วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย

 

ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้ง เหนือสุดของทวีปแอฟริกา

ทิศเหนือ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับไนเจอร์ ทิศใต้ติดกับชาดและซูดาน

ทิศตะวันออก ติดกับอียิปต์

ทิศตะวันตก ติดกับตูนิเซียและแอลจีเรีย

พื้นที่ 1,759,540 ตารางกิโลเมตร


ภูมิอากาศ โดยทั่วไปมีอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทราย อุณหภูมิเฉลี่ย 20-30 องศาเซลเซียส ด้านเหนือสุดมีอากาศเย็นคล้ายคลึงกับภูมิภาคแถบทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ขณะที่บริเวณตอนกลางด้านในประเทศมีอากาศร้อนแบบทะเลทราย

เมืองหลวง ตริโปลี (Tripoli)

ประชากร 6.2 ล้านคน (ปี 2550)

ศาสนา ร้อยละ 97 ของประชากร นับถือศาสนาอิสลาม ฝ่ายสุหนี่ สำนักมาลิกี นอกนั้น นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก และนิกายอื่นๆ

ภาษา ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ มีการใช้ภาษาต่างประเทศ ได้แก่ อิตาลี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ในเมืองใหญ่ต่างๆ ด้วย

วันชาติ 1 กันยายน (วันที่ พอ.กัดดาฟียึดอำนาจจากกษัตริย์ ลิเบียในปี 2512 (ค.ศ. 1969)

หน่วยเงินตรา ลิเบียดินาร์ (LYD) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 1.34 ดีนาร์ หรือ 1 ลิเบียดินาร์ เท่ากับ 27.49 บาท (เมษายน 2551)

ประมุข Colonel Muammar Abu Minyar Al Gaddafi (Leader of the Great Al-Fateh Revolution)

นรม. H.E. Mr. Al-Baghdadi Ali al-Mahmudi

รมว.กต. H.E. Mr. Abdulrahman Mohammed Shalgam

เว็บไซต์ทางการ http://www.gpc.gov.ly/



imagesCAGG7Z0K


ประวัติศาสตร์โดยสังเขป

การเมืองการปกครอง

ลิเบีย อยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง เช่น เคยอยู่ภายใต้กรีก อาณาจักรโรมัน อาณาจักรไบแซนไตน์ อาณาจักรออตโตมาน และท้ายสุด ตั้งแต่ปี 2454 ลิเบียอยู่ภายใต้การปกครองของอิตาลี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2492 สมัชชาใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติจึงได้มีข้อมติให้ ลิเบีย ได้รับเอกราชจาก อิตาลี ทั้งนี้ กษัตริย์ Idris ซึ่งเป็นผู้นำในการต่อต้านการปกครองของอิตาลี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นผู้นำในการเจรจาจนนำไปสู่การประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2494 ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ และต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2512 กลุ่มนายทหารนำโดยพันเอกกัดดาฟี ได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากกษัตริย์ Idris และขึ้นเป็นผู้นำประเทศสืบมาจนปัจจุบัน

นับแต่พันเอกกัดดาฟี ขึ้นปกครองประเทศ ได้ดำเนินนโยบายตามแนวทางการเมืองของตนซึ่งเรียกว่า ทฤษฎีสากลที่ 3 (Third Universal Theory) อันเป็นการผสมผสานระหว่างแนวทางสังคมนิยมกับแนวคิดของศาสนาอิสลาม รวมทั้งดำเนินแนวทางต่อต้านชาติตะวันตก เช่น การปิดสำนักงานของสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรในลิเบีย การผลักดันให้สหรัฐฯ และอังกฤษถอนทหารที่ประจำอยู่ในลิเบียออกนอกประเทศ และการเวนคืนกิจการน้ำมันของชาติตะวันตก เป็นต้น ขณะเดียวกัน ลิเบียได้ขยายความร่วมมือกับสหภาพโซเวียต ในด้านการเมือง การทหาร และการซื้ออาวุธ

