง ตะเคียนชันตาแมว กระบาก เทพทาโร ยมหอม สุเหรียน ทุ้งฟ้า พลอง ฉก ฯลฯ พืชพื้นล่าง ได้แก่ ปุด เร่วดง หวายขม หวายขริง หวายกำพวน ไผ่ หมากผู้หมากเมีย คล้า กล้วยป่า และบริเวณที่ใกล้ลำธารจะเป็นเฟินตีนตะขาบ โปรงทอง ลำเพ็ง ผักกูด และกูดขน เป็นต้น เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่สำคัญหลายชนิด เช่น เหยี่ยวผึ้ง เหยี่ยวรุ้ง ไก่ฟ้าหน้าเขียว นกหว้า นกแสกแดง นกเค้าป่าสีน้ำตาล นกโพระดก นกพญาไฟ ชะนีมือขาว ลิงเสน ลิงกัง ค่าง สมเสร็จ เก้ง และเลียงผา เป็นต้น
     บริเวณหาดท้ายเหมืองเป็นที่ราบชายฝั่งด้านตะวันตกเป็นหาดทรายขาว ด้านตะวันออกจรด ป่าชายเลน ที่ขึ้นอยู่ริมคลอง พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนดำ ตะบูนขาว ลำพู ถั่วดำ ถั่วขาว แสมขาว และแสมดำ บางส่วนเป็นป่าจากล้วน ป่าชายเลนนี้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นแหล่งสืบพันธุ์ และสถานที่วางไข่ของสัตว์บกและสัตว์น้ำต่างๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลาต่างๆ จึงเป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของนกและสัตว์ป่าหลากหลายชนิด เช่น นกกาน้ำเล็ก นกยางทะเล เหยี่ยวแดง นกแต้วแล้วป่าโกงกาง ลิงแสม พังพอนกินปู เหี้ย งูปากกว้างน้ำเค็ม งูสามเหลี่ยม งูแสมรัง และปลาซิวข้าวสารชวา เป็นต้น
บริเวณชายหาดจะเป็น ป่าชายหาด มี สนทะเล จิกเล หูกวาง หยีทะเล ปอทะเล เมา มะนาวผี และรักทะเล ส่วนพืชพื้นล่างได้แก่ สังหยู สาบเสือ ลำเท็ง ปรงทะเล เตยทะเล ผักบุ้งทะเล และถั่วทะเล ขึ้นอยู่ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หลากชนิด เช่น เหยี่ยวขาว นกออก ไก่ป่า นกกวัก นกหัวโตทรายเล็ก นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกบั้งรอกใหญ่ นกกะเต็นอกลาย นกตะขาบดง นกแซงแซวหางปลา ลิ่นชวา กระแตใต้ ค้างคาวขอบหูขาวเล็ก ชะมดแผงสันหางดำ พังพอนเล็ก แย้ จิ้งเหลนบ้านเป็นต้น
บริเวณศูนย์กลางพื้นที่หาดท้ายเหมืองประมาณ 1,000 ไร่ มีสภาพเป็น ป่าพรุ ที่มีน้ำจืดขังอยู่เกือบตลอดปี สภาพดินเป็นดินทรายละเอียดขาวนวล สังคมพืชที่เด่นชัดในสภาพป่านี้คือ เสม็ดขาว บริเวณที่ดอนจะมีเสม็ดแดง ชะมวงป่า มะพลับพรุ ตีนเป็ด และหว้าน้ำ ขึ้นปะปน พืชอิงอาศัยที่ขึ้นรอบลำต้นไม้ขนาดใหญ่ เช่น กระแตไต่ไม้ สไบสีดา เกล็ดนาคราช เฟินก้ามปู และเฟินข้าหลวง โดยมี กระดุมเงิน โคลงเคลง ปลาไหลเผือก เข็มป่า รามใหญ่ กะทือ ย่านาง มันเทียน หวายลิง และเอื้องหมายนา เป็นพืชพื้นล่าง สัตว์ป่าที่สำคัญและสำรวจพบในป่านี้ได้แก่ นกยางกรอกพันธุ์จีน นกอีลุ้ม นกกระแตแต้แว้ด นกตบยุงหางยาว นกกะเต็นอกขาว หมูหริ่ง นากใหญ่ขนเรียบ หมีขอ หมูป่า กระรอกลายท้องแดง เต่านา ตะกวด งูหลามปากเป็ด งูเหลือม กบนา ปลาดุกลำพัน และปลาหัวตะกั่ว เป็นต้น

      ในบริเวณแหล่งน้ำ ห้วย และลำคลองต่างๆ สำรวจพบปลาน้ำจืด 31 ชนิด ได้แก่ ปลาสลาด ปลาซิวใบไผ่ ปลาแขยงหิน ปลาดุกลำพัน ปลาซิวข้าวสารแคระ ปลาแรด ปลาช่อน ปลาก้าง ปลานิล เป็นต้น สัตว์น้ำที่พบบริเวณชายฝั่งหาดท้ายเหมืองได้แก่ ปลาทราย ปลากระบอก เต่ากระ เต่าหญ้า ปูลม ปูแสม หอยมวนพลู หอยตลับลาย กุ้งฝอย กุ้งตะกาด แมงกะพรุน ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น