เกาะยาวน้อย |
ถ้ำฤษีสวรรค์-ถ้ำลูกเสือ
อยู่ในบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ถนนเขาช้างในเขตเทศบาล ริมถนนเพชรเกษม เยื้องกับศาลากลาง จังหวัด ถ้าฤษีสวรรค์
และถ้ำลูกเสือเป็นถ้ำที่สามารถทะลุถึงกันได้ ถ้ำฤษีสวรรค์อยู่ด้านหน้าถ้ำลูกเสือ ภายในถ้ำทั้งสองเย็นสบายมีธารน้ำใส
และมีหินงอกหินย้อยสวยงามมากครับ ด้านหน้าถ้ำที่ติดริมถนนเพชรเกษม เทศบาลจัดเป็นสวนสาธารณะให้ประชาชนทั่วไปได้พักผ่อนด้วย
ถ้ำพุงช้าง
ภายใน ภูเขาช้าง สัญลักษณ์ของเมืองพังงาซึ่งรูปลักษณ์คล้ายช้างหมอบนี้ มี ถ้ำพุงช้าง ซึ่งอยู่ภายในบริเวณวัดประจิมเขต หลังศาลากลางจังหวัด
ถนนเพชรเกษม เป็นถ้ำใหญ่ที่อยู่ใจกลาง เขาช้าง ซึ่งเรียกบริเวณนี้ว่า " พุงช้าง "
ประกอบด้วยถ้ำเล็กถ้ำใหญ่มากมายและเป็นถ้ำที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
เคยเสด็จฯมาเยือน และได้ทรงลงพระปรมาภิไธยไว้ทางด้านหน้าของถ้ำ
ภายในถ้ำมีความงดงามและความมหัศจรรย์ของธรรมชาติของหินงอกหินย้อยที่มี
สภาพที่สมบูรณ์ มีสายน้ำไหลผ่านกลางถ้ำแสดงให้เห็นถึงการไหลเวียนและการ
ถ่ายเทของอากาศตลอดเวลา มีทั้งช่วงน้ำลึกและช่วงน้ำตื้น การเที่ยว ถ้ำพุงช้าง
ถือได้ว่าเป็นการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย เพราะนักท่องเที่ยวจะต้องเดินลุยน้ำ นั่งแพ
และนั่งเรือแคนนู
เพื่อเข้าไปชมหินงอกหินย้อยที่เป็นฝีมือธรรมชาติ หยดน้ำที่หยดจากติ่งปลายของหินงอกหินย้อย เมื่อกระทบกับแสงไฟฉายของเรา
ก็เกิดประกายเหมือนประกายเพชร หินงอกหินย้อยมีลักษณะของรูปคนตกปลา รูปแป๊ะยิ้ม รูปปลา โดยเฉพาะช้างหลากรูปแบบที่แปลกตา
ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นหินงอกหินย้อยรูปช้างร้อย ๆ เชือกเดินตามกันเป็นวงรอบ หินงอกรูปช้างนั่งอยู่ใต้ฉัตรภายในถ้ำ
บันไดสีทองเกิดจากหินงอกอันวิจิตรยิ่งเมื่อถูกแสงไฟจะเป็นประกายสวยงามมาก การเดินเที่ยว ถ้ำพุงช้าง ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมง
การแต่งกายควรสวมขาสั้น รองเท้าแตะที่เป็นยาง นอกจากนี้แล้ว ถ้ำพุงช้าง เป็นแหล่งที่สองของประเทศไทย ที่มีการค้นพบค้างคาวคุณกิตติ
ซึ่งเป็นค้างคาวที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก
"ถ้ำพุงช้าง" เป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่ซ่อนกายอยู่ภายในใจกลางภูเขาช้าง ที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองพังงา มีรูปลักษณ์เหมือนช้างหมอบ
ถ้ำพุงช้างนี้ถือว่าเป็นถ้ำที่ยังมีความบริสุทธ์ของธรรมชาติ และเป็นถ้ำที่มีชีวิต คือยังมีการเจริญเติบโตของพวกหินงอก หินย้อยต่างๆ อยู่มาก
และเป็นถ้ำที่มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งถ้ำ
ถ้ำแห่งนี้มีความยาวประมาณ 1,200 เมตร ใช้เวลาในการเที่ยวชมประมาณ 1.30 ชม. โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำถ้ำเป็นไกด์คอยนำทาง
ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้สนุกสนานผจญภัยไปในถ้ำพุงช้าง ด้วยพาหนะอันหลากหลาย เริ่มจากปากถ้ำจะได้นั่งเรือแคนูล่องเข้าไปภายในถ้ำ
เพื่อชมความสวยงามของหินงอก หินย้อย รูปต่างๆ บ้างก็เป็นรูปช้างยืนอยู่ บ้างก็เป็นรูปจระเข้ตัวใหญ่
และเมื่อมองขึ้นไปบนเพดานถ้ำจะได้เห็นค้างคาวอาศัยอยู่มากมาย
เมื่อนั่งเรือแคนูเข้าสู่ถ้ำด้านในช่วงหนึ่งแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะเปลี่ยนอารมณ์ด้วยการให้นั่งแพไม้ไผ่ล่องผ่านเข้าไปตามช่อง
ทางของโขดหินน้อยใหญ่ เพื่อชื่นชมกับหินที่มีลวดลายอันแปลกตาที่สวยงามน่ายล โดยมีหินที่เด่นๆอย่าง หินรูปช้างพันๆเชือกที่ก่อตัวเรียงกันเหมือน
เจดีย์ช้างเป็นตัวชูโรง
หลังจากล่องแพมาได้ระยะทางหนึ่ง ก็มาถึงไฮไลท์ที่นักท่องเที่ยวทุกคนจะได้ลงไปเดินสัมผัสกับบรรยากาศภายในถ้ำกันด้วยเท้าของตัวเอง
โดยจะเดินไปตามทางน้ำภายในถ้ำที่มีสายลมพัดผ่าน มีความเย็นและมีระดับความลึกแตกต่างกันไป ตั้งแต่สูงระดับแค่ข้อเท้าไปจนถึงสูงในระดับน่อง
ระหว่างทางที่เดินจะได้เพลินเพลินกับการประติมากรรมหินที่น่าอัศจรรย์ใจ อาทิ บ่อน้ำมนต์รูปหัวช้าง หินรูปไดโนเสาร์ รูปเต่ายักษ์ เป็นต้น
ส่วนหินยอกหินย้อยที่จัดว่าเป็นอันซีนของถ้ำพุงช้าง ก็คือ หินรูปช้างเผือกสีขาวนวล มีดวงตา มีใบหู มีขาหน้า และมีงวงยื่นออกมา
เหมือนช้างจริงๆ แถมยังมีหินสีแดงปกคลุมเฉพาะตัวช้างอีกต่างหาก เปรียบเสมือนช้างที่มีเสวตฉัตรปกคลุมอยู่เหนือเศียรของช้าง
ดูแล้วน่าทึ่งในความมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติได้รังสรรค์และหยิบยื่นความงดงามให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชม
สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)
ดอกไม้ใบยาง เกิดจากการค้นคิดสร้างงานโดยหยิบฉวยของที่หาได้ง่ายใกล้ตัว ด้วยการนำใบยางไปต้มและถูให้เยื่อใบหลุดออกจนเป็นโครงโปร่ง
นำไปย้อมสีให้สวยสดใสแล้วประดับลงในแจกันวางขาย เป็นของที่ระลึกที่เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวชาวสวนยางอีกทางหนึ่ง
การเดินทาง
เขาพุงช้าง อยู่ในเขตวัดประพาสประจิม ด้านหลังศาลากลางจังหวัดเก่า ใจกลางเมืองพังงา
ข้อมูลการติดต่อ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคใต้ เขต 4 โทร 0 7621 1036 และ ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว (Call Center) 1147
บริษัททองแท้ซีแคนนู 0 7626 4320, 0 7641 2292
ถ้ำช้าง
ถ้ำพุงช้าง อยู่ภายในบริเวณวัดประจิมเขต หลังศาลากลางจังหวัด ถนนเพชรเกษม เป็นถ้ำใหญ่ที่อยู่ใจกลางเขาช้างบริเวณที่เรียกว่า "พุงช้าง"
เป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่สร้างความยิ่งใหญ่ของหินงอกหินย้อยให้ประทับใจตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็น การเที่ยวถ้ำพุงช้าง
ถือเป็นการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย นักท่องเที่ยวจะต้องเดินลุยน้ำ นั่งแพ และนั่งเรือแคนนู เพื่อเข้าไปชมหินงอกหินย้อยที่เป็นฝีมือธรรมชาติ
หินงอกหินย้อยมีลักษณะของช้างหลากรูปแบบที่แปลกตาไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นหินงอกหินย้อยรูปช้างร้อย ๆ
เชือกเดินตามกันเป็นวงรอบ หินงอกรูปช้างนั่งอยู่ใต้ฉัตรภายในถ้ำ บันไดสีทองเกิดจากหินงอกอันวิจิตรยิ่งเมื่อถูกแสงไฟจะเป็นประกายสวยงามมาก
ที่ตั้ง
บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ
พิกัดทางภูมิศาสตร์
เส้นรุ้งที่ 17o 43' 50" เหนือ เส้นแวงที่ 102o 21' 30" ตะวันออก พิกัดกริดที่ 48 QTE 200620 ระวางที่ 5444 II
สภาพที่ตั้งและลักษณะของถ้ำ
เพิงหินห่างจากถ้ำมือแดงไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 10 เมตร
น้ำผุด
อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 2 กิโลเมตร ที่ปากถ้ำมีธารน้ำผุดขึ้นมาจากใต้พื้นดิน มีศาลเรียกว่า "ศาลเจ้าขุนทอง" อยู่หน้าปากถ้ำเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ชาวเมืองให้ความเคารพนับถือมาก
ตำนานถ้ำน้ำผุด จังหวัดพังงา
จากสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ เล่ม ๖ จัดพิมพ์เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม
พระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ได้กล่าวถึงตำนานถ้ำน้ำผุดว่า
ถ้ำน้ำผุด เป็นชื่อถ้ำและชื่อตำบล อยู่ในเขตอำเภอเมืองพังงา ห่างจากตัวเมืองพังงาไป
ทางทิศตะวันออกประมาณ ๑ กิโลเมตร มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่านานมาแล้วมีพระธุดงค์รูปหนึ่ง
ได้เดินทางมาถึงตำบลถ้ำน้ำผุด เห็นมีป่าเขาเงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จึงปักกลด ณ ที่นั้น
ในขณะที่นั่งวิปัสสนาอยู่นั้นได้ยินเสียงดังจนแผ่นดินสั่นสะเทือน เป็นเสียงที่ดังมาจากโพรงหินในภูเขา
พร้อมกับมีน้ำไหลออกมามากมาย แต่พระรูปนั้นก็ยังคงนั่งบำเพ็ญเพียรอยู่ที่เดิม
จนถึงกลางคืนดึกสงัดมีร่างของชายแก่คนหนึ่ง นุ่งขาวห่มขาวถือไม้เท้า
ผมหนวดเครายาวเดินออกมาจากถ้ำตรงมาหาพระรูปนั้นแล้วบอกว่า อย่ามาบำเพ็ญเพียรที่นี้เลย
ด้วยจะหาความสงบไม่ได้ เพราะต่อจากนี้ไป ณ ที่แห่งนี้จะเกิดสิ่งมหัศจรรย์ คือ จะมีเสียงดังจากใต้ดิน แล้วมีน้ำผุดออกมาเป็นระยะๆ
ขอให้ไปหาที่สงบอื่นเถิด
พระภิกษุนั้นรับคำ ชายชรานั้นได้ขอร้องให้ท่านช่วยบอกชาวบ้านให้สร้างศาลเจ้าขึ้นบูชา แล้วร่างนั้นก็หายไป
ต่อมาพระภิกษุก็ได้บอกชาวบ้านให้รับทราบ บางคนก็เล่าว่าเคยเห็นชายแก่ดังกล่าวเดินหายเข้าไปทางถ้ำบ่อยๆ
จึงพากันนับถือและได้สร้างศาลเจ้าขึ้นบนเนินเขาเพื่อบูชา ปัจจุบันศาลเจ้าหลังเดิมผุพังไปหมดแล้ว จึงมีผู้มีจิตศรัทธาสร้างขึ้นใหม่ในบริเวณที่มีน้ำผุด
เรียกศาลนั้นว่า “ศาลเจ้าบุนเท่าก้อง”
ปัจจุบันถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดพังงา มีลักษณะแปลกกว่าที่อื่น คือ มีน้ำผุดออกมาไม่เป็นเวลา วันละ ๑-๓ ครั้ง