ลิเบีย เคยถูกเพ่งเล็งว่าให้การสนับสนุนการก่อการร้าย โดยเฉพาะแก่กลุ่มต่างๆ ของปาเลสไตน์ เมื่อปี 2512 สหรัฐอเมริกา ได้บรรจุลิเบียไว้ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย (state sponsor of terrorism) ทั้งนี้ เหตุการณ์ก่อการร้ายที่สำคัญ ซึ่งลิเบียถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ การก่อวินาศกรรมโดยกลุ่มปาเลสไตน์ที่กรุงโรมและกรุงเวียนนาเมื่อปี 2528 และการก่อวินาศกรรมสถานบันเทิง La Belle ที่กรุงเบอร์ลินเมื่อปี 2529 เป็นผลให้สหรัฐอเมริกาใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ และทางทหารกดดันลิเบียให้ยุติ การสนับสนุนการก่อการร้าย และประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ได้สั่งการให้กองเรือรบสหรัฐอเมริกา เข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนเกิดการปะทะกับฝ่ายลิเบีย 2 ครั้ง ในเดือนมีนาคมและเมษายน 2529 พร้อมทั้งได้ส่งเครื่องบินรบเข้าทิ้งระเบิดกรุงตริโปลี และเมืองเบงกาซีด้วย ลิเบียถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมเครื่องบิน 2 ครั้ง ได้แก่ การวางระเบิดเครื่องบิน Pan Am เที่ยวบินที่ 103 เหนือเมือง Lockerbie ของสก็อตแลนด์ในปี 2531 และการวางระเบิดสายการบิน UTA เที่ยวบินที่ 772 ของฝรั่งเศสที่ไนเจอร์ในปี 2532 แต่ลิเบียปฏิเสธที่จะส่งตัวผู้ต้องสงสัยชาวลิเบียให้แก่สหรัฐอเมริกาและสห ราชอาณาจักร ทำให้ต่อมาในปี 2535 และ 2536 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 748 (1992) และ 883 (1993) คว่ำบาตรลิเบีย ซึ่งมีมาตรการต่างๆ รวมทั้ง การอายัดทรัพย์ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจของลิเบียในต่างประเทศ การห้ามการขายเครื่องบินและยุทธภัณฑ์แก่ลิเบีย การห้ามส่งอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่ใช้ในการขนส่งและกลั่นน้ำมันแก่ลิเบีย และการเรียกร้องให้นานาประเทศลดระดับและจำนวนผู้แทนทางการทูตในลิเบีย ในส่วนของสหรัฐอเมริกานั้น ได้ออกกฎหมาย Iran-Libya Sanctions Act หรือ D' Amato Act ในปี 2539 ห้ามบริษัทต่างประเทศลงทุนในภาคน้ำมันในลิเบียในโครงการมูลค่าเกิน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลให้ลิเบียประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และหันไปใช้แนวทางโดดเดี่ยวตนเองจากประชาคมระหว่างประเทศ ลิเบีย เริ่มปรับเปลี่ยนแนวทางการเมืองของตนในปี 2546 โดยได้ยินยอมมอบตัวนาย Abdelbaset Ali Mohamed al-Megrahi และนาย Al Amin Khalifa Fhimah ผู้ต้องสงสัยชาวลิเบียในคดี Lockerbie ไปขึ้นศาลที่เนเธอร์แลนด์ และเมื่อศาลได้ตัดสินจำคุกตลอดชีวิตนาย Megrahi แล้ว (นาย Fhimah ถูกตัดสินให้พ้นผิด) ลิเบียได้แสดงความรับผิดชอบโดยจ่ายเงินสินไหมทดแทนแก่ญาติของผู้เสียชีวิต รวมเป็นเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลให้ลิเบียเริ่มได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมากขึ้น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรลิเบียเมื่อ เดือนกันยายน 2546 ต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 พันเอกกัดดาฟี ได้ประกาศยุติโครงการพัฒนาอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction - WMD) และประกาศจะปฏิบัติตามสนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty) และอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพ (Biological Weapons Convention) พร้อมทั้งยินดีที่จะให้ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency - IAEA) เข้าไปตรวจสอบ รวมทั้งการประกาศต่อต้านการก่อการร้ายและให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ทำให้หลายประเทศในยุโรปรวมทั้งอิตาลีและสหราชอาณาจักรหันไปฟื้นฟูความ สัมพันธ์กับลิเบีย ในขณะที่สหรัฐอเมริกา ได้ยกเลิกการใช้มาตรการตามกฎหมาย D' Amato Act ต่อลิเบียในปี 2547 และถอนชื่อลิเบียออกจากรายชื่อประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 สหรัฐฯ ยังได้ยกระดับสำนักงานประสานงาน (Liasison Office) ของสหรัฐฯ ในลิเบีย ขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูต ขณะที่ลิเบียก็ได้ยกระดับสำนักงานประสานงานของตนในกรุงวอชิงตันขึ้นเป็นสถาน เอกอัครราชทูตประจำสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2549

imagesCAZZDZZ7


                                                            รูปแบบการปกครอง

อำนาจนิยม พันเอกกัดดาฟี (Colonel Mu'ammar Abu Minyar Al-Qadhafi) มีสถานะเป็นผู้นำการปฏิวัติ (Revolutionary Leader) เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ มีคณะกรรมการปฏิวัติ (Revolutionary Committee) และคณะมนตรีปฏิวัติ (Revolutionary Command Council) เป็นกลไกช่วยในการกำหนดนโยบาย มีสภาประชาชน (National General People's Congress) ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ และเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิก National General People's Committee (คณะรัฐมนตรี) ทำหน้าที่ด้านการบริหารราชการ

