เมื่อพูดถึง โรคไต คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า คือ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งหมายถึง การสูญเสียการทำงานของไตไปอย่างถาวร และถ้าเข้าสู่ ระยะสุดท้าย ก็ต้องได้รับการฟอกเลือด หรือเปลี่ยนไต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ไปได้ จริงๆ แล้ว โรคไต มีอยู่หลายชนิด แต่ก่อนที่เราจะรู้จักโรคไตนั้นควรทำความรู้จักกับไตก่อน
ไต เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลือง มี 2 ข้างอยู่บริเวณบั้นเอว หน้าที่สำคัญของไต คือ
1.ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการแตกตัวของโปรตีนในอาหารออกจากร่างกาย
2.รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรอและด่างของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
3.ควบคุมความดันโลหิต
4.สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก
ไต เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ ส่วนที่ต่อจากท่อไต (URETER) ซึ่งจะนำปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เข้าสู่ท่อปัสสาวะ (URETHRA)
ในเพศชายจะมีต่อมลูกหมาก อยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ
โรคไตและระบบปัสสาวะ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.โรคที่เกิดจากการอักเสบ ในส่วนของไตที่มีหน้าที่กรอง (โกสเมอรูรัส - GLOMERULUS) หรือเกิดจากภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ได้แก่ กลุ่มอาการเนฟโฟติค (NEPHROTIC) และไตอักเสบ (NEPHRITIS)
2.โรคที่เกิดจากความผิดปกติของไต ที่เป็นท่อเล็กๆ (TUBULE) และเซลล์ที่ผยุงไตให้เป็นรูปร่าง(INTERSTIJIUM) ซึ่งเราเรียกรวมๆ ว่า โรคของ TUBULO INTERSTITIUM โรคที่พบบ่อย คือ การตายของเนื้อเยื่อที่ท่อไต (ACUTETUBULAR NECROSIS) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของ ไตวายเฉียบพลัน
3.โรคติดเชื้อ เช่น โรคติดเชื้อจากบคทีเรีย ของทางเดินปัสสาวะ
4.โรคที่เกิดจากการอุดตันทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต, นิ่ว เป็ฯต้น
5.โรคไตที่มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคถุงน้ำที่ไต
6.เนื้องอกในไต
7.โรคทางด้านร่างกาย ที่มีแนวโน้มจะทำให้ การทำงานของไตเสื่อมลง เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง
ภาวะไตวายคือ ภาวะที่มีการสูญเสียการทำงานของไต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.ไตวายเฉียบพลัน โดยช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจะเป็นชั่วโมง หรือ เป็นวันทำให้เกิดการคั่งของ ของเสียทำให้เกลือแร่ กรด ด่าง และ การควบคุม ปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ ถ้าไม่ได้รับการรัดษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่ จะมีปริมาณปัสสาวะต่อวันน้อยกว่า 400 ซีซี
สาเหตุของไตวายเฉียบพลัน มีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติ ของการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่ช๊อกจากการติดเชื้อ,
เสียเลือดจำนวนมาก หรือขาดน้ำอย่างรุนแรงจากท้องเสีย การใช้คำว่า "เฉียบพลัน" นอกจากบ่งถึง ช่วงเวลาระยะสั้นที่เกิดขึ้นแล้ว ยังบ่งถึงความเป็นไปได้
ที่ไตจะกลับสู่ภาวะปกติได้
2.ไตวายเรื้อรัง คือการสูญเสียการทำงานของไต ที่เป็นไปอย่างช้าๆ และถาวร ช่วงเวลาอาจตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึง 10 ปีขึ้นไป
จนในที่สุดเข้าสู่ภาวะสุดท้ายของไตวาย (END STAGE OF RENAL FAILURE) ซึ่งหมายถึง ภาวะที่ต้องการการรักษา แบบทดแทน
(เช่น ฟอกเลือด, เปลี่ยนไต) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้
อาการและสัญญาณบอกเหตุ ของผู้ป่วยโรคไต
1.ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งอาจเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรืออาจมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
2.มีโปรตีนหรือไขขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้ปัสสาวะที่ออกมามีฟองมาก และฟองไม่สลายตัวไปง่ายๆ (การมีฟองในปัสสาวะเล็กน้อยถือเป็นเรื่องปกติ)
3.อาการบวมรอบๆ ตาและข้อเท้า
4.อาการปวดหลัง จะปวดบริเวณบั้นเอว บางครั้งก็ร้าวที่ขาหนีบ และลูกอัณฑะ หากความเจ็บปวดเกิดขึ้น เหนือกระดูกหัวเหน่า แสดงว่า มีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ และถ้าความเจ็บปวดเกิดขึ้น พร้อมกับอาการไข้และหนาวสั่น แสดงว่ามีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนบน ท่อไตและกรวยไต สิ่งที่ต้องคำนึงไว้ คือ อาการปวดหลัง ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับไตเสมอไป เนื่องจากส่วนหลังของร่างกาย ยังมีกระดูกกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท ความเป็นจริงที่พบคือ โรคไตส่วนใหญ่ที่พบ ก็ไม่ได้มีอาการปวดหลัง
5.ปัสสาวะลำบาก สาเตุจากนิ่ว หรือต่อมลูกหมากโต
6.อาการของไตวาย ผู้ป่วยที่ไตวายไม่มากนักจะไม่ปรากฎอาการให้เห็น แต่จะทราบโดยการเจาะเลือด ตรวจดูการทำงานของไต ที่สำคัญ คือ ระดับยูเรียไนโตรเจน (BLOOD UREA NITROGEN - BUN) และระดับเครียตินิน (SERUM CREATININE) เมื่อไตวายเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยมีอาการที่เราเรียกว่า "กลุ่มอาการยูรีเมีย" ซึ่งเกิดจากการที่มีของเสียสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติ ของการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวซีด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อ่อนเพลีย คันไปทั้งตัว บวมที่ส่วนหน้าและส่วนขา ปัสสาวะบ่อยครั้งในเวลากลางคืน และเกิดหัวใจล้มเหลว
การล้างไต
ที่ใช้อยู่มี 2 วิธี คือ การล้างไตทางหน้าท้อง และการฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม เนื่องจากการล้างไต เป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก เพราะฉะนั้น กรณีผู้ป่วยยังไม่มีอาการทางยูรีเมีย เช่น ยังรู้สึกสบายดี ไม่เพลีย ไม่คลื่นไส้ สมรรถภาพหัวใจ ยังอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ และไม่มี ภาวะทุโภชนาการ แพทย์จึงดูแลแบบประคับประคองไปก่อน บางครั้งแพทย์ที่ดูแลจะใช้ผลเลือด เป็นเกณฑ์ในการแนะนำ
ให้ผู้ป่วยเข้าโปรแกรมล้างไต คือ ค่าซีรัม BUN ควรจะเกิน 100 mg/d หรือค่าซีรัมเครียตินิน ควรเกิน 9 mg/d ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรมีกาอารยูรีเมียร่วมด้วย
ข้อบ่งชี้ที่แน่นอนและชัดเจนของผู้ป่วยที่ควรเริ่มทำการล้างไต
1.ผู้ป่วยที่มีการทำงานของสมองผิดปกติ ซึมลง ไม่ค่อยรู้สึกตัว
2.มีการอักเสบของเยื้อหุ้มปอด และเยื้อหุ้มหัวใจจากยูรีเมีย
3.มีความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย เ่นมีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า แขนขาอ่อนแรง
4.มีภาวะน้ำเกินหรือหัวใจล้มเหลวบ่อยๆ
5.มีโพแทสเซียมในเลือดสูงบ่อย ๆ และไมาสามารถควบคุมได้ โดยการใช้ยา
6.มีภาวะเป็นกรดในเลือด และไม่สามารถควบคุมโดยการให้ยารักษา
ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
ไตมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ
- ขับถ่ายของเสียอันเกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน (มีมากในเนื้อสัตว์ และอาหารจำพวกถั่ว) ซึ่งของเสียประเภทนี้
- ได้แก่ ยูเรีย ครีเอตินีน กรดยูริค และสารประกอบไนโตรเจนอื่น ๆ หากของเสียประเภทนี้คั่งอยู่ในร่างกายมาก ๆ จะเกิดอาการต่างๆ
- ซึ่งทางการแพทยืเรียกภาวะดังกล่าวว่า ยูรีเมีย
- ควบคุมปริมาณน้ำ และเกลือแร่ น้ำและแร่ส่วนที่เกินควรจำเป็นจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ เกลือแร่ดังกล่าว เช่น โซเดียม โปตัสเซียม
- แคลเซียมฟอสฟอรัส เป็นต้น
- ผลิตและควบคุมการทำงานของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียม ฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้น
- หากไตมีความบกพร่องมาก ๆ ผู้ป่วยอาจมีโรคโลหิตจาง หรือกระดูกผุ เป็นต้น
หากไตมีความบกพร่องในหน้าที่ 3 ประการที่กล่าวมา การขจัดของเสียจำพวกโปรตีน น้ำ และเกลือแร่จะขาดความสมดุล ซึ่งในผู้ป่วยบางรายก็จะมีอาการบ่งชี้ แต่บางรายก็ไม่แสดงอาการ ด้วยเหตุนี้การตรวจเลือด และปัสสาวะจึงมีความสำคัญมาก
- อาหารโปรตีนต่ำ 40 กรัมโปรตีนต่อวัน ร่วมกับเสริมกรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด หรืออาหารโปรตีนสูง 60-75 กรัมโปรตีนต่อวัน
- พยายามใช้ไข่ขาว และปลาเป็นแหล่งอาหารโปรตีน
- หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์
- หลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ และกะทิ
- งดอาหารเค็ม จำกัดน้ำ
- งดผลไม้ ยกเว้นเช้าวันฟอกเลือด
- งดอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เช่น เมล็ดพืช นมสด เนย ไข่แดง
- รับประทานวิตามินบีรวม , ซี และกรดโฟลิก รับประทาน
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
โรคไตวายเรื้อรังมีหลายระยะ ระยะเริ่มแรกอาการจะน้อยมาก แต่เมื่อเป็นจนถึงระยะปานกลาง และระยะรุนแรง อาการจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการจะเพิ่มพูนจนไปถึงไตวายระยะสุดท้ายอย่างรวดเร็ว ซึ่งการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายนั้น นอกจากผู้ป่วยจะได้รับความทุกข์ทรมานแล้ว ยังเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ดังนั้นจึงควรชะลอการดำเนินของโรคไตวายเรื้อรังด้วยการควบคุมอาหาร
อาหารจำกัดโซเดียม
ใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการบวม ถ่ายปัสสาวะน้อย หัวใจวาย น้ำท่วมปอด หรือมีความดันโลหิตสูง เมื่อสั่งให้ "กินอาหารจำกัดโซเดียม" หมายความว่าจะต้องงดอาหารที่มีโซเดียมมาก
อาหารที่มีโซเดียมมาก ได้แก่ อาหารที่มีรสเค็ม เพราะมีโซเดียมคลอไรด์ ( เกลือ) มาก เช่น
•เกลือป่น เกลือเม็ด
•น้ำปลา น้ำบูดู ซอสหอย ซอสเนื้อ ซอสถั่ว ซีอิ๊ว
•ซอสที่มีรสอื่นนำ มีรสเค็มแผง เช่น ซอสพริก (มีรสเปรี้ยว และเผ็ดนำ ความจริงมีรสเค็มด้วย) ซอสมะเขือเทศ ซอสรสเปรี้ยว ๆ เป็นต้น
•อาหารดองเค็ม เช่น เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง กะปิ ผักดองเค็ม ผลไม้ดองเค็ม
•อาหารดองเปรี้ยว เช่น หลาเจ่า แหนม ไส้กรอกอีสาน หัวหอมดอง หน่อไม้ดอง ผัดกาดเขียวดองเปรียว ผักดองสามรส กระเทียมดองสามรส เป็นต้น
•อาหารที่มีรสหวาน และเค็มจัด เช่น ปลาหวาน กุ้งหวาน หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง ผลไม้แช่อิ่ม เป็นต้น
อาหารจำกัดโปแตสเซียม
การจัดอาหารให้มีโปแตสเซียมน้อย กระทำได้ยากกว่าการจัดให้มีโซเดียมน้อย เพราะธาติโปแตสเซียมมีในอาหารทั่วไปทั้งสัตว์
และพืชต่างจากโซเดียม ซึ่งมีมากแต่ในสัตว์ (เช่น เนื้อ นม ไข่) อาหารที่มีโปแตสเซียมมาก คือ
- พวกเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เครื่องในสัตว์ ไข่ และนม
- พวกผัก ได้แก่ หัวผักกาดสีแสด ผักชี ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ถั่วดำ และถั่วปากอ้า มีมากเป็นพิเศษ
- พวกผลไม้ ได้แก่ กล้วย ส้ม และน้ำส้มคั้น แตงโม แตงหอม มะละกอ ลูกท้อ
- ผลไม้แห้งทุกชนิด เช่น ลูกเกด ลูกพรุน
- เบ็ดเตล็ด กากน้ำตาล ช็อกโกแล็ต มะพร้าวขูด
อาหารจำกัดโปรตีน มีประโยชน์อย่างไร
อาหารจำกัดโปรตีนจะช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของไต และช่วยลดระดับของเสียที่คั่งอยู่ในร่างกายผู้ป่วย ทำให้อาการบางอย่างของโรคไตวายลดลง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีแผลในปาก เป็นต้น
อาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ (ทั้งเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อปลา) เครื่องในสัตว์ ไข่ นม และถั่ว
