วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ไตวายเรื้อรัง

images[5]
ในปัจจุบันผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังมีจำนวน
มากขึ้น หากได้พบแพทย์ในระยะแรกผู้ป่วยสามารถ
รับการรักษาเพื่อป้องกันการเสื่อมของไตได้ ในสภาพ
ความเป็นจริงผู้ป่วยมักพบแพทย์ในระยะสุดท้าย เมื่อ
การทำงานของไตเสื่อมไปมากจนไม่สามารถรักษาให้หายได้
ในกรณีนี้ผู้ป่วยต้องรับการรักษาโดยการล้างไตหรือ
เปลี่ยนไต ซึ่งเป็นการรักษาที่มีราคาแพงและความเสี่ยง
สูง ดังนั้นความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไตจึงมีความสำคัญ
ในการป้องกันการเกิดโรคไตวายเรื้อรังและช่วยให้ผู้ป่วย
มาพบแพทย์เร็วขึ้นในระยะต้นๆของโรค ก่อนการ
ทำงานของไตจะเสื่อมไปมาก เพื่อจะได้รับการรักษา
เพื่อชะลอการเสื่อมของไต
imagesCA7VG32C

ไตทำหน้าที่อะไร

ไตคนเรามี 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหลังใต้ชาย
โครง ไตมีหน้าที่สร้างและขับปัสสาวะเพื่อกำจัดน้ำ
เกลือแร่ กรดและของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการ ไตจะขับ
ปัสสาวะจากกรวยไตลงไปยังกระเพาะปัสสาวะและขับออก
จากร่างกายทางท่อปัสสาวะ นอกจากนี้ไตยังสร้างสาร
ฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (อีรีโทรปอย
อีติน) และวิตามินดี ที่มีหน้าที่ปรับแคลเซี่ยมในเลือดและ
ป้องกันกระดูกเสื่อม

imagesCA7MD8QW
โรคไตมีหลายชนิดส่วนใหญ่หายขาดได้และ
ไม่ถึงขั้นไตวาย
นายแพทย์ มล.ชาครีย์ กิติยากร
- แพทยศาสตร์บัณฑิต London University (Guy’s Hospital)
- Diplomate, Membership of the Royal College of Physicians (UK)
- Certificate, Clinical and Research Fellow in Nephrology, Georgetown
University, Washington DC, USA
imagesCASEYSW1

1. เช่น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือโรคกรวยไตอักเสบ
ในภาวะโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วย
มีปัสสาวะกระปริดกระปรอย ปัสสาวะไม่สุด
ปัสสาวะแสบขัด โรคนี้พบบ่อยในสตรีและ
สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจพบเม็ดเลือด
ขาวในปัสสาวะ ในภาวะโรคกรวยไตอักเสบ
ผู้ป่วยมีไข้หนาวสั่น ปวดหลังร่วมกับอาการ
ปัสสาวะแสบขัด การรักษาของโรคติดเชื้อของ
โรคทางเดินปัสสาวะคือการให้ยาปฏิชีวนะ
โดยยาที่ให้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

2. โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยอาจมี
อาการปวดหลังอย่างเฉียบพลันและมีอาการ
ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะ
เป็นเลือด หรือมีนิ่วหลุดมาในปัสสาวะ ผู้ป่วย
หลายรายอาจไม่มีอาการ แต่ตรวจพบนิ่วเมื่อ
ไปตรวจสุขภาพโดยการตรวจปัสสาวะหรือ
การทำอุลตราซาวน์ ผู้ป่วยอาจต้องทำการ
สลายนิ่ว ผ่าตัด หรือรับประทานยา โดยการ
รักษาจะขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของนิ่ว

3. โรคมะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยอาจ
มีอาการเหนื่อยหรือมีอาการปวดหลังหรือ
ปัสสาวะเป็นเลือด หรือตรวจพบโดยบังเอิญ
จากการตรวจอุลตราซาวน์ การผ่าตัดเอามะเร็ง
ออกเป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสมในระยะต้น
 
4. โรคเส้นเลือดฝอยที่ไตอักเสบ (glomerulonephritis)ผู้ป่วยมักมีอาการบวมตามร่างกาย
โดยเฉพาะที่หน้าและขา ผู้ป่วยอาจมีอาการ
อื่นเช่น ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะเป็นฟองเป็น
เลือด ผื่นแพ้แสง ปวดข้อ ผมร่วง หรือแผลใน
ปาก การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
การเจาะไตตรวจอาจมีประโยชน์ในการวางแผน
การรักษาและการพยากรณ์โรค

5. โรคไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure)เป็นภาวะที่มีการสูญเสียการทำงานของไตอย่าง
รวดเร็วภายใน 2-3 วัน โรคไตวายเฉียบพลัน
เกิดจากหลายสาเหตุเช่น ภาวะเลือดไปหล่อ
เลี้ยงไตน้อย เช่น หัวใจล้มเหลว ช็อก การสูญ
เสียเลือดหรือการติดเชื้อรุนแรงหลังได้รับยา
หรือสารที่เป็นพิษต่อไต

6. โรคไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure หรือ
chronic kidney disease) เกิดจากภาวะที่
ทำลายเนื้อไตอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
ในผู้ป่วยหลายคนการทำงานของไตเสื่อม
ต่อไปเรื่อยๆจนถึงขั้นไตวายระยะสุดท้าย

7. โรคอื่นๆ
อาการของโรคไตวายเรื้อรังเป็นอย่างไร
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการจนกระทั่งการทำงาน
ของไตเสียไปกว่าครึ่ง ในระยะแรกของโรคไตวายเรื้อรัง
ผู้ป่วย อาจไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อยดัง
ต่อไปนี้
imagesCA9TRA00


1. มีการเปลี่ยนแปลงของการขับปัสสาวะเช่น
ปัสสาวะตอนกลางคืนหรือปัสสาวะน้อยลง

2. ปัสสาวะมีเลือดปนหรือเป็นฟอง

3. การบวมของใบหน้าหรือขาทั้ง 2 ข้าง

4. ปัสสาวะสะดุดหรือมีก้อนนิ่วปนออกมา

5. มีความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะในกรณีที่ความ
ดันโลหิตสูงมากๆหรือผู้ป่วยมีอายุต่ำกว่า 40 ปี

6. การตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดแดงหรือ
โปรตีนรั่ว

7. การตรวจเลือดพบระดับของเสีย ยูเรีย (urea
หรือ BUN) หรือครีเอตินิน (creatinine)
สูงผิดปกติ

โดยปกติการทำงานของไตมักลดลงไปเรื่อยๆ
ตามเวลา จนผู้ป่วยมีอาการมากขึ้นตามลำดับ เมื่อการ
ทำงานของไตต่ำกว่า 30% ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนเพลีย
นอนไม่หลับ คันตามร่างกาย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
ชาปลายมือปลายเท้า อาการเหล่านี้ไม่ใช่อาการเฉพาะ
ของโรคไต เพราะอาจพบได้ในโรคอื่น เมื่อการทำงาน
ของไตเสียไปเกือบหมด หรือไตวายระยะสุดท้าย
(การทำงานของไตน้อยกว่า 10%) อาการต่างๆจะ
รุนแรงมากขึ้น มีคลื่นไส้อาเจียน หอบจนผู้ป่วยซึมลง
จนไม่รู้สึกตัวหรือเสียชีวิต ผู้ป่วยที่มีไตวายระยะสุดท้าย
จำเป็นต้องได้รับการล้างไตเพื่อลดอาการและรักษา
ชีวิตไว้ ในกรณีเช่นนี้ไตเสียหน้าที่การทำงานถาวรและ
ไม่สามารถกลับคืนมาทำงานได้อีก ดังนั้นผู้ป่วยจะต้อง
ทำการล้างไตไปตลอดชีวิตหรือจนกว่าจะได้รับการผ่าตัด
เปลี่ยนไต

ปวดหลังแปลว่าเป็นโรคไตหรือไม่
อาการปวดหลังส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากโรคไต
แต่มักเกิดจากกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณหลัง
อาการปวดหลังมักอยู่กลางหลังและมีความสัมพันธ์กับการ
ทำงานหรือนั่งนานๆ อาการปวดหลังที่เกิดจากโรคไต
มักมีอาการเตือนอื่นๆของโรคไตเช่น ปัสสาวะแสบขัด
ปัสสาวะบ่อย

สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังมีอะไรบ้างโรคไตวายเรื้อรังมีหลายสาเหตุที่พบบ่อย
ได้แก่โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือด
ฝอยที่ไตอักเสบ โรคลูปัส โรคนิ่วในไตหรือโรคไตวาย
เรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ
เมื่อเป็นโรคไตวายเรื้อรังจะทำอย่างไร
การรักษาโรคไตวายเรื้อรังมีหลักการใหญ่อยู่ 4
ประการ คือ การรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง
การรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมหน้าที่ของไต การรักษา

เพื่อป้องภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตวาย และการบำบัด
ทดแทนไต การรักษาโรคไตวายเรื้อรังนั้นนอกจากจะ
รักษาด้วยยาแล้วการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยและการ
รับประทานอาหารเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากควร
พักผ่อนให้เพียงพอ และไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
เนื่องจากโรคไตส่วนใหญ่ใช้เวลารักษานาน ผู้ป่วย
จึงไม่ควรเพิ่ม ลดหรือหยุดยาหลังไปซื้อยารับประทาน
เอง เพราะอาจส่งผลให้ไตเสื่อมสมรรถภาพเร็วกว่าที่ควร
และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ในครั้งแรกที่พบแพทย์
แพทย์จะทำการค้นหาสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังและ
ให้การรักษาที่เหมาะสมเช่น โรคนิ่วในไต แพทย์จะทำ
การผ่าตัดนิ่ว โรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะคุมความ
ดันโลหิตให้ดีและให้ยาขับปัสสาวะรักษาอาการบวม
ในโรคไตระยะแรกและระยะกลางแพทย์จะทำการรักษา
แบบประคับประคองเพื่อชะลอการเสื่อมของไต และ
ป้องกันหรือรักษาโรคแทรกซ้อน เช่น ภาวะซีด โรค
กระดูกเป็นต้น ผู้ป่วยควรจำกัดปริมาณโปรตีนในอาหาร
เพื่อลดระดับของเสียในเลือด นอกจากนี้ผู้ป่วยต้อง
รับประทานยาความดันที่สามารถชะลอการเสื่อมของไต
ผู้ป่วยต้องจำกัดอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง เช่น ผักสด
ผลไม้ และอาหารเค็ม เพื่อลดอาการบวม ผู้ป่วยอาจต้อง
รับประทานยาขับฟอสเฟตเพื่อป้องกันโรคกระดูกและ
ยารักษาความเป็นกรดในเลือด เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตมัก
มีอาการซีดจากการขาดเม็ดเลือดแดง แพทย์อาจให้
ธาตุเหล็กและให้ฉีดยาอีริโทรปอยอีติน เพื่อกระตุ้น
การสร้างเม็ดเลือดแดง หากการรักษาดังกล่าวไม่ได้
ผลหรือ ผู้ป่วยพบแพทย์ในระยะกลางของโรค หลังจาก
การทำงานของไตเหลือน้อยกว่า 30% การทำงานของ
ไตมักลดลงจนถึงขั้นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ในที่สุด
(เมื่อไตทำงานน้อยกว่า 5-10%) ในระยะนี้ผู้ป่วย
จำเป็นต้องทำการล้างไต หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต จึงมีชีวิต
อยู่ต่อไปได้

การรักษาไตวายระยะสุดท้ายมีกี่วิธี

imagesCASM5JLB

การล้างไตคือการขจัดหรือล้างของเสียที่
คั่งค้างจากภาวะไตวาย ออกจากร่างกายของผู้ป่วย การ
ล้างไตเป็นเพียงการทำงานทดแทนไตเดิมของผู้ป่วย
เท่านั้น โดยไม่ได้ทำให้ไตของผู้ป่วยดีขึ้น ดังนั้นการล้าง
ไตจึงต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
เพื่อรักษาระดับของเสียไม่ให้สูงจนเป็นอันตราย หาก
ผู้ป่วยได้รับการฟอกเลือด ได้รับยาอย่างสม่ำเสมอและ
ได้รับการดูแลรักษาที่ดี ผู้ป่วยที่อายุน้อยและไม่มีภาวะ
แทรกซ้อน อาจสามารถกลับไปทำงานได้

การล้างไตมี 2 วิธี คือการฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียม (hemodialysis) และการล้างไตทาง
ช่องท้อง (peritoneal dialysis)