 




imagesCA389E97



                                                              ทางด้านเศรษฐกิจ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
58.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550)

รายได้ประชาชาติต่อหัว
9,445 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550)

การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ
ร้อยละ 5.4 (ปี 2550)

ปริมาณน้ำมันสำรอง
39.13 พันล้านบาร์เรล

ผลิตน้ำมัน
1.72 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ทรัพยากร
น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เหล็ก โปตัสเซียม

อุตสาหกรรม
การผลิตและกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมี สิ่งทอ การผลิตอาหาร และซีเมนต์

สินค้านำเข้าสำคัญ
เครื่องจักร อาหาร สินค้าอุปโภค

สินค้าส่งออกสำคัญ
น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เคมีภัณฑ์

ตลาดนำเข้าสำคัญ
อิตาลี เยอรมัน ตูนีเซีย อังกฤษ

ตลาดส่งออกสำคัญ
อิตาลี เยอรมนี สเปน ตุรกี

 

imagesCA18IBRCลิเบีย เป็นประเทศที่นับได้ว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจดี ที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกาเหนือ เศรษฐกิจของลิเบียขึ้นอยู่กับภาคพลังงาน ได้แก่ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ในปี 2549 มีปริมาณการผลิตน้ำมันวันละ 1.72 ล้านบาร์เรล (ลิเบียตั้งเป้าหมายจะผลิตน้ำมันให้ได้วันละ 3 ล้านบาร์เรลภายในปี 2553) การส่งออกน้ำมันคิดเป็นร้อยละ 95 ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมด หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของ GDP เศรษฐกิจภาคพลังงานมีแนวโน้มเติบโตสูง โดยเฉพาะหลังจากที่

สหประชาชาติได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อ ลิเบียในปี 2546 และหลังจากที่สหรัฐอเมริกายกเลิกการคว่ำบาตรต่อลิเบียในปี 2547 บริษัทน้ำมันต่างประเทศ เช่น บริษัท Occidental และกลุ่มบริษัท OASIS ของสหรัฐอเมริกา บริษัทของสหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ ได้เข้าไปรับสัมปทานการสำรวจและผลิตน้ำมันในลิเบีย นอกจากนี้ ลิเบียยังต้องการให้บริษัทต่างประเทศเข้าไปลงทุนในโครงการสำรวจและผลิตก๊าซ ธรรมชาติ และการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งโครงการขนาดใหญ่ด้านนี้ ได้แก่ Western Libya Gas Project มูลค่าการลงทุน 5,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยร่วมลงทุนกับบริษัท Eni ของอิตาลี ทั้งนี้ บริษัท ปตท. สผ. (มหาชน) จำกัดได้เข้าแข่งขันการประกวดราคา เพื่อขอรับสัมปทานแปลงสำรวจในลิเบียด้วย แต่ไม่ชนะการประกวดราคา

นับแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา ลิเบียได้พยายามใช้แผนการพัฒนาที่มุ่งขยายฐานทางเศรษฐกิจ (diversification) เพื่อลดการพึ่งพาภาคน้ำมัน รวมทั้งส่งเสริมภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมการผลิต (manufacturing) แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ปัจจุบันลิเบียยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภคจากต่างประเทศ

นับแต่ปี 2533 เป็นต้นมา เมื่อรัฐบาลมีรายได้จากภาคน้ำมันมากขึ้น ได้ให้ความสนใจการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ น้อยลง และมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (infrastructure)

นอกจากนั้น ยังมีนโยบายส่งเสริมระบบตลาดเสรี โดยมีแผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ ทั้งนี้ โครงการด้านเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ โครงการแม่น้ำเทียม (Great Man-made River Project) ความยาว 3,000 กิโลเมตร เพื่อนำน้ำจากแอ่งน้ำจากภาคใต้ของประเทศ ไปยังแหล่งเกษตรกรรมในภาคเหนือ โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2527 ขณะนี้ใช้งบประมาณดำเนินการแล้ว 32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ลิเบียยังต้องการการลงทุนจากต่างประเทศในด้านอุตสาหกรรมหนัก การผลิตกระแสไฟฟ้าและการกลั่นน้ำจากน้ำทะเล (Desalination) และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งลิเบียมีศักยภาพที่จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ทางโบราณคดี การท่องเที่ยวทางทะเล และ ทะเลทราย

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ลิเบียได้สมัครเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) และได้เริ่มปรับปรุงกฎและระเบียบทางเศรษฐกิจ การค้า ตามหลักเกณฑ์ของ WTO เช่น มาตรการด้านภาษี และการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมทั้งมีแนวนโยบายส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาท และส่วนร่วมในกิจกรรมทาง เศรษฐกิจมากขึ้น