เล่ากันว่า ในสมัยก่อนก่อนที่น้ำจะผุดจะมีเสียงดังจนดินสะเทือนแล้วมีน้ำไหลท้นออกมา ปัจจุบันน้ำยังคงผุดอยู่
แต่มีปริมาณน้อยลงและปราศจากเสียงดัง ชาวบ้านเชื่อว่าคนที่มีบุญเท่านั้นจะได้มาเห็นขณะที่น้ำกำลังผุด ถ้าคนไม่มีบุญก็จะไม่ผุดออกมาให้เห็น
ครั้งล่าสุดที่น้ำผุดขึ้นมาเอ่อท้นขอบบ่อเหมือนเมื่อครั้งอดีตกาล คือ เมื่อครั้งที่มีการสมโภชบ่อน้ำผุดเพื่อนำน้ำไปใช้ในพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์
เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒สุดท้ายนี้ก็ต้องขอบคุณนางสาวบุษราวดี
หมาดหลี เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำน้ำผุดที่ได้พาไปซื้อลูกจันทน์เทศอบแห้งและพาไปเยี่ยมชมถ้ำน้ำผุด สิ่งมหัศจรรย์นี้
สถานที่ท่องเที่ยวตำบลถ้ำน้ำผุด
วัดสราภิมุข(วัดสระ)
สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย-รัตนโกสินทร์ตอนต้น ในพ.ศ.2414 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จมาเมืองพังงา และได้ตั้งชื่อใหม่ว่า วัดประจิมเขต
กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2542 ตั้งอยู่ไนพื้นที่หมู่ 1 ตำบลถ้ำน้ำผุด
ถ้ำสำ
เป็นถ้ำที่มีภาพเขียนโบราณ เขียนในช่วง พ.ศ.2394-2493 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดยเป็นแหล่งศิลปะสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ถ้ำแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 3 ของตำบลถ้ำน้ำผุด
ถ้ำเขางุ้ม
อยู่ตรงข้ามทางเข้าถ้ำพุงช้าง ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงดงาม และบริเวณด้านหนึ่ง
ของถ้ำมีเปลือกหอยมากมายอัดติดอยู่กับภูเขา (ปัจจุบันแทบจะรกร้าง ขาดการดูแลรักษาไปบ้าง)
เป็นถ้ำขนาดเล็ก ไม่ลึกถ้ำพุงช้าง อยู่ภายในวัดประภาษประจิมเขต
หลังศาลากลางจังหวัดพังงาสภาพภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย สวยงาม
มีธารน้ำไหลตลอดปีการเดินทาง ห่างจากบ.ข.ส. พังงาตามถนนเพชรเกษม ระยะทางประมาณ
2 ก.ม. มีรถสองแถวผ่าน หรือห่างจากทางแยกไปภูเก็ต ระยะทาง 700 เมตร
ถ้ำฤาษีสวรรค์และถ้ำลูกเสือ อยู่ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ริมถนนเพชรเกษมเยื้องกับศาลากลางจังหวัดเป็นถ้ำที่สามารถทะลุถึงกันได้
โดยมีถ้ำฤาษีสวรรค์อยู่ด้านหน้า ภายในถ้ำมีธารน้ำใสและมีหินงอกหินย้อย ด้านหน้าถ้ำเป็นสวนสาธารณะ ถ้ำเขางุ้ม
อยู่ตรงข้ามทางเข้าถ้ำพุงช้าง ภายในมีหินงอกหินย้อยงดงาม และบริเวณด้านหนึ่งของถ้ำมีเปลือกหอยมากมายอัดติดอยู่กับภูเขาวน
อุทนยานสระนางมโนห์รา หรือธารน้ำตกสระนางมโนห์รา
ใช้เส้นทางพังงา-กระบี่ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ไป 3 กิโลเมตร แล้วแยกขวาข้างสถานีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปอีก 3 กิโลเมตร
ถึงบริเวณธารน้ำตก สภาพโดยทั่วไป เป็นป่าร่มรื่น มีธานน้ำตกที่เกิดจากลำธารไหลจากไหล่เขาตกลงสู่แอ่งใหญ่ตลอดปี
ประวัติความเป็นมา
เขางุ้มเป็นเขาขนาดย่อมตั้งอยู่ตรงข้ามกับภูเขาช้าง ตำนานเล่าว่าเป็นเขาที่คู่กับเขาช้าง คือตางุ้ม เป็นเจ้าของช้าง
คือเมื่อช้างตายตางุ้มก็กลั้นใจตายตามไปด้วย ภูเขาลูกนี้มีถ้ำใหญ่ ซึ่งกรมศิลปากรได้เข้าทำการสำรวจภายในถ้ำแห่งนี้แล้วระบุว่า
เป็นที่อยู่อาศัยและที่ฝังศพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุนับพันปีมาแล้ว
ลักษณะทั่วไป
เป็นถ้ำซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินลงไปเล็กน้อย ภายในถ้ำมีความอับชื้นพอประมาณ พื้นถ้ำไม่เรียบ ภายในถ้ำมีความมืดพอประมาณ
ต้องใช้ไฟฉายหรือแสงไฟอย่างอื่นช่วยจึงจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ชัดเจน บางแห่งมีน้ำขังอยู่ บริเวณหน้าถ้ำเป็นแนวเนินดินสูงบังปากถ้ำไว้
ที่เนินดินนั้นจะเป็นเศษเปลือกหอยทับถมกันอยู่เป็นกองแนวยาวหนาแน่นมาก ส่วนใหญ่เป็นเปลือกหอยทะเล
ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นอาหารของมนุษย์โบราณ
หลักฐานที่พบ
แหล่งนี้สำรวจพบมานานแล้วโดย พิสิฐ เจริญวงศ์ และไปรอัน พีค็อก เขางุ้มเป็นเขาหินปูนลูกเล็กๆ แต่เห็นเด่นชัดเพราะอยู่กลางเมืองพังงา
ระหว่างเขาช้างและเขาพังงาพื้นที่บางด้านของภูเขา ยังเป็นป่าชายเลน ภายในเขางุ้มมีถ้ำสวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในตัวเมืองพังงา
จุดที่สำรวจพบโบราณวัตถุนั้น เป็นเพิงผาทางด้านตะวันตกของภูเขา เพิงผาแห่งนี้มีความยาวถึง ๖๐ เมตร ด้านหน้าเพิงผาเป็นที่ทับถมของ
กองเปลือกหอยขนาดใหญ่ตามแนวยาว และถูกขุดทำลายไปมาก บางจุดลึก ๒ -๓ เมตร โบราณวัตถุที่พบกระจายอยู่ทั่วๆ
ไปบนผิวดินบริเวณที่ถูกขุด มีเครื่องมือหินกะเทาะรูปไข่ (Oval Shape)กะเทาะทั้งสองหน้า (Bifaces Tool) ทำจาากหินควอร์ตไซต์ ( Quartzite)
เครื่องมือสะเก็ดหินพบหลายชิ้น ทำจากหินปูน (Limestone) หินทราย ( Quartzitic Sandstone ) และหินเชิร์ต (Chert) นอกจากนี้ก็พบค้อนหิน
หินลับเศษภาชนะดินเผามีทั้งแบบสีดำขัดมัน (Burmished) เคลือบน้ำดินสีแดง (red-slipped) เรียบธรรมดาและมี ลายเชือกทาบ
เครื่องมือกระดูกมีลักษณะที่ด้านหนึ่งมีรอบตัดแต่งหรือฝนให้มีความคมคล้ายใบมีดชิ้นส่วนศีรษะมนุษย์ (Skull) เขาสัตว์ กระดูกสัตว์บก
กระดูกปลา (Fish Bone) ก้ามปู (Pincers) และเปลือกหอย
เส้นทางเข้าสู่สถานที่สำคัญ
เดินทางไปตามถนนเพชรเกษมถึงบริเวณหน้าศาลากลางหลังใหม่ เลยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงาไปประมาณ ๒ เมตรมีทางแยกเลี้ยวขวา
ผ่านหน้าสถานีดับเพลิง ๒ ของเทศบาลเมืองพังงาไปประมาณ ๑๕๐ - ๒๐๐ เมตร มีทางเดินท้าวเข้าไปถึงแหล่ง
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อยู่ในเขตอำเภอเมือง และอำเภอตะกั่วทุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ 250,000 ไร่ ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2524 การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ซึ่งมุ่งใต้สู่ตำบลโคกกลอยห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร
แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4144 อีก 4 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯการเข่าเรือนำเที่ยวอ่าวพังงามีสถานที่ให้เช่าหลายแห่งดังนี้
– ท่าเรือด่านศุลกากร ใกล้โรงแรมพังงาเบย์รีสอร์ท
– ท่าเรือสุระกุล หรือท่าเรือกระโสม ในอำเภอตะกั่วทุ่ง เป็นเรือหางยาว จุลำละ 6-8 คน เที่ยวละ ประมาณ 800 บาท
– ท่าเรือในบริเวณอุทยานแห่งชาติอ่างพังงา เป็นเรือหางยาวจุลำละ 8 คน
การเดินทาง
ไปชมอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาโดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ซึ่งเรือจะนำเที่ยวไปยังเกาะปันหยี
เขาพิงกัน เกาะตะปู ถ้ำลอด เกาะห้อง หรือแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในบริเวณใกล้ แล้วแต่จะตกลงกับเรือนำเที่ยว
ถ้ำซ้ำ
เป็นถ้ำเก่าแก่ขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่บ้านฝายท่า หมู่ที่ 2 ตำบลถ้ำน้ำผุด (อยู่ด้านหลังตลาด) ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองพังงา
ประมาณ 5 กม. บริเวณหน้าถ้ำมีสระน้ำที่เกิดตาม ธรรมชาติขนาดใหญ่ ส่วนภายในถ้ำมีภาพเขียนสีโบราณ อายุประมาณ
200-250 ปี เป็นภาพนก ภาพพระจีน ภาพหนังตะลุง และมีรูปสลักพระพุทธรูปที่หินบริเวณปากถ้ำ
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
ถ้ำเขางุ้ม
อยู่ตรงข้ามทางเข้าถ้ำพุงช้าง ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงดงาม และบริเวณด้านหนึ่งของถ้ำมีเปลือกหอยมากมายอัดติดอยู่กับภูเขา
วนอุทยานสระนางมโนห์รา หรือ ธารน้ำตกสระนางมโนห์รา
อยู่ในเขตตำบลนบปริง อำเภอเมือง การเดินทางไปชมธารน้ำตกสระนางมโนห์รานี้ ใช้เส้นทางพังงา-กระบี่ (ทางหลวง แผ่นดิน หมายเลข 4)
ไป 3 กิโลเมตร แล้วแยกขวาข้างสถานีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปอีก 3 กิโลเมตร ถึงบริเวณธารน้ำตก วนอุทยานสระนางมโนห์ราแห่งนี้
มีพื้นที่กว้างประมาณ 180 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าที่ร่มรื่น มีพันธุ์ไม้ต่างๆ อยู่มาก ลักษณะเด่นของวนอุทยานแห่งนี้คือ ธารน้ำตกที่เกิดจาก
ลำธารไหลจากไหล่เขาตกลงสู่แอ่งน้ำขนาดใหญ่ตลอดปี
ถ้ำซ้ำ เป็นถ้ำเก่าแก่ขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่บ้านฝายท่า ด้านหลังตลาด ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร
ที่หน้าถ้ำจะมีสระน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีภาพเขียนสีโบราณอายุ 200-250 ปี เป็นภาพนก
ภาพพระจีน ภาพหนังตะลุง และมีรูปสลักหินบริเวณปากถ้ำ
ถ้ำลอด
อยู่ในบริเวณอ่าวพังงา มีหินงอกหินย้อยบนเพดานถ้ำสวยงามมาก
การเดินทาง
รถยนต์
ท่านสามารถนำรถยนต์ส่วนตัวเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามถนนเพชรเกษม
( ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4) ไปจนถึงจังหวัดพังงา ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร
( 11 ชั่วโมง) และเดินทางมุ่งหน้าไปสู่อำเภอตะกั่วทุ่ง จนถึงทางแยก เข้าทางหลวงจังหวัด
หมายเลข 4144 ไปอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา โดยห่างจากทางแยก ประมาณ 2.5 กิโลเมตร
เครื่องบิน
ท่านสามารถเดินทางไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพ และโดยสารเครื่องบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติ จังหวัดภูเก็ต ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที
แล้วเดินทางโดยรถยนต์อีก ประมาณ 61 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง เมื่อถึงจังหวัดพังงา โดยสารรถยนต์ (รถสองแถว) สายพังงา-ท่าด่าน
ระยะทาง 9 กิโลเมตร
เรือ
ท่านสามารถเหมาเรือหรือติดต่อบริษัทนำเที่ยว ได้ที่ท่าเรือบ้านท่าด่าน อำเภอเมืองพังงา หรือท่าเรือสุระกุล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
โดยมีอัตราการจ้างเหมาเรือ ดังนี้
ผู้โดยสาร จำนวน 2 - 4 คน เป็นเงิน 800 บาท
ผู้โดยสาร จำนวน 5 - 10 คน เป็นเงิน 1,000 บาท
ผู้โดยสาร จำนวน 11 - 15 คน เป็นเงิน 1,500 บาท
รถไฟ
ท่านสามารถขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กรุงเทพฯ เดินทางไปถึงสถานีรถไฟ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
แล้วขึ้นรถโดยสารประจำทางอีกประมาณ 160 กิโลเมตร ( 3 ชั่วโมง) เดินทางไปถึงจังหวัดพังงา
รถโดยสารประจำทาง
ท่านสามารถเดินทางโดยขึ้นรถยนต์ปรับอากาศ ลิกไนท์ทัวร์ หรือ รถ บขส. เส้นทาง พังงา-กรุงเทพฯ ได้ที่สถานีขนส่งสายใต้
กรุงเทพฯ ในอัตรา 441 บาท ( สำหรับรถยนต์ 32 ที่นั่ง) และอัตรา 685 บาท (สำหรับรถยนต์ 24 ที่นั่ง) ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11 ชั่วโมง เมื่อเดินทางถึงสถานีขนส่ง จังหวัดพังงา แล้วเดินทางโดยรถประจำทาง(รถสองแถว) อีกประมาณ 9 กิโลเมตร
ในราคาประมาณ 20 บาท/คน
เขาช้าง หากเดินทางจากตัวตลาดของจังหวัดไปทางตำบลโคกกลอย ผ่านหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า มองไปทางขวามือจะเห็นภูเขาขนาดใหญ่
รูปร่างคล้ายช้างหมอบ ชาวเมืองเรียกว่า "เขาช้าง" ถือเป็นสัญญลักษณ์ของจังหวัด
ภายใน ภูเขาช้าง สัญลักษณ์ของเมืองพังงาซึ่งรูปลักษณ์คล้ายช้างหมอบนี้ มี ถ้ำพุงช้าง ซึ่งอยู่ภายในบริเวณวัดประจิมเขต หลังศาลากลางจังหวัด
ถนนเพชรเกษม เป็นถ้ำใหญ่ที่อยู่ใจกลาง เขาช้าง ซึ่งเรียกบริเวณนี้ว่า " พุงช้าง " ประกอบด้วยถ้ำเล็กถ้ำใหญ่มากมายและเป็นถ้ำที่
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เคยเสด็จฯมาเยือน และได้ทรงลงพระปรมาภิไธยไว้ทางด้านหน้าของถ้ำ
ภายในถ้ำมีความงดงามและความมหัศจรรย์ของธรรมชาติของหินงอกหินย้อยที่มีสภาพที่สมบูรณ์ มีสายน้ำไหลผ่านกลางถ้ำแสดงให้เห็นถึง
การไหลเวียนและการถ่ายเทของอากาศตลอดเวลา มีทั้งช่วงน้ำลึกและช่วงน้ำตื้น การเที่ยว ถ้ำพุงช้าง
ถือได้ว่าเป็นการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย เพราะนักท่องเที่ยวจะต้องเดินลุยน้ำ นั่งแพ และนั่งเรือแคนนู เพื่อเข้าไปชมหินงอกหินย้อยที่เป็นฝีมือธรรมชาติ
หยดน้ำที่หยดจากติ่งปลายของหินงอกหินย้อย เมื่อกระทบกับแสงไฟฉายของเรา ก็เกิดประกายเหมือนประกายเพชร
หินงอกหินย้อยมีลักษณะของรูปคนตกปลา รูปแป๊ะยิ้ม รูปปลา โดยเฉพาะช้างหลากรูปแบบที่แปลกตาไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน
ไม่ว่าจะเป็นหินงอกหินย้อยรูปช้างร้อย ๆ เชือกเดินตามกันเป็นวงรอบ หินงอกรูปช้างนั่งอยู่ใต้ฉัตรภายในถ้ำ บันไดสีทองเกิดจากหินงอก
อันวิจิตรยิ่งเมื่อถูกแสงไฟจะเป็นประกายสวยงามมาก การเดินเที่ยว ถ้ำพุงช้าง ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมง การแต่งกายควรสวมขาสั้น
รองเท้าแตะที่เป็นยาง นอกจากนี้แล้ว ถ้ำพุงช้าง เป็นแหล่งที่สองของประเทศไทย ที่มีการค้นพบค้างคาวคุณกิตติ ซึ่งเป็นค้างคาวที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก
สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)
ดอกไม้ใบยาง เกิดจากการค้นคิดสร้างงานโดยหยิบฉวยของที่หาได้ง่ายใกล้ตัว ด้วยการนำใบยางไปต้มและถูให้เยื่อใบหลุดออกจนเป็นโครงโปร่ง
นำไปย้อมสีให้สวยสดใสแล้วประดับลงในแจกันวางขาย เป็นของที่ระลึกที่เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวชาวสวนยางอีกทางหนึ่ง
การเดินทาง
เขาพุงช้าง อยู่ในเขตวัดประพาสประจิม ด้านหลังศาลากลางจังหวัดเก่า ใจกลางเมืองพังงา
ข้อมูลการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคใต้ เขต 4 โทร 0 7621 1036 และ
ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว (Call Center) 1147
วนอุทยานสระนางมโนห์รา
วนอุทยานสระนางมโนห์รา อยู่ตำบลนบปริง ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาทอยนางหงษ์ มี พื้นที่ทั้งหมด 180 ไร่
พื้นที่โดยทั่วไปเป็นภูเขาหินปูนเป็นแนวยาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทิศใต้ เป็นป่า ประเภทป่าดงดิบหรือป่าฝน
วนอุทยานฯ ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ มีลำธารไหลจากป่าต้นน้ำที่อยู่บนสันเขาผ่าน หุบเขาทั้งพื้นที่ราบ และพื้นที่ต่างระดับทำให้เกิดน้ำตกขนาดเล็ก
มีไม้ทางเศรษฐกิจคือ ไม้หลุมพอ ตะเคียน จำปาป่า สัตว์ป่า ได้แก่ เลียงผา ลิง ค่าง หมูป่า ปลาเสือ ปลาพลวงหิน ตะพาบน้ำ
ที่มาของชื่อวนอุทยาน สระ นางมโนราห์ ตามความเชื่อเล่าว่ามีนางกินรี 7 ตน บินจากเขาไกรลาศมาเล่นน้ำในสระ แล้วพรานบุญใช้
บ่วงบาศจับน้องสุดท้อง ที่ชื่อว่ามโนราห์ไว้ได้ เพื่อนำไปถวายพระสุธน ชาวบ้านจึงใช้เรียกชื่อสระนี้ สถานที่น่าสนใจภายในเขตวนอุทยานฯ
ได้แก่ น้ำตกสระนางมโนราห์ มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดกลาง และมีน้ำตกขนาด เล็กที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี
ถ้ำเปลือกหอย อยู่ห่างจากที่ทำการ 1,300 เมตร เป็นถ้ำขนาดกลางที่มีสุสาน หอยอยู่ภายใน เส้นทางเดินเป็นทางลาด เดินสบาย
ถ้ำขี้ค้างคาว อยู่ห่างจากที่ทำการ 2,300 เมตร เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่กว่าถ้ำ เปลือกหอย มีค้างคาวอาศัยอยู่จำนวนมาก
ทางเดินไม่ลาดชันสามารถเดินเที่ยวได้เอง ถ้ำแก้ว อยู่ห่างจากที่ทำการ 3 กิโลเมตร เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่กว่าถ้ำขี้ ค้างคาว
อยู่ห่างจากถ้ำขี้ค้างคาวประมาณ 1,500 เมตร ในถ้ำมีหินงอก หินย้อยสวยงาม การเดินเที่ยวถ้ำแก้วจะต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง
นอกจากนี้วนอุทยานฯ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติซึ่งมีป้ายสื่อความหมายแสดง ความเป็นอยู่ร่วมกันของพืชและสัตว์ ระยะทาง 2 กิโลเมตร
ใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวสามารถเดินได้เอง ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง ที่พัก วนอุทยานฯ ไม่มีบ้านพัก
แต่มีสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว ต้องนำเต็นท์ และเครื่องนอนพร้อมอุปกรณ์ในการพักแรมมาเอง และทางวนอุทยานฯ
มี บริการร้านอาหาร เปิดตั้งแต่เวลา 09.00 น."16.30 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ หัวหน้าวน อุทยานสระนางมโนราห์ ตำบลนบปริง
อำเภอเมือง จังหวัดพังงา 82000
ข้อมูลทั่วไป วนอุทยานสระนางมโนราห์อยู่ในท้องที่ตำบลนบปลิง อำเภอเมือง จังหวัดพังงา อยู่ในเขตป่าเขาทอย-นางหงส์ มีเนื้อที่ประมาณ 180 ไร่
กรมป่าไม้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2523
ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ค่อนข้างราบและมีเนินเตี้ยๆขึ้นไปเรื่อยจนถึงเขาทอย ซึ่งเป็นบริเวณต้นน้ำของลำธารน้ำตกสระนางมโนราห์ ดินเป็นดินลูกรัง
ธารน้ำตกสระนางมโนราห์
ธารน้ำตกสระนางมโนราห์ เป็นชื่อน้ำตกที่อยู่ในเทือกเขาทอย ซึ่งเกิดแหล่งต้นน้ำลำธารในป่าเหนือสุดของเทือกเขาทอย
คือ ป่าพรานบูรณ์ มีน้ำไหลแล้วผ่านห้วยเล็กห้วยใหญ่สู่หมู่บ้าน หมู่ที่ 3 ตำบลนบปลิง แล้วลงสู่คลองพังงา
ภูเขาสูงเสียดฟ้าภูเขาสูงเสียดฟ้า ปกคลุมด้วยป่าไม้ที่แน่นทึบ ภูมิประเทศเบื้องล่างเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติที่สวยงามมาก ลำห้วย ลำธาร
หลายสายไหลคดเคี้ยวออกจากป่าไปตามภูเขาที่ลาดลงมาเบื้องล่าง มีหน้าผาสูงชันและโขดหินที่ทำให้เกิดน้ำตก
มีสระน้ำหลายสระ น้ำใส ก้อนหินหลากสีวางเรียงราย อากาศเย็นสบายจึงเหมาะที่จะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติอย่างยิ่ง
สถานที่ติดต่อวนอุทยานสระนางมโนราห์
ต.ปริง อ. ตะกั่วป่า จ. พังงา 82110
โทรศัพท์ 0 7535 6134
การเดินทาง