1. การฟอกเลือดคือการขจัดของเสียที่คั่งค้างโดยการใช้
imagesCAWXKCV3

เครื่องไตเทียม เลือดของผู้ป่วยจะถูกดึงผ่าน
เส้นเลือดที่แขน  หรือจากสายสวนเส้นเลือด
ชั่วคราว จากนั้นเลือดของผู้ป่วยจะผ่านตัวกรอง
เลือดเพื่อฟอกให้สะอาดโดยของเสียน้ำและเกลือแร่
ส่วนเกินจะถูกกรองออกก่อน และเลือดที่สะอาดจะถูก
ส่งกลับคืนเข้าตัวผู้ป่วย ผู้ป่วยต้องทำการฟอกเลือด
สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 4-5 ชั่วโมงที่ศูนย์ไตเทียม
ที่มีพยาบาลและแพทย์เป็นผู้ดำเนินการรักษา โดยที่
ผู้ป่วยไม่ต้องทำอะไรในขณะฟอกเลือด ผู้ป่วยสามารถ
อ่านหนังสือ ดูทีวีหรือพักผ่อนนอนหลับได้ การฟอก
เลือดมีเจ็บเล็กน้อยเวลาพยาบาลลงเข็มแทงเส้นเลือด
นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีตะคริวหรือความดันต่ำได้บ้าง
ในขณะฟอกเลือด
เมื่อผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายตัดสินใจรักษา
ด้วยวิธีการฟอกเลือด ผู้ป่วยควรทำการผ่าตัดเตรียมเส้น
เลือดถาวรที่ใช้ในการฟอกเลือดล่วงหน้าก่อนที่ผู้ป่วย
จะมีอาการรุนแรง เพราะเส้นเลือดเหล่านี้ต้องใช้เวลา
นานหลายสัปดาห์จึงสามารถใช้ได้ ดังนั้นผู้ป่วยควรจะ
มีเส้นเลือดถาวรเตรียมพร้อมไว้ให้เรียบร้อย เมื่อ
เริ่มมีอาการมากขึ้น ผู้ป่วยสามารถเริ่มฟอกเลือดได้ทันที
ส่วนผู้ป่วยที่เริ่มตัดสินใจฟอกเลือดช้า เมื่อมีอาการ
รุนแรงแล้วและมีความจำเป็นต้องฟอกเลือดทันที
แพทย์อาจต้องใส่สายสวนเส้นเลือดชั่วคราวที่บริเวณ
หัวไหล่หรือคอก่อนทำเส้นเลือดถาวร
imagesCAMIF398

2. การล้างไตทางช่องท้องการล้างไตทางช่องท้องเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้
ในการขจัดของเสีย ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
โดยการใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้องของผู้ป่วย (ภาพ
ที่4) ของเสียในเลือดจะแพร่กระจายเข้าสู่น้ำยาล้างไต
หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนน้ำยาล้างไตที่มีของเสียออกแล้วใส่
น้ำยาล้างไตใหม่เข้าไปแทน ผู้ป่วยที่เลือกวิธีนี้ต้องใส่
สายยางชนิดพิเศษสำหรับใส่น้ำยาล้างไตทางช่องท้อง
ปลายสายข้างหนึ่งอยู่ในช่องท้องและปลายสายอีกข้าง
หนึ่งแทงผ่านผนังหน้าท้องออกมานอกผิวหนังของ
ผู้ป่วย ในบริเวณต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย ซึ่งผู้ป่วยสามารถ
ต่อถุงน้ำยาล้างไตเข้ากับปลายด้านนอกนี้เพื่อเป็นช่อง
ทางถ่ายน้ำยาระหว่างถุงภายนอกกับช่องท้องได้
การล้างทางช่องท้องต้องทำทุกวันๆ ละ 4-
5 ครั้ง แต่ละครั้งจะทิ้งน้ำยาไว้ในช่องท้อง 4-6 ชั่วโมง
ก่อนเทออก โดยที่ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลต้องทำเองที่บ้าน
การรักษาโดยวิธีล้างทางช่องท้องนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วย
ที่ไม่ต้องการเดินทางไปศูนย์ฟอกเลือด หรือผู้ป่วย
ที่มีความดันโลหิตต่ำจนไม่สามารถฟอกเลือดได้ ข้อเสีย
คือต้องทำเองและมีโอกาสติดเชื้อได้
images[10]