ข้อมูล และข้อเสนอการค้า และการลงทุนในลิเบีย


imagesCAE61PHI
1. ภาพรวมเกี่ยวกับประเทศลิเบีย ลิเบีย มีพื้นที่ 1,759,540 ตร.กม.มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน 2,000 กม. มีประชากรประมาณ 6,310,434 ล้านคนผลิดน้ำมันรายใหญ่อันดับที่ 17 ของโลก มีนำมันสำรองเป็นอันดับที่ 8 ของโลก นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969 ที่ผู้นำกัดดาฟีปฏิวัติลิเบียปกครองปท. แบบสังคมนิยม การบริหารปท. ของผู้นำลิเบียมุ่งเน้นที่จะ สร้างเสถียรภาพทางการเมืองและสร้างสังคมของลิเบียให้เป็นชาตินิยมแบบอาหรับ ต่อต้านแนวคิดจากตะวันตก มิได้สนใจที่จะปรับปรุง พัฒนาปท.ให้เจริญก้าวหน้า เมือถูกควำบาต่รทางเศรษฐกิจลิเบียไม่ได้รับความร่วมมือจากตปท.โดยเฉพาะจากกลุ่มปท.ที่พัฒนา ทำให้ลิเบียตกอยู่ในสภาพล้าหลังเมื่อเปรียบเทียบกับอาหรับบางปท.

ต่อมาในปี ค.ศ. 2006  สหรัฐฯ และยุโรปตะวันตกได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อลิเบีย จากนั้นลิเบียจึงเริมปรับปรุงพัฒนาปท. อย่างจริงจัง โดยในระยะแรกมุ่งเน้นจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของปท.ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม เช่น สนามบิน ถนน ที่พักอาศัย สถานที่ราชการ สนามกีฬา โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ และลิเบียได้เน้นพัฒนาภาคธุรกิจด้านการท่องเที่ยวด้วย ซึ่งมี นักธุรกิจชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนลิเบียจำนวนมากเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ก่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่

(ขณะนี้ในกรุงติโปลี โรงแรมระดับ 5 ดาวเพียงแห่งเดียว) ศูนย์การค้า อาคารพาณิชย์ และโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ทำให้สภาพโดย ทั่วไปของปท.ลิเบียขณะนี้เต็มไปด้วยโครงการก่อสร้างต่าง ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกแห่ง ทำให้ลิเบียต้องการแรงงานต่างชาติอีกจำนวนมาก เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว สำหรับแรงงานไทยขณะนี้ได้เป็นที่ต้องการของแรงงานต่างชาติอีกจำนวนมาก เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว สำหรับ แรงงานไทยขณะนี้ได้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในลิเบีย ความต้องการแรงงานในลิเบียได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมช่วง ก่อนเปิด สอท.ในลิเบีย มีแรงงานไทยอยู่ประมาณ 5,800 คน แต่ในช่วงหลังสอท.ณ กรุงตริโปลีมาเปิดทำการแล้ว (เริ่ม 5 มี.ค. 52-30 มิ.ย.) มีแรงไทยเพิ่มขึ้นอีก 9,200 คน รวมทั้งสิ้นขณะนี้มีจำนวน 15,000 คน

2. ข้อคิดเห็นของสอท.ในภาพรวมเกี่ยวกับศักยภาพการค้าการลงทุนในลิเบีย

imagesCAJGKAVQ

จุดแข็ง

ลิเบีย มีประขากรกว่า 6 ล้านคน มีทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุต่างๆมาก รายได้จากการส่งออกน้ำมันและแก้สธรรมชาติ ทำให้ ลิเบียนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาปท.และสามารถดำเนินโ ครงการต่างๆ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ได้โดยไม่ต้องกู้ยืมเงินจากตปท. ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 ลิเบีย อนุญาติให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในลิเบียได้อย่างอิสระเสรี อย่างไรก็ตาม ลิเบียมีความหวาดระแวง ต้องระมัดระวังกับบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ของปท. ระดมทุนนิยมตะวันตก เช่น สหรัฐและยุโรปตะวันตกอยู่ เนื่องจากกลัวว่าอนาคตอาจถูก ครอบงำทางด้านเศรษฐกิจ ความคิดและวัฒนธรรมจากปท.ดังกล่าวได้ ดังนั้นลิเบียจึงส่งเสริมกลุ่มปท.กำลังพัฒนาทำการค้าและลงทุนในลิเบีย มากกว่า ซึ่งขณะนี้มีบริษัทจากจีน บราซิล ตุรกี เกาหลี ญ ี่ปุ่น ปแท. อาหรับ มาเลเซีย อินโนนีเซีย ฯลฯ เข้ามาลงทุนในลิเบียโดยได้รับสัมปทานในโครงการต่างๆ แล้วจำนวนมาก จึงเหมาะสมที่ไทยจะทำการลงทุนกับลิเบีย โดยเฉพาะด้านการก่อสร้างขุดเจาะน้ำมัน อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันลิเบียเป็น ปธ. African Union มีความสัมพันธ์ที่ดีกับปท.ยุโรปและแอฟริกา จึอาจใช้ลิเบียเป็นประตูการค้าสู่กลุ่มปท.ดังกล่าวได้
imagesCAUU99UF