รถยนต์เริ่มจากตัวเมืองจังหวัดพังงาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ไปตามทางอำเภอตะกั่วป่าประมาณ 4 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามืออีก
4 กิโลเมตรก็จะถึงวนอุทยานสระนางมโนราห์
เขาพิงกัน
เขาพิงกันเป็นชื่อเรียกตามลักษณะธรรมชาติที่พบบนเกาะพิงกันซึ่งเป็นเกาะที่ประกอบด้วยภูเขาสองลูกตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก และทิศตะวันออก
มีหาดทรายเชื่อมต่อระหว่างภูเขาทั้งสอง หน้าอ่าวด้านทิศเหนือมีเกาะตะปูตั้งอยู่ ภูเขาบนเกาะเขาพิงกันเดิมเป็นเกาะเล็กๆ สองเกาะแยกจากกั
ภายหลังมีการสะสมตัวของทรายจนตื้นเขินพ้นระดับน้ำทะเลกลายเป็นสันดอนทราย ซึ่งมีชื่อเรียกทางธรณีวิทยาว่าสันดอนเชื่อมเกาะ(Tombolo)
เชื่อมเกาะทั้งสองให้เป็นเกาะเดียวกัน คำว่า เขาพิงกัน มาจากการค้นพบว่า ที่ฐานของภูเขาด้านทิศตะวันตกมีมวลหินขนาดใหญ่ตั้งพิงอยู่
เกาะเขาพิงกันตะวันตกและเกาะเขาพิงกันตะวันออก ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยสันดอนเชื่อมเกาะ รวมทั้งเกาะตะปูซึ่งตั้งอยู่หน้าเกาะ
เป็นหินปูนเนื้อปนโดโลไมต์ (Dolomitic limestone) มีลักษณะเป็นหินปูนเนื้อแน่น(Massive) อายุยุคเพอร์เมียน (Permian)
หรือราว 295 -250 ล้านปี การเกิดเป็นลักษณะเขาที่พิงกันนั้น เกิดจากรอยเลื่อนปกติ (Normal fault) ได้ตัดผ่านภูเขาด้านตะวันตกของเกาะ
ในทิศทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมีการเอียงเทไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 76 องศา แนวรอยเลื่อนนี้เฉือนให้หิน
ปูนส่วนริมของเกาะขาดจากหินส่วนใหญ่ที่เป็นตัวเกาะ จากการศึกษารอยไถล หรือรอยครูดที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของมวลหินบนระนาบรอยเลื่อน
(Fault plane) ซึ่งปรากฏให้เห็นชัดเจนบนผิวหน้าเรียบที่มวลหินทั้งสองพิงกันนั้น พบว่ามวลหินปูนริมเกาะด้านทิศเหนือหรือส่วนที่ถูกเฉือนออก
ได้เลื่อนตัวตกลงมาตามระนาบรอยเลื่อน ต่อมาภายหลังน้ำได้กัดเซาะฐานของมวลหินด้านเหนือจนกระทั่งขาดถึงระนาบรอยเลื่อน
ทำให้มวลหินด้านเหนือหักและได้เคลื่อนตัวบิดเฉออกไปจากแนวรอยเลื่อนทำให้ได้ลักษณะมวลหินทิศเหนือพิงอยู่กับมวลหินขนาดใหญ่ด้านทิศใต้
หรือภูเขาหินปูนของเกาะเขาพิงกันตะวันตก
เขาพิงกันเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความแปลก ชวนให้พิศวง เช่นเดียวกับเกาะตะปู
ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันเป็นธรรมชาติที่ไม่พบเห็นได้บ่อยนัก จึงมีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง
การเดินทาง เดินทางไปจังหวัดพังงา จากอำเภอเมืองไปแค่ 8 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตามป้ายไปอีก 2 กิโลเมตร
ถึงที่ทำการอุทยานฯ ท่าเรือด่านศุลกากรหรือท่าด่านอยู่ไม่ไกล หรือจะมาจากภูเก็ตก็ได้
ท่าเรือมีหลายจุดแล้วแต่ทัวร์
สถานที่น่าสนใจภายในเขตอุทยานฯ ได้แก่
เกาะปันหยี
เป็นเกาะเล็ก ๆ มีที่ราบประมาณ 1ไร่ มีบ้านเรือน 200 หลังคาเรือน
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีอาชีพประมง ขายของที่ระลึก และขายอาหารให้แก่นักท่องเที่ยว มีโรงเรียน และสถานีอนามัยอยู่บนเกาะ
เกาะพนัก
เป็นเกาะที่สวยงาม มีถ้ำหินงอก หินย้อย และมีแอ่งน้ำตกขนาดเล็กเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันอยู่ในถ้ำด้วย
เขาพิงกัน
เหตุที่ชื่อนี้เพราะภูเขาหินแตกออกจากกัน หินที่เล็กกว่าเลื่อนลงมา ฐานจมลงไปในดินแยกห่างจากกัน ส่วนด้านบนยังคงพิงกันอยู่
ด้านหลังของเขาพิงกันมีทิวทัศน์ที่สวยงาม มองออกไปในทะเลจะเห็น
“เขาตะปู”
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า“เกาะเจมส์บอนด์” มีลักษณะเหมือนตะปู อยู่กลางน้ำ อุทยานฯ เก็บค่าขึ้นเขาพิงกัน ชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท
เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท เพราะเป็นเกาะที่อยู่บนหาด
เขาหมาจู อยู่ระหว่างทางผ่านที่จะไปยังเกาะปันหยี เขาหมาจู เป็นภูเขาหินมีลักษณะคล้ายรูปสุนัขแบ่งเป็นส่วนหัว ลำตัวและหางเป็นพู่
เขาเขียนหรือภาพเขียนสี เป็นทางผ่านที่จะไปยังเกาะปันหยี บริเวณหน้าผาจะมีรูปเขียนเป็นภาพสัตว์ชนิดต่าง ๆ
สันนิษฐานว่าเป็นภาพวาดโดยนักเดินเรือสมัยโบราณที่แวะมาจอดพักหลบมรสุม ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำการศึกษาว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี
ถ้ำลอด เป็นภูเขาลักษณะเกาะทะลุ ปากถ้ำกว้างประมาณ 50 เมตร สูง 40 เมตร เรือขนาดเล็กสามารถแล่นผ่านทะลุไปอีกด้านของถ้ำได้
บนเพดานถ้ำมีหินย้อยดูแปลกตา
เกาะห้อง เป็นภูเขาเล็กใหญ่สลับซับซ้อน เมื่อแล่นเรือเข้าไประหว่างเกาะ มองโดยรอบเหมือนอยู่ในห้องโถงใหญ่ที่มีประตู 2 บาน
และเป็นแหล่งปะการังที่สวยงาม
เขาหมาจู
เขาหมาจู อยู่ระหว่างเส้นทางไปเกาะปันหยี เป็นภูเขาหินปูนที่มีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเมื่อเรือแล่นผ่าน เขาหมาจู
มีลักษณะเหมือนสุนัขพันธุ์พุดเดิ้ล
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา 80 หมู่ 1 บ้านท่าด่าน ต.เกาะปันหยี อ. เมืองพังงา จ. พังงา 82000
โทรศัพท์ : 076-411136, 076-412188 โทรสาร : 076-413791
การเดินทาง
รถยนต์
ท่านสามารถนำรถยนต์ส่วนตัวเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามถนนเพชรเกษม
( ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4) ไปจนถึงจังหวัดพังงา ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร ( 11 ชั่วโมง) และเดินทางมุ่งหน้าไปสู่อำเภอตะกั่วทุ่ง
จนถึงทางแยก เข้าทางหลวงจังหวัด หมายเลข 4144 ไปอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา โดยห่างจากทางแยก ประมาณ 2.5 กิโลเมตร
เครื่องบิน
ท่านสามารถเดินทางไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพ และโดยสารเครื่องบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติ จังหวัดภูเก็ต ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที
แล้วเดินทางโดยรถยนต์อีก ประมาณ 61 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง เมื่อถึงจังหวัดพังงา
โดยสารรถยนต์ (รถสองแถว)
สายพังงา-ท่าด่าน ระยะทาง 9 กิโลเมตร
เรือ
ท่านสามารถเหมาเรือหรือติดต่อบริษัทนำเที่ยว ได้ที่ท่าเรือบ้านท่าด่าน อำเภอเมืองพังงา หรือท่าเรือสุระกุล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
โดยมีอัตราการจ้างเหมาเรือ ดังนี้
ผู้โดยสาร จำนวน 2 - 4 คน เป็นเงิน 800 บาท
ผู้โดยสาร จำนวน 5 - 10 คน เป็นเงิน 1,000 บาท
ผู้โดยสาร จำนวน 11 - 15 คน เป็นเงิน 1,500 บาท
รถไฟ
ท่านสามารถขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กรุงเทพฯ เดินทางไปถึงสถานีรถไฟ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
แล้วขึ้นรถโดยสารประจำทางอีกประมาณ 160 กิโลเมตร ( 3 ชั่วโมง) เดินทางไปถึงจังหวัดพังงา
รถโดยสารประจำทาง
ท่านสามารถเดินทางโดยขึ้นรถยนต์ปรับอากาศ ลิกไนท์ทัวร์ หรือ รถ บขส. เส้นทาง พังงา-กรุงเทพฯ ได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ กรุงเทพฯ
ในอัตรา 441 บาท ( สำหรับรถยนต์ 32 ที่นั่ง) และอัตรา 685 บาท (สำหรับรถยนต์ 24 ที่นั่ง) ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11 ชั่วโมง เมื่อเดินทางถึงสถานีขนส่ง จังหวัดพังงา แล้วเดินทางโดยรถประจำทาง(รถสองแถว) อีกประมาณ 9 กิโลเมตร ในราคาประมาณ 20 บาท/คน
เขาห้อง เป็นภูเขาเล็กใหญ่สลับซับซ้อนคล้ายหลืบของโรงละคร เมื่อแล่นเรือเข้าไปมองโดยรอบ เหมือนอยู่ในห้องโถง
ใหญ่ที่มีประตู 2 บาน นักท่องเที่ยวไม่ค่อยแวะไปเพราะว่าอยู่นอกเส้นทาง การเดิน ทางไปทัศนาจรต้องเลือก เวลาให้เหมาะกับระดับน้ำทะเลขึ้นลง
ถ้าน้ำมากก็ขาดความงามไป ถ้าน้ำน้อยก็ต้อง อาศัยเรือเล็กเข้าไป
เขาเขียน
เป็นทางผ่านที่จะไปยังเกาะปันหยี ใต้ผนังเขาลูกนี้มีรูปเขียนเป็นรูปสัตว์ขนิดต่าง ๆ กรมศิลปากรเคย มาทำการศึกษาแล้ว
ปรากฏว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี สันนิษฐานว่าเป็นภาพวาดโดยนักเดินเรือ สมัยโบราณที่แวะมาจอดพักหลบมรสุม
ที่ตั้ง
ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง
ประวัติความเป็นมา
นายเอเตียร์ เอ็ดมองต์ เลอเนต์ เดอ ลาจงกิเยร์ ได้สำรวจและรายงานไว้เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕ นายเอ เอฟ จี คาร์
นักโบราณคดีได้วินิจฉัยว่าเป็นภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์
พิกัดทางภูมิศาสตร์
เส้นรุ้งที่ 08o 20' 36" ถึง 08o 21' 26" เหนือ เส้นแวงที่ 98o 30' 21" ตะวันออก
การค้นพบ
การกล่าวถึงภาพเขียนสี ในบริเวณอ่าวพังงาที่เขาเขียนนี้ ได้มีการอ้างถึงในเอกสาร เรื่อง Eassai d' Inventaire Archeologique du Siam