3. การผ่าตัดเปลี่ยนไต
การผ่าตัดเปลี่ยนไตคือ การผ่าตัดไต (1 ข้าง)
ของญาติที่มีชีวิตหรือของผู้บริจาคที่สมองตายแต่ไต
ยังทำงานปกติอยู่มาใส่ให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะ
สุดท้าย ไตบริจาคทำหน้าที่แทนไตของผู้ป่วยที่เสีย
หน้าที่การทำงานแล้ว ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต
ที่ประสบความสำเร็จผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอยู่ได้เหมือน
คนปกติ ส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าชีวิตหลังเปลี่ยนไต
ดีขึ้นกว่าตอนที่ล้างไต หลังเปลี่ยนไตผู้ป่วยต้อง
รับประทานยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดเพื่อป้องกันการ
ปฏิเสธไต ข้อเสียของการเปลี่ยนไตคือ ผู้ป่วยอาจต้อง
ระวังการติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากยาลดภูมิคุ้มกัน และภาวะ
แทรกซ้อนในระหว่างการผ่าตัด เช่น โรคหัวใจวาย
ดังนั้นก่อนการเปลี่ยนไตทั้งผู้ป่วยและญาติที่บริจาคไต
ต้องได้รับการประเมินโดยแพทย์อย่างละเอียด
ในปัจจุบันมียาที่สามารถรักษาโรคไตวายเรื้อรังให้หาย
ขาดได้หรือไม่

โรคไตที่เกิดจากบางสาเหตุ เช่น โรค
กรวยไตอักเสบ จะหายได้เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษา
ที่เหมาะสม ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันที่เกิดจาก
ภาวะช็อก หรือได้รับสารพิษที่เป็นพิษต่อไต จะดีขึ้นเอง
ภาพที่ 4 แมว้ า่ ผปู้ ว่ ยมคี วามจำเปน็ ตอ้ งฟอกเลอื ดกส็ ามารถหยดุ ได้
เพราะไตจะฟื้นกลับมาปกติได้ ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย
เรื้อรังหลายเดือนหรือมีไตเล็กลง การทำงานของไต
มักเสื่อมต่อไปอย่างต่อเนื่องจนถึงขึ้นไตวาย การรักษา
เป็นดังที่กล่าวไว้คือการรักษาสาเหตุของโรคไต การ
รักษาที่ชะลอการเสื่อมของไตหรือการบำบัดทดแทนไต
โดยการล้างไตหรือเปลี่ยนไต ผู้ป่วยควรเลี่ยงการใช้ยา
สมุนไพรหรือยาที่นอกเหนือคำสั่งแพทย์ เพราะยา
เหล่านี้ราคาแพงและนอกจากจะไม่มีผลดีชัดเจนแล้ว
ยังอาจทำให้ผู้ป่วยไตวายเร็วขึ้นหรือมีผลข้างเคียงอื่น
ในปัจจุบันมีวิธีป้องกันไตวายหรือไม่
ในปัจจุบันไม่มียาที่รักษาโรคไตวายเรื้อรัง
ให้หายขาดได้ การรักษาผู้ป่วยไตวายมีราคาแพง ดังนั้น
การป้องกันโรคไตวายหรือการตรวจเพื่อพบโรคไตในระยะแรก
เพื่อให้การรักษาก่อนที่การทำงานของไตจะเสื่อมไปมาก
จึงมีความสำคัญมาก การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิด
imagesCAHOGYJX

โรคไตมีดังนี้
1. การดื่มน้ำที่สะอาดให้เพียงพอและหลีกเลี่ยง
การกลั้นปัสสาวะ

2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อไตเช่น ยาแก้ปวด
(ยกเว้นยาพาราเซตามอล) เป็นเวลานาน

3. เมื่อมีประวัติครอบครัวหรือมีโรคประจำตัว เช่น
โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ควรรับ
การรักษาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอและตรวจ
การทำงานของไต จากการตรวจปัสสาวะ
และเจาะเลือดเป็นระยะ

4. การรับประทานอาหารเค็มไม่มีผลชัดเจน
ที่ทำให้เกิดภาวะไตวายในคนปกติแต่สามารถ
เพิ่มความดันในผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง
หรืออาการบวมในผู้ป่วยที่มีโรคไตอยู่แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น