จุดอ่อน

ลิเบีย ปกครองแบบสังคมนิยมยาวนานเกือบ 40 ปี ระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของปท. อาทิ เช่น สนามบิน ถนน ที่อาศัย ฯลฯ ส่วนใหญ่ อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมไม่ด้รับการปรับปรุงและพัฒนา เนื่องจากผู้นำลิเบียมุ่งเน้นที่จะปลูกฝังความเป็นชาตินิยมแบบอาหรับแก่ชาว ลิเบีย โดยส่วนตัวผู้นำของ ลิเบียเอง ชอบใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย พำนักอยู่ในเต๊นท์กลางทะเลทราย มีแนวคิดต่อต้านระบบทุนนิยมจากตะวักตก ทำให้ปท.ขาดผู้เชี่ยวชาญ/นักวิชาการด้านเทคโนโลยี ระดับสูง เนื่องจากชาวลิเบียส่วนใหญ่ไม่นิยมศึกษาในสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตก การติดต่อราชการ/ธุรกิจในลิเบียล่าช้า ยากลำบากและมีข้อจำกัด การสื่อสาร หนังสือ/ เอกสารต่าง ๆ ใช้ภาษาอาหรับ ชื่ออาคาร สถนที่ ร้านค้า ถนน ฯลฯ ก็เป็นภาษาอาหรับโดยไม่มีภาษาอื่นกำกับ รวมทั้งนส.เดินทางที่ใช้เดินทางเข้าปท.ลิเบีย ต้องแปลเป็นภาษาอาหรับด้วย

โอกาสทางการค้า และ ลงทุนในลิเบีย

ขณะนี้ลิเบียอยู่ระหว่างการปรับปรุงพัฒนาประเทศ ในทุกด้านและส่งเสริมต่างชาติโดยเฉพาะ จากปท.กำลังพัฒนาให้ไปลงทุนดำเนินธุรกิจในลิเบียได้จึงเหมาะสมที่ไทยจะเข้าไปลงทุนดังนี้
ด้านการก่อสร้าง โดยการจัดตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ในลิเบีย เพื่อรับเหมาโครงการต่าง ๆ ในลักษณะจดทะเบียนเปิดสาขา หรือร่วมลงทุนเป็น Joint - Venture กับบริษัทของลิเบียก็ได้ เพราะโครงการดังกล่าว นอกจากช่วยส่งเสริม ฝีมือคนไทย แรงงานไทยในลิเบียแล้ว ยังจะช่วยส่งเสริมการนำเข้าสินค้าจากไทยด้วยโดยเฉพาะสินค้าประเภทวัสดุก่อ สร้างและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพราะ บ. ต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนทำธุรกิจในลิเบียส่วนใหญ่จะใช้วัสดุการก่อสร้าง หรือสินค้าที่นำเข้าจากปท.ตนด้วย

ด้านการประมง เนื่องจากลิเบียมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน 2,000 กม. อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางทะเล ระบบการทำประมงในลิเบียเป็นแบบโบราณ ยังไม่ทันสมัย ขณะนี้ยังไม่มีฟาร์มเลี้ยงกุ้งและปลา ในลิเบียแม้้แต่รายเดียว ประกอบกับชาวลิเบียนิยมบริโภคปลาเป็นหลัก ขณะนี้ลิเบียนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยจำนวนมาก เหมาะสมที่ไทยจะลงทุนด้านการประมงในลิเบีย
การเมืองการปกครอง

imagesCA14FX67


1. การเมืองการปกครอง

1.1 ลิเบียอยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง เช่น เคยอยู่ภายใต้กรีก อาณาจักรโรมัน อาณาจักรไบแซนไตน์ อาณาจักรออตโตมาน และท้ายสุด ตั้งแต่ปี 2454 ลิเบียอยู่ภายใต้การปกครองของอิตาลี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2492 สมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชาติจึงได้มีข้อมติให้ลิเบียได้รับเอกราชจากอิตาลี ทั้งนี้ กษัตริย์ Idris ซึ่งเป็นผู้นำในการต่อต้านการปกครองของอิตาลี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นผู้นำในการเจรจาจนนำไปสู่การประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2494 ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ และต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2512 กลุ่มนายทหารนำโดยพันเอกกัดดาฟี ได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากกษัตริย์ Idris และขึ้นเป็นผู้นำประเทศสืบมาจนปัจจุบัน