โดยนายเอเตียน เอ็ดมองต์ ลูเนต์ เดอ ลาจองกิแยร ์(E.E.Lunet de Lajonquiere) ตีพิมพ์ในกรุงปารีส เมื่อปี พ.ศ. 2454
หรือเมื่อประมาณ 85 ปีมาแล้ว และต่อมาอีกหลายสิบปีกรมศิลปากรจึงได้ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลจริงจังในปี พ.ศ 2530
-สภาพที่ตั้งและลักษณะของถ้ำ
เป็นเขาหินปูนอยู่ในอ่าวพังงาใกล้เกาะปันหยี ลักษณะเป็นเพิงหินที่เว้าเข้าในเพิงผาของเขาหินปูน ภาพเขียนสีปรากฎอยู่ในรอยเว้าและตามหน้าผาของ
เพิงผาด้านทิศตะวันออกของภูเขามองเห็นได้ชัดเมื่อ นั่งเรือผ่าน
-ภาพเขียนสี
ภาพที่ปรากฎมีอยู่ด้วยกัน7 กลุ่ม กลุ่มที่มีภาพ หนาแน่นมีการเขียนซ้อนทับกัน 2- 3 ครั้ง
-ลักษณะของภาพมีหลายแบบ เป็นภาพลายเส้นแบบเค้าโครงร่างรอบนอก(outline) แบบระบายเงาทึบ (silhouette)
และแบบแสดงโครงร่างภายใน ( x-ray ) หรือแสดงโครงร่างรอบนอก แล้วตกแต่งลวดลายภายใน ภาพทั้งหมดเขียนด้วยสีแดง สีส้มและสีเหลือง
การเดินทาง
รถยนต์
ท่านสามารถนำรถยนต์ส่วนตัวเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามถนนเพชรเกษม ( ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4) ไปจนถึงจังหวัดพังงา
ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร ( 11 ชั่วโมง) และเดินทางมุ่งหน้าไปสู่อำเภอตะกั่วทุ่ง จนถึงทางแยก เข้าทางหลวงจังหวัด
หมายเลข 4144 ไปอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา โดยห่างจากทางแยก ประมาณ 2.5 กิโลเมตร
เครื่องบิน
ท่านสามารถเดินทางไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพ และโดยสารเครื่องบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติ จังหวัดภูเก็ต ใช้เวลาประมาณ
1 ชั่วโมง 15 นาที แล้วเดินทางโดยรถยนต์อีก ประมาณ 61 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง เมื่อถึงจังหวัดพังงา โดยสารรถยนต์
(รถสองแถว) สายพังงา-ท่าด่าน ระยะทาง 9 กิโลเมตร
เรือ
ท่านสามารถเหมาเรือหรือติดต่อบริษัทนำเที่ยว ได้ที่ท่าเรือบ้านท่าด่าน อำเภอเมืองพังงา หรือท่าเรือสุระกุล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
โดยมีอัตราการจ้างเหมาเรือ ดังนี้
ผู้โดยสาร จำนวน 2 - 4 คน เป็นเงิน 800 บาท
ผู้โดยสาร จำนวน 5 - 10 คน เป็นเงิน 1,000 บาท
ผู้โดยสาร จำนวน 11 - 15 คน เป็นเงิน 1,500 บาท
รถไฟ
ท่านสามารถขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กรุงเทพฯ เดินทางไปถึงสถานีรถไฟ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วขึ้นรถโดยสารประจำทางอีกประมาณ 160 กิโลเมตร ( 3 ชั่วโมง) เดินทางไปถึงจังหวัดพังงา
รถโดยสารประจำทาง
ท่านสามารถเดินทางโดยขึ้นรถยนต์ปรับอากาศ ลิกไนท์ทัวร์ หรือ รถ บขส. เส้นทาง พังงา-กรุงเทพฯ ได้ที่สถานีขนส่งสายใต้
กรุงเทพฯ ในอัตรา 441 บาท ( สำหรับรถยนต์ 32 ที่นั่ง) และอัตรา 685 บาท (สำหรับรถยนต์ 24 ที่นั่ง) ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11 ชั่วโมง เมื่อเดินทางถึงสถานีขนส่ง จังหวัดพังงา แล้วเดินทางโดยรถประจำทาง(รถสองแถว) อีกประมาณ 9 กิโลเมตร
ในราคาประมาณ 20 บาท/คน
เขาอกเมรี มีลักษณะเป็นภูเขา 2 ลูก โผล่พ้นน้ำทะเลขึ้นมา คล้ายอกหญิงสาวที่ปลายของภูเขา ลูกหนึ่งมีถ้ำนาค ผู้ไปชม ต้องขึ้นจากเรือแล้วปีนเข
าขึ้นไปประมาณ 20 เมตร ภายในถ้ำมีหินงอกก้อนหนึ่ง ลักษณะคล้ายพญานาคตัว ใหญ่ขดตัวนอนอยู่
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอเมือง อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งทะเล
มีความงดงามของทิวทัศน์ ชายฝั่ง และทิวทัศน์เหนือผิวน้ำ อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าชายเลน ประกอบด้วยเกาะทางด้านทิศตะวันออกของ
เกาะภูเก็ตประมาณ 40 เกาะ และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น เขาพิงกัน เขาตะปู ถ้ำลอด รวมทั้งหาดทรายสวยงาม
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงามีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 250,000 ไร่ หรือ 400 ตารางกิโลเมตร
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2516 พล.อ.อ.ทวี จุลทรัพย์
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ เดินทางไปตรวจราชการที่จังหวัดพังงา
นายมนัส เจริญประสิทธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ได้รายงานว่า
เห็นสมควรให้กรมป่าไม้ดำเนินการจัดสถานที่ต่างๆ ที่สวยงามของจังหวัดพังงา
เช่น ถ้ำฤาษีสวรรค์ ถ้ำลอด เกาะปันหยี เขาพิงกัน ฯลฯ เป็นวนอุทยาน โ
ดยจังหวัดพังงาได้มีหนังสือที่ พง.09/12038 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2516 ยืนยันให้กรมป่าไม้พิจารณาดำเนินการ
ซึ่งกองอุทยานแห่งชาติโดย นายไพโรจน์ สุวรรณากร หัวหน้ากองอุทยานแห่งชาติในขณะนั้น และ นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล
จึงได้ไปทำการสำรวจเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2516 ปรากฏว่า ที่ดินรอบๆ ถ้ำฤาษีสวรรค์ เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย
มอบให้เทศบาลจังหวัดพังงาเป็นผู้ดูแล และที่ประชุมสมาชิกเทศบาล เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2516 ส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบในการที่จะมอบให้
กรมป่าไม้จัดเป็นวนอุทยาน ดังนั้น กรมป่าไม้จึงได้มีหนังสือที่ กส.0708/13244 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2516 ขอรับเฉพาะถ้ำลอด
เกาะปันหยี และเขาพิงกัน มาดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2517 โดยใช้ชื่อว่า วนอุทยานศรีพังงา
อยู่ในความรับผิดชอบของป่าไม้จังหวัดพังงา
ต่อมาจังหวัดพังงา โดย นายอนันต์ สงวนนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ได้มีหนังสือด่วนมากที่ พง.อก. 19/2880 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2517
แล ะนายเชาวน์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ได้มีหนังสือด่วนมากที่ พง.อก.19/2880 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2519
ขอให้กรมป่าไม้ไปดำเนินการสำรวจเกาะแก่งต่างๆ ในบริเวณอ่าวพังงาอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2520
ป่าไม้เขตนครศรีธรรมราชและป่าไม้จังหวัดพังงา ได้แจ้งให้กองอุทยานแห่งชาติรีบดำเนินการสำรวจบริเวณอ่าวพังงาเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
เพราะมีนักท่องเที่ยวนิยมไปท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก หากดำเนินการล่าช้าอาจเป็นปัญหาต่างๆ ได้ กองอุทยานแห่งชาติจึงได้มีหนังสือที่
กส.0808/1764 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2520 เสนอกรมป่าไม้ให้ นายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจ
ปรากฏว่า สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเกาะและภูเขาหินปูนที่มีลักษณะแปลกและสวยงาม มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง
เช่น เขาพิงกัน เขาตะปู ถ้ำลอด ฯลฯ จึงดำเนินการวางโครงการอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาไว้ ตามรายงานลงวันที่ 30 มิถุนายน 2520
ในปี พ.ศ. 2522 กองอุทยานแห่งชาติจึงได้เริ่มดำเนินการจัดตั้งบริเวณอ่าวพังงาเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ
ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2523 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2523 ได้มีมติเห็นชอบกำหนดอ่าวพังงาเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกา
กำหนดบริเวณที่ดินอ่าวพังงา ในท้องที่ตำบลกระโสม ตำบลกะไหล ตำบลคลองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง
และตำบลเกาะยาวน้อย ตำบลเกาะยาวใหญ่ กิ่งอำเภอเกาะยาว อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา มีเนื้อที่ประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร เ
ป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 1-2 เล่ม 98 ตอนที่ 64 เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2524
ภายใต้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 25 ของประเทศไทย
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะโครงสร้างและธรณีสัณฐานของดินแดนภาคใต้ฝั่ง ตะวันตก เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับแนวทิวเขาแกรนิต ที่เรียกว่า ทิวเขาตะนาวศรี
และทิวเขาภูเก็ต อันเป็นเส้นกั้นพรมแดนไทย-พม่า ที่ทอดยาวไปจนถึงจังหวัดพังงา-ภูเก็ต เป็นทิวเขาที่เกิดในยุคครีตาเชียสกับยุคเทอร์เชียรีตอนต้น
อายุประมาณ 136-36 ล้านปีมาแล้ว ภูมิสัณฐานและภูมิประเทศทั่วไปของบริเวณนี้ ยังเป็นผลมาจากลักษณะโครงสร้างที่เรียกว่า รอยเลื่อน
มีชื่อทางธรณีว่า รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย และรอยเลื่อนพังงา