คำว่า "จำกัด" ในที่นี้หมายถึง ให้รับประทานแต่น้อย แต่ไม่ได้ห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด คือให้รับประทานได้วันละ 20-25 กรัม นั่นคือ เนื้อสัตว์ประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ หรือหมูย่างประมาณ 4 ไม้
การจำกัดโปรตีนไม่ให้เกิน 20-25 กรัมต่อวัน ต้องใช้ควบคู่กับการรับประทาน คู่เหมือนของกรดอะมิโนจำเป็น (KETOANALOGUE OF ESSENTIAL AMINO ACID, KA) หรือกรดอะมิโนจำเป็น (ESSENTIAL AMINO ACID) เสริมในปริมาณที่แพทย์แนะนำ ห้ามผู้ป่วยนำไปใช้เองโดยไม่มีการรับประทาน EAA หรือ KA เสริม
เงื่อนไขในการจำกัดอาหารโปรตีน
ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในระยะเริ่มแรก ถึงระยะรุนแรง ( คือผู้ป่วยที่มีค่าความเข้มข้นของครีเอตินีนในเซรุ่มประมาณ 2-8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) เท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตวาย (HEMODIALYSIS) หรือวิธีล้างไตทางช่องท้อง (PERITONEAL DIALYSIS) การจำกัดปริมาณน้ำ
หากผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรง จะต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวันให้เหมาะสม ตามวิธีการคำนวณง่ายๆ คือ ปริมาณน้ำดื่มแต่ละวัน = ปริมาณปัสสาวะของเมื่อวาน + 500 มิลลิลิตร
อาการเริ่มแรกที่บ่งชี้ว่าอาจเป็นโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ อาการบวมที่หน้าหรือเท้า ปัสสาวะเป็นสีคล้ำ สีน้ำล้างเนื้อ หรือเป็นเลือด ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในเวลากลางคืนถ่ายปัสสาวะมากกว่า 3 ครั้ง ปวดบริเวณหลัง ชายโครง ปวดหรือเวียนศีรษะ เมื่อมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์ การรักษาโรคไตนั้นนอกจากจะรักษาด้วยยาแล้ว การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย และเรื่องอาหารเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโรคไตส่วนใหญ่ใช้เวลารักษานาน ผู้ป่วยจึงไม่ควรเพิ่ม ลด หยุดยา หรือไปซื้อยารับประทานเอง อาจเป็นอันตรายได้
ความผิดปกติของไตในผู้ป่วยเบาหวาน
โรคไตเป็นสาเหตุความเจ็บป่วย และสาเหตุการตายที่สำคัญ ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน โดย 30-35 % ของผู้ป่วย จะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งต้องทำการรักษาต่อด้วยวิธีไตเทียมหรือด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนไตที่เรียกเป็นทางการว่าการปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยเบาหวานที่มีความผิดปกติของไตในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่จะตรวจพบโปรตีนไข่ขาวในปัสสาวะ เมื่อมีการเสื่อมของไตมากขึ้นซึ่งต้องใช้เวลาอีก 4-7 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงจนไตเสียหน้าที่ มีการสะสมการคั่งของของเสียภายในร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการบวมร่วมด้วยหลังจากระยะนี้อีกประมาณ 1-2 ปี จะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังขึ้น สำหรับหลักทั่วไปในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต หรือไม่ให้ไตเสื่อมเร็วเกินไป สรุปได้ดังนี้
1.เมื่อทราบว่าเป็นเบาหวาน ต้องพยายามรักษาระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด เพื่อทำให้ไตยังทำหน้าที่ได้ดีเหมือนเดิม
2.ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
3. ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ , เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาหารโปรตีนสูง
5. ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
6.เมื่อจำเป็นต้องใช้ยา ควรหลีกเลี่ยงยาที่มีผลทำให้ไตเสื่อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น