1.2 นับแต่พันเอกกัดดาฟี ขึ้นปกครองประเทศ ได้ดำเนินนโยบายตามแนวทางการเมืองของตน ซึ่งเรียกว่า ทฤษฎีสากลที่ 3 (Third Universal Theory) อันเป็นการผสมผสานระหว่างแนวทางสังคมนิยมกับแนวคิดของศาสนาอิสลาม รวมทั้งดำเนินแนวทางต่อต้านชาติตะวันตก เช่น การปิดสำนักงานของสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรในลิเบีย การผลักดันให้สหรัฐฯ และอังกฤษถอนทหารที่ประจำอยู่ในลิเบียออกนอกประเทศ และการเวนคืนกิจการน้ำมันของชาติตะวันตก เป็นต้น ขณะเดียวกัน ลิเบียได้ขยาย ความร่วมมือกับสหภาพโซเวียต ในด้านการเมือง การทหาร และการซื้ออาวุธ

1.3 ลิเบียเคยถูกเพ่งเล็งว่าให้การสนับสนุนการก่อการร้าย โดยเฉพาะแก่กลุ่มต่างๆ ของปาเลสไตน์ เมื่อปี 2512 สหรัฐอเมริกา ได้บรรจุลิเบียไว้ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย (state sponsor of terrorism) ทั้งนี้ เหตุการณ์ก่อการร้ายที่สำคัญซึ่งลิเบียถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ การก่อวินาศกรรมโดยกลุ่มปาเลสไตน์ที่กรุงโรมและกรุงเวียนนาเมื่อปี 2528 และการก่อวินาศกรรมสถานบันเทิง La Belle ที่กรุงเบอร์ลินเมื่อปี 2529 เป็นผลให้สหรัฐอเมริกาใช้มาตรการทางเศรษฐกิจและทางทหารกดดันลิเบียให้ยุติการสนับสนุนการก่อการร้าย และประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ได้สั่งการให้กองเรือรบสหรัฐอเมริกา เข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนเกิดการปะทะกับฝ่ายลิเบีย 2 ครั้ง ในเดือนมีนาคมและเมษายน 2529 พร้อมทั้งได้ส่งเครื่องบินรบเข้าทิ้งระเบิดกรุงตริโปลี และเมืองเบงกาซีด้วย
ลิเบียถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมเครื่องบิน 2 ครั้ง ได้แก่ การวางระเบิดเครื่องบิน Pan Am เที่ยวบินที่ 103 เหนือเมือง Lockerbie ของสก็อตแลนด์ในปี 2531 และการวางระเบิดสายการบิน UTA เที่ยวบินที่ 772 ของฝรั่งเศสที่ไนเจอร์ในปี 2532 แต่ลิเบียปฏิเสธที่จะส่งตัวผู้ต้องสงสัยชาวลิเบียให้แก่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ทำให้ต่อมาในปี 2535 และ 2536 คณะมนตรีความมั่นคงแห่ง
สหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 748 (1992) และ 883 (1993) คว่ำบาตรลิเบีย ซึ่งมีมาตรการต่างๆ รวมทั้ง การอายัดทรัพย์ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจของลิเบียในต่างประเทศ การห้ามการขายเครื่องบินและยุทธภัณฑ์แก่ลิเบีย การห้ามส่งอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่ใช้ในการขนส่งและกลั่นน้ำมันแก่ลิเบีย และการเรียกร้องให้นานาประเทศลดระดับและจำนวนผู้แทนทางการทูตในลิเบีย ในส่วนของสหรัฐอเมริกานั้น ได้ออกกฎหมาย Iran-Libya Sanctions Act หรือ D’ Amato Act ในปี 2539 ห้ามบริษัทต่างประเทศลงทุนในภาคน้ำมันในลิเบียในโครงการมูลค่าเกิน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลให้ลิเบียประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และหันไปใช้แนวทางโดดเดี่ยวตนเองจากประชาคมระหว่างประเทศ