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหิน (รอยคดโค้ง-รอยเลื่อน) ของหินแกรนิต นำเอาแร่ธาตุที่มีค่ามาสะสมตกผลึก เช่น แร่ดีบุก ตะกั่ว วุลแฟรม
เหล็ก พลวง แมงกานีส แบไรต์ ฟลูออไรต์ และทองคำ ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของภูมิภาคนี้ นอกจากนั้นยังมีภูเขาหินตะกอน หินแปร
แทรกสลับอยู่เป็นแนว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาหินปูนซึ่งแทรกโผล่เป็นหย่อมๆ กระจายอยู่ทั่วไป ทั้งภูเขาหินปูนที่เป็นแนวเทือกเขาสลับ
ซับซ้อนหรือภูเขาหินปูนลูกโดด และยังปรากฏว่ามี ซากดึกดำบรรพ์ (ฟอสซิล) อีกการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
ดังกล่าวทำให้เกิดเป็นช่อง โพรงหรือถ้ำมากมาย
ส่วนภูเขาหินดินดานบางแห่งสลายตัวกลายเป็นหย่อมเนินเขาขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง การยุบตัวของแผ่นดินทางด้านตะวันตกทำให้เกิดเป็นชายฝั่งขรุขระ
เว้าๆ แหว่งๆ เกิดเป็นอ่าวและเกาะซึ่งเป็นภูเขาหินปูนลูกโดด กระจายอยู่ตามฝั่งมากมาย โดยเฉพาะในเขตจังหวัดพังงา
กระบี่ ตรัง และสตูล โดยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เป็นท้องทะเล พื้นทะเลเป็นดินเลน
โคลน และทราย เป็นส่วนใหญ่ มีภูเขาหินปูน โผล่อยู่กลางน้ำ กระจายทั่วบริเวณอ่าวพังงา มีลักษณะสวยงาม โดดเด่น
รูปร่างแปลกๆ มากมาย ประกอบไปด้วย เกาะน้อยใหญ่ ประมาณ 42 เกาะ เช่น เกาะเขาเต่า เกาะพระอาตเฒ่า ฯลฯ
ซึ่งแต่ละเกาะก็จะมีสภาพธรรมชาติที่แตกต่างกันไปและมีความ สวยงามเฉพาะตัว
ลักษณะภูมิอากาศ เนื่องจากภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นฝั่งทะเลเปิด จึงได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เต็มที่ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน
ทะเลมีคลื่นลมจัด ฝั่งทะเลช่วงใดที่ไม่มีเกาะกำบังจึงกลายเป็นฝั่งซึ่งมีหาดทรายชันและน้ำลึกในระยะใกล้ฝั่ง
ส่วนฝั่งทะเลช่วงที่มีเกาะกำบังลมด้านนอก หรือฝั่งตอนที่เป็นอ่าวเว้าไม่รับลมมรสุมเต็มที่ จะมีลักษณะเป็นบริเวณที่พื้นดินอ่อนเป็นโคลนเลน
มีป่าชายเลนขึ้นหนาแน่นตามขอบฝั่งและเลยลึกเข้าไปในฝั่งที่น้ำเค็มเข้าไปถึง ลักษณะเช่นนี้จะเห็นได้ชัดบริเวณอ่าวพังงา จังหวัดพังงา นี้เอง
พืชพรรณและสัตว์ป่า สังคมพืชในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
ป่าชายเลน จำแนกได้ดังนี้
ป่าชายเลนบริเวณเขาหินปูน พบว่า มีชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าชายเลนมากถึง 12 ชนิด ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก
ตะบูนขาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบ ต้นจาก ซึ่งขึ้นอยู่บริเวณริมน้ำ หรือที่ค่อนข้างเป็นดินเลนเป็นจำนวนมาก และเหงือกปลาหมอ
ส่วนปรงทะเล พบน้อยมากบริเวณที่โล่ง หรือบริเวณที่ป่าถูกทำลายเท่านั้น
ป่าชายเลนบริเวณเขาหินเซลล์และควอทไซท์ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ พบ 7 ชนิด ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนขาว เป็นต้น
สำหรับพันธุ์ไม้พื้นล่างอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ เหงือกปลาหมอ ซึ่งขึ้นอยู่หนาแน่น
ป่าชายเลนบริเวณเขาหินทราย ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในบริเวณนี้มีน้อยมาก ทั้งนี้เนื่อง จากบริเวณนี้อยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่
พันธุ์ไม้สำคัญที่พบมี 5 ชนิดได้แก่โกงกางใบเล็ก ลำแพน แสม ตะบูนขาว และฝาด นอกจากนี้มักพบเสม็ด ในบริเวณที่ติดกับป่าบกซึ่ง น้ำมีความเค็มค่อนข้างต่ำ
ป่าบก ที่พบเป็นป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ ซึ่งจัดเป็นป่าดิบชื้น จำแนกได้ดังนี้
ป่าบกที่ขึ้นบนพื้นที่เขาหินปูน พบอยู่กระจัดกระจายทั่วไป มี 2 ประเภท ได้แก่ ป่าที่ ขึ้นอยู่บนบก พื้นที่ค่อนข้างราบ และบริเวณทีเรียกว่า
Karst ซึ่งเป็นบริเวณหุบเขา ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ขี้หนอน เหรียง ตะเคียนหิน และชุมเห็ด สำหรับไม้พื้นล่าง
จะขึ้นอยู่หนาแน่น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เต่าร้าง เคย ลำเพ็ง นอกจากนี้ยังมี พวกหญ้า ปาล์ม และว่านชนิดต่างๆ อีกประเภทได้แก่
ป่าที่ขึ้นอยู่บนที่สูงค่อนข้างชื้น ของเขาหินปูน ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่มีขนาดเล็ก ค่อนข้างเตี้ย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนหิน เขากวาง เป็นต้น
ป่าบกที่ขึ้นอยู่บนพื้นที่เขาหินเชลล์ ควอทไซท์ พันธุ์ไม้ขึ้นอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ใน บริเวณที่ลุ่มตามเชิงเขาที่มีความชื้นค่อนข้าง
สูงจะพบไม้ยางนา ขึ้นอยู่กระจัดกระจาย และพบพันธุ์ไม้อื่นที่สำคัญได้แก่ มังตาล พังกา เฉียงพร้านางแอ เป็นต้น สำหรับไม้
พื้นล่างพบพวก ไผ่ป่า พังแหร หญ้า ฯลฯ
ป่าบกที่ขึ้นอยู่บนหินทราย พบบนพื้นที่ค่อนข้างลาดมีไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น ไม่ค่อยสูง นัก ไม้พื้นล่างไม่หนาแน่น อาจเป็นเพราะขาดความ
อุดมสมบูรณ์ของดิน พันธุ์ไม้ที่ สำคัญได้แก่ สตอตั๊กแตน พังกา แค เป็นต้น สำหรับไม้พื้นล่างปรากฏอยู่น้อยมากส่วน ใหญ่เป็นจำพวกหญ้า
สังคมพืชน้ำ จำแนกได้เป็น สาหร่ายสีน้ำตาล สีแดง สีเขียว นอกจากนี้ยังมีพวกหญ้าทะเล แพลงก์ตอนพืชจำนวนมากมาย
สัตว์ป่า จากการสำรวจสามารถจำแนกได้ดังนี้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากการสำรวจพบมากถึง 27 ชนิด ได้แก่ ลิงแสม ค่างแว่นถิ่นใต้ ชะนีธรรมดา เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำ ที่สำคัญได้แก่ โลมาขาว โลมาหัวขวดมาลายู โลมาหัวบาตรหลังเรียบ
นก จากการสำรวจพบนกทั้งสิ้น 120 ชนิด ที่สำคัญได้แก่ นกยางเขียว นกยางทะเล นกยางเปีย เป็นต้น
สัตว์เลื้อยคลาน พบทั้งสิ้น 26 ชนิดได้แก่ เต่าหับ กิ้งก่าบินปีกสีส้ม งูสร้อยเหลือง เป็นต้น
สัตว์สะเทิ้นสะเทิ้นบก พบ 4 ชนิด ได้แก่ กบน้ำเค็มหรือกบน้ำกร่อย กบหนอง กบนาหรือ กบเนื้อ เขียดปาด เป็นต้น
ปลา ประกอบด้วย ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาไหลทะเล ปลากระบอก ปลาปักเป้าทะเล ปลาที่อาศัยอยู่บริเวณแหล่งปะการังหลายชนิด
เช่น ปลาในสกุลปลาผีเสื้อ ปลามีค่าทาง เศรษฐกิจหลายพันธุ์ เช่นปลาในสกุลปลาทู
สัตว์ประเภทอื่น ได้แก่ สัตว์ประเภทกุ้ง หอย ปู และสัตว์ชั้นต่ำประเภทไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกปะการังอีกหลายชนิด
ได้แก่ ปะการังพุ่มไม้ ปะการังเขากวาง
เมื่อปีงบประมาณ 2517 จังหวัดพังงาได้เสนอพื้นที่บริเวณถ้ำลอด เกาะปันหยี และเขาพิงกัน ให้กรมป่าไม้ดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยาน
โดยใช้ชื่อว่า " วนอุทยานศรีพังงา " แต่ต่อมากรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณอ่าวพังงาเพื่มเติม และดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
โดยกำหนดเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 1 - 3 เล่มที่ 98 ตอนที่ 64 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2524
ภายใต้ชื่อว่า " อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา " มีเนื้อที่ประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 250,000 ไร่
ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ ที่อุดมสมบูรณ์คงสภาพธรรมชาติดั้งเดิมอยู่เป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่เขตอำเภอเมืองพังงา
เลียบตามชายฝั่ง จนถึงเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง และพื้นน้ำในท้องทะเลอันดามันมีพื้นที่กว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทั้งหมด
ซึ่งในร้อยละ 80 ของพื้นที่ประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ ประมาณ 42 เกาะ เช่น เขาเต่า เกาะพระอาดเฒ่า เกาะมะพร้าว เกาะโบยใหญ่
เกาะรายาหริ่ง เกาะพนัก เกาะห้อง เขาพิงกัน ฯลฯ
เกาะปันหยีเป็นหมู่บ้านชาวประมง ซึ่งก่อสร้างบนพื้นที่น้ำทะเลท่วมถึง บ้านถูกสร้างยกระดับให้พ้นการขึ้น- ลง ของน้ำทะเล
บริเวณหมู่บ้านอยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติ ชาวปันหยีเป็นชุมชนชาวประมงดั้งเดิม ประกอบอาชีพประมงน้ำตื้น
โดยการทำประมงอวนลอย โป๊ะ เลี้ยงหอยแครง เลี้ยงปลากระชัง ปัจจุบันเกาะปันหยีเป็นชุมชนที่รองรับนักท่องเที่ยวโดย
ได้ทำการปรับปรุงบ้านอยู่อาศัยเดิมบางส่วนเป็นร้านอาหารและจำหน่ายของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ชมวัฒนธรรมประเพณี
เขาเขียนอยู่ระหว่างเส้นทางไปเกาะปันหยี มีภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำการสำรวจศึกษา
พบว่าภาพเขียนสีเหล่านี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี ภายในภาพเขียนจะมีรูปสัตว์ชนิดต่างๆและรูปเรือ.
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ชมประวัติศาสตร์ - ล่องแพ/ล่องเรือ
เกาะพนักเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่กว่าเกาะห้อง อยู่ระหว่างเส้นทางเดินเรือ จากภูเก็ต–พังงา ประกอบด้วยถ้ำต่าง ๆ
ที่มีความสวยงาม เช่น ถ้ำค้างคาว ถ้ำโกงกาง ถ้ำไอศครีม และถ้ำปีนที่มีลักษณะเป็นทะเลใน โดยในการเข้าสู่ทะเลในต้องใช้เรือซีแคนูเพียงอย่างเดียว จึงจะเข้าไปได้ มีความลึกตั้งแต่ 50–150 เมตร
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - พายเรือแคนู/คยัค
เกาะห้อง
มีลักษณะเป็นเขาหินปูน มีหินงอกหินย้อยที่มีความสวยงาม คล้ายห้องหลายๆ ห้อง เรียงต่อกันเป็นแถว มีพันธุ์พืชและสัตว์ป่าชนิดต่างๆ
จำนวนมาก สามารถเข้าไปชมทัศนียภาพได้ โดยการจอดเรือบริเวณหน้าเกาะและใช้เรือซีแคนูเข้าไปชมบริเวณภายในถ้ำ
และรอบๆเกาะซึ่งมีความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - พายเรือแคนู/คยัค - ล่องแพ/ล่องเรือ
เกาะทะลุนอก เป็นเขาหินปูน มีถ้ำทะลุ คล้ายๆ ถ้ำลอดใหญ่ แต่มีขนาดเล็กกว่า เรือสามารถแล่นลอดผ่านได้ เช่นเดียวกับ ถ้ำลอดใหญ่
และเป็นจุดพายเรือแคนูที่มีนักท่องเที่ยวนิยมกันมากแห่งหนึ่งในอ่าวพังงา
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - พายเรือแคนู/คยัค
เขาตาปู–เขาพิงกัน
เป็นจุดที่เรือทุกลำจะจอดให้นักท่องเที่ยวแวะชมและถ่ายภาพ เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ เพราะเป็นฉากหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องเจมส์บอนด์
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
ถ้ำลอด
เป็นถ้ำขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 50 เมตร เรือสามารถลอดผ่านได้ ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม
ระหว่างการเดินทางไปยังถ้ำลอดจะผ่านป่าชายเลน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ผืนหนึ่งของประเทศไทย
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา - ล่องแพ/ล่องเรือ
เขาหมาจู
อยู่ระหว่างเส้นทางไปเกาะปันหยี เป็นภูเขาหินปูนที่มีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเมื่อเรือแล่นผ่าน เขาหมาจู
มีลักษณะเหมือนสุนัขพันธุ์พุดเดิ้ล.
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ล่องแพ/ล่องเรือ
เกาะละวะใหญ่เป็นเกาะขนาดเล็ก ซึ่งมีหาดทรายที่ขาวสะอาด สามารถเดินทางโดยเรือ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
หรือสามารถลงเรือได้ที่ท่าเทียบเรือบ้านคลองเคียน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่มีความสวยงาม
และมีร้านอาหารสวัสดิการของอุทยานฯไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว และมีปะการังน้ำตื้นอยู่โดยรอบ
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
80 ม.1 บ้านท่าด่าน ต.เกาะปันหยี อ. เมืองพังงา จ. พังงา 82000
โทรศัพท์ 0 7641 1136 โทรสาร 0 7641 3791
การเดินทาง
รถยนต์ ท่านสามารถนำรถยนต์ส่วนตัวเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4)
ไปจนถึงจังหวัดพังงา ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร (11 ชั่วโมง) และเดินทางมุ่งหน้าไปสู่อำเภอตะกั่วทุ่ง จนถึงทางแยก
เข้าทางหลวงจังหวัด หมายเลข 4144 ไปอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา โดยห่างจากทางแยก ประมาณ 2.5 กิโลเมตร
เครื่องบิน
ท่านสามารถเดินทางไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพ และโดยสารเครื่องบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติ จังหวัดภูเก็ต
ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที แล้วเดินทางโดยรถยนต์อีก ประมาณ 61 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง เมื่อถึงจังหวัดพังงา
โดยสารรถยนต์ (รถสองแถว) สายพังงา-ท่าด่าน ระยะทาง 9 กิโลเมตร
เรือ
ท่านสามารถเหมาเรือหรือติดต่อบริษัทนำเที่ยว ได้ที่ท่าเรือบ้านท่าด่าน อำเภอเมืองพังงา หรือท่าเรือสุระกุล อำเภอตะกั่วทุ่ง
จังหวัดพังงา โดยมีอัตราการจ้างเหมาเรือ ดังนี้
ผู้โดยสาร จำนวน 2 - 4 คน เป็นเงิน 800 บาท
ผู้โดยสาร จำนวน 5 - 10 คน เป็นเงิน 1,000 บาท
ผู้โดยสาร จำนวน 11 - 15 คน เป็นเงิน 1,500 บาท
รถไฟ
ท่านสามารถขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กรุงเทพฯ เดินทางไปถึงสถานีรถไฟ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
แล้วขึ้นรถโดยสารประจำทางอีกประมาณ 160 กิโลเมตร ( 3 ชั่วโมง) เดินทางไปถึงจังหวัดพังงา
รถโดยสารประจำทางท่านสามารถเดินทางโดยขึ้นรถยนต์ปรับอากาศ ลิกไนท์ทัวร์ หรือ รถ บขส. เส้นทาง พังงา-กรุงเทพฯ ได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ กรุงเทพฯ
ในอัตรา 441 บาท (สำหรับรถยนต์ 32 ที่นั่ง) และอัตรา 685 บาท (สำหรับรถยนต์ 24 ที่นั่ง) ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11 ชั่วโมง เมื่อเดินทางถึงสถานีขนส่ง จังหวัดพังงา แล้วเดินทางโดยรถประจำทาง(รถสองแถว)
อีกประมาณ 9 กิโลเมตร ในราคาประมาณ 20 บาท/คน
ที่พักแรม/บ้านพัก
มีบ้านพักไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว จำนวน 8 หลัง
สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
มีสถานที่สำหรับการกางเต็นท์บริเวณเกาะละวะใหญ่ และมีบริการให้เช่าเต็นท์ใน อัตรา ดังนี้
จำนวน 8 - 10 คน ราคา 300 บาท / คืน
จำนวน 3 -5 คน ราคา 200 บาท / คืน
จำนวน 2 คน ราคา 100 บาท / คืน
อัตราค่าธรรมเนียมในการเข้าเขตอุทยานฯ คนละ 20 บาท/วัน
บริการอาหาร
มีร้านอาหารสวัสดิการอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา บริเวณที่ทำการอุทยานฯ และบริเวณเกาะละวะใหญ่
ท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ
มีท่าเทียบเรือ จำนวน 3 แห่ง คือ บริเวณท่าเทียบเรือบ้านท่าด่าน บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อำเภอเมืองพังงา
และ บริเวณท่าเทียบเรือ สุระกุล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา โดยมีอัตราค่าโดยสารในการใช้บริการเรือนำเที่ยว ไปถ้ำลอด
เขาหมาจู เกาะปันหยี เขาทะลุ เขาพิงกัน เขาตาปู เขาเขียน ดังนี้
ราคาแบบเหมาจ่าย ไม่เกิน 12 คน 650 - 800 บาท
ราคาแบบเหมาจ่าย ไม่เกิน 15 คน 1,500 บาท
ราคาแบบเหมาจ่าย ไม่เกิน 60 คน 2,500 - 3,500 บาท
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและอาคารศูนย์ศึกษาธรรมชาติ จำนวน 1 แห่ง อยู่บริเวณ บ้านท่าด่าน
ตำบลเกาะปันหยี ซึ่งมีห้องประชุมที่สามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้จำนวน 50 คน พร้อมทั้งมีอุปกรณ์เครื่องโสต และนิทรรศการ
สำหรับบริการแก่นักท่องเที่ยว
เกาะปันหยี
เกาะปันหยีหรือบ้านกลางน้ำ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ชื่อนี้มีที่มาเนื่องจาก“โต๊ะบาบู”ผู้นำชาว
อินโดนีเซียอพยพมาเมื่อ 200 ปีก่อน เมื่อมาเจอเกาะปันหยีได้ขึ้นไปปักธงให้พรรคพวกที่อพยพมา
ด้วยกันรู้ว่าเป็นสถานที่เหมาะสมที่จะตั้งบ้านเรือน คำว่า “ปันหยี” แปลว่า “ธง” มีลักษณะเป็นหมู่บ้านที่ตั้งเรียงรายอยู่บนทะเล
มีที่ดินนิดเดียวซึ่งเอาไว้เป็นที่สร้างมัสยิดและกุโบว์ ชาวเกาะส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและสร้างหมู่บ้านแทบทั้งหมดด้านหน้า
ของหน้าผาหินปูนเหนือน้ำทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำประมงพื้นบ้านตลอดจนมีร้านขายของที่ระลึกและร้านอาหารมากมายบนเกาะ
เป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาแวะเยี่ยมชมมีสินค้าที่
ระลึกจำหน่าย เช่น ผลิตภัณฑ์จากเปลือกหอย ผ้าบาติก สร้อย กำไล แหวน ที่ทำมากจากหอยมุก และยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีก
เช่น น้ำพริกกุ้งเสียบ กะปิและเป็นจุดพักทานอาหาร นักท่องเที่ยวมักนิยมมาทานอาหารกลางวันที่เกาะปันหยี
สิ่งอำนวยความสะดวก
ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา 80 หมู่ 1 บ้านท่าด่าน ต.เกาะปันหยี อ. เมืองพังงา จ. พังงา 82000
โทรศัพท์ : 076-411136, 076-412188 โทรสาร : 076-413791
การเดินทาง
รถยนต์
ท่านสามารถนำรถยนต์ส่วนตัวเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามถนนเพชรเกษม ( ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4) ไปจนถึงจังหวัดพังงา
ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร ( 11 ชั่วโมง) และเดินทางมุ่งหน้าไปสู่อำเภอตะกั่วทุ่ง จนถึงทางแยก เข้าทางหลวงจังหวัด
หมายเลข 4144 ไปอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา โดยห่างจากทางแยก ประมาณ 2.5 กิโลเมตร
เครื่องบิน
ท่านสามารถเดินทางไปยังท่าอากาศยานกรุงเทพ และโดยสารเครื่องบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติ จังหวัดภูเก็ต ใช้เวลาประมาณ
1 ชั่วโมง 15 นาที แล้วเดินทางโดยรถยนต์อีก ประมาณ 61 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง เมื่อถึงจังหวัดพังงา โดยสารรถยนต์
(รถสองแถว) สายพังงา-ท่าด่าน ระยะทาง 9 กิโลเมตร
เรือ
ท่านสามารถเหมาเรือหรือติดต่อบริษัทนำเที่ยว ได้ที่ท่าเรือบ้านท่าด่าน อำเภอเมืองพังงา หรือท่าเรือสุระกุล อำเภอตะกั่วทุ่ง
จังหวัดพังงา โดยมีอัตราการจ้างเหมาเรือ ดังนี้
ผู้โดยสาร จำนวน 2 - 4 คน เป็นเงิน 800 บาท
ผู้โดยสาร จำนวน 5 - 10 คน เป็นเงิน 1,000 บาท
ผู้โดยสาร จำนวน 11 - 15 คน เป็นเงิน 1,500 บาท
รถไฟ
ท่านสามารถขึ้นรถไฟได้ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กรุงเทพฯ เดินทางไปถึงสถานีรถไฟ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
แล้วขึ้นรถโดยสารประจำทางอีกประมาณ 160 กิโลเมตร ( 3 ชั่วโมง) เดินทางไปถึงจังหวัดพังงา
รถโดยสารประจำทาง
ท่านสามารถเดินทางโดยขึ้นรถยนต์ปรับอากาศ ลิกไนท์ทัวร์ หรือ รถ บขส. เส้นทาง พังงา-กรุงเทพฯ ได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ กรุงเทพฯ
ในอัตรา 441 บาท ( สำหรับรถยนต์ 32 ที่นั่ง) และอัตรา 685 บาท (สำหรับรถยนต์ 24 ที่นั่ง) ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11 ชั่วโมง เมื่อเดินทางถึงสถานีขนส่ง จังหวัดพังงา แล้วเดินทางโดยรถประจำทาง(รถสองแถว) อีกประมาณ 9 กิโลเมตร
ในราคาประมาณ 20 บาท/คน
เกาะไข่
เกาะไข่ ในประเทศไทยมีอยู่หลายแห่งชื่อนั้นอาจซ้ำเพราะทุกเกาะมีลักษณะคล้ายไข่ดาวในทะเลอันดามันมีเกาะไข่อยู่สองแห่งล้วนแต่สวยงาม
คือเกาะไข่ ตะรุเตากับเกาะไข่ จ.พังงา
เกาะไข่ จ. พังงา
เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ในอ่าวพังงา มีด้วยกัน 3 เกาะคือ เกาะไข่ใน เกาะไข่นอก และเกาะไข่นุ้ย
ซึ่งปัจจจุบันเกาะที่สามารถท่องเที่ยวได้มีเพียง 2 เกาะ คือ เกาะไข่ในและเกาะไข่นอก สามารถดำน้ำดูปะการังได้ทั้งสองเกาะ
สำหรับเกาะที่นักท่องเที่ยวนิยมเที่ยวและงดงามที่สุด คือ เกาะไข่นอก
เกาะไข่นอก
เป็นเกาะเล็กๆที่มีความสวยงามด้วยโขดหิน หาดทรายขาว น้ำทะเลใส รอบเกาะสามารถดำน้ำดูปะการังหลากชนิด
มีปลาสวยงาม เกาะไข่นอกประกอบด้วย 2 หมู่เกาะ ซึ่งมีลักษณะคล้ายไข่ดาวกลางทะเล มีหาดทรายขาวบริสุทธิ์อยู่ด้านหน้าของเกาะเหมาะ
แก่การนอนอาบแดด มีสันทรายเล็กๆ เชื่อมต่อไปถึงโขดหินแห่งหนึ่งบริเวณนี้เป็นจุดที่ดีในการดำน้ำดูปะการังน้ำตื้น รอบเกาะสามารถลงเล่นน้ำได้
น้ำใส แต่ต้องคอยระวังคลื่นลมแรงบ้างเป็นบางวัน ควรลงเล่นน้ำในด้านที่คลื่นลมสงบ บนเกาะมีร้านค้าบริการอาหารและเครื่องดื่มแบบง่ายๆ
และเก้าอี้ผ้าใบเรียงรายอยู่ตลอดชายหาดไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย
เกาะไข่ใน
เป็นเกาะเล็กๆ ที่มีธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ นั่นคือ หาดทรายขาวละเอียดสะอาดตลอดชายหาดทั้งด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกของเกาะ
น้ำทะเลสวยใสน่าเล่นรอบๆเกาะมีปะการังที่สามารถดำน้ำตื้นดูง่าย เช่น ปะการังแผ่นปะการังจาน แต่ที่เด่นที่สุดคือ ฝูงปลาหลากสี
หลายชนิดที่คุ้นเคยกับนักท่องเที่ยว ถัดมาทางด้านตะวันออกของเกาะยังมีหินรูปหัวช้างและรุปเต่า 3
ตัวปะติมากรรมทางธรรมชาติที่เกิดจากการกัดกร่อนของกระแสลมนักท่องเที่ยวสามารถ
เดินรอบเกาะได้ภายใน 2 นาที มีหาดทรายขาวละเอียด ต้นไม้ร่มรื่น ไร้สิ่งปลูกสร้างใมีปะการังและฝูงปลาอยู่ในบริเวณตื้นไม่ไกลจากชายหาด
การเดินทางไปเกาะไข่ - จากภูเก็ตสามารถซื้อแพคเกจทัวร์แบบไปเช้าเย็นกลับจากอ่าวฉลอง จ.ภูเก็ต ใช้เวลาเดินทาง 20 นาที
- จากจังหวัดพังงา สามารถเหมาเรือจากท่าเรือโล๊ะจากเกาะยาวใหญ่ใช้เวลาเดินทาง 30 นาที
เกาะพนัก
เกาะพนัก เป็นเกาะที่มีชายหาดเล็กๆ แต่มีความสวยงามากๆ โดยบนเกาะนั้นมี "ถ้ำลอด" ซึ่งเป็นถ้ำทะเลที่เกิดจากแรงกัดเซาะของคลื่น
จนทะลุเป็นโพรงเข้าไปเป็นถ้ำ ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก สำหรับการเข้าไปภายในถ้ำนั้น นักท่องเที่ยวจะต้องใช้เรือแคนูลำน้อยค่อยๆ
ลอดฝ่าความมืด เข้าไปในช่วงน้ำลด จนมะลุอีกด้านของถ้ำซึ่งเป็น ทะเลสาบน้ำใสสีมรกตโอบล้อมด้วยผาสูง เสมือนดั่งเป็นสวรรน้อยๆที่มาแล้ว
ไม่อยากจะกลับออกไปเลยทีเดียว
การเดินทางโดยเรือ
จากอ่าวพังงาสามารถเช่า เหมาเรือออกไปเที่ยวที่เกาะพนักได้
การล่องแคนูจะสะดวกมากหากติดต่อบริษัททัวร์เอกชนที่ดำเนินธุรกิจประเภทนี้
อยู่โดยเฉพาะจากภูเก็ต
ช่วงเวลาที่เหมาะแก่ท่องเที่ยว
ถ้ำลอดเกาะพนักสามารถเที่ยวได้สะดวกตามฤดูกาล
คือระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม แต่การจะเข้าถ้ำได้ต้องเลือกเข้าในจังหวะเวลาน้ำลง และออกจากถ้ำก่อนเวลาน้ำขึ้น
ซึ่งต้องศึกษาตารางน้ำในแต่ละวัน
ลักษณะของสถานที่
ถ้ำลอดเกาะพนัก ถ้ำทะเลที่กำเนิดจากแรงกัดเซาะของคลื่น ทะลุทะลวงจนเป็นโพรงให้ผู้คนดั้นด้นเข้าไปค้นหา ใครจะเชื่อว่า
ด้วยเรือแคนูลำน้อยค่อยๆ ฝ่าความมืด เข้าไปในยามที่น้ำลด ทะเลสาบสีใสราวมรกตแวดล้อมด้วย ภูผาก็จะปรากฏอยู่ตรงหน้า
ราวกับมิติลี้ลับที่คืนกลับสู่โลกแห่งความเป็นจริง
ข้อมูลอาหารพื้นเมือง ( ถ้ามี )
น้ำพริกกุ้งเสียบ,ไก่คั่วกลิ้ง,แกงส้มหน่อไม้ยอดมะพร้าวใส่กุ้ง,ผักเหมียงผัดกุ้งเสียบ,กุ้งผัดมะขามเปียก,ผักเหมียงต้มกะทิ,ขนมจีนน้ำพริก
-น้ำยา-แกงไก่-แกงไตปลา
ของฝากของที่ระลึก
กะปิ, กุ้งเสียบ,อาหารทะเลแห้ง,ต่าวซ้อ,ลูกจันทน์เทศเชื่อม,รากไม้ตะบูนดำ,เม็ดมะม่วงหิมพานต์เผา,ทุเรียนกวน,สับปะรดภูเก็ต,งานหัถกรรมได้แก่
ดอกไม้ประดิษฐ์จากยางพารา และเกล็ดปลา
ข้อมูลอื่นๆ ( มีโชว์ การแสดง )
เที่ยวชมถ้ำ
สถานที่ติดต่อ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคใต้ เขต 4 โทร. 0-7621-1036, 0-7621-2213, 0-7621-7138 หรือโทร. 1672
ศาลากลางจังหวัดพังงาเก่า ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ห่างจากตัวเมือง 3.5 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปภูเก็ต สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2473
ในสมัยรัชกาลที่ 7 ครับ บนพื้นที่ 12 ไร่ 3 งาน 25.7 ตารางวา เป็นตึกชั้นเดียวทรงปั้นหยา กึ่งกลางอาคารด้านหน้าต่อเป็นมุขเปิดโล่ง
ด้านหน้าอาคารเป็นระเบียงยาวตลอดตัวอาคาร ปลายปีกอาคารทั้งสองข้างจัดเป็นห้องโถงใหญ่ เสาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
ฝาผนังก่ออิฐถือปูน พื้นอาคารเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังคาปูด้วยกระเบื้องซีเมนต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น