1.3 ลิเบียเริ่มปรับเปลี่ยนแนวทางการเมืองของตนในปี 2546 โดยได้ยินยอมมอบตัวนาย Abdelbaset Ali Mohamed al-Megrahi และนาย Al Amin Khalifa Fhimah ผู้ต้องสงสัยชาวลิเบียในคดี Lockerbie ไปขึ้นศาลที่เนเธอร์แลนด์ และเมื่อศาลได้ตัดสินจำคุกตลอดชีวิตนาย Megrahi แล้ว (นาย Fhimah ถูกตัดสินให้พ้นผิด) ลิเบียได้แสดงความรับผิดชอบโดยจ่ายเงินสินไหมทดแทนแก่ญาติของผู้เสียชีวิต รวมเป็นเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลให้ลิเบียเริ่มได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมากขึ้น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรลิเบียเมื่อเดือนกันยายน 2546 ต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 พันเอกกัดดาฟี ได้ประกาศยุติโครงการพัฒนาอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction - WMD) และประกาศจะปฏิบัติตามสนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty) และอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพ (Biological Weapons Convention) พร้อมทั้งยินดีที่จะให้ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency - IAEA) เข้าไปตรวจสอบ รวมทั้งการประกาศต่อต้านการก่อการร้ายและให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ทำให้หลายประเทศในยุโรปรวมทั้งอิตาลีและสหราชอาณาจักรหันไปฟื้นฟูความสัมพันธ์กับลิเบีย ในขณะที่สหรัฐอเมริกา ได้ยกเลิกการใช้มาตรการตามกฎหมาย D’ Amato Act ต่อลิเบียในปี 2547 และถอนชื่อลิเบียออกจากรายชื่อประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 สหรัฐฯ ได้ยกระดับสำนักงานประสานงาน (Liasison Office) ของสหรัฐฯ ในลิเบีย ขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูต ขณะที่ลิเบียก็ได้ยกระดับสำนักงานประสานงานของตนในกรุงวอชิงตันขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2549 นอกจากนี้ พันเอกกัดดาฟี ยังได้เดินทางเยือนฝรั่งเศสและสเปน เมื่อเดือนธันวาคม 2550 และนาย Abdulrahman Shalgam รัฐมนตรีต่างประเทศลิเบีย เดินทางเยือนสหรัฐฯ เมื่อเดือนมกราคม 2551 ซึ่งถือเป็นการเยือนสเปนและสหรัฐฯ ครั้งแรกในรอบกว่า 3 ทศวรรษของบุคคลระดับสูงของลิเบีย

imagesCAZCKJWJ


2. เศรษฐกิจ

2.1 ลิเบียเป็นประเทศที่นับได้ว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจดีที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกาเหนือ เศรษฐกิจของลิเบียขึ้นอยู่กับภาคพลังงาน ได้แก่ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ในปี 2549 มีปริมาณการผลิตน้ำมันวันละ 1.72 ล้านบาร์เรล (ลิเบียตั้งเป้าหมายจะผลิตน้ำมันให้ได้วันละ 3 ล้านบาร์เรลภายในปี 2553) การส่งออกน้ำมันคิดเป็นร้อยละ 95 ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมด หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของ GDP เศรษฐกิจภาคพลังงานมีแนวโน้มเติบโตสูง โดยเฉพาะหลังจากที่สหประชาชาติได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อลิเบียในปี 2546 และหลังจากที่สหรัฐอเมริกายกเลิกการคว่ำบาตรต่อลิเบียในปี 2547 บริษัทน้ำมันต่างประเทศ เช่น บริษัท Occidental กลุ่มบริษัท OASIS ของสหรัฐอเมริกา บริษัท BP ของสหราชอาณาจักร บริษัท RWE-Dea ของเยอรมนี บริษัท Repsol ของสเปน และ Royal Dutch Shell ของเนเธอร์แลนด์ ได้เข้าไปรับสัมปทานการสำรวจและผลิตน้ำมันในลิเบีย และล่าสุดบริษัท Eni ของอิตาลี ได้ลงนามในการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติกับ National Oil Cooperation (NOC) ของลิเบีย มูลค่า 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเดือน ต.ค. 2550 นอกจากนี้ ลิเบียยังต้องการให้บริษัทต่างประเทศเข้าไปลงทุนในโครงการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติ และการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งโครงการขนาดใหญ่ด้านนี้ ได้แก่ Western Libya Gas Project มูลค่าการลงทุน 5,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยร่วมลงทุนกับบริษัท Eni ของอิตาลี ทั้งนี้ บริษัท ปตท. สผ. (มหาชน) จำกัด ได้เข้าแข่งขันการประกวดราคาเพื่อขอรับสัมปทานแปลงสำรวจในลิเบียด้วย แต่ไม่ชนะการประกวดราคา

2.2 นับแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา ลิเบียได้พยายามใช้แผนการพัฒนาที่มุ่งขยายฐานทางเศรษฐกิจ (diversification) เพื่อลดการพึ่งพาภาคน้ำมัน รวมทั้งส่งเสริมภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมการผลิต (manufacturing) แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ปัจจุบันลิเบียยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภคจากต่างประเทศ

2.3 นับแต่ปี 2533 เป็นต้นมา เมื่อรัฐบาลมีรายได้จากภาคน้ำมันมากขึ้น ได้ให้ความสนใจการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ น้อยลง และมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (infrastructure) นอกจากนั้นยังมีนโยบายส่งเสริมระบบตลาดเสรี โดยมีแผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ ทั้งนี้ โครงการด้านเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบันได้แก่ โครงการแม่น้ำเทียม (Great Man-made River Project) ความยาว 3,000 กิโลเมตร เพื่อนำน้ำจากแอ่งน้ำจากภาคใต้ของประเทศไปยังแหล่งเกษตรกรรมในภาคเหนือ โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2527 ขณะนี้ใช้งบประมาณดำเนินการแล้ว 32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ลิเบียยังต้องการการลงทุนจากต่างประเทศในด้านอุตสาหกรรมหนัก การผลิตกระแสไฟฟ้าและการกลั่นน้ำจากน้ำทะเล (Desalination) และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งลิเบียมีศักยภาพที่จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี การท่องเที่ยวทางทะเลและทะเลทราย

2.4 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ลิเบียได้สมัครเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) และได้เริ่มปรับปรุงกฎและระเบียบทางเศรษฐกิจ การค้า ตามหลักเกณฑ์ของ WTO เช่น มาตรการด้านภาษี และการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมทั้งมีแนวนโยบายส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทและส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น

imagesCA8H51IH


3. นโยบายต่างประเทศ

นโยบายพื้นฐานด้านต่างประเทศของลิเบีย ได้แก่ การเพิ่มพูนความสัมพันธ์กับประเทศอาหรับ ประเทศแอฟริกา การต่อต้านอิสราเอล และการส่งเสริมความเข้มแข็งของโลกอิสลามตามแนวทางของพันเอกกัดดาฟี จุดเน้นในการดำเนินนโยบายในปัจจุบัน ได้แก่

3.1 การคืนดี และประนีประนอมกับประเทศตะวันตก รวมทั้ง สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และ สหราชอาณาจักร โดยในช่วงที่ผ่านมามีการแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญหลายครั้ง เช่น เมื่อเดือนมีนาคม 2547 นาย Tony Blair นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้เดินทางเยือนลิเบีย และเมื่อวันที่ 27–28เมษายน 2547 พันเอกกัดดาฟี ได้เดินทางเยือนเบลเยียม และสำนักงานใหญ่ของสหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ และเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2547 นาย William Burns รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เดินทางเยือนลิเบีย นับเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ คนแรกที่เดินทางเยือนลิเบียในรอบ 30 ปี ทั้งนี้ ในระหว่างการเยือน ได้มีการเปิดสำนักงานประสานงาน (Liaison Office) ของสหรัฐฯ ด้วย และต่อมาสหรัฐฯ ได้ถอนชื่อลิเบียออกจากบัญชีรายชื่อประเทศที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย

3.2 การแสวงหามิตรประเทศเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบัน หลายประเทศตระหนักในศักยภาพของลิเบียในด้านพลังงานและได้เข้าไปลงทุนในด้านนี้ อาทิ ออสเตรเลีย แคนาดา และจีน ขณะที่อีกหลายประเทศ เช่น เยอรมนี อินเดีย อิตาลี เกาหลีใต้ และตุรกี เข้าไปลงทุนในด้านการก่อสร้าง

3.3 การรักษาบทบาทในโลกอาหรับ โดยเฉพาะการสนับสนุนการต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวปาเลสไตน์ แม้ว่าที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างลิเบียกับประเทศอาหรับต่างๆ ไม่ราบรื่นเท่าที่ควร จากการที่ลิเบียเห็นว่า กลุ่มประเทศอาหรับไม่ได้ให้การสนับสนุนในช่วงที่ลิเบียถูกสหประชาชาติคว่ำบาตร โดยลิเบียเคยประกาศจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสันนิบาตอาหรับ (League of Arab States) ด้วย

3.4 นโยบายมุ่งแอฟริกา โดยความรู้สึกผิดหวังต่อโลกอาหรับได้ทำให้ลิเบียหันไปให้ความสำคัญต่อกลุ่มประเทศแอฟริกาและสหภาพแอฟริกา (African Union - AU) มากขึ้น ทั้งนี้ พันเอกกัดดาฟี ได้เคยเสนอแนวคิดให้มีการจัดตั้ง ‘สหรัฐแอฟริกา’ (United States of Africa) ด้วย แต่แนวคิดดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศขนาดใหญ่ในทวีปแอฟริกา เช่น แอฟริกาใต้ และไนจีเรีย

3.5 ในระดับพหุภาคี ลิเบียเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศและกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN) องค์การการประชุมอิสลาม (Organization of Islamic Conference – OIC) สหภาพแอฟริกา (African Union - AU) สหภาพอาหรับมาเกร็บ (Arab Maghreb Union) และองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (Organization of the Petroleum Exporting Countries - OPEC)
ทั้งนี้ ลิเบียยังได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกไม่ถาวรของสหประชาชาติ (UNSC) วาระปี 2551-2552 ด้วย (ไทยให้การสนับสนุนการลงสมัครตำแหน่งดังกล่าวของลิเบีย)

เศรษฐกิจการค้า

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจโดยทัวไป

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 75.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2551)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 16,407 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2551)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.9 (ปี 2551)

1 ความคิดเห